คอลัมน์ “สาระน่ารู้ คู่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ”
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.)
ในคราวที่แล้ว ทุกท่านทราบและคงเห็นพ้องต้องกันแล้วว่าว่าถ้าอยากเกษียณอย่างมีความสุข ท่านจะต้องเริ่มทำอะไรบ้าง ดังนั้น ในวันนี้จะขอเขียนถึงการออมประเภทหนึ่งที่จะช่วยให้ท่านมีเงินใช้ในบั้นปลายชีวิตอย่างมีความสุขได้ . . . . .
ก่อนอื่นอยากขอให้ทุกท่านมารู้จักระบบการออมเพื่อการเกษียณในบ้านเราเสียก่อนนะคะ ในปัจจุบันธนาคารโลก ได้แบ่งระบบการออมเพื่อการเกษียณออกเป็น 3 เสาหลัก ได้แก่
จากรูปภาพข้างบนท่านจะเห็นได้ว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ในเสาต้นที่ 3 ซึ่งถือเป็นการออมภาคสมัครใจ คือ ใครใคร่มีก็มี โดยบริษัทนายจ้างจับมือกับลูกจ้างจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นมา เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ลูกจ้างเมื่อเกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือออกจากงาน รวมถึงกรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต นอกจากนี้ จากการที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นแบบสมัครใจ ดังนั้น ลูกจ้างและบริษัทนายจ้างแต่ละรายจึงสามารถจ่ายเงินเข้ากองทุนในอัตราที่แตกต่างกันได้ กฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกำหนดเงื่อนไขแค่เพียงลูกจ้างและบริษัทนายจ้างจะต้องจดทะเบียนข้อบังคับกองทุนในการใส่เงินเข้ากองทุนตั้งแต่ 2% ถึงสูงสุด 15% ของค่าจ้าง และบริษัทนายจ้างจะต้องสมทบเงินไม่น้อยกว่าเงินที่ลูกจ้างสะสมเข้ากองทุน
องค์ประกอบที่สำคัญของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
1.เงินกองทุน คือ เงินที่ลูกจ้าง (“เงินสะสม”) และเงินที่บริษัทนายจ้าง (“เงินสมทบ”) ใส่เข้ามาในกองทุน รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากการบริหารเงินกองทุนตลอดช่วงระยะเวลาที่สมาชิกอยู่ในกองทุนจนถึงวันที่เราเกษียณอายุหรือสิ้นสุดการเป็นสมาชิกกองทุน นอกจากนี้ก็ยังมีเงินบริจาค ซึ่งได้แก่ ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้กองทุน
2.สมาชิกกองทุน ซึ่งก็คือ ลูกจ้างที่มีคุณสมบัติตามข้อบังคับของกองทุนและสมัครเข้าเป็นสมาชิก 3.ข้อบังคับกองทุน คือ ข้อกำหนดที่ลูกจ้างและบริษัทนายจ้างจะต้องปฏิบัติตาม เช่น การสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุน การสิ้นสุดสมาชิกภาพจากกองทุน การอัตราเงินสะสม-สมทบ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสมทบเมื่อออกจากกองทุน เป็นต้น
4.คณะกรรมการกองทุน ประกอบด้วย 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่ได้รับเลือกตั้งจากลูกจ้าง และฝ่ายที่ได้รับแต่งตั้งจากนายจ้าง มาเป็นตัวแทนสมาชิกทุกคนในการควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของกองทุน คัดเลือกและแต่งตั้งบุคคลภายนอกที่จะมาทำหน้าที่ต่างๆ ให้กองทุนไม่ว่าจะเป็นบริษัทจัดการกองทุน ผู้รับฝากทรัพย์สิน ผู้สอบบัญชี โดยคณะกรรมการกองทุนจะทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายนอกตามที่กล่าวมา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
5.บุคคลภายนอกที่ให้บริการเกี่ยวกับกองทุน ได้แก่ บริษัทจัดการกองทุน เนื่องจากกฎหมายไม่อนุญาตให้นายจ้างเป็นผู้บริหารกองทุนของตนเอง ดังนั้น นายจ้างจึงต้องแต่งตั้งบริษัทจัดการกองทุน (ที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน) ให้มาบริหารจัดการกองทุนภายใต้ขอบเขตกฎหมาย นอกจากนี้ยังมี ผู้รับฝากทรัพย์สิน (ที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน) ทำหน้าที่รับฝากและดูแลทรัพย์สินของกองทุน และผู้สอบบัญชี ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของกองทุน
6.นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ปัจจุบัน คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม “ก.ล.ต.” ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระที่ทำหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งในส่วนของผู้ให้บริการในอุตสาหกรรม และการออกเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายทุกกองทุนจะต้องได้รับการจดทะเบียนจาก ก.ล.ต.จึงจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
มาถึงตรงนี้ ต้องขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เนื่องจากท่านจะมีหลักประกันที่มั่นคงในยามที่ท่านออกจากงานหรือเกษียณ เนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในบ้านเรา ทางการได้ให้ความคุ้มครองไว้ดีมาก โดยจะเห็นว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จดทะเบียนแล้วจะมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลแยกจากบริษัทนายจ้างและบริษัทจัดการกองทุนโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ กองทุนจะไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี หมายความว่าหากนายจ้างประสบเหตุอันต้องปิดกิจการไป เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ยังคงอยู่ ไม่ได้หมดไปพร้อมการปิดกิจการของนายจ้างแต่อย่างใด หรือหากลูกจ้างไปกู้ยืมเงินเพื่อน เพื่อนที่เป็นเจ้าหนี้ของลูกจ้างรายนั้นก็ไม่สามารถฟ้องร้องเอาเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของลูกจ้างไปชำระคืนหนี้ได้เช่นกัน
หรือถ้าบริษัทจัดการกองทุนประสบปัญหาทางการเงิน เจ้าหนี้ของบริษัทจัดการก็ไม่สามารถฟ้องร้องหรือดำเนินคดีเพื่อมีสิทธิในเงินกองทุนได้ อีกทั้งสิทธิเรียกร้องในเงินกองทุนก็ไม่สามารถโอนได้เช่นกัน หมายความว่าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในระบบปัจจุบันเป็นแบบบัญชีรายตัว คือมีการแยกแยะเงินกองทุนเป็นของสมาชิกกองทุนแต่ละคนไว้อย่างชัดเจนตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มเข้ามาเป็นสมาชิกกองทุนจนถึงวันที่ออกจากกองทุน โดยกฎหมายกำหนดให้จ่ายออกจากกองทุนตรงให้แก่สมาชิกเท่านั้น
ทีนี้เราลองมาดูกันว่า นายจ้างจะได้ประโยชน์อะไรจากการจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
1.เพิ่มสวัสดิการลูกจ้าง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจัดเป็นสวัสดิการที่มุ่งเน้นผลในระยะยาวกล่าวคือ นายจ้างช่วยลูกจ้างออมเงินเพื่อจะได้เงินเป็นกอบเป็นกำ เป็นหลักประกันที่ดีในอนาคตหลังจากออกจากงานหรือเกษียณ จึงเป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานของลูกจ้างให้อยู่กับนายจ้างนานขึ้น ลดอัตราการเปลี่ยนย้ายงานของลูกจ้าง
2.ลดภาระด้านการบริหารของนายจ้าง บริษัทจัดการกองทุนเป็นมืออาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ มีหน้าที่โดยตรงในการบริหารกองทุน การติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวต่างที่มีผลต่อการลงทุน ย่อมทำได้ดีกว่านายจ้าง ตลอดจนถึงการเก็บข้อมูลและการจัดทำเอกสารต่างๆ ให้แก่ กองทุน และการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับสมาชิกที่ลาออก ดังนั้น ภาระในด้านการดูแลและบริหารของนายจ้างจึงลดน้อยลง
3.ช่วยให้การหมุนเวียนกระแสเงินสดดีขึ้น สำหรับนายจ้างที่มีกองทุนบำเหน็จนั้น อาจประสบปัญหาในการจัดหาเงินก้อนให้กับลูกจ้างเมื่อลูกจ้างลาออกหรือเกษียณอายุ ซึ่งมักเป็นเงินจำนวนมาก แต่สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นายจ้างได้จ่ายเงินสมทบให้กองทุนแล้วทุกเดือน เมื่อลูกจ้างลาออกจะได้รับเงินโดยตรงจากกองทุนโดยนายจ้างไม่ต้องมีภาระในการจัดหาเงินอีก
4.ลดภาระทางภาษี เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นค่าใช้จ่ายของนายจ้าง ที่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนในการคำนวณภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับที่จ่ายเงินได้ 5.ช่วยเหลือสังคม เงินที่นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นการออมทรัพย์ประเภทหนึ่ง เงินออมดังกล่าวนี้มีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศ ทั้งในภาคธุรกิจและการพัฒนา สาธารณูปโภคของประเทศ
หากมาดูประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับจากการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน อยากบอกเพิ่มเติมด้วยค่ะว่าพวกเราที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโชคดีมากที่ทางการให้การสนับสนุนจริงๆ เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกเลยทีเดียว
1.สิทธิประโยชน์ทางภาษี สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 3 ต่อ ทีเดียว ได้แก่
ไม่ต้องเสียภาษี กรณีทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต กรณีเกษียณอายุ จะต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีอายุตัวไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ เเละได้รับลดหย่อน ในกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงาน และมีอายุการทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เงินก้อนที่ได้รับจากกองทุนสามารถแยกยื่นเสียภาษีจากการคำนวณภาษีรายได้ประจำปีและได้รับลดหย่อนในการคำนวณภาษี ตามสูตรดังนี้ เงินได้เพื่อเสียภาษี = 50% [เงินก้อนที่ได้รับ - (7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน)] เงินที่เหลือจากการหักลดหย่อนภาษีข้างต้น จะนำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้า
2.ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในส่วนเงินที่โอนระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงาน และขอโอนเงินกองทุนจากนายจ้างเดิมไปยังนายจ้างใหม่ที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจดทะเบียน โดยมีวันทำงานและวันที่เป็นสมาชิกกองทุนต่อเนื่องกัน สมาชิกผู้นั้นจะยังคงได้รับผลประโยชน์ทางภาษี โดยถือนับอายุกองทุนต่อเนื่องตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อเข้ากองทุน
3.มีรายได้เพิ่มขึ้นโดยยังไม่ต้องเสียภาษีจากรายได้นั้น เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุน เปรียบเสมือนเงินเดือนที่ลูกจ้างได้รับเพิ่มขึ้นโดยยังไม่ต้องนำมารวมกับรายได้เพื่อคำนวณภาษี จนกว่าจะสิ้นสุดสมาชิกภาพจากกองทุน เพราะว่ากฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกำหนดให้บริษัทนายจ้างจะต้องสมทบเงินไม่น้อยกว่าเงินที่ลูกจ้างสะสมเข้ากองทุน และเมื่อสมาชิกได้รับเงินจากกองทุนเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพแล้ว อาจไม่ต้องเสียภาษีจากเงินดังกล่าวหรือเสียน้อยลง หากเข้าข่ายตามที่กฎหมายกำหนดดังที่กล่าวไว้ในข้อ 1
4.กองทุนมีความมั่นคงมากขึ้น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จดทะเบียนแล้ว จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากนายจ้างและบริษัทจัดการกองทุน ดังนั้น แม้ว่านายจ้างหรือบริษัทจัดการกองทุนจะประสบปัญหาทางการเงิน หรือถึงขั้นต้องเลิกกิจการไปก็ตาม ลูกจ้างจะยังคงได้รับเงินกองทุนคืนตามสิทธิ และข้อบังคับของกองทุนทุกประการ
ทีนี้ท่านก็เริ่มรู้จักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกันมากขึ้นแล้ว สำหรับท่านที่ยังไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็รีบตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือชักชวนเพื่อนๆ และนายจ้างให้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกันดีกว่า สนใจจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะทำอย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้านะคะ
สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.)
ในคราวที่แล้ว ทุกท่านทราบและคงเห็นพ้องต้องกันแล้วว่าว่าถ้าอยากเกษียณอย่างมีความสุข ท่านจะต้องเริ่มทำอะไรบ้าง ดังนั้น ในวันนี้จะขอเขียนถึงการออมประเภทหนึ่งที่จะช่วยให้ท่านมีเงินใช้ในบั้นปลายชีวิตอย่างมีความสุขได้ . . . . .
ก่อนอื่นอยากขอให้ทุกท่านมารู้จักระบบการออมเพื่อการเกษียณในบ้านเราเสียก่อนนะคะ ในปัจจุบันธนาคารโลก ได้แบ่งระบบการออมเพื่อการเกษียณออกเป็น 3 เสาหลัก ได้แก่
จากรูปภาพข้างบนท่านจะเห็นได้ว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ในเสาต้นที่ 3 ซึ่งถือเป็นการออมภาคสมัครใจ คือ ใครใคร่มีก็มี โดยบริษัทนายจ้างจับมือกับลูกจ้างจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นมา เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ลูกจ้างเมื่อเกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือออกจากงาน รวมถึงกรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต นอกจากนี้ จากการที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นแบบสมัครใจ ดังนั้น ลูกจ้างและบริษัทนายจ้างแต่ละรายจึงสามารถจ่ายเงินเข้ากองทุนในอัตราที่แตกต่างกันได้ กฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกำหนดเงื่อนไขแค่เพียงลูกจ้างและบริษัทนายจ้างจะต้องจดทะเบียนข้อบังคับกองทุนในการใส่เงินเข้ากองทุนตั้งแต่ 2% ถึงสูงสุด 15% ของค่าจ้าง และบริษัทนายจ้างจะต้องสมทบเงินไม่น้อยกว่าเงินที่ลูกจ้างสะสมเข้ากองทุน
องค์ประกอบที่สำคัญของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
1.เงินกองทุน คือ เงินที่ลูกจ้าง (“เงินสะสม”) และเงินที่บริษัทนายจ้าง (“เงินสมทบ”) ใส่เข้ามาในกองทุน รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากการบริหารเงินกองทุนตลอดช่วงระยะเวลาที่สมาชิกอยู่ในกองทุนจนถึงวันที่เราเกษียณอายุหรือสิ้นสุดการเป็นสมาชิกกองทุน นอกจากนี้ก็ยังมีเงินบริจาค ซึ่งได้แก่ ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้กองทุน
2.สมาชิกกองทุน ซึ่งก็คือ ลูกจ้างที่มีคุณสมบัติตามข้อบังคับของกองทุนและสมัครเข้าเป็นสมาชิก 3.ข้อบังคับกองทุน คือ ข้อกำหนดที่ลูกจ้างและบริษัทนายจ้างจะต้องปฏิบัติตาม เช่น การสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุน การสิ้นสุดสมาชิกภาพจากกองทุน การอัตราเงินสะสม-สมทบ และเงื่อนไขการจ่ายเงินสมทบเมื่อออกจากกองทุน เป็นต้น
4.คณะกรรมการกองทุน ประกอบด้วย 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่ได้รับเลือกตั้งจากลูกจ้าง และฝ่ายที่ได้รับแต่งตั้งจากนายจ้าง มาเป็นตัวแทนสมาชิกทุกคนในการควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของกองทุน คัดเลือกและแต่งตั้งบุคคลภายนอกที่จะมาทำหน้าที่ต่างๆ ให้กองทุนไม่ว่าจะเป็นบริษัทจัดการกองทุน ผู้รับฝากทรัพย์สิน ผู้สอบบัญชี โดยคณะกรรมการกองทุนจะทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายนอกตามที่กล่าวมา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
5.บุคคลภายนอกที่ให้บริการเกี่ยวกับกองทุน ได้แก่ บริษัทจัดการกองทุน เนื่องจากกฎหมายไม่อนุญาตให้นายจ้างเป็นผู้บริหารกองทุนของตนเอง ดังนั้น นายจ้างจึงต้องแต่งตั้งบริษัทจัดการกองทุน (ที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน) ให้มาบริหารจัดการกองทุนภายใต้ขอบเขตกฎหมาย นอกจากนี้ยังมี ผู้รับฝากทรัพย์สิน (ที่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน) ทำหน้าที่รับฝากและดูแลทรัพย์สินของกองทุน และผู้สอบบัญชี ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของกองทุน
6.นายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ปัจจุบัน คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม “ก.ล.ต.” ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระที่ทำหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งในส่วนของผู้ให้บริการในอุตสาหกรรม และการออกเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายทุกกองทุนจะต้องได้รับการจดทะเบียนจาก ก.ล.ต.จึงจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
มาถึงตรงนี้ ต้องขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เนื่องจากท่านจะมีหลักประกันที่มั่นคงในยามที่ท่านออกจากงานหรือเกษียณ เนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในบ้านเรา ทางการได้ให้ความคุ้มครองไว้ดีมาก โดยจะเห็นว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จดทะเบียนแล้วจะมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลแยกจากบริษัทนายจ้างและบริษัทจัดการกองทุนโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ กองทุนจะไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี หมายความว่าหากนายจ้างประสบเหตุอันต้องปิดกิจการไป เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ยังคงอยู่ ไม่ได้หมดไปพร้อมการปิดกิจการของนายจ้างแต่อย่างใด หรือหากลูกจ้างไปกู้ยืมเงินเพื่อน เพื่อนที่เป็นเจ้าหนี้ของลูกจ้างรายนั้นก็ไม่สามารถฟ้องร้องเอาเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของลูกจ้างไปชำระคืนหนี้ได้เช่นกัน
หรือถ้าบริษัทจัดการกองทุนประสบปัญหาทางการเงิน เจ้าหนี้ของบริษัทจัดการก็ไม่สามารถฟ้องร้องหรือดำเนินคดีเพื่อมีสิทธิในเงินกองทุนได้ อีกทั้งสิทธิเรียกร้องในเงินกองทุนก็ไม่สามารถโอนได้เช่นกัน หมายความว่าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในระบบปัจจุบันเป็นแบบบัญชีรายตัว คือมีการแยกแยะเงินกองทุนเป็นของสมาชิกกองทุนแต่ละคนไว้อย่างชัดเจนตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มเข้ามาเป็นสมาชิกกองทุนจนถึงวันที่ออกจากกองทุน โดยกฎหมายกำหนดให้จ่ายออกจากกองทุนตรงให้แก่สมาชิกเท่านั้น
ทีนี้เราลองมาดูกันว่า นายจ้างจะได้ประโยชน์อะไรจากการจัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
1.เพิ่มสวัสดิการลูกจ้าง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจัดเป็นสวัสดิการที่มุ่งเน้นผลในระยะยาวกล่าวคือ นายจ้างช่วยลูกจ้างออมเงินเพื่อจะได้เงินเป็นกอบเป็นกำ เป็นหลักประกันที่ดีในอนาคตหลังจากออกจากงานหรือเกษียณ จึงเป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานของลูกจ้างให้อยู่กับนายจ้างนานขึ้น ลดอัตราการเปลี่ยนย้ายงานของลูกจ้าง
2.ลดภาระด้านการบริหารของนายจ้าง บริษัทจัดการกองทุนเป็นมืออาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ มีหน้าที่โดยตรงในการบริหารกองทุน การติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวต่างที่มีผลต่อการลงทุน ย่อมทำได้ดีกว่านายจ้าง ตลอดจนถึงการเก็บข้อมูลและการจัดทำเอกสารต่างๆ ให้แก่ กองทุน และการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับสมาชิกที่ลาออก ดังนั้น ภาระในด้านการดูแลและบริหารของนายจ้างจึงลดน้อยลง
3.ช่วยให้การหมุนเวียนกระแสเงินสดดีขึ้น สำหรับนายจ้างที่มีกองทุนบำเหน็จนั้น อาจประสบปัญหาในการจัดหาเงินก้อนให้กับลูกจ้างเมื่อลูกจ้างลาออกหรือเกษียณอายุ ซึ่งมักเป็นเงินจำนวนมาก แต่สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นายจ้างได้จ่ายเงินสมทบให้กองทุนแล้วทุกเดือน เมื่อลูกจ้างลาออกจะได้รับเงินโดยตรงจากกองทุนโดยนายจ้างไม่ต้องมีภาระในการจัดหาเงินอีก
4.ลดภาระทางภาษี เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นค่าใช้จ่ายของนายจ้าง ที่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนในการคำนวณภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับที่จ่ายเงินได้ 5.ช่วยเหลือสังคม เงินที่นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถือเป็นการออมทรัพย์ประเภทหนึ่ง เงินออมดังกล่าวนี้มีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศ ทั้งในภาคธุรกิจและการพัฒนา สาธารณูปโภคของประเทศ
หากมาดูประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับจากการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน อยากบอกเพิ่มเติมด้วยค่ะว่าพวกเราที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโชคดีมากที่ทางการให้การสนับสนุนจริงๆ เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกเลยทีเดียว
1.สิทธิประโยชน์ทางภาษี สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 3 ต่อ ทีเดียว ได้แก่
ไม่ต้องเสียภาษี กรณีทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต กรณีเกษียณอายุ จะต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และมีอายุตัวไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ เเละได้รับลดหย่อน ในกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงาน และมีอายุการทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เงินก้อนที่ได้รับจากกองทุนสามารถแยกยื่นเสียภาษีจากการคำนวณภาษีรายได้ประจำปีและได้รับลดหย่อนในการคำนวณภาษี ตามสูตรดังนี้ เงินได้เพื่อเสียภาษี = 50% [เงินก้อนที่ได้รับ - (7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน)] เงินที่เหลือจากการหักลดหย่อนภาษีข้างต้น จะนำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้า
2.ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในส่วนเงินที่โอนระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงาน และขอโอนเงินกองทุนจากนายจ้างเดิมไปยังนายจ้างใหม่ที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจดทะเบียน โดยมีวันทำงานและวันที่เป็นสมาชิกกองทุนต่อเนื่องกัน สมาชิกผู้นั้นจะยังคงได้รับผลประโยชน์ทางภาษี โดยถือนับอายุกองทุนต่อเนื่องตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อเข้ากองทุน
3.มีรายได้เพิ่มขึ้นโดยยังไม่ต้องเสียภาษีจากรายได้นั้น เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุน เปรียบเสมือนเงินเดือนที่ลูกจ้างได้รับเพิ่มขึ้นโดยยังไม่ต้องนำมารวมกับรายได้เพื่อคำนวณภาษี จนกว่าจะสิ้นสุดสมาชิกภาพจากกองทุน เพราะว่ากฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกำหนดให้บริษัทนายจ้างจะต้องสมทบเงินไม่น้อยกว่าเงินที่ลูกจ้างสะสมเข้ากองทุน และเมื่อสมาชิกได้รับเงินจากกองทุนเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพแล้ว อาจไม่ต้องเสียภาษีจากเงินดังกล่าวหรือเสียน้อยลง หากเข้าข่ายตามที่กฎหมายกำหนดดังที่กล่าวไว้ในข้อ 1
4.กองทุนมีความมั่นคงมากขึ้น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จดทะเบียนแล้ว จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากนายจ้างและบริษัทจัดการกองทุน ดังนั้น แม้ว่านายจ้างหรือบริษัทจัดการกองทุนจะประสบปัญหาทางการเงิน หรือถึงขั้นต้องเลิกกิจการไปก็ตาม ลูกจ้างจะยังคงได้รับเงินกองทุนคืนตามสิทธิ และข้อบังคับของกองทุนทุกประการ
ทีนี้ท่านก็เริ่มรู้จักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกันมากขึ้นแล้ว สำหรับท่านที่ยังไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็รีบตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือชักชวนเพื่อนๆ และนายจ้างให้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกันดีกว่า สนใจจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะทำอย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้านะคะ