xs
xsm
sm
md
lg

กรุงไทยวางแผนภาษีเพื่อการเลี้ยงชีพ3 ประเดิมแชมป์ผลตอบแทนอันดับ1เดือนม.ค.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ในช่วง 1 เดือนแรกของปี 2551 ที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้ประสบกับความผันผวนค่อนข้างมาก สืบหนึ่งมาจากกาเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐอย่างรวดเร็วและรุนแรงถึง 1.25% ในรอบไม่ถึงสัปดาห์...แต่จากความผันผวนดังกล่าว ทำให้กองทุนตราสารหนี้หลายกองที่มีพอร์ตการลงทุนยาวๆ ได้รับผลตอบแทนออกมาค่อนข้างดี

"Best of Fund" สัปดาห์นี้ จึงถือโอกาสหยิบผลการดำเนินงานของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่มีนโยบานลงทุนในตรสารหนี้ จากลิปเปอร์มาให้ติดตามกัน...ไปดูกันว่ากองใดที่สามารถปรับพอร์ตรับมือกับความผันผวนดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

โดยการจัดอันดับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนที่มีผลตอบเเทนสูงที่สุด ณ วันที่ 31 มกราคม 2551 อันดับที่ 1.กองทุนเปิดกรุงไทยวางแผนภาษีเพื่อการเลี้ยงชีพ 3 ภายใต้การบริหารงานของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด ที่ให้ผลตอบเเทน 34.18% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานมากถึง 31.85%

อันดับที่ 2 คือ กองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ของบลจ.ธนชาต มีผลตอบเเทนอยู่ที่ 29.51% เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตราฐานสูงถึง 27.18%

อันดับที่ 3 ได้แก่ กองทุนเปิด ยูโอบี พันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนของบลจ.ยูโอบี มีผลตอบเเทนอยู่ที่ 25.44% โดยเทียบกับเกณฑ์มาตราฐานสูงถึง 23.11%

ด้านกองทุนเปิดธนชาติพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยบลจ.ธนชาติ อยู่ในอันดับที่ 4 ให้ผลตอบเเทน22.74%เมื่อเทียบกับมาตราฐาน กองทุนดังกล่าวให้ผลตอบเเทนมากถึง 20.41%

อันดับที่ 5 ได้แก่ กองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย พันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การดูแลของบลจ.ไอเอ็นจี มีผลตอบแทนอยู่ที่ 21.47% เมื่อเทียบกับมาตราฐานมีผลตอบเเทนมากกว่า 19.14%

อันดับที่ 6 คือกองทุนเปิดกรุงไทยวางแผนภาษีเพื่อการเลี้ยงชีพ 2 โดย บลจ.กรุงไทย ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลังที่ 21.31% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตราฐานมีผลตอบเเทนมากกว่า 18.98%

อันดับที่ 7 ได้แก่ กองทุนเปิดอยุธยาพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ของ บลจ.อยุธยา ให้ผลตอบแทนที่ 20.86% โดยเปรียเทียบกับเกณฑ์มาตราฐานมากกว่า 18.53%

สำหรับกองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ บริหารโดย บลจ.บัวหลวง อยู่ในอันดับที่ 8 ซึ่งให้ผลตอบแทน18.45% เทียบกัลเกณฑ์มาตราฐานมีผลตอบเเทนสูงถึง 16.12%

ในส่วนของอันดับที่ 9 ได้แก่กองทุนเปิด เค พันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ที่บริหารงานโดย บลจ. กสิกร มีผลตอบเเทนที่17.56% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตราฐานจะมีผลตอบเเทนถึง 15.23%

และอันดับ 10. คือ กองทุนเปิด ตราสารหนี้คุณค่าเพื่อการเลี้ยงชีพ โดย บลจ.วรรณ ให้ผลตอบแทนที่ 16.91% โดยเทียบกับเกณฑ์มาตราฐานมีผลตอบเเทนมากถึง14.58%

ทั้งนี้ ผลตอบแทนตามเกณฑ์มาตรฐาน อยู่ที่ 2.33% ซึ่งเป็นการคำนวนจาก (THB 1 Yr Avg 3 Banks Fixed Deposit equal 1 Million)

เปิดพอร์ตกองทุนอันดับ 1
ผู้จัดการกองทุนเปิดกรุงไทยวางแผนภาษีเพื่อการเลี้ยงชีพ 3 เปิดเผยว่า ในการตัดสินใจลงทุนของกองทุนนี้ เราจะติดตามภาพเศรษฐกิจเมคโครโดยตลอด โดยไม่ได้ดูเฉพาะในประเทศอย่างเดียวเท่านั้น แต่เราดูความเคลื่อนไหวในต่างประเทศด้วย ซึ่งในต่างประเทศเองเราดูไปถึงการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) ประกอบด้วย เนื่องการลงทุนทุกภาคส่วนมีความเกี่ยวข้องกันหมด

สำหรับกองทุนเปิดกรุงไทยวางแผนภาษีเพื่อการเลี้ยงชีพ 3 มีนโยบายการลงทุนแบบ Active ซึ่งเราจะปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนทันทีเมื่อเราเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่แนวโน้มของตลาดหรือแนวโน้มของเศรษฐกิจที่มีความเกี่ยวข้องจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเราอาจจะไม่รอให้เห็นความเปลี่ยนแปลงนั้น 100% ซะทีเดียว สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะปัจจุบันตลาดเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วมาก เช่น ถ้าหากเราคิดว่าดอกเบี้ยในตลาดจะลง เราก็จะเพิ่มอายุการลงทุน เป็นต้น

"การเทคโพรฟิตดังกล่าว ไม่ได้หมายความว่าเราจะซื้อมาแล้วขายเก็งกำไร แต่เราซื้อขายตามปัจจัยพื้นฐานที่เรามองว่าจะเป็น"

เขากล่าวถึงพอร์ตการลงทุนของกองทุนในปัจจุบันว่า อายุการลงทุนในตราสารหนี้เฉลี่ยตอนนี้ต่ำมากๆ ซึ่งเป็นการเทคโพรฟิตจากช่วง 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ ที่เราลงทุนในตราสารหนี้อายุเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ระดับ 3 ปี ซึ่งการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังคงดอกเบี้ยอาร์/พี เอาไว้ที่ระดับ 3.25% ทำให้เรายังไม่ปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนของกองทุนดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม เรายังต้องพิจารณาราคาคอมมอดิตี้ โดยเฉพาะราคาน้ำมันว่าเป็นจังหวะที่เข้าลงทุนได้หรือไม่

สำหรับผลการดำเนินงานของกองทุนเปิดกรุงไทยวางแผนภาษีเพื่อการเลี้ยงชีพ 3 ล่าสุด ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 กองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (YTD)อยู่ที่ 2.94% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 1.69% ส่วนผลตอบแทนของกองทุนในเดือนมกราคมที่อยู่ในระดับ 34.18% นั้น เป็นการคำนวนผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้ทั้งปี (ในกรณีที่ผลตอบแทนไม่มีการเปลี่ยนแปลง) ดังนั้น จึงอยากให้ผู้ลงทุนดูที่ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีมากกว่า

เขากล่าวแนะนำอีกว่า สำหรับภาวะตลาดในช่วงนี้ เป็นช่วงที่ผู้ลงทุนยังสามารถลงทุนได้ เพราะจริงๆ แล้วอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นมาบ้างแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนในตลาดตราสารหนี้ในปีนี้ค่อนข้างยาก เพราะมีมั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบทำให้ตลาดผันผวนตามไปด้วย ซึ่งผู้ลงทุนเองต้องซื้อแล้วขาย ไม่ใช่ซื้อแล้วถือยาว แต่การขายดังกล่าวต้องเป็นการขายในลักษณะของการมองปัจจัยพื้นฐาน กล่าวคือ ต้องดูข้อมูลด้วยว่ามีปัจจัยที่จะทำให้ผลตอบแทนขึ้นหรือลง
กำลังโหลดความคิดเห็น