เอชเอสบีซี เผยตลาดหุ้นไตรมาส 4/2008 น่าสนใจ ผู้จัดการกองทุนเชื่อแนวโน้มตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) และตลาดหุ้นเกิดใหม่ปรับตัวดีขึ้น แต่ยังเป็นกลางกับตลาดหุ้นจีน โดยเงินทุนไหลออกจากตลาดหุ้นเกิดใหม่ในไตรมาส 3/2008 สูงสุดในรอบสองปี
ผลสำรวจความคิดเห็นของบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำทั่วโลกรอบล่าสุด โดยธนาคารเอชเอสบีซี เผยผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่คาดตลาดหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 4/2008 แต่ยังเห็นแตกต่างกันสำหรับตลาดพันธบัตรและเงินสด
นางสาว บอนนี เท ผู้อำนวยการธุรกิจเอชเอสบีซี พรีเมียร์ การบริหารความมั่งคั่งและกลุ่มตลาดขนาดกลาง ฝ่ายบุคคลธนกิจ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ธนาคารเอชเอสบีซี เผยว่า ถึงแม้ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่ยังกังวลกับผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่มีต่อตลาดหุ้นในประเทศพัฒนาแล้ว แต่พวกเขาได้หันมาให้ความสนใจลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา เอเชีย- แปซิฟิก และตลาดหุ้นเกิดใหม่เพราะราคาและมูลค่าหุ้นที่น่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ
โดยการสำรวจความคิดเห็นของบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำของโลกรวม 13 แห่ง ที่ธนาคารเอชเอสบีซีจัดทำเป็นรายไตรมาส ยังได้วิเคราะห์ปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ (Fund under management: FUM) กระแสเงินลงทุนทั่วโลก (Global money flows) และความเห็นของผู้จัดการกองทุนเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดตราสารต่างๆ โดยกระแสเงินลงทุนสุทธิ (Net money flow) คำนวณจากความเคลื่อนไหวของปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ เปรียบเทียบกับความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดตราสารประเภทเดียวกัน
ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2008 ปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการกองทุน 13 แห่งที่ร่วมในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้อยู่ที่ 3.84 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 17.45 ของปริมาณเงินลงทุนที่มีอยู่ทั่วโลก (Total global FUM)
ผลการสำรวจพบว่าในช่วงไตรมาส 3/2008 มีเงินทุนสุทธิไหลออกรวม 46.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้ปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุนดังกล่าวลดลงถึงร้อยละ 10.74 โดยมีเงินทุนไหลออกจากกองทุนหุ้นราว 30.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ไหลออกจากกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรประมาณหนึ่งในสาม หรือคิดเป็นเงิน 79.6 พันล้านเหรียญสหรัฐและไหลออกจากกองทุนผสมที่ลงทุนทั้งในหุ้นและพันธบัตรจำนวน 59.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ กองทุนที่ลงทุนในตลาดเงินและกองทุนประเภทอื่นๆ มีเงินทุนไหลออกจำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ
มิสบอนนี เท กล่าวว่า “ความกลัวเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรทั่วโลกตกต่ำในช่วงไตรมาสที่ 3/2008 โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดหุ้นในประเทศเกิดใหม่ ซึ่งมีปริมาณเงินลงทุนไหลออกสูงสุด เพราะนักลงทุนเกรงว่าวิกฤติการเงินในประเทศที่พัฒนาแล้วจะส่งผลกระทบทำให้การลงทุนในตลาดเกิดใหม่มีความเสี่ยงมากขึ้น ตลาดพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐอเมริกามีเงินทุนไหลเข้าสูงสุดเพราะนักลงทุนหันไปลงทุนในตลาดตราสารที่มั่นคงปลอดภัยกว่า
ส่วน ความเห็นของผู้จัดการกองทุนต่อตลาดตราสารประเภทต่างๆ ในไตรมาสที่ 4/2008 มีสาระสำคัญดังนี้
ตลาดหุ้น: ร้อยละ 50 ของผู้จัดการกองทุนที่ร่วมในการสำรวจครั้งนี้ ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นกับการลงทุนในตลาดหุ้น เทียบกับร้อยละ 22 ที่มีความเห็นเช่นนี้ในไตรมาสก่อนหน้า และมีผู้จัดการกองทุนร้อยละ 30 ที่เห็นว่าควรลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้น เทียบกับร้อยละ 44 ในไตรมาสก่อนหน้า
ตลาดพันธบัตร: ร้อยละ 50 ของผู้จัดการกองทุนเห็นว่าตลาดพันธบัตรน่าสนใจและควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุน เพิ่มจากร้อยละ 44 ในการสำรวจครั้งก่อน ร้อยละ 20 เห็นว่าควรลดน้ำหนักการลงทุน เทียบกับการสำรวจครั้งก่อนที่ไม่มีใครลดน้ำหนักการลงทุน0ในตลาดพันธบัตรเลย
เงินสด: มีผู้จัดการกองทุนร้อยละ 25 ที่เห็นว่าควรให้น้ำหนักกับการถือครองเงินสด เทียบกับร้อยละ 38 ที่มีความเห็นนี้ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 13 เห็นว่าควรลดการถือครองเงินสด เทียบกับไตรมาสก่อนที่ผู้จัดการกองทุนทุกรายให้ความสำคัญกับการถือครองเงินสด
มิสเท กล่าวเสริมว่า “ความเห็นของผู้จัดการกองทุนในครั้งนี้เป็นการมองแนวโน้มระยะยาวในขณะที่ตลาดยังมีความผันผวน แนวโน้มด้านจิตวิทยานักลงทุนหันมาสนใจตลาดหุ้นมากขึ้น เพราะมูลค่าและราคาหุ้นน่าสนใจขึ้น แต่ยังคงสะท้อนความระมัดระวังในการลงทุนในพันธบัตรและเงินสด อันจะเห็นได้จากความคิดเห็นของผู้จัดการกองทุนที่ยังแตกต่างกันอยู่
ขณะที่ ความเห็นของผู้จัดการกองทุนต่อการลงทุนในตลาดภูมิภาคต่างๆ ในไตรมาสที่ 4/2008 มีสาระสำคัญดังนี้
ตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมตลาดญี่ปุ่น): ร้อยละ 56 ของผู้จัดการกองทุนเห็นว่าควรเพิ่มน้ำหนัก การลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมตลาดญี่ปุ่น) ในไตรมาสที่ 4/2008 นี้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44 ในการสำรวจคราวก่อน ขณะที่ผู้จัดการกองทุนที่มีความเห็นเป็นกลางมีจำนวนลดลงจากร้อยละ 33 เหลือร้อยละ 22 ในการสำรวจคราวนี้
ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging markets equities): ร้อยละ 56 ของผู้จัดการกองทุนให้น้ำหนักกับตลาดนี้ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 50 ในการสำรวจเมื่อไตรมาสที่แล้ว ขณะที่มีผู้จัดการกองทุนที่ “เมิน” ตลาดหุ้นเกิดใหม่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13 มาเป็นร้อยละ 33 ในการสำรวจคราวนี้
ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา: ร้อยละ 30 ของผู้จัดการกองทุนเห็นว่าควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุน เทียบกับร้อยละ 22 ในการสำรวจคราวก่อน ขณะที่ยังมีผู้จัดการกองทุนร้อยละ 50 เห็นว่าควรลดน้ำหนักการลงทุน เพิ่มจากร้อยละ 44 ในการสำรวจคราวก่อน
ตลาดหุ้นจีน (Greater China equities): ผู้จัดการกองทุนที่ให้น้ำหนักกับการลงทุนในตลาดหุ้นจีนลดน้อยลง จากร้อยละ 63 เหลือเพียงร้อยละ 25 ในการสำรวจคราวนี้ และร้อยละ 13 ยังเห็นว่าควรลดการลงทุน เทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ไม่มีผู้จัดการกองทุนรายใดมีความเห็นเช่นนี้เลย
ตลาดพันธบัตรสหรัฐอเมริกา: ผู้จัดการกองทุนร้อยละ 11 เริ่มกลับมาเน้นการลงทุนในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ในไตรมาสนี้ เทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ทุกรายพร้อมใจกัน “เมิน” อย่างไรก็ตาม มีผู้จัดการกองทุนเกินกว่าครึ่ง คือ ร้อยละ 56 คงความเห็นว่าตลาดดังกล่าวยังไม่น่าลงทุน เทียบกับร้อยละ 44 ในการสำรวจคราวก่อน
ตลาดพันธบัตรในยุโรป: ร้อยละ 56 หันมาให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดพันธบัตรยุโรป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22 ในไตรมาสที่แล้ว และร้อยละ 33 มีความเห็นเป็นกลาง ลดลงจากร้อยละ 67 ในไตรมาสที่แล้ว
มิสบอนนี เท อธิบายว่า “ความเห็นเชิงบวกต่อแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก และตลาดหุ้นเกิดใหม่ทั่วโลก แสดงให้เห็นว่าผู้จัดการกองทุนชั้นนำของโลกยังคงมั่นใจในศักยภาพการเติบโตในระยะยาวของภูมิภาคเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มกังวลกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงในประเทศจีน ซึ่งส่งผลกระทบถึงความเห็นที่มีต่อการลงทุนในตลาดหุ้นจีนด้วย ขณะที่ตลาดพันธบัตรในยุโรปน่าสนใจขึ้น อันเนื่องมาจากการที่ธนาคารกลางหลายแห่งในยุโรปเข้ามาช่วยอัดฉีดสภาพคล่อง พยุงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นแรงเสริมจิตวิทยาเชิงบวกแก่นักลงทุน”
โดยสรุปคือ นักลงทุนรายย่อยมีโอกาสกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง โดยเลือกตลาดตราสารในบางภูมิภาคที่มูลค่าและราคาน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่เกิดขึ้นทั่วโลกเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ความไม่แน่นอนยังมีอยู่สูง ความผันผวนของตลาดยังคงมีอยู่ต่อไป นักลงทุนจึงมีแนวโน้มลงทุนอย่างระมัดระวัง โดยเน้นการถือครองเงินสดและการลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร และแบ่งเงินลงทุนกลับเข้ามาในตลาดหุ้นบ้าง โดยเลือกเฉพาะตลาดที่ให้ผลตอบแทนน่าสนใจ กลยุทธ์หลักสำหรับการลงทุนในช่วงนี้ จึงยังคงเน้นการกระจายเงินลงทุนไปที่ตลาดตราสาร ภาคอุตสาหกรรม และภูมิภาคที่ให้ผลตอบแทนดีและมีความผันผวนน้อย ตลอดจนใช้แผนการลงทุนตามปกติที่เน้นประโยชน์จากต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุน ซึ่งทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพ
ที่มา: ธนาคารเอชเอสบีซี
ผลสำรวจความคิดเห็นของบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำทั่วโลกรอบล่าสุด โดยธนาคารเอชเอสบีซี เผยผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่คาดตลาดหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 4/2008 แต่ยังเห็นแตกต่างกันสำหรับตลาดพันธบัตรและเงินสด
นางสาว บอนนี เท ผู้อำนวยการธุรกิจเอชเอสบีซี พรีเมียร์ การบริหารความมั่งคั่งและกลุ่มตลาดขนาดกลาง ฝ่ายบุคคลธนกิจ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ธนาคารเอชเอสบีซี เผยว่า ถึงแม้ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่ยังกังวลกับผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่มีต่อตลาดหุ้นในประเทศพัฒนาแล้ว แต่พวกเขาได้หันมาให้ความสนใจลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา เอเชีย- แปซิฟิก และตลาดหุ้นเกิดใหม่เพราะราคาและมูลค่าหุ้นที่น่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ
โดยการสำรวจความคิดเห็นของบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำของโลกรวม 13 แห่ง ที่ธนาคารเอชเอสบีซีจัดทำเป็นรายไตรมาส ยังได้วิเคราะห์ปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ (Fund under management: FUM) กระแสเงินลงทุนทั่วโลก (Global money flows) และความเห็นของผู้จัดการกองทุนเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดตราสารต่างๆ โดยกระแสเงินลงทุนสุทธิ (Net money flow) คำนวณจากความเคลื่อนไหวของปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ เปรียบเทียบกับความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดตราสารประเภทเดียวกัน
ทั้งนี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2008 ปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการกองทุน 13 แห่งที่ร่วมในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้อยู่ที่ 3.84 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 17.45 ของปริมาณเงินลงทุนที่มีอยู่ทั่วโลก (Total global FUM)
ผลการสำรวจพบว่าในช่วงไตรมาส 3/2008 มีเงินทุนสุทธิไหลออกรวม 46.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้ปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุนดังกล่าวลดลงถึงร้อยละ 10.74 โดยมีเงินทุนไหลออกจากกองทุนหุ้นราว 30.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ไหลออกจากกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรประมาณหนึ่งในสาม หรือคิดเป็นเงิน 79.6 พันล้านเหรียญสหรัฐและไหลออกจากกองทุนผสมที่ลงทุนทั้งในหุ้นและพันธบัตรจำนวน 59.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ กองทุนที่ลงทุนในตลาดเงินและกองทุนประเภทอื่นๆ มีเงินทุนไหลออกจำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ
มิสบอนนี เท กล่าวว่า “ความกลัวเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรทั่วโลกตกต่ำในช่วงไตรมาสที่ 3/2008 โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดหุ้นในประเทศเกิดใหม่ ซึ่งมีปริมาณเงินลงทุนไหลออกสูงสุด เพราะนักลงทุนเกรงว่าวิกฤติการเงินในประเทศที่พัฒนาแล้วจะส่งผลกระทบทำให้การลงทุนในตลาดเกิดใหม่มีความเสี่ยงมากขึ้น ตลาดพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐอเมริกามีเงินทุนไหลเข้าสูงสุดเพราะนักลงทุนหันไปลงทุนในตลาดตราสารที่มั่นคงปลอดภัยกว่า
ส่วน ความเห็นของผู้จัดการกองทุนต่อตลาดตราสารประเภทต่างๆ ในไตรมาสที่ 4/2008 มีสาระสำคัญดังนี้
ตลาดหุ้น: ร้อยละ 50 ของผู้จัดการกองทุนที่ร่วมในการสำรวจครั้งนี้ ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นกับการลงทุนในตลาดหุ้น เทียบกับร้อยละ 22 ที่มีความเห็นเช่นนี้ในไตรมาสก่อนหน้า และมีผู้จัดการกองทุนร้อยละ 30 ที่เห็นว่าควรลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้น เทียบกับร้อยละ 44 ในไตรมาสก่อนหน้า
ตลาดพันธบัตร: ร้อยละ 50 ของผู้จัดการกองทุนเห็นว่าตลาดพันธบัตรน่าสนใจและควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุน เพิ่มจากร้อยละ 44 ในการสำรวจครั้งก่อน ร้อยละ 20 เห็นว่าควรลดน้ำหนักการลงทุน เทียบกับการสำรวจครั้งก่อนที่ไม่มีใครลดน้ำหนักการลงทุน0ในตลาดพันธบัตรเลย
เงินสด: มีผู้จัดการกองทุนร้อยละ 25 ที่เห็นว่าควรให้น้ำหนักกับการถือครองเงินสด เทียบกับร้อยละ 38 ที่มีความเห็นนี้ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 13 เห็นว่าควรลดการถือครองเงินสด เทียบกับไตรมาสก่อนที่ผู้จัดการกองทุนทุกรายให้ความสำคัญกับการถือครองเงินสด
มิสเท กล่าวเสริมว่า “ความเห็นของผู้จัดการกองทุนในครั้งนี้เป็นการมองแนวโน้มระยะยาวในขณะที่ตลาดยังมีความผันผวน แนวโน้มด้านจิตวิทยานักลงทุนหันมาสนใจตลาดหุ้นมากขึ้น เพราะมูลค่าและราคาหุ้นน่าสนใจขึ้น แต่ยังคงสะท้อนความระมัดระวังในการลงทุนในพันธบัตรและเงินสด อันจะเห็นได้จากความคิดเห็นของผู้จัดการกองทุนที่ยังแตกต่างกันอยู่
ขณะที่ ความเห็นของผู้จัดการกองทุนต่อการลงทุนในตลาดภูมิภาคต่างๆ ในไตรมาสที่ 4/2008 มีสาระสำคัญดังนี้
ตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมตลาดญี่ปุ่น): ร้อยละ 56 ของผู้จัดการกองทุนเห็นว่าควรเพิ่มน้ำหนัก การลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมตลาดญี่ปุ่น) ในไตรมาสที่ 4/2008 นี้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44 ในการสำรวจคราวก่อน ขณะที่ผู้จัดการกองทุนที่มีความเห็นเป็นกลางมีจำนวนลดลงจากร้อยละ 33 เหลือร้อยละ 22 ในการสำรวจคราวนี้
ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging markets equities): ร้อยละ 56 ของผู้จัดการกองทุนให้น้ำหนักกับตลาดนี้ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 50 ในการสำรวจเมื่อไตรมาสที่แล้ว ขณะที่มีผู้จัดการกองทุนที่ “เมิน” ตลาดหุ้นเกิดใหม่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13 มาเป็นร้อยละ 33 ในการสำรวจคราวนี้
ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา: ร้อยละ 30 ของผู้จัดการกองทุนเห็นว่าควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุน เทียบกับร้อยละ 22 ในการสำรวจคราวก่อน ขณะที่ยังมีผู้จัดการกองทุนร้อยละ 50 เห็นว่าควรลดน้ำหนักการลงทุน เพิ่มจากร้อยละ 44 ในการสำรวจคราวก่อน
ตลาดหุ้นจีน (Greater China equities): ผู้จัดการกองทุนที่ให้น้ำหนักกับการลงทุนในตลาดหุ้นจีนลดน้อยลง จากร้อยละ 63 เหลือเพียงร้อยละ 25 ในการสำรวจคราวนี้ และร้อยละ 13 ยังเห็นว่าควรลดการลงทุน เทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ไม่มีผู้จัดการกองทุนรายใดมีความเห็นเช่นนี้เลย
ตลาดพันธบัตรสหรัฐอเมริกา: ผู้จัดการกองทุนร้อยละ 11 เริ่มกลับมาเน้นการลงทุนในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ในไตรมาสนี้ เทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ทุกรายพร้อมใจกัน “เมิน” อย่างไรก็ตาม มีผู้จัดการกองทุนเกินกว่าครึ่ง คือ ร้อยละ 56 คงความเห็นว่าตลาดดังกล่าวยังไม่น่าลงทุน เทียบกับร้อยละ 44 ในการสำรวจคราวก่อน
ตลาดพันธบัตรในยุโรป: ร้อยละ 56 หันมาให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดพันธบัตรยุโรป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22 ในไตรมาสที่แล้ว และร้อยละ 33 มีความเห็นเป็นกลาง ลดลงจากร้อยละ 67 ในไตรมาสที่แล้ว
มิสบอนนี เท อธิบายว่า “ความเห็นเชิงบวกต่อแนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก และตลาดหุ้นเกิดใหม่ทั่วโลก แสดงให้เห็นว่าผู้จัดการกองทุนชั้นนำของโลกยังคงมั่นใจในศักยภาพการเติบโตในระยะยาวของภูมิภาคเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนส่วนใหญ่เริ่มกังวลกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงในประเทศจีน ซึ่งส่งผลกระทบถึงความเห็นที่มีต่อการลงทุนในตลาดหุ้นจีนด้วย ขณะที่ตลาดพันธบัตรในยุโรปน่าสนใจขึ้น อันเนื่องมาจากการที่ธนาคารกลางหลายแห่งในยุโรปเข้ามาช่วยอัดฉีดสภาพคล่อง พยุงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นแรงเสริมจิตวิทยาเชิงบวกแก่นักลงทุน”
โดยสรุปคือ นักลงทุนรายย่อยมีโอกาสกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง โดยเลือกตลาดตราสารในบางภูมิภาคที่มูลค่าและราคาน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่เกิดขึ้นทั่วโลกเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ความไม่แน่นอนยังมีอยู่สูง ความผันผวนของตลาดยังคงมีอยู่ต่อไป นักลงทุนจึงมีแนวโน้มลงทุนอย่างระมัดระวัง โดยเน้นการถือครองเงินสดและการลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร และแบ่งเงินลงทุนกลับเข้ามาในตลาดหุ้นบ้าง โดยเลือกเฉพาะตลาดที่ให้ผลตอบแทนน่าสนใจ กลยุทธ์หลักสำหรับการลงทุนในช่วงนี้ จึงยังคงเน้นการกระจายเงินลงทุนไปที่ตลาดตราสาร ภาคอุตสาหกรรม และภูมิภาคที่ให้ผลตอบแทนดีและมีความผันผวนน้อย ตลอดจนใช้แผนการลงทุนตามปกติที่เน้นประโยชน์จากต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุน ซึ่งทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพ
ที่มา: ธนาคารเอชเอสบีซี