กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการชวนสมาชิกรับสิทธิประโยชน์เฉพาะผู้ถือบัตรสมาชิกกบข. เพื่อรับสิทธิเข้าร่วมโครงการต่างๆ มากมายในบัตรเดียว เผยเตรียมปูทางขยายขอบเขตการให้บริการให้กว้างขึ้น
นางอมฤดา สุวรรณจินดา ผู้ช่วยเลขาธิการ สายสมาชิกสัมพันธ์และกิจกรรมสาธารณะ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กบข.ได้จัดหาสวัสดิการที่เป็นประโยชน์ให้กับสมาชิก โดยสร้างสรรค์รูปแบบของสวัสดิการที่มีความจำเป็นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิต และการศึกษา โดยเป้าหมายหลักในการจัดสวัสดิการมุ่งทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกดีขึ้นและช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประจำวัน รวมทั้งในอนาคตที่ กบข. ได้กำลังขยายแนวคิดในการรขยายขอบเขตสวัสดิการต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้กว้างขวางและสอดคล้องกับวิถีชีวิตมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้สมาชิก กบข. สามารถรับสิทธิประโยชน์ได้ด้วยการแสดงตนในการเป็นสมาชิก กบข. ด้วย “ บัตรสมาชิก กบข.“ ที่นอกจากจะใช้เป็นช่องทางสำคัญในการแสดงตนต่อหน่วยงานเพื่อติดต่อเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ของ กบข.แล้ว ยังเป็นช่องทางเพื่อให้สมาชิกสามารถเข้าร่วมกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่ กบข. จัดขึ้นมากมาย โดยหากสมาชิกท่านใดทำบัตรสมาชิก ชำรุด สูญหายหรือต้องการแก้ไขข้อมูลบนบัตร สามารถดำเนินการได้โดยกรอกข้อมูลใน ” แบบฟอร์มใบคำร้องขอมีบัตรประจำตัวสมาชิก กบข.” ( แบบ กบข.020) ซึ่งติดต่อขอรับได้จากหน่วยงานต้นสังกัด หรือดาวน์โหลดได้ทางเว็บไซต์ กบข.ที่ www.gpf.or.th เมนูข้อมูลสมาชิก หรือโทร 1179 กด 5 จากเครื่องโทรสาร พร้อมแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้องและรับรองสำเนาถูกต้อง หลังจากนั้นส่งเอกสารมายังกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฝ่ายทะเบียนรับ) เลขที่ 990 ถ.พระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นในการทำบัตร โดย กบข. จะจัดส่งบัตรสมาชิกให้ภายใน 1 เดือนนับจากวันที่ได้รับใบคำร้องขอมีบัตรประจำตัวสมาชิก กบข.
อย่างไรก็ตามหากสมาชิก กบข. ท่านใดต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์จากบัตรสมาชิก กบข. สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ฝ่ายสื่อสารสมาชิกและประชาสัมพันธ์ โทร.1179 กด 6 หรือที่ member@gpf.or.th และสามารถค้นหารายชื่อร้านค้าหรือสถานประกอบการต่างๆ พร้อมรายละเอียดส่วนลดได้ทางเว็บไซต์ กบข. ที่ www.gpf.or.th เมนูสวัสดิการ
ก่อนหน้านี้นางอมฤดา เปิดเผยว่าขณะนี้ กบข.ได้พัฒนาระบบการนำส่งเงินของสมาชิกสำหรับหน่วยงานต้นสังกัดด้วยการนำเทคโนโลยีทางด้านอินเตอร์เน็ตมาใช้ โดยเรียกระบบดังกล่าวว่า “ระบบ MCS-WEB” เพื่อให้หน่วยงานต้นสังกัดที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบจ่ายตรงของกรมบัญชีกลางจำนวนกว่า 5,000 แห่งทั่วประเทศสามารถจัดทำข้อมูลการนำส่งเงิน กบข. ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ด้วยตนเอง จากเดิมที่หน่วยงานแต่ละหน่วยต้องจัดทำข้อมูลเงินนำส่ง ของสมาชิกที่หน่วยของตนเองแล้วนำข้อมูลไปส่งไว้ยังคลังจังหวัด เพื่อให้คลังจังหวัดเป็นผู้รวบรวมข้อมูลนำส่ง กบข.ต่อไป ซึ่งโดยปกติในแต่ละเดือน กบข. จะมีปริมาณข้อมูลการนำส่งเงินจากสมาชิกประมาณ 1.17 ล้านคน คิดเป็นเงินรวมกว่าเดือนละ 1,800 ล้านบาท ทั้งนี้ หน่วยราชการต้นสังกัดจะสามารถเริ่มใช้ระบบได้ในเดือนกรกฎาคมนี้เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ระบบ MCS-WEB จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน กบข. สามารถทำการบันทึกข้อมูลสมาชิกบรรจุใหม่ การโอนย้ายหน่วยงาน การปรับอัตราเงินเดือน การแก้ไขประวัติส่วนตัวของสมาชิก และให้บริการการจัดทำข้อมูลเงินนำส่งของสมาชิก รวมทั้งการโอนเงินอัตโนมัติให้ กบข. ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ทำให้การประมวลผลเงินนำส่งของสมาชิกรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังเป็นการรวบรวมข้อมูลทุกส่วนไว้ในฐานข้อมูลกลางเพียงแห่งเดียว ทำให้การจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพ และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการนำส่งเอกสารระหว่างกัน เนื่องจากหน่วยงานสามารถจัดพิมพ์รายงานสำคัญต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
นางอมฤดา สุวรรณจินดา ผู้ช่วยเลขาธิการ สายสมาชิกสัมพันธ์และกิจกรรมสาธารณะ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กบข.ได้จัดหาสวัสดิการที่เป็นประโยชน์ให้กับสมาชิก โดยสร้างสรรค์รูปแบบของสวัสดิการที่มีความจำเป็นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิต และการศึกษา โดยเป้าหมายหลักในการจัดสวัสดิการมุ่งทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกดีขึ้นและช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประจำวัน รวมทั้งในอนาคตที่ กบข. ได้กำลังขยายแนวคิดในการรขยายขอบเขตสวัสดิการต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้กว้างขวางและสอดคล้องกับวิถีชีวิตมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้สมาชิก กบข. สามารถรับสิทธิประโยชน์ได้ด้วยการแสดงตนในการเป็นสมาชิก กบข. ด้วย “ บัตรสมาชิก กบข.“ ที่นอกจากจะใช้เป็นช่องทางสำคัญในการแสดงตนต่อหน่วยงานเพื่อติดต่อเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ของ กบข.แล้ว ยังเป็นช่องทางเพื่อให้สมาชิกสามารถเข้าร่วมกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่ กบข. จัดขึ้นมากมาย โดยหากสมาชิกท่านใดทำบัตรสมาชิก ชำรุด สูญหายหรือต้องการแก้ไขข้อมูลบนบัตร สามารถดำเนินการได้โดยกรอกข้อมูลใน ” แบบฟอร์มใบคำร้องขอมีบัตรประจำตัวสมาชิก กบข.” ( แบบ กบข.020) ซึ่งติดต่อขอรับได้จากหน่วยงานต้นสังกัด หรือดาวน์โหลดได้ทางเว็บไซต์ กบข.ที่ www.gpf.or.th เมนูข้อมูลสมาชิก หรือโทร 1179 กด 5 จากเครื่องโทรสาร พร้อมแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้องและรับรองสำเนาถูกต้อง หลังจากนั้นส่งเอกสารมายังกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฝ่ายทะเบียนรับ) เลขที่ 990 ถ.พระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นในการทำบัตร โดย กบข. จะจัดส่งบัตรสมาชิกให้ภายใน 1 เดือนนับจากวันที่ได้รับใบคำร้องขอมีบัตรประจำตัวสมาชิก กบข.
อย่างไรก็ตามหากสมาชิก กบข. ท่านใดต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์จากบัตรสมาชิก กบข. สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ฝ่ายสื่อสารสมาชิกและประชาสัมพันธ์ โทร.1179 กด 6 หรือที่ member@gpf.or.th และสามารถค้นหารายชื่อร้านค้าหรือสถานประกอบการต่างๆ พร้อมรายละเอียดส่วนลดได้ทางเว็บไซต์ กบข. ที่ www.gpf.or.th เมนูสวัสดิการ
ก่อนหน้านี้นางอมฤดา เปิดเผยว่าขณะนี้ กบข.ได้พัฒนาระบบการนำส่งเงินของสมาชิกสำหรับหน่วยงานต้นสังกัดด้วยการนำเทคโนโลยีทางด้านอินเตอร์เน็ตมาใช้ โดยเรียกระบบดังกล่าวว่า “ระบบ MCS-WEB” เพื่อให้หน่วยงานต้นสังกัดที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบจ่ายตรงของกรมบัญชีกลางจำนวนกว่า 5,000 แห่งทั่วประเทศสามารถจัดทำข้อมูลการนำส่งเงิน กบข. ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ด้วยตนเอง จากเดิมที่หน่วยงานแต่ละหน่วยต้องจัดทำข้อมูลเงินนำส่ง ของสมาชิกที่หน่วยของตนเองแล้วนำข้อมูลไปส่งไว้ยังคลังจังหวัด เพื่อให้คลังจังหวัดเป็นผู้รวบรวมข้อมูลนำส่ง กบข.ต่อไป ซึ่งโดยปกติในแต่ละเดือน กบข. จะมีปริมาณข้อมูลการนำส่งเงินจากสมาชิกประมาณ 1.17 ล้านคน คิดเป็นเงินรวมกว่าเดือนละ 1,800 ล้านบาท ทั้งนี้ หน่วยราชการต้นสังกัดจะสามารถเริ่มใช้ระบบได้ในเดือนกรกฎาคมนี้เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ระบบ MCS-WEB จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน กบข. สามารถทำการบันทึกข้อมูลสมาชิกบรรจุใหม่ การโอนย้ายหน่วยงาน การปรับอัตราเงินเดือน การแก้ไขประวัติส่วนตัวของสมาชิก และให้บริการการจัดทำข้อมูลเงินนำส่งของสมาชิก รวมทั้งการโอนเงินอัตโนมัติให้ กบข. ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ทำให้การประมวลผลเงินนำส่งของสมาชิกรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังเป็นการรวบรวมข้อมูลทุกส่วนไว้ในฐานข้อมูลกลางเพียงแห่งเดียว ทำให้การจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพ และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการนำส่งเอกสารระหว่างกัน เนื่องจากหน่วยงานสามารถจัดพิมพ์รายงานสำคัญต่างๆ ได้ด้วยตนเอง