xs
xsm
sm
md
lg

ถึงดูแล"Investment Bank"แล้วหรือยัง?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ตั้งแต่ธุรกิจวาณิชธนกิจ หรือ Investment Bank ได้เกิดขึ้นมาในโลกเป็นเวลาหนึ่งพร้อมๆ กับการเกิดของนวัตกรรมทางการเงินต่างๆ ที่แตกต่างไปจากการนำเงินเข้าไปฝากกินดอกเบี้ย และการเข้าไปกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ ประเทศพัฒนาแล้วที่มีระบบการเงินค่อนข้างซับซ้อนอย่างสหรัฐอเมริกาก็เห็นเพียงแค่ว่าธุรกิจประเภทนี้ทำกำไรและสร้างสภาพคล่องให้ กับระบบของตนเองอย่างมาก

นอกจากนี้ยังเป็นธุรกิจที่วนเวียนอยู่ในกลุ่มนักลงทุนที่มีความรู้ โดยไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้ฝากเงินรายย่อยโดยตรงเหมือนกับ Commercial Bank หรือธนาคาร พาณิชย์ รัฐบาลกลางก็เลยไม่ได้ในที่จะเข้าไปออกกฎระเบียบอะไรกำกับดูแล จนกระทั่งวันที่ Bear Stearns ซึ่งเป็น Investment Bank รายใหญ่ของสหรัฐฯ ที่ดำเนินกิจการมานานกว่า 85 ปี ออกอาการร่อแร่จากผลกระทบของวิกฤติ Subbprime

ความง่อนแง่นของบริษัทยักษ์ใหญ่นี้ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของคนทั้งโลกที่มีต่อระบบการเงินสหรัฐฯ จนต้องทำให้ Fed ต้องยื่นมือเข้าไปเจรจากับ JP Morgan Chase เพื่อให้เข้าไปอุ้ม Bear Stearns แล้วยังมาเจอเร็วๆนี้ที่ Lehman Brathers ที่เป็นวาณิชธนกิจขนาดใหญ่เป็นลำดับ 4 ของสหรัฐฯที่ยื่นคำ ร้องต่อศาลขอพิทักษ์ทรัพย์สินเพ ื่อเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย ทำให้นักลงทุนทั่วโลกต่างตื่นตระหนกแห่ขายหุ้นกันจนดัชนีตกต่ำ ยิ่งทำให้ Fed เก้าอี้ร้อนทั้งๆที่ Fed ไม่ได้มีหน้าที่ อะไรเกี่ยวข้องกับ Investment Bank เลยด้วยซ้ำ แต่เพราะกลัวว่าพิษจากความตื่นตระหนกของผู้ฝากเงินจะทำให้สถาบันการเงินขาดสภาพคล่องกันไปเป็นลูกโซ่ แล้วความเดือดร้อนก็ จะมาตกลงที่ Fed อยู่ดี

สองสามเดือนที่แล้ว ทั้งประธาน Fed และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ เคยจูงมือกันไปชึ้แจงต่อรัฐสภาของสหรัฐฯว่าสงสัยจะถึงเวลาแล้วที่ Fed จะต้องขยายขอบเขตการกำกับดูแลไปถึงการดำเนินกิจการของ Investment Bank ซึ่งนอกเหนือจากการหาคู่ที่เหมาะสมมาควบรวมกิจการ เหมือนกับที่กำลังทำกับ Ledhman Brathers-Barclay และ Merrill Lynch-bank of America ทุกวันนี้ ก็อาจจะรวมถึงการให้ความช่วยเหลือทางสภาพคล่องในเวลาที่ Investment Bank ตกที่นั่งลำบากอีกด้วย

มาดูว่า Investment Bank ทำธุรกิจอะไรกันถึงได้ต้องเดือดร้อนให้ธนาคารกลางต้องยื่นมือเข้ามากำกับดูแล ซึ่งจริงๆแล้วแรกเริ่มเดิมที ธุรกิจดังกล่าวมีขึ้นมาเพื่อช่วยให้คำ ปรึกษาและช่วยดำเนินการในการระดมทุนในตลาดทุน (ทั้งหลักทรัพย์และตราสารหนี้) ให้กับบริษัทเอกชนและรัฐบาลในประเทศต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการเป็นที่ปรึกษาเชิงเทคนิคในการควบรวมกิจการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ Investment Bank ในประเทศไทยทำกันมาเหมือนกัน

แต่ทว่าเมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมา Investment Bank ในสหรัฐกับแคนาดา กลับขยายขอบเขตออกไป รวมถึงการเข้าไปลงทุนเองเพื่อซื้อขายตราสาร อนุพันธ์ ตราสารหนี้ ค้าเงินตรา ส ินค้าทุน และหลักทรัพย์ เพราะเหมือนกับเป็นการบริการต่อเนื่องจากการให้คำปรึกษาและการจัด จำหน่ายหลักทรัพย์ เพื่อเอาใจลูกค้าโดยการทำราคาหลักทรัพย์ในตลาดให้สูงและเพื่อทำกำไรเข้ากระเป๋าบริษัทตัวเองด้วยอีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้ Investment Bank บางแห่งก็เข้าไป เป็นคนกลางในการช่วยบริหารกองทุนประเทศต่างๆ ทั้งกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองทุนเพื่อการเกษียณอายุ และกองทุนเพื่อการเก็งกำไร

หลักๆแล้ว Investment Bank ของสหรัฐฯ จะแบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ส่วนประกอบด้วย Front Office.Middle Office และ Back Office ซึ่งสามส่วนนี้แยกการดำเนินการออกจากกัน

Front Office หรือ ส่วนที่ติดต่อกับลูกค้า ส่วนใหญ่จะทำงานเกี่ยวกับ 1.ให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าในการระดมทุนจากตลาดทุน รวมถึงการควบรวมและซื้อกิจการ ซึ่งส่วนใหญ่จะ เกี่ยวเนื่องไปถึงการที่บริษัทลูกค้าจะต้องออกหลักทรัพย์ใหม่เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว 2.การบริหารเงินทุนของลูกค้าเพื่อให้บรรลุผลตอบแทนที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งรวมถึงการซื้อขายหุ้น ตราสารต่างๆ ให้กับนักลงทุนประเภทสถาบัน เช่น บริษัทประกันชีวิต กองทุนรวม กองทุนบำเหน็จบำนาญ เป็นต้น

3. ทำราคาหลักทรัพย์ของลูกค้าให้สูงเป็นน่าพอใจ ซึ่งสวน มาก เป็นการติดต่อโดยตรงกับนักลงทุนเป้าหมายให้มาลงทุนในหลักทรัพย์ลูกค้า 4.จัดโครงสร้างทางการเงินผ่านตราสารอนุพันธ์ส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นการต่อยอดการบริการลูกค้า เพื่อการทำราคาหลักทรัพย์ และให้ได้ผลตอบแทนที่สูง รวมถึงการช่วยบริหารความเสี่ยง 5.การทำวิจัย จัดทำรายงานภาวะตลาด ภาวะเศรษฐกิจประมาณการต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสิน ใจของลูกค้าในการจะลงทุนซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และ6.การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ในการลงทุนแก่ลูกค้า ซึ่งคำปรึกษาเหล่านี้ไปตามทิศทางและนโยบายการลงทุนของ Investment Bank แต่ละแห่ง

Middle Office หรือส่วนกลาง ส่วนนี้ไม่ต้องพบปะลูกค้า แต่หน้าที่หลักๆ คือ 1) บริหารความเสี่ยงของบริษัท โดยการวิเคราะห์ภาวะตลาดและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับคำแนะนำของที่ปรึกษาการลงทุนของในบริษัทแต่ละคนที่ให้กับลูกค้าแต่ละราย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในภาพรวมต่อบริษัทและสภาวะตลาด เพราะในทางปฏิบัติ แล้วที่ปรึกษาการลงทุนแต่ละคนจะทำงานเป็นเอกเทศกันเพื่อกันปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แต่อย่างไรก็๖าม ส่วนกลางก็จะคุมในภาพรวมเพื่อป้องกันมิให้ตัวบริษัท ต้องเสียงหายจาการที่เกิดความขัดแย้งในการลงทุน 2)การบริหารกระแสเงินของบริษัทเพื่อไม่ให้บริษัทต้องตกที่นั่งลำบากหรือประสบปัญหาสภาพคล่อง รวมไปถึงการทำกำไรจากเงินทุนที่มีอยู่ 3) การปฏิบัติตามกฎระเบียบที่มีอยู่ของทางการ ซึ่งอย่างที่กล่าวไว้ตอนแรกว่า Investment Bank ไม่ได้ถูกกำกับดูแลโดยธนาคารกลาง ดังนั้นกฎระเบียบที่ใช้ก็มีเพียงของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และกฎระเบียบที่เป็นสากลอื่นๆ ที่แล้วแต่บริษัทไนจะนำเอามาใช้โดยสมัครใจเท่านั้น

Back Office หรือส่วนปฏิบัติการ ก็เป็นส่วนที่ดูแลด้านข้อมูล เอกสาร หลักฐานต่างๆ ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด รวมถึงการจัดทำรายงานการเงิน ทำบัญชีของบริษัท และการจัดการด้าน IT ของบริษัท

ธุรกิจ Investment Bank ในปี 2550 ทำรายได้สูงถึง 84 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้น 21% จากปี 2549 แสดงให้เห็นว่าธุรกิจในสาขานี้กำลังเติบโตรุดหน้าไปอย่างน่าตกใจ รายได้ของธุรกิจนี้หลักๆ มาจากค่าธรรมเนียมที่คิดกับลูกค้าในการให้คำปรึกษาการจัด จำหน่ายหลักทรัพย์และการค้า หลักทรัพย์เอง ซึ่งส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ Investment Bank นี้ 53% เป็นของสหรัฐฯ และราวๆ 32% เป็นของยุโรป ในขณะที่ 15% เป็นของตลาดเอเชีย

ถึงแม้ว่า Investment Bank ในเอเชียและในประเทศไทยเองจะยังไม่ค่อยเติบโตมากนัก ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องโชคดีของไทยที่ทำให้ไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากวิกฤติ Subprime มากเท่าสหรัฐ และยุโรป แต่วิวัฒนาการของตราสารทางการเงิน ระบบการเงิน ตลาดทุน และการเชื่อมโยงแบบไร้พรมแดนของการลงทุนและกระแสเงินก็ทำให้ธุรกิจ Investment Bank ค่อยๆ คืบคลานเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในตลาดการเงินของไหว เมื่อสหรัฐ กำลังเริ่มคิดหาทางที่จะกำกับดูแลธุรกิจ Investment Bank กันเแล้ว ไทยในฐานะประเทศที่กำลังเดินไปสู่การเปิดเสรีตลาดเงินและตลาดทุน

ที่มา: สำนักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สสค.)

กำลังโหลดความคิดเห็น