บลจ.ยูโอบีตั้งเป้าเพิ่มสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการขึ้นเป็น 120,000 ล้านบาท พร้อมขายกองทุนเอฟไอเอฟเดือนละ 1 กองทุน ล่าสุด เปิดตัว “กองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท คอมโมดิตี้” เน้นลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ต่างประเทศ อาทิ น้ำมันดิบ ทองคำ อะลูมิเนียม ข้าวสาลี ข้าวโพด มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท เปิดไอพีโอระหว่าง 20-28 พ.ค.นี้ "วนา"ชี้ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงิน แถมมีผลตอบแทนที่ดี
นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ามีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร(AUM) ภายในปีนี้เพิ่มเป็น 120,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 20,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการประมาณ 80,000 ล้านบาท ซึ่งรวมกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (Provident Fund) และกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund)
โดย แผนการดำเนินงานของปีนี้ บริษัทจะออกกองทุนเพิ่มเติมอีกประมาณ 7 กองทุน หรือเดือนละ 1 กองทุน โดยจะเน้นลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ (FIF) และจะเน้นเซกเตอร์ของสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก แต่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์เซกเตอร์ใดมีแนวโน้มเจริญเติบโตที่ดี ขณะเดียวกัน ยังจะเน้นขายกองทุนเปิดยูโอบี ชัวร์เดลี ด้วย
ล่าสุด บริษัทได้เปิดเสนอขาย“กองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท คอมโมดิตี้” ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท โดยจะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 20-28 พฤษภาคม 2551 มูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท แต่ไม่ได้มีการคาดการณ์ผลการตอบรับไว้ อย่างไรก็ตามกองทุนดังกล่าวเหมาะสำหรับนักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ และเคยลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงมาบ้างแล้ว และที่ผ่านมามีนักลงทุนแสดงความสนใจมาพอสมควร
ทั้งนี้ กองทุนจะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนประเภท R1C ของกองทุน DB Platinum Commodity Euro ซึ่งเป็นกองทุนของ DB Platinum Advisors ประเทศลักเซมเบิร์ก โดยมีผลตอบแทนของกองทุนอ้างอิงกับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ Fx Hedged Deutsche Bank Liquit Commodity Index-Mean Reversion Euro (After cost) ประกอบไปด้วยสินค้าโภคภัณฑ์ 4 หมวดได้แก่ หมวดพลังงาน หมวดโลหะมีค่า หมวดอุตสาหกรรม และหมวดสินค้าเกษตร ในสินค้า 6 ชนิด ได้แก่ น้ำมันดิบ ฮีททิ้งออยล์ ทองคำ อะลูมิเนียม ข้าวสาลี ข้าวโพด ดังนั้นกองทุนดังกล่าวจึงเหมาะกับนักลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนที่ดีจากการจัดสรรเงินลงทุน ในดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ และต้องการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
"การลงทุนในดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ กองทุนจะมีการขั้นตอนและวิธีการปรับพอร์ตลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ทุกประเภท ซึ่งสามารถให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจกว่า และเป็นวิธีที่ทำให้ลูกค้าไม่ต้องเสี่ยงจนเกินไป โดยในช่วงที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทใดปรับตัวสูงขึ้นมากมา ก็จะมีการให้น้ำหนักการลงทุนลดลง ซึ่งอาจจะปรับลดพอร์ตลงทุนจนเหลือเท่ากับ 0 แต่หากสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทใดมีราคาที่ต่ำ ก็จะให้น้ำหนักการลงทุนเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะว่าสินค้าโภคภัณฑ์ในแต่ละกลุ่มจะมีวัฏจักรราคาที่แตกต่างกัน ดังนั้นการที่ให้น้ำหนักการลงทุนแบบคงที่ไม่ให้ผลที่ดีที่สุด ทำให้กองทุนจะมีการปรับพอร์ตทุกวัน เพื่อไม่ให้ Track ดัชนีไม่ให้ความแตกต่างมาก"
ส่วนน้ำหนักการลงทุน สิ้นสุด ณ วันที่ 1 เมษายน 2551 พบว่า DB Platinum Commodity Euro ลงทุนในน้ำมันดิบ 28.80% ฮีททิ้งออยล์ 16.20% ทองคำ 10.80% อะลูมิเนียม 32.50% ข้าวสาลี 2.70% และข้าวโพด 9.10%
ขณะที่ ผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุน ณ วันที่ 30 เมษายน 2551 พบว่า สามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 23.60% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 11.53% ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 21.62% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 13.73% ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 31.69% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 16.04% ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 73.08% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 36.78% ผลตอบแทนย้อนหลัง 2 ปีอยู่ที่ 128.19% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 7.67% และสามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 142.59% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 23.88%
นายวนา กล่าวว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวค่อนข้างดี เนื่องจากความไม่สมดุลของปริมาณการผลิตกับความต้องการจากความต้องการในการบริโภคของประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ราคาน้ำมันซึ่งมีราคาแพงขึ้น ความต้องการบริโภคสูงขึ้นกว่าปริมาณการผลิต โดยเฉพาะในประเทศจีน ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้น 5 เท่า ทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันสูงกว่ากำลังการผลิต และต้นทุนการผลิตน้ำมันที่สูงขึ้นกว่าเท่าตัว โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 5 ดอลลาร์สหรัฐเป็น 10 ดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นปริมาณน้ำมันที่น่าจะออกมามากจึงมีน้อยลงไปไม่ทันกับความต้องการ
อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันในปีนี้จะปรับตัวสูงขึ้นอีกเล็กน้อย และจะยืนอยู่ในระดับนี้ แต่หากมีความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เช่น กลุ่มประเทศอาหรับ ภัยธรรมชาติ อาจจะทำให้ราคาทรงตัว และลงไปไม่มาก โดยเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐและจะทำให้คนหันมาสนใจพลังงานจากธรรมชาติมากขึ้น โดยในระยะยาวพลังงานทางเลือก ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันลดลง แต่ในระยะสั้นและระยะกลางยังทรงตัว นอกจากนี้การที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้มีพื้นที่แห้งแล้งมากขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ทำให้ราคาสินค้าทางการเกษตรเพิ่มขึ้นในระยะยาว และยังถูกนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ ขณะที่ความต้องการในข้าวโพดสูงขึ้น เพราะส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้ทำพลังงานทางเลือก
“การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้ เพราะเงินเฟ้อจะสูงก็เพราะราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ฉะนั้น ถ้าเราลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ผลตอบแทนจาการลงทุนของเราก็ปรับตัวไปตามเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ยังเป็นทางเลือกในการกระจายการลงทุนที่ดี เพราะมีความสัมพันธ์ที่ต่ำกับสินทรัพย์ทางการเงินประเภทหุ้นและตราสารหนี้ ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนของเรา” นายวนา กล่าว
นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ามีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร(AUM) ภายในปีนี้เพิ่มเป็น 120,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 20,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการประมาณ 80,000 ล้านบาท ซึ่งรวมกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (Provident Fund) และกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund)
โดย แผนการดำเนินงานของปีนี้ บริษัทจะออกกองทุนเพิ่มเติมอีกประมาณ 7 กองทุน หรือเดือนละ 1 กองทุน โดยจะเน้นลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ (FIF) และจะเน้นเซกเตอร์ของสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก แต่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์เซกเตอร์ใดมีแนวโน้มเจริญเติบโตที่ดี ขณะเดียวกัน ยังจะเน้นขายกองทุนเปิดยูโอบี ชัวร์เดลี ด้วย
ล่าสุด บริษัทได้เปิดเสนอขาย“กองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท คอมโมดิตี้” ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) มูลค่าโครงการ 1,400 ล้านบาท โดยจะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 20-28 พฤษภาคม 2551 มูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท แต่ไม่ได้มีการคาดการณ์ผลการตอบรับไว้ อย่างไรก็ตามกองทุนดังกล่าวเหมาะสำหรับนักลงทุนที่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ และเคยลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงมาบ้างแล้ว และที่ผ่านมามีนักลงทุนแสดงความสนใจมาพอสมควร
ทั้งนี้ กองทุนจะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนประเภท R1C ของกองทุน DB Platinum Commodity Euro ซึ่งเป็นกองทุนของ DB Platinum Advisors ประเทศลักเซมเบิร์ก โดยมีผลตอบแทนของกองทุนอ้างอิงกับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ Fx Hedged Deutsche Bank Liquit Commodity Index-Mean Reversion Euro (After cost) ประกอบไปด้วยสินค้าโภคภัณฑ์ 4 หมวดได้แก่ หมวดพลังงาน หมวดโลหะมีค่า หมวดอุตสาหกรรม และหมวดสินค้าเกษตร ในสินค้า 6 ชนิด ได้แก่ น้ำมันดิบ ฮีททิ้งออยล์ ทองคำ อะลูมิเนียม ข้าวสาลี ข้าวโพด ดังนั้นกองทุนดังกล่าวจึงเหมาะกับนักลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนที่ดีจากการจัดสรรเงินลงทุน ในดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ และต้องการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
"การลงทุนในดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ กองทุนจะมีการขั้นตอนและวิธีการปรับพอร์ตลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ทุกประเภท ซึ่งสามารถให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจกว่า และเป็นวิธีที่ทำให้ลูกค้าไม่ต้องเสี่ยงจนเกินไป โดยในช่วงที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทใดปรับตัวสูงขึ้นมากมา ก็จะมีการให้น้ำหนักการลงทุนลดลง ซึ่งอาจจะปรับลดพอร์ตลงทุนจนเหลือเท่ากับ 0 แต่หากสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทใดมีราคาที่ต่ำ ก็จะให้น้ำหนักการลงทุนเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะว่าสินค้าโภคภัณฑ์ในแต่ละกลุ่มจะมีวัฏจักรราคาที่แตกต่างกัน ดังนั้นการที่ให้น้ำหนักการลงทุนแบบคงที่ไม่ให้ผลที่ดีที่สุด ทำให้กองทุนจะมีการปรับพอร์ตทุกวัน เพื่อไม่ให้ Track ดัชนีไม่ให้ความแตกต่างมาก"
ส่วนน้ำหนักการลงทุน สิ้นสุด ณ วันที่ 1 เมษายน 2551 พบว่า DB Platinum Commodity Euro ลงทุนในน้ำมันดิบ 28.80% ฮีททิ้งออยล์ 16.20% ทองคำ 10.80% อะลูมิเนียม 32.50% ข้าวสาลี 2.70% และข้าวโพด 9.10%
ขณะที่ ผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุน ณ วันที่ 30 เมษายน 2551 พบว่า สามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 23.60% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 11.53% ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 21.62% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 13.73% ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 31.69% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 16.04% ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 73.08% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 36.78% ผลตอบแทนย้อนหลัง 2 ปีอยู่ที่ 128.19% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 7.67% และสามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 142.59% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 23.88%
นายวนา กล่าวว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวค่อนข้างดี เนื่องจากความไม่สมดุลของปริมาณการผลิตกับความต้องการจากความต้องการในการบริโภคของประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ราคาน้ำมันซึ่งมีราคาแพงขึ้น ความต้องการบริโภคสูงขึ้นกว่าปริมาณการผลิต โดยเฉพาะในประเทศจีน ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้น 5 เท่า ทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันสูงกว่ากำลังการผลิต และต้นทุนการผลิตน้ำมันที่สูงขึ้นกว่าเท่าตัว โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 5 ดอลลาร์สหรัฐเป็น 10 ดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นปริมาณน้ำมันที่น่าจะออกมามากจึงมีน้อยลงไปไม่ทันกับความต้องการ
อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันในปีนี้จะปรับตัวสูงขึ้นอีกเล็กน้อย และจะยืนอยู่ในระดับนี้ แต่หากมีความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เช่น กลุ่มประเทศอาหรับ ภัยธรรมชาติ อาจจะทำให้ราคาทรงตัว และลงไปไม่มาก โดยเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐและจะทำให้คนหันมาสนใจพลังงานจากธรรมชาติมากขึ้น โดยในระยะยาวพลังงานทางเลือก ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันลดลง แต่ในระยะสั้นและระยะกลางยังทรงตัว นอกจากนี้การที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้มีพื้นที่แห้งแล้งมากขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ทำให้ราคาสินค้าทางการเกษตรเพิ่มขึ้นในระยะยาว และยังถูกนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ ขณะที่ความต้องการในข้าวโพดสูงขึ้น เพราะส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้ทำพลังงานทางเลือก
“การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้ เพราะเงินเฟ้อจะสูงก็เพราะราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ฉะนั้น ถ้าเราลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ผลตอบแทนจาการลงทุนของเราก็ปรับตัวไปตามเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สินค้าโภคภัณฑ์ยังเป็นทางเลือกในการกระจายการลงทุนที่ดี เพราะมีความสัมพันธ์ที่ต่ำกับสินทรัพย์ทางการเงินประเภทหุ้นและตราสารหนี้ ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนของเรา” นายวนา กล่าว