โบรกเกอร์เชื่อกองทุนอสังหาฯ “ควอลิตี้ เฮ้าส์” ไม่เพิ่มทุนเพื่อซื้อสินทรัพย์ใหม่ในครึ่งปีหลัง เหตุผู้ถือหุ้นใหญ่ QH สามารถระดมทุนจากหุ้นกู้ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายทางการเงินที่ต่ำกว่าจนไม่มีความจำเป็นต้องหาแหล่งเงินเพิ่ม หรือถึงกับต้องสร้างผลตอบแทนให้ผู้ลงทุนสูง และไปรอลุ้นได้ใบประกอบธุรกิจโรงแรม
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า บรรดานักวิเคราะห์หลายบริษัทต่างจัดทำบทวิเคราะห์ถึงแนวโน้มธุรกิจของบริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด(มหาชน)(QH) ซึ่งคาดการณ์ถึงประมาณการรายได้ของบริษัทปี2551 ที่จะมีการเติบโตเพิ่ม แต่อย่างไรก็บรรดานักวิเคราะห์ กลับไม่เชื่อมั่นในเพิ่มทุน และขายสินทรัพย์เข้ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ควอลิตี้ เฮ้าส์ (QHPF) โดยหลายรายเชื่อว่าจะมีการชะลอ และเลื่อนแผนดังกล่าวออกไป
ทั้งนี้ ในบทวิเคราะห์ของ บล.นครหลวงไทย ระบุว่า ยังคงประมาณการรายได้ในปี 2551 ไว้ที่ 11,120 ล้านบาทเติบโต 8.5% อย่างไรก็ตามผลจากความไม่แน่นอนของการเพิ่มทุนใน QHPF ทำให้ได้ถอดกำไรจากการขายสิทธิการเช่าในปีนี้จำนวน 365 ล้านบาทออกจากประมาณการ แต่ยังคงเชื่อว่า QH จะมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นก้าวกระโดดถึง 30.4% เท่ากับ 1,391 ล้านบาท จึงยังคงคำแนะนำ “ซื้อ”
ขณะที่ บทวิเคราะห์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า QH อาจตัดสินใจยกเลิกแผนการขายอาคารเซอร์วิส อพาร์ทเมนท์เข้า QHPF หากขายอาคารได้ราคาที่ต่ำเกินไป เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนทางการเงินของ QH ต่ำเพียง 4.8% และอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะส่วนทุนจะเพิ่มขึ้นจากการแปลงสภาพวอร์แรนท์และกำไรที่สูงขึ้นในปีนี้ นอกจากนี้กระแสเงินสดที่ได้จากการประกอบธุรกิจก็เพียงพอที่จะนำไปลงทุนเพิ่มได้โดยไม่ต้องเพิ่มยอดเงินกู้ของกิจการ ทั้งนี้ QH ตั้งเป้าอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจะลดลงเหลือ 1.0 เท่าในปี 2552 และ 0.4 เท่าในปี 2553 ในกรณีไม่ได้ขายอาคารเซอร์วิส อพาร์ทเมนท์ให้ QHPF
ส่วนบทวิเคราะห์ ของ บล.โกลเบล็ก ระบุว่า สำหรับแผนการขายทรัพย์สินเข้า QHPF อาจมีการเปลี่ยนแปลง จากเดิมแผนขายสินทรัพย์เข้ากองทุนรวมฯ QHPF เพิ่มอีก 4 รายการได้แก่ อาคารสำนักงาน 1 แห่งและเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ 3 แห่งมูลค่ารวมราว 3,000 ล้านบาทซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นราว 4Q51-1Q52 ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ หากไม่สามารถได้ใบอนุญาตครบทำให้มูลค่าทรัพย์สินลดลง ขณะที่ต้องเสนอผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนในระดับสูง ประกอบกับการเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการคอนโดมิเนียม 3 แห่งในปี 52-53 และการที่บริษัทสามารถระดมทุนได้จากหุ้นกู้ซึ่งมีค่าใช้จ่ายทางการเงินต่ำกว่า ทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดหมุนเวียนเพียงพอต่อการพัฒนาโครงการและไม่จำเป็นต้องขายทรัพย์สินเข้ากองทุนรวมอสังหาฯ QHPF
ก่อนหน้านี้ นางโชติมา โชติบัณฑิต ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า แผนการเพิ่มทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ควอลิตี้ เฮ้าส์ (QHPF) ที่จะเอา คิวเฮ้าส์ เซ็นเตอร์พอยต์ มาเพิ่มนั้นอาจจะชะลอตัวออกไปเป็นปีหน้า เพระตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการแก้ไขเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
อย่างไรก็ตามสำหรับสินทรัพย์ของ QHPF ลงทุนในขณะนี้ซึ่งประกอบไปด้วย คิวเฮ้าส์ เพลินจิต , คิวเฮ้าส์ ลุมพินี และเวฟเพลส เป็นสินทรัพย์ที่มีคุณภาพและตั้งอยู่ในบริเวณที่ดี โดยในส่วนของคิวเฮ้าส์ เพลินจิต และเวฟเพลส ปัจจุบันมีอัตราผู้เช่า 100% ในขณะที่ คิวเฮ้าส์ ลุมพินี ก็มีอัตราผู้เช่าในระดับสูงเช่นเดียวกัน โดยคาดว่าในปีหน้ากองทุนน่าจะสามารถจ่ายเงินปันผลได้ในอัตราที่สูงกว่าปีนี้ เนื่องมาจากอัตราค่าเช่าที่น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า บรรดานักวิเคราะห์หลายบริษัทต่างจัดทำบทวิเคราะห์ถึงแนวโน้มธุรกิจของบริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด(มหาชน)(QH) ซึ่งคาดการณ์ถึงประมาณการรายได้ของบริษัทปี2551 ที่จะมีการเติบโตเพิ่ม แต่อย่างไรก็บรรดานักวิเคราะห์ กลับไม่เชื่อมั่นในเพิ่มทุน และขายสินทรัพย์เข้ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ควอลิตี้ เฮ้าส์ (QHPF) โดยหลายรายเชื่อว่าจะมีการชะลอ และเลื่อนแผนดังกล่าวออกไป
ทั้งนี้ ในบทวิเคราะห์ของ บล.นครหลวงไทย ระบุว่า ยังคงประมาณการรายได้ในปี 2551 ไว้ที่ 11,120 ล้านบาทเติบโต 8.5% อย่างไรก็ตามผลจากความไม่แน่นอนของการเพิ่มทุนใน QHPF ทำให้ได้ถอดกำไรจากการขายสิทธิการเช่าในปีนี้จำนวน 365 ล้านบาทออกจากประมาณการ แต่ยังคงเชื่อว่า QH จะมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นก้าวกระโดดถึง 30.4% เท่ากับ 1,391 ล้านบาท จึงยังคงคำแนะนำ “ซื้อ”
ขณะที่ บทวิเคราะห์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า QH อาจตัดสินใจยกเลิกแผนการขายอาคารเซอร์วิส อพาร์ทเมนท์เข้า QHPF หากขายอาคารได้ราคาที่ต่ำเกินไป เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนทางการเงินของ QH ต่ำเพียง 4.8% และอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะส่วนทุนจะเพิ่มขึ้นจากการแปลงสภาพวอร์แรนท์และกำไรที่สูงขึ้นในปีนี้ นอกจากนี้กระแสเงินสดที่ได้จากการประกอบธุรกิจก็เพียงพอที่จะนำไปลงทุนเพิ่มได้โดยไม่ต้องเพิ่มยอดเงินกู้ของกิจการ ทั้งนี้ QH ตั้งเป้าอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจะลดลงเหลือ 1.0 เท่าในปี 2552 และ 0.4 เท่าในปี 2553 ในกรณีไม่ได้ขายอาคารเซอร์วิส อพาร์ทเมนท์ให้ QHPF
ส่วนบทวิเคราะห์ ของ บล.โกลเบล็ก ระบุว่า สำหรับแผนการขายทรัพย์สินเข้า QHPF อาจมีการเปลี่ยนแปลง จากเดิมแผนขายสินทรัพย์เข้ากองทุนรวมฯ QHPF เพิ่มอีก 4 รายการได้แก่ อาคารสำนักงาน 1 แห่งและเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ 3 แห่งมูลค่ารวมราว 3,000 ล้านบาทซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นราว 4Q51-1Q52 ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ หากไม่สามารถได้ใบอนุญาตครบทำให้มูลค่าทรัพย์สินลดลง ขณะที่ต้องเสนอผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนในระดับสูง ประกอบกับการเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการคอนโดมิเนียม 3 แห่งในปี 52-53 และการที่บริษัทสามารถระดมทุนได้จากหุ้นกู้ซึ่งมีค่าใช้จ่ายทางการเงินต่ำกว่า ทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดหมุนเวียนเพียงพอต่อการพัฒนาโครงการและไม่จำเป็นต้องขายทรัพย์สินเข้ากองทุนรวมอสังหาฯ QHPF
ก่อนหน้านี้ นางโชติมา โชติบัณฑิต ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า แผนการเพิ่มทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ควอลิตี้ เฮ้าส์ (QHPF) ที่จะเอา คิวเฮ้าส์ เซ็นเตอร์พอยต์ มาเพิ่มนั้นอาจจะชะลอตัวออกไปเป็นปีหน้า เพระตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการแก้ไขเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม
อย่างไรก็ตามสำหรับสินทรัพย์ของ QHPF ลงทุนในขณะนี้ซึ่งประกอบไปด้วย คิวเฮ้าส์ เพลินจิต , คิวเฮ้าส์ ลุมพินี และเวฟเพลส เป็นสินทรัพย์ที่มีคุณภาพและตั้งอยู่ในบริเวณที่ดี โดยในส่วนของคิวเฮ้าส์ เพลินจิต และเวฟเพลส ปัจจุบันมีอัตราผู้เช่า 100% ในขณะที่ คิวเฮ้าส์ ลุมพินี ก็มีอัตราผู้เช่าในระดับสูงเช่นเดียวกัน โดยคาดว่าในปีหน้ากองทุนน่าจะสามารถจ่ายเงินปันผลได้ในอัตราที่สูงกว่าปีนี้ เนื่องมาจากอัตราค่าเช่าที่น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น