หันหน้าไปทางไหนยามนี้ที่เศรษฐกิจดี ๆ จะมองเห็นว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่จับจ่ายใช้สอยจนเกินตัว ต้องการแต่ความสบายในวันนี้โดยไม่ได้มองถึงอนาคตข้างหน้า อาจเพราะเงินทองหาได้ง่ายขึ้น มากขึ้น ประกอบกับในแวดวงโฆษณาต่างก็งัดกลยุทธ์ทุกรูปแบบ เพื่อให้สินค้าจับใจผู้บริโภคจนยอมควักเงินไปซื้อของเหล่านั้นมาใช้เป็นของตนเอง ทั้ง ๆ ที่บางครั้งไม่เกิดประโยชน์อันใดแก่ตนเองเท่าที่ควร ซึ่งช่างตรงกันข้ามกับการควักเงินตนเองเพื่อให้มีเงินไว้ใช้ในยามเกษียณจะได้สุขสบายเสียจริง เพราะแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีและมีประโยชน์ขนาดไหน แต่ก็ยากที่จะมีคนจะเห็นประโยชน์ อาจเป็นเพราะมันทำให้เราไม่ได้กิน ไม่ได้ใช้ หรือไม่เท่ห์ในวันนี้ก็เป็นได้
วันนี้เรามามองดูของง่าย ๆ คือ “บันได” ที่จะพาเราไปที่ใดที่หนึ่งที่เราต้องการไป ด้วย “บันได 10 ขั้น” จะช่วยให้สามารถก้าวไปสู่การชีวิตที่เป็นสุขตอนเกษียณกัน
ขั้นที่ 1 เริ่มออมเงินให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยิ่งเริ่มออมเร็วเท่าไรก็ยิ่งจะมีเงินก้อนใหญ่ขึ้นเท่านั้นผลของดอกเบี้ยทบต้นกับระยะเวลา ทำให้เงินของเติบโตเร็วขึ้น แต่ถึงแม้ว่าคิดและตัดสินใจได้ช้าและเริ่มต้นช้าไปหน่อย ก็อย่ายอมแพ้ถึงจะเริ่มต้นช้าแค่ไหนก็ยังดีกว่าที่จะไม่ทำอะไรเลย
ขั้นที่ 2 สร้างแผนการออมเพื่อการเกษียณเสียแต่เนิ่นๆ
จากการศึกษาของ สถาบันเงินออมของอเมริกา (American Savings Education Council) พบว่าคนที่ประมาณการจำนวนเงินที่ต้องการใช้หลังจากเกษียณตั้งแต่ตอนที่ทำงานอยู่นั้น จะมีเงินออมเพื่อเกษียณมากกว่าคนที่ไม่ได้ประมาณการอยู่เกือบถึง 5 เท่า
ขั้นที่ 3 ศึกษาและติดตามข้อมูลเรื่องของเงินออมเพื่อเกษียณให้มากที่สุด
ทั้งในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือสิทธิที่พึงจะได้จากนายจ้าง สิ่งใหม่ๆ เช่นทางเลือกในการลงทุน (Investment choice) โดยจะต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ และใช้สิทธิให้เกิดประโยชน์ให้เต็มที่
ขั้น 4 ศึกษาเครื่องมือในการออมและการลงทุนใหม่ๆอยู่เสมอ
ได้แก่แบบประกันชีวิตแบบบำนาญที่จะจ่ายเงินให้คุณเป็นงวดๆ หลังครบอายุสัญญา หรือนโยบายการลงทุนใหม่ ๆ ใน บลจ. หรือ ในบริษัทประกันชีวิต ที่พัฒนาเสนอออกมาใหม่ ๆ เหมาะสมกับยุคสมัยเสมอ
ขั้นที่ 5 ลงทุนโดยใช้สมอง ไม่ทำตามกระแส หรืออารมณ์ของคุณ
ไม่ใช่ว่า มีหุ้นตัวไหนที่ดูร้อนแรงก็ไปลงทุนตามเค้า ควรศึกษาข้อมูลและกระจายการลงทุนให้หลากหลายไปในตราสารต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการลงทุน ทั้งในเรื่องเงินปันผล และกำไรจากการขายหลักทรัพย์ อย่าปล่อยให้สิทธิประโยชน์เสียไป
ขั้นที่ 6 เตรียมการทำงานหลังเกษียณ
หลาย ๆ คนคงบอกว่าเกษียณแล้วทำไมต้องทำงาน แต่ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เกษียณแล้วนั้นก็ยังมีศักยภาพในการทำงาน และยังต้องการจะทำงานอยู่ ที่สำคัญยังทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยและทำให้คุณมีชีวิต ชีวามีพลังขึ้น
ขั้นที่ 7 เตรียมพร้อมที่จะปรับแผน
ถึงเราจะวางแผนไว้แล้วแต่อาจจะมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งทำให้เงินก้อนของเราที่ตั้งใจให้มีเต็มจำนวนหนึ่ง ๆ นั้นลดลง โดยเราอาจจะต้องปรับเปลี่ยนแผนเพื่อหาทางลดค่าใช้จ่าย เช่นหาทางย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดที่ค่าครองชีพน้อยลง หรือปรับมาตรฐานการดำรงชีวิตให้อยู่แบบพอเพียงยิ่งขึ้น
ขั้นที่ 8 ติดตามและประเมิน ความก้าวหน้าอย่างสม่ำเสมอ
ทบทวนแผนอย่างน้อยปีละครั้ง และปรับนโยบายในการลงทุนให้เหมาะสมตามความสามารถในการออม วัย การยอมรับความเสี่ยง และสภาวะตลาด
ขั้นที่ 9 วางกลยุทธ์ให้เหมาะสม
การสะสมเงินนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญครึ่งหนึ่งในการออมเพื่อเกษียณ แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการนำเงินไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนตามที่ต้องการอย่างมีกลยุทธ์ ตามที่ได้แนะนำไปแล้ว
บันไดขั้นสุดท้าย สร้างความอยากมีอยากได้ตอนเกษียณ ถ้าเรามีความอยากจะมี อยากจะได้ไว้บ้างเช่นอยากมีความสุขสบายยามแก่ หรืออยากท่องเที่ยว ฯลฯ จะช่วยให้เรามีแรงบันดาลใจที่จะสร้างแผนการเกษียณ และปฏิบัติตามแผนนั้น ๆ เพื่อไม่ใช่ใช้ชีวิตอย่างห่อเหี่ยว ไม่อยากมี ไม่อยากได้อะไรอีกแล้ว ชีวิตอาจหมดรสชาติและหมดแรงล้มหายตายจากไปได้ง่าย ๆ
บันไดมักพาเราไปสู่ที่เราอยากจะไปได้อย่างสะดวก แล้วทำไมเราจะมีบันไดที่พาเราไปสู่ความสบายในตอนเกษียณไม่ได้หละ
วันนี้เรามามองดูของง่าย ๆ คือ “บันได” ที่จะพาเราไปที่ใดที่หนึ่งที่เราต้องการไป ด้วย “บันได 10 ขั้น” จะช่วยให้สามารถก้าวไปสู่การชีวิตที่เป็นสุขตอนเกษียณกัน
ขั้นที่ 1 เริ่มออมเงินให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยิ่งเริ่มออมเร็วเท่าไรก็ยิ่งจะมีเงินก้อนใหญ่ขึ้นเท่านั้นผลของดอกเบี้ยทบต้นกับระยะเวลา ทำให้เงินของเติบโตเร็วขึ้น แต่ถึงแม้ว่าคิดและตัดสินใจได้ช้าและเริ่มต้นช้าไปหน่อย ก็อย่ายอมแพ้ถึงจะเริ่มต้นช้าแค่ไหนก็ยังดีกว่าที่จะไม่ทำอะไรเลย
ขั้นที่ 2 สร้างแผนการออมเพื่อการเกษียณเสียแต่เนิ่นๆ
จากการศึกษาของ สถาบันเงินออมของอเมริกา (American Savings Education Council) พบว่าคนที่ประมาณการจำนวนเงินที่ต้องการใช้หลังจากเกษียณตั้งแต่ตอนที่ทำงานอยู่นั้น จะมีเงินออมเพื่อเกษียณมากกว่าคนที่ไม่ได้ประมาณการอยู่เกือบถึง 5 เท่า
ขั้นที่ 3 ศึกษาและติดตามข้อมูลเรื่องของเงินออมเพื่อเกษียณให้มากที่สุด
ทั้งในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือสิทธิที่พึงจะได้จากนายจ้าง สิ่งใหม่ๆ เช่นทางเลือกในการลงทุน (Investment choice) โดยจะต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ และใช้สิทธิให้เกิดประโยชน์ให้เต็มที่
ขั้น 4 ศึกษาเครื่องมือในการออมและการลงทุนใหม่ๆอยู่เสมอ
ได้แก่แบบประกันชีวิตแบบบำนาญที่จะจ่ายเงินให้คุณเป็นงวดๆ หลังครบอายุสัญญา หรือนโยบายการลงทุนใหม่ ๆ ใน บลจ. หรือ ในบริษัทประกันชีวิต ที่พัฒนาเสนอออกมาใหม่ ๆ เหมาะสมกับยุคสมัยเสมอ
ขั้นที่ 5 ลงทุนโดยใช้สมอง ไม่ทำตามกระแส หรืออารมณ์ของคุณ
ไม่ใช่ว่า มีหุ้นตัวไหนที่ดูร้อนแรงก็ไปลงทุนตามเค้า ควรศึกษาข้อมูลและกระจายการลงทุนให้หลากหลายไปในตราสารต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการลงทุน ทั้งในเรื่องเงินปันผล และกำไรจากการขายหลักทรัพย์ อย่าปล่อยให้สิทธิประโยชน์เสียไป
ขั้นที่ 6 เตรียมการทำงานหลังเกษียณ
หลาย ๆ คนคงบอกว่าเกษียณแล้วทำไมต้องทำงาน แต่ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เกษียณแล้วนั้นก็ยังมีศักยภาพในการทำงาน และยังต้องการจะทำงานอยู่ ที่สำคัญยังทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยและทำให้คุณมีชีวิต ชีวามีพลังขึ้น
ขั้นที่ 7 เตรียมพร้อมที่จะปรับแผน
ถึงเราจะวางแผนไว้แล้วแต่อาจจะมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งทำให้เงินก้อนของเราที่ตั้งใจให้มีเต็มจำนวนหนึ่ง ๆ นั้นลดลง โดยเราอาจจะต้องปรับเปลี่ยนแผนเพื่อหาทางลดค่าใช้จ่าย เช่นหาทางย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดที่ค่าครองชีพน้อยลง หรือปรับมาตรฐานการดำรงชีวิตให้อยู่แบบพอเพียงยิ่งขึ้น
ขั้นที่ 8 ติดตามและประเมิน ความก้าวหน้าอย่างสม่ำเสมอ
ทบทวนแผนอย่างน้อยปีละครั้ง และปรับนโยบายในการลงทุนให้เหมาะสมตามความสามารถในการออม วัย การยอมรับความเสี่ยง และสภาวะตลาด
ขั้นที่ 9 วางกลยุทธ์ให้เหมาะสม
การสะสมเงินนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญครึ่งหนึ่งในการออมเพื่อเกษียณ แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการนำเงินไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนตามที่ต้องการอย่างมีกลยุทธ์ ตามที่ได้แนะนำไปแล้ว
บันไดขั้นสุดท้าย สร้างความอยากมีอยากได้ตอนเกษียณ ถ้าเรามีความอยากจะมี อยากจะได้ไว้บ้างเช่นอยากมีความสุขสบายยามแก่ หรืออยากท่องเที่ยว ฯลฯ จะช่วยให้เรามีแรงบันดาลใจที่จะสร้างแผนการเกษียณ และปฏิบัติตามแผนนั้น ๆ เพื่อไม่ใช่ใช้ชีวิตอย่างห่อเหี่ยว ไม่อยากมี ไม่อยากได้อะไรอีกแล้ว ชีวิตอาจหมดรสชาติและหมดแรงล้มหายตายจากไปได้ง่าย ๆ
บันไดมักพาเราไปสู่ที่เราอยากจะไปได้อย่างสะดวก แล้วทำไมเราจะมีบันไดที่พาเราไปสู่ความสบายในตอนเกษียณไม่ได้หละ