เปิดพอร์ตกองทุนหุ้นบลจ.ไทยพาณิชย์ 22 โครงการมูลค่ารวม 1.3 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน กลุ่มพลังงานยังได้รับความสนใจมากที่สุด ถัดมาคือกลุ่มแบงก์ และสื่อสาร โดยปตท. – ปตท.สผ.มีสัดส่วนลงทุนสูงสุด ขณะที่หุ้นแอดวานซ์ก็มีอยู่ในพอร์ตไม่ใช่น้อย
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด รายงานสถานะการลงทุนกองทุนภายใต้การบริหารจัดการ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 พบว่าในบรรดากองทุนตราสารทุนของบริษัทแทบทั้งหมดมีการลงทุนผ่านหลักทรัพย์ในกลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคาร กลุ่มสื่อสาร และกลุ่มสังหาริมทรัพย์อยู่เป็นจำนวน โดยกองทุนของบริษัทที่เน้นลงทุนในตราสารทุนมีจำนวน 22 โครงการ แบ่งเป็นกองทุนตราสารทุน 12 กอง กองทุนรวมหุ้นระยะยาว(แอลทีเอฟ) 6 กอง กองทุนรวมผสม 2 กอง และกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) 2 กอง มียอดเงินที่ลงทุนในหุ้นรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 13,091.85 ล้านบาท
ทั้งนี้จากข้อมูลที่บริษัทได้นำเสนอต่อลูกค้าพบว่า หากแยกเป็นหมวดอุตสาหกรรมที่กองทุนเหล่านี้เข้าลงทุนจะมีการลงทุนในหลักทรัพย์ด้านพลังงานและสาธารณูปโภคมากที่สุด ด้วยเป็นเงินประมาณ 5,457.29 ล้านบาท รองลงมาคือการลงทุนในกลุ่มธนาคารมีจำนวนประมาณ 3,405.85 ล้านบาท อันดับถัดมาคือกลุ่มหลักทรัพย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจำนวนประมาณ 1,299.91 ล้านบาท และกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 1,117.62 ล้านบาท
โดยเมื่อจำแนกออกเป็นประเภทเริ่มตั้งแต่กองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนจำนวน 12 โครงการมียอดเงินลงทุนรวมประมาณ 3,652.81ล้านบาท และมีการลงทุนในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคประมาณ 1,193.57ล้านบาท ถัดมาคือกลุ่มธนาคารจำนวน 943.93 ล้านบาท กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 410.89ล้านบาท และกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 274.89 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามแม้สัดส่วนเงินลงทุนในกลุ่มพลังงานจะมีอยู่ในสัดส่วนที่สูง แต่ในหลายกองทุนของบลจ.ไทยพาณิชย์ได้ให้ความสนใจกับการลงทุนในหุ้นธนาคารเพิ่มขึ้น โดยมีกองทุนที่เน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานเหลืออยู่เพียง กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ เซ็ท อินเด็กซ์ ฟันด์ (SCBSET),กองทุนเปิดกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนปันผล (SCBDV) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ธนอนันต์ (SCBDA) เท่านั้น
ขณะที่กองทุนแอลทีเอฟ จำนวน 6 โครงการ ยอดเงินลงทุนรวม 7,904.79 ล้านบาท พบว่ามีการลงทุนในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคประมาณ 3,032.91ล้านบาท ถัดมาคือกลุ่มธนาคารจำนวน 2,035.27ล้านบาท กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำนวน 835.75 ล้านบาท และกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 718.46ล้านบาท โดยมีการให้ความสำคัญในการลงทุนผ่านหุ้นกลุ่มพลังงานและธนาคารที่จำนวนเท่ากัน ซึ่งกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล70/30 (SCBLT1) ที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงที่สุด 4,712.18 ล้านบาท พร้อมทั้งกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาว พลัส (SCBLT2) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวสมาร์ท มีสัดส่วนในการลงทุนหุ้นกลุ่มพลังงานมากกว่าธนาคาร ขณะที่อีกที่เหลือ 3 โครงการได้แก่กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวอินเตอร์ (SCBLT4) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวทาร์เก็ต (SCBLTT) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาว เอ็มเอไอ (SCBLT3) ให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารมากกว่า
สำหรับกองทุนรวมผสมทั้ง 2 โครงการของบริษัทมียอดเงินรวมกันประมาณ 110.62 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในหุ้นหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคประมาณ 761.80ล้านบาท ถัดมาคือกลุ่มธนาคารจำนวน 29.79 ล้านบาท กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำนวน 6.97 ล้านบาท และกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 14.60 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 โครงการให้น้ำหนักในการลงทุนหุ้นกลุ่มพลังงานมากที่สุด
ขณะเดียวกัน กองทุนอาร์เอ็มเอฟ 1 โครงการที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนพบว่า กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (SCBRM4) มียอดเงินลงทุนรวม 1,016.17 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในหมวดพลังงานฯ 385.99 ล้านบาท ถัดมาคือหมวดธนาคารจำนวน 328.85 ล้านบาท และหมวดสื่อสารจำนวนประมาณ 109.04 ล้านบาท โดยกองทุนนี้ไม่มีการให้น้ำหนักและสัดส่วนการลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ส่วนอีกโครางการซึ่งเป็นกองผสม ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์เฟล็กซิเบิ้ล ฟันด์เพื่อการเลี้ยงชีพ(SCBRM3) ซึ่งมียอดเงินลงทุนรวม 407.44 ล้านบาท มีการลงทุนในหมวดพลังงานฯ 194.87 ล้านบาท ถัดมาคือหมวดธนาคารจำนวน 68.003 ล้านบาท และหมวดสื่อสารจำนวนประมาณ 46.91 ล้านบาท และมีสัดส่วนการลงทุนหมวดวัสดุก่อสร้าง 20.37 ล้านบาท ใกล้เคียงกับหมวดพาณิชย์ซึ่งมีอยู่ที่ 20.01 ล้านบาท
ทั้งนี้พบว่าหลักทรัพย์ที่ได้รับความสนใจสูงสุดยังเป็นหุ้นของ ปตท. ,ปตท.สผ. ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย และบมจ.แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด รายงานสถานะการลงทุนกองทุนภายใต้การบริหารจัดการ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 พบว่าในบรรดากองทุนตราสารทุนของบริษัทแทบทั้งหมดมีการลงทุนผ่านหลักทรัพย์ในกลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคาร กลุ่มสื่อสาร และกลุ่มสังหาริมทรัพย์อยู่เป็นจำนวน โดยกองทุนของบริษัทที่เน้นลงทุนในตราสารทุนมีจำนวน 22 โครงการ แบ่งเป็นกองทุนตราสารทุน 12 กอง กองทุนรวมหุ้นระยะยาว(แอลทีเอฟ) 6 กอง กองทุนรวมผสม 2 กอง และกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) 2 กอง มียอดเงินที่ลงทุนในหุ้นรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 13,091.85 ล้านบาท
ทั้งนี้จากข้อมูลที่บริษัทได้นำเสนอต่อลูกค้าพบว่า หากแยกเป็นหมวดอุตสาหกรรมที่กองทุนเหล่านี้เข้าลงทุนจะมีการลงทุนในหลักทรัพย์ด้านพลังงานและสาธารณูปโภคมากที่สุด ด้วยเป็นเงินประมาณ 5,457.29 ล้านบาท รองลงมาคือการลงทุนในกลุ่มธนาคารมีจำนวนประมาณ 3,405.85 ล้านบาท อันดับถัดมาคือกลุ่มหลักทรัพย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจำนวนประมาณ 1,299.91 ล้านบาท และกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 1,117.62 ล้านบาท
โดยเมื่อจำแนกออกเป็นประเภทเริ่มตั้งแต่กองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนจำนวน 12 โครงการมียอดเงินลงทุนรวมประมาณ 3,652.81ล้านบาท และมีการลงทุนในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคประมาณ 1,193.57ล้านบาท ถัดมาคือกลุ่มธนาคารจำนวน 943.93 ล้านบาท กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 410.89ล้านบาท และกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 274.89 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามแม้สัดส่วนเงินลงทุนในกลุ่มพลังงานจะมีอยู่ในสัดส่วนที่สูง แต่ในหลายกองทุนของบลจ.ไทยพาณิชย์ได้ให้ความสนใจกับการลงทุนในหุ้นธนาคารเพิ่มขึ้น โดยมีกองทุนที่เน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานเหลืออยู่เพียง กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ เซ็ท อินเด็กซ์ ฟันด์ (SCBSET),กองทุนเปิดกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนปันผล (SCBDV) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ธนอนันต์ (SCBDA) เท่านั้น
ขณะที่กองทุนแอลทีเอฟ จำนวน 6 โครงการ ยอดเงินลงทุนรวม 7,904.79 ล้านบาท พบว่ามีการลงทุนในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคประมาณ 3,032.91ล้านบาท ถัดมาคือกลุ่มธนาคารจำนวน 2,035.27ล้านบาท กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำนวน 835.75 ล้านบาท และกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 718.46ล้านบาท โดยมีการให้ความสำคัญในการลงทุนผ่านหุ้นกลุ่มพลังงานและธนาคารที่จำนวนเท่ากัน ซึ่งกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวปันผล70/30 (SCBLT1) ที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงที่สุด 4,712.18 ล้านบาท พร้อมทั้งกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาว พลัส (SCBLT2) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวสมาร์ท มีสัดส่วนในการลงทุนหุ้นกลุ่มพลังงานมากกว่าธนาคาร ขณะที่อีกที่เหลือ 3 โครงการได้แก่กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวอินเตอร์ (SCBLT4) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวทาร์เก็ต (SCBLTT) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาว เอ็มเอไอ (SCBLT3) ให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารมากกว่า
สำหรับกองทุนรวมผสมทั้ง 2 โครงการของบริษัทมียอดเงินรวมกันประมาณ 110.62 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในหุ้นหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคประมาณ 761.80ล้านบาท ถัดมาคือกลุ่มธนาคารจำนวน 29.79 ล้านบาท กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำนวน 6.97 ล้านบาท และกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 14.60 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 โครงการให้น้ำหนักในการลงทุนหุ้นกลุ่มพลังงานมากที่สุด
ขณะเดียวกัน กองทุนอาร์เอ็มเอฟ 1 โครงการที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนพบว่า กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (SCBRM4) มียอดเงินลงทุนรวม 1,016.17 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในหมวดพลังงานฯ 385.99 ล้านบาท ถัดมาคือหมวดธนาคารจำนวน 328.85 ล้านบาท และหมวดสื่อสารจำนวนประมาณ 109.04 ล้านบาท โดยกองทุนนี้ไม่มีการให้น้ำหนักและสัดส่วนการลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ส่วนอีกโครางการซึ่งเป็นกองผสม ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์เฟล็กซิเบิ้ล ฟันด์เพื่อการเลี้ยงชีพ(SCBRM3) ซึ่งมียอดเงินลงทุนรวม 407.44 ล้านบาท มีการลงทุนในหมวดพลังงานฯ 194.87 ล้านบาท ถัดมาคือหมวดธนาคารจำนวน 68.003 ล้านบาท และหมวดสื่อสารจำนวนประมาณ 46.91 ล้านบาท และมีสัดส่วนการลงทุนหมวดวัสดุก่อสร้าง 20.37 ล้านบาท ใกล้เคียงกับหมวดพาณิชย์ซึ่งมีอยู่ที่ 20.01 ล้านบาท
ทั้งนี้พบว่าหลักทรัพย์ที่ได้รับความสนใจสูงสุดยังเป็นหุ้นของ ปตท. ,ปตท.สผ. ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย และบมจ.แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส