ธอมสัน ไฟแนนเชียล - ประธานECB วิตกอัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรที่ 4.0% ชี้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยช่วยแก้ไขสถานการณ์ได้ในระยะกลางเท่านั้น แม้ทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจไม่คึกคัก แต่ยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง ด้านประชาชนชาวอังกฤษมองเศรษฐกิจเป็นเชิงลบ ล่าสุดดัชนีความเชื่อมั่นวูบตามพิษเงินเฟ้อ ราคาบ้านที่ตกต่ำลง
นายฌอง-คล็อด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรโซนที่เคลื่อนไหวในระดับ 4.0% ขณะนี้ถือเป็นตัวเลขที่น่าวิตกกังวล ขณะที่ความเสี่ยงต่อแนวโน้มด้านเงินเฟ้อก็ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
โดยตัวเลขเงินเฟ้อมีแนวโน้มทรงตัวอยู่เหนือระดับเป้าหมายที่เรียกว่ามีเสถียรภาพด้านราคา แต่การตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ECB สู่ระดับ 4.25% เมื่อสัปดาห์ที่แล้วจากเดิมที่ 4.00% จะช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคาได้ในระยะกลาง
“การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวบ่งชี้ว่า ECB มีจุดยืนหนักแน่นในการที่จะป้องกันมิให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อระลอกใหม่ และแม้ภาวะเศรษฐกิจในเขตยูโรโซนปีนี้จะไม่คึกคัก แต่เศรษฐกิจก็ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ช่วงขาลง”
ขณะเดียวกัน นายฌอง-คล็อด ยังค์เกอร์ ประธานของยูโรกรุ๊ปกล่าวว่า ECB มีสิทธิ์ที่จะกำหนดมาตรการต่างๆเพื่อรับประกันเสถียรภาพด้านราคาสินค้า
นอกจากนี้ นายฟิออนนัวลา เออร์ลีย์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเนชั่นไวด์กล่าวว่า ความเชื่อมั่นที่ปรับตัวลดลงในเดือนนี้เป็นผลพวงจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในช่วงที่ผ่านมา อาทิ อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ซบเซา รวมถึงราคาบ้านที่ตกต่ำลง ดังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่ประชาชนจะมีมุมมองทางเศรษฐกิจในอนาคตออกมาในเชิงลบ
โดย เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดที่ได้จากผลการสำรวจดังกล่าวพบว่า มุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง หลังจากที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันในเดือนที่ผ่านมาร่วงลงอย่างหนักเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ดัชนีภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันประจำเดือนมิ.ย.ทรงตัวในระดับเดิมที่ 56 จุด
อย่างไรก็ตาม จำนวนของผู้บริโภคที่มองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในอนาคตจะดีขึ้นนั้นปรับตัวลดลงอย่างมาก โดยกว่า 53% เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจจะยิ่งเลวร้ายลงในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือเป็นสถิติการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในปีนี้และสูงกว่าระดับ 24% ที่ทำการสำรวจเมื่อปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีเปิดเผยว่า ยอดเกินดุลการค้าเดือนพ.ค.ร่วงลงแตะ 1.44 หมื่นล้านยูโร จาก 1.88 หมื่นล้านยูโรในเดือนเม.ย. และลดลงจากยอดเกินดุลการค้า 1.75 หมื่นล้านยูโรในเดือนพ.ค.ของปีที่แล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่า ยอดเกินดุลการค้าของเยอรมนีจะอยู่ที่ระดับ 1.76 หมื่นล้านยูโรในเดือนพ.ค.
โดยยอดส่งออกเดือนพ.ค.อยู่ที่ระดับ 8.08 หมื่นล้านยูโร ลดลงจาก 8.97 หมื่นล้านยูโรในเดือนเม.ย. แต่เพิ่มขึ้นจาก 7.89 หมื่นล้านยูโรในเดือนพ.ค.ของปีที่แล้ว ขณะที่ด้านยอดนำเข้าอยู่ที่ 6.65 หมื่นล้านยูโร ลดลงจาก 7.09 หมื่นล้านยูโรในเดือนเม.ย. แต่เพิ่มขึ้นจาก 6.14 หมื่นล้านยูโรในเดือนพ.ค.ของปีที่แล้ว ส่วนบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเดือนพ.ค.ร่วงลงสู่ระดับ 7.5 พันล้านยูโร จาก 1.55 หมื่นล้านยูโรในเดือนเม.ย. แต่เพิ่มขึ้นจากระดับ 1.34 หมื่นล้านยูโรในเดือนพ.ค.ของปีที่แล้ว
ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของอังกฤษประจำเดือนมิ.ย.ร่วงลง 4 จุดไปอยู่ที่ระดับ 61 จุด ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เริ่มทำการสำรวจเป็นครั้งแรกในเดือนพ.ค.2547 โดยในปีที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 93 จุด
นายฌอง-คล็อด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรโซนที่เคลื่อนไหวในระดับ 4.0% ขณะนี้ถือเป็นตัวเลขที่น่าวิตกกังวล ขณะที่ความเสี่ยงต่อแนวโน้มด้านเงินเฟ้อก็ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
โดยตัวเลขเงินเฟ้อมีแนวโน้มทรงตัวอยู่เหนือระดับเป้าหมายที่เรียกว่ามีเสถียรภาพด้านราคา แต่การตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ECB สู่ระดับ 4.25% เมื่อสัปดาห์ที่แล้วจากเดิมที่ 4.00% จะช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคาได้ในระยะกลาง
“การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวบ่งชี้ว่า ECB มีจุดยืนหนักแน่นในการที่จะป้องกันมิให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อระลอกใหม่ และแม้ภาวะเศรษฐกิจในเขตยูโรโซนปีนี้จะไม่คึกคัก แต่เศรษฐกิจก็ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ช่วงขาลง”
ขณะเดียวกัน นายฌอง-คล็อด ยังค์เกอร์ ประธานของยูโรกรุ๊ปกล่าวว่า ECB มีสิทธิ์ที่จะกำหนดมาตรการต่างๆเพื่อรับประกันเสถียรภาพด้านราคาสินค้า
นอกจากนี้ นายฟิออนนัวลา เออร์ลีย์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเนชั่นไวด์กล่าวว่า ความเชื่อมั่นที่ปรับตัวลดลงในเดือนนี้เป็นผลพวงจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในช่วงที่ผ่านมา อาทิ อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ซบเซา รวมถึงราคาบ้านที่ตกต่ำลง ดังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่ประชาชนจะมีมุมมองทางเศรษฐกิจในอนาคตออกมาในเชิงลบ
โดย เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดที่ได้จากผลการสำรวจดังกล่าวพบว่า มุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง หลังจากที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันในเดือนที่ผ่านมาร่วงลงอย่างหนักเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ดัชนีภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันประจำเดือนมิ.ย.ทรงตัวในระดับเดิมที่ 56 จุด
อย่างไรก็ตาม จำนวนของผู้บริโภคที่มองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในอนาคตจะดีขึ้นนั้นปรับตัวลดลงอย่างมาก โดยกว่า 53% เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจจะยิ่งเลวร้ายลงในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือเป็นสถิติการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในปีนี้และสูงกว่าระดับ 24% ที่ทำการสำรวจเมื่อปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีเปิดเผยว่า ยอดเกินดุลการค้าเดือนพ.ค.ร่วงลงแตะ 1.44 หมื่นล้านยูโร จาก 1.88 หมื่นล้านยูโรในเดือนเม.ย. และลดลงจากยอดเกินดุลการค้า 1.75 หมื่นล้านยูโรในเดือนพ.ค.ของปีที่แล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่า ยอดเกินดุลการค้าของเยอรมนีจะอยู่ที่ระดับ 1.76 หมื่นล้านยูโรในเดือนพ.ค.
โดยยอดส่งออกเดือนพ.ค.อยู่ที่ระดับ 8.08 หมื่นล้านยูโร ลดลงจาก 8.97 หมื่นล้านยูโรในเดือนเม.ย. แต่เพิ่มขึ้นจาก 7.89 หมื่นล้านยูโรในเดือนพ.ค.ของปีที่แล้ว ขณะที่ด้านยอดนำเข้าอยู่ที่ 6.65 หมื่นล้านยูโร ลดลงจาก 7.09 หมื่นล้านยูโรในเดือนเม.ย. แต่เพิ่มขึ้นจาก 6.14 หมื่นล้านยูโรในเดือนพ.ค.ของปีที่แล้ว ส่วนบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเดือนพ.ค.ร่วงลงสู่ระดับ 7.5 พันล้านยูโร จาก 1.55 หมื่นล้านยูโรในเดือนเม.ย. แต่เพิ่มขึ้นจากระดับ 1.34 หมื่นล้านยูโรในเดือนพ.ค.ของปีที่แล้ว
ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของอังกฤษประจำเดือนมิ.ย.ร่วงลง 4 จุดไปอยู่ที่ระดับ 61 จุด ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เริ่มทำการสำรวจเป็นครั้งแรกในเดือนพ.ค.2547 โดยในปีที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 93 จุด