กบข.แจงสมาชิก ผลตอบแทนปีที่ผ่านมาติดลบ 5.12% เป็นไปตามภาวะตลาดหลังเจอวิกฤตการเงินครั้งรุนแรง คาดปีนี้ผลตอบแทนกลับมาเป็นบวก
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ได้เปิดเผยต่อข้อสอบถามของสมาชิกถึงผลการดำเนินงานในรอบปี 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งปรากฎว่าผลตอบแทนการลงทุนของ กบข. ปี 2551 ติดลบร้อยละ 5.12 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปีตั้งแต่จัดตั้งกองทุน ซึ่งหากพิจารณาผลการดำเนินงาน กบข. ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการเกษียณอายุแล้ว ควรต้องพิจารณาโดยเทียบกับกองทุนที่มีเป้าหมายการลงทุนเช่นเดียวกัน ได้แก่ กองทุนบำนาญในต่างประเทศ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
ทั้งนี้ หากดูผลการดำเนินงานของกองทุนบำนาญในต่างประเทศปี 2551 ที่ผ่านมา ให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ 12.32-26.94 ขณะที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในไทยให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ 3-10 โดยขึ้นอยู่กับสัดส่วนการลงทุนในหุ้นว่ามีมากน้อยเพียงใด เช่นเดียวกับกองทุน RMF ที่มีนโยบายลงทุนหุ้นให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ 25.77-56.36 ส่วนกองทุน RMF ที่ลงทุนแบบผสมให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ 7.43-42.97
"หากมองเปรียบเทียบแล้ว การที่ กบข. มีผลตอบแทนจากการลงทุนติดลบร้อยละ 5.12 ในปีที่ผ่านมา ต้องถือว่าน้อยมาก เพราะผลกระทบของวิกฤตการณ์เงินครั้งนี้ รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิดมา และทุกคนทั่วโลกได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่ กบข. ยังมีผลงานที่ดีส่วนหนึ่งจากการจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เข้ามาทดแทนอย่างเหมาะสม"นายวิสิฐกล่าว
สำหรับผลตอบแทนของ กบข. ระยะยาวตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมาอยู่ที่ร้อยละ 7.04 ต่อปี ผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี (ปี 2547-2551) อยู่ที่ร้อยละ 3.15 ต่อปี ย้อนหลัง 3 ปี (2549-2551) อยู่ที่ร้อยละ 2.34 และคาดว่าในปีนี้ผลตอบแทนการลงทุนจะกลับมาเป็นบวกที่ระดับร้อยละ 4-5 ต่อปี
นายวิสิฐกล่าวอีกว่า ผลตอบแทน กบข. ปีที่ผ่านมาที่ติดลบ เป็นเพียงผลกระทบระยะสั้น หากสมาชิกดูในใบแจ้งยอด ผลตอบแทนที่ติดลบเป็นรายการส่วน "ผลประโยชน์" ที่เคลื่อนไหวระหว่างปี ซึ่งจะไปกระทบยอดผลประโยชน์ยกมาเท่านั้น แต่ไม่กระทบส่วนของ "เงินต้น" ของสมาชิกส่วนใหญ่ของ กบข. เลย เสมือนหนึ่งการขาดทุนกำไรเท่านั้น เพราะผลการดำเนินงานของ กบข. ในอดีต มีบางปีที่มีผลตอบแทนสูงมากเช่นเดียวกัน เว้นแต่สมาชิกที่เพิ่งเข้ามาเป็นสมาชิก กบข. ปี 2551 เท่านั้น
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ได้เปิดเผยต่อข้อสอบถามของสมาชิกถึงผลการดำเนินงานในรอบปี 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งปรากฎว่าผลตอบแทนการลงทุนของ กบข. ปี 2551 ติดลบร้อยละ 5.12 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปีตั้งแต่จัดตั้งกองทุน ซึ่งหากพิจารณาผลการดำเนินงาน กบข. ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการเกษียณอายุแล้ว ควรต้องพิจารณาโดยเทียบกับกองทุนที่มีเป้าหมายการลงทุนเช่นเดียวกัน ได้แก่ กองทุนบำนาญในต่างประเทศ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
ทั้งนี้ หากดูผลการดำเนินงานของกองทุนบำนาญในต่างประเทศปี 2551 ที่ผ่านมา ให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ 12.32-26.94 ขณะที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในไทยให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ 3-10 โดยขึ้นอยู่กับสัดส่วนการลงทุนในหุ้นว่ามีมากน้อยเพียงใด เช่นเดียวกับกองทุน RMF ที่มีนโยบายลงทุนหุ้นให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ 25.77-56.36 ส่วนกองทุน RMF ที่ลงทุนแบบผสมให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ 7.43-42.97
"หากมองเปรียบเทียบแล้ว การที่ กบข. มีผลตอบแทนจากการลงทุนติดลบร้อยละ 5.12 ในปีที่ผ่านมา ต้องถือว่าน้อยมาก เพราะผลกระทบของวิกฤตการณ์เงินครั้งนี้ รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิดมา และทุกคนทั่วโลกได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่ กบข. ยังมีผลงานที่ดีส่วนหนึ่งจากการจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เข้ามาทดแทนอย่างเหมาะสม"นายวิสิฐกล่าว
สำหรับผลตอบแทนของ กบข. ระยะยาวตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมาอยู่ที่ร้อยละ 7.04 ต่อปี ผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี (ปี 2547-2551) อยู่ที่ร้อยละ 3.15 ต่อปี ย้อนหลัง 3 ปี (2549-2551) อยู่ที่ร้อยละ 2.34 และคาดว่าในปีนี้ผลตอบแทนการลงทุนจะกลับมาเป็นบวกที่ระดับร้อยละ 4-5 ต่อปี
นายวิสิฐกล่าวอีกว่า ผลตอบแทน กบข. ปีที่ผ่านมาที่ติดลบ เป็นเพียงผลกระทบระยะสั้น หากสมาชิกดูในใบแจ้งยอด ผลตอบแทนที่ติดลบเป็นรายการส่วน "ผลประโยชน์" ที่เคลื่อนไหวระหว่างปี ซึ่งจะไปกระทบยอดผลประโยชน์ยกมาเท่านั้น แต่ไม่กระทบส่วนของ "เงินต้น" ของสมาชิกส่วนใหญ่ของ กบข. เลย เสมือนหนึ่งการขาดทุนกำไรเท่านั้น เพราะผลการดำเนินงานของ กบข. ในอดีต มีบางปีที่มีผลตอบแทนสูงมากเช่นเดียวกัน เว้นแต่สมาชิกที่เพิ่งเข้ามาเป็นสมาชิก กบข. ปี 2551 เท่านั้น