เอกชนแนะรัฐเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากน้ำมัน พร้อมวางมาตรการประหยัดพลังงานเป็นวาระแห่งชาติ ระบุการลงทุนของภาครัฐควรเป็นรูปธรรมโดยเร็ว แต่ทุกอย่างต้องยึดถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ขณะเดียวกันแนะพัฒนาเศรษฐกิจไทย ด้วยธรรมบรรษัทภิบาล ส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจพอเพียงในทุกภาคส่วน
ฝ่ายวิจัยธุรกิจ สายงานบริหารความเสี่ยง บมจ.ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า การใช้นโยบายงบประมาณแบบขาดดุลในช่วงนี้ ถือเป็นจังหวะที่เหมาะสม เพราะหนี้สาธารณะของไทยอยู่ในระดับต่ำ และเมื่อเทียบการขาดดุลของงบประมาณรายจ่ายปี 2551 กับ GDP ก็เป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 1.8 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่อยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลัง และหากรัฐบาลสามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณนี้ได้ตามเป้าหมาย ก็จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศได้มาก นอกจากนี้ การที่รัฐบาลจะยังคงใช้นโยบายงบประมาณรายจ่ายแบบขาดดุลต่อเนื่องอีกในปี 2552 โดยขาดดุลประมาณร้อยละ 2.5 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากการขาดดุลร้อยละ 1.8 ในปีงบประมาณ 2551 ก็จะเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ มาตรการเร่งด่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่รัฐบาลควรทำจะประกอบด้วย 1. มาตรการประหยัดพลังงาน โดยควรกำหนดให้เรื่องการประหยัดพลังงานเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากไทยนำเข้าน้ำมันสูงถึงร้อยละ 20 ของ GDP และน้ำมันมีบทบาทในโครงสร้างเศรษฐกิจไทยประมาณร้อยละ 40 จึงมีความจำเป็นที่คนในชาติจะต้องมีจิตสำนึกและเร่งประหยัดการใช้น้ำมัน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีจำกัดและมีแต่จะแพงขึ้นและหมดไปภายในเวลาประมาณ 35 ปี โดยการให้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจัดทำแผนการประหยัดน้ำมันและมี KPI ที่ชัดเจน
ส่วน มาตรการที่ 2. คือการเร่งให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจสำคัญ โดยเฉพาะธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน เช่น ภาคการขนส่ง และภาคการประมง เป็นต้น นอกจากนี้ ควรลดภาษีนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบที่จำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก 3. มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน เช่น การจัดจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพในราคาถูก และดูแลให้เข้าถึงกลุ่มผู้มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง แต่ทั้งนี้ รัฐบาลต้องส่งสัญญาณให้ประชาชนรับรู้ด้วยว่าเป็นเพียงมาตรการชั่วคราวเท่านั้น เพื่อให้ประชาชนมีการปรับตัว
ขณะที่ มาตรการที่ 4 คือ การผลักดันให้การลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐ ดำเนินการเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งประชาชนที่จะได้ใช้ประโยชน์จากโครงการต่าง ๆ โดยเฉพาะ การขนส่งระบบราง แต่ควรดำเนินการด้วยความโปร่งใส รอบคอบ และมีธรรมาภิบาล ส่วนมาตรสุดท้ายที่รัฐบาควรเร่งแก้ปัญหาได้แก่ ความขัดแย้งทางการเมือง โดยทุกฝ่ายต้องลดทิฐิลง แล้วหันหน้าเพื่อเจรจากัน รับฟังข้อเสนอของแต่ละฝ่าย แล้วพยายามหาทางออกร่วมกันโดยสันติวิธี ที่สำคัญต้องให้ความสำคัญกับผลประโยชน์โดยรวมของประเทศเป็นหลัก
ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ของบมจ.ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยอีกว่า นอกจากมาตรการเร่งด่วนที่รัฐบาลควรดำเนินการ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ว มาตรการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และการลงทุนให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนเป็นอีกสิ่งหนึ่งรัฐบาลต้องดำเนินการควบคู่กันไปคือ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์พลังงานของชาติ โดยการพัฒนาพลังงานทางเลือกที่คุ้มค่า และไม่กระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และจัดสรรพื้นที่สำหรับการผลิตพืชพลังงาน และพืชอาหาร อย่างรอบคอบ เหมาะสม และสมดุล รวมทั้งควรเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานอย่างจริงจัง ด้วยการเร่งรัดการปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน ระบบขนส่งสินค้า ยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนผสมผสานระหว่างมาตรการแรงจูงใจและมาตรการบังคับ เพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า
ทั้งนี้ ควรจะมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างมีทิศทาง ด้วยการสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุน ไปพร้อม ๆ กับการส่งเสริมภาคการค้าระหว่างประเทศ และจัดทำแผนเชื่อมโยงเศรษฐกิจสาขาต่าง ๆ แบบบูรณาการ เช่น การจัดทำแผนการตลาด และแผนการผลิตในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ให้มีการเชื่อมโยง สอดคล้อง และสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อให้การค้าและการลงทุนขยายตัวอย่างราบรื่น และมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ ประโยชน์สูงสุดของประเทศ
นอกจากนี้ควรมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านแรงงาน โดยพิจารณาปรับปรุงแผนด้านประชากรศาสตร์ เพื่อเพิ่มกำลังแรงงานในระบบ ที่มีแนวโน้มตึงตัวขึ้น และพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ พร้อมด้วยการสร้างวัฒนธรรมบรรษัทภิบาล และส่งเสริมให้มีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในทุกภาคส่วน
ฝ่ายวิจัยธุรกิจ สายงานบริหารความเสี่ยง บมจ.ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า การใช้นโยบายงบประมาณแบบขาดดุลในช่วงนี้ ถือเป็นจังหวะที่เหมาะสม เพราะหนี้สาธารณะของไทยอยู่ในระดับต่ำ และเมื่อเทียบการขาดดุลของงบประมาณรายจ่ายปี 2551 กับ GDP ก็เป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 1.8 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่อยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลัง และหากรัฐบาลสามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณนี้ได้ตามเป้าหมาย ก็จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศได้มาก นอกจากนี้ การที่รัฐบาลจะยังคงใช้นโยบายงบประมาณรายจ่ายแบบขาดดุลต่อเนื่องอีกในปี 2552 โดยขาดดุลประมาณร้อยละ 2.5 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากการขาดดุลร้อยละ 1.8 ในปีงบประมาณ 2551 ก็จะเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ มาตรการเร่งด่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่รัฐบาลควรทำจะประกอบด้วย 1. มาตรการประหยัดพลังงาน โดยควรกำหนดให้เรื่องการประหยัดพลังงานเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากไทยนำเข้าน้ำมันสูงถึงร้อยละ 20 ของ GDP และน้ำมันมีบทบาทในโครงสร้างเศรษฐกิจไทยประมาณร้อยละ 40 จึงมีความจำเป็นที่คนในชาติจะต้องมีจิตสำนึกและเร่งประหยัดการใช้น้ำมัน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีจำกัดและมีแต่จะแพงขึ้นและหมดไปภายในเวลาประมาณ 35 ปี โดยการให้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจัดทำแผนการประหยัดน้ำมันและมี KPI ที่ชัดเจน
ส่วน มาตรการที่ 2. คือการเร่งให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจสำคัญ โดยเฉพาะธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน เช่น ภาคการขนส่ง และภาคการประมง เป็นต้น นอกจากนี้ ควรลดภาษีนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบที่จำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก 3. มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน เช่น การจัดจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพในราคาถูก และดูแลให้เข้าถึงกลุ่มผู้มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง แต่ทั้งนี้ รัฐบาลต้องส่งสัญญาณให้ประชาชนรับรู้ด้วยว่าเป็นเพียงมาตรการชั่วคราวเท่านั้น เพื่อให้ประชาชนมีการปรับตัว
ขณะที่ มาตรการที่ 4 คือ การผลักดันให้การลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐ ดำเนินการเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งประชาชนที่จะได้ใช้ประโยชน์จากโครงการต่าง ๆ โดยเฉพาะ การขนส่งระบบราง แต่ควรดำเนินการด้วยความโปร่งใส รอบคอบ และมีธรรมาภิบาล ส่วนมาตรสุดท้ายที่รัฐบาควรเร่งแก้ปัญหาได้แก่ ความขัดแย้งทางการเมือง โดยทุกฝ่ายต้องลดทิฐิลง แล้วหันหน้าเพื่อเจรจากัน รับฟังข้อเสนอของแต่ละฝ่าย แล้วพยายามหาทางออกร่วมกันโดยสันติวิธี ที่สำคัญต้องให้ความสำคัญกับผลประโยชน์โดยรวมของประเทศเป็นหลัก
ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ของบมจ.ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยอีกว่า นอกจากมาตรการเร่งด่วนที่รัฐบาลควรดำเนินการ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ว มาตรการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และการลงทุนให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนเป็นอีกสิ่งหนึ่งรัฐบาลต้องดำเนินการควบคู่กันไปคือ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์พลังงานของชาติ โดยการพัฒนาพลังงานทางเลือกที่คุ้มค่า และไม่กระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และจัดสรรพื้นที่สำหรับการผลิตพืชพลังงาน และพืชอาหาร อย่างรอบคอบ เหมาะสม และสมดุล รวมทั้งควรเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานอย่างจริงจัง ด้วยการเร่งรัดการปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน ระบบขนส่งสินค้า ยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนผสมผสานระหว่างมาตรการแรงจูงใจและมาตรการบังคับ เพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า
ทั้งนี้ ควรจะมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างมีทิศทาง ด้วยการสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุน ไปพร้อม ๆ กับการส่งเสริมภาคการค้าระหว่างประเทศ และจัดทำแผนเชื่อมโยงเศรษฐกิจสาขาต่าง ๆ แบบบูรณาการ เช่น การจัดทำแผนการตลาด และแผนการผลิตในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ให้มีการเชื่อมโยง สอดคล้อง และสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อให้การค้าและการลงทุนขยายตัวอย่างราบรื่น และมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ ประโยชน์สูงสุดของประเทศ
นอกจากนี้ควรมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านแรงงาน โดยพิจารณาปรับปรุงแผนด้านประชากรศาสตร์ เพื่อเพิ่มกำลังแรงงานในระบบ ที่มีแนวโน้มตึงตัวขึ้น และพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ พร้อมด้วยการสร้างวัฒนธรรมบรรษัทภิบาล และส่งเสริมให้มีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในทุกภาคส่วน