กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund:SWF) คงต้องบอกว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทยบางคน ซึ่งไม่รู้ว่ากองทุนประเภทนี้เกิดจากอะไร และมีมานานขนาดไหนแล้ว? แต่ที่แน่ๆ ในประเทศไทยขณะนี้เริ่มมีคนออกมาพูดเกี่ยวกับกองทุนนี้มากขึ้น และมีแนวคิดว่าประเทศของเราถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะจัดตั้งกองทุนประเภทนี้
หากจะอธิบายให้นึกภาพออกและเข้าใจได้ง่ายขึ้น คงต้องเริ่มต้นด้วยสาเหตุของการเกิดกองทุนประเภทนี้ก่อน โดยสาเหตุหลักของการเกิดกองทุนนี้ก็คือ ภาวะเงินสำรองล้นระบบ ซึ่งภาวะนี้เองทำให้รัฐบาลจำเป็นจะต้องหันมาจัดสรรเงินทุนที่สะสมไว้บางส่วนไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ มากขึ้น เพื่อลดสภาพคล่องในภายในประเทศให้ลดลงบ้างนั่นเอง
โดยการบริหารของกองทุน SWF มักจะแยกจากส่วนจากทุนสำรองที่บริหารจัดการโดยธนาคารกลาง หรือหน่วยงานของกระทรวงการคลัง ซึ่งการลงทุนของกองทุนนี้จะมีความแตกต่างจากการบริหารเงินทุนสำรองแบบดั้งเดิม เพื่อให้มีผลตอบแทนที่มากขึ้นจากการลงทุน และหลักทรัพย์ที่เข้าไปลงทุนจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า ในปัจจุบันเงินสำรองของประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีอยู่เป็นจำนวนมาก และเมื่อประเมินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศแล้ว มีจำนวนเงินสำรองทั่วโลกอยู่ประมาณ 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในจำนวนนี้อยู่ในเอเชียประมาณถึงกว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว และจากภาวะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในขณะนี้การเงินทั่วโลกยังล้นระบบอยู่มาก
"ภาพที่อยากบอกคือ เมื่อประเทศที่ร่ำรวย มีสภาพคล่องสูงขึ้น รัฐบาลมีรายได้เกินดุล การบริหารจัดการเม็ดเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้มีการตั้งกองทุน SWF ขึ้นมา และทำให้เกิดการเคลื่อนย้านเงินทุน ไปตามความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยในที่ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า อีกอย่างคือ ที่ไหนมีไฟแนนซ์เชียลโพรดักซ์หรือสินค้าให้ลงทุนที่มีผลตอบแทนสูงและความเสี่ยงต่ำ ก็จะไหลไปลงทุนที่นั้น เมื่อดอกเบี้ยแตกต่างกันเงินก็ไหลไปที่ดอกเบี้ยสูงกว่า ค่าเงินของประเทศต่างๆ ก็แข็งค่าขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจดีขึ้น ค่าเงินดีตามเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากความสามารถการบริหารจัดการที่ดี และการลงทุนด้วยเงินสำรอง ถ้ามีการลงทุนเร็วเงินลงทุนก็จะขึ้นช้า"
นายณรงค์ชัย บอกอีกว่า แนวโน้มของโลกหลังจากนี้คงยังมีอีกหลายประเทศที่จะจัดตั้งกองทุนลักษณะนี้ขึ้นมาอีก เพื่อให้เงินสำรองที่มีอยู่มากโยกออกไปหาผลตอบแทน และลดสภาพคล่องข้างในประเทศที่มีอยู่มากให้ลดลง โดยในทางบัญชีเงินสำรองที่นำไปลงทุนผ่านกองทุน SWF ก็ยังเป็นเงินสำรองอยู่ แต่อยู่ในรูปอื่นเท่านั้นเอง ซึ่งหากกองทุน SWF มีกำไรจากการลงทุนแล้วจะสามารถนำกำไรนั้นมาใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้อีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้คงยังไม่ค่อยเข้าใจกัน และประเทศไทยเองน่าจะจัดตั้งกองทุนนี้ได้เช่นกัน เนื่องจากยังมีเงินสำรองที่สามารถตั้งกองทุนดังกล่าวได้จากการที่มีเงินสำรองที่ใช้หนุนพันธบัตรอยู่ถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แต่จะต้องศึกษาขอมูลให้ดีก่อน เพราะประเทศไทยยังไม่ชำนาญในการบริหารกองทุนประเภทนี้เท่าไรนัก
โดยเมื่อมองประเทศในภูมิภาคเดียวกันอย่างประเทศสิงคโปร์แล้ว จะมีกองทุนลักษณะนี้เช่นกันอย่างเช่น GIC และเทมาเส็ก ซึ่งในส่วนของเทมาเส็กอาจจะไม่ใช่ SWF เต็ม 100% ก็ตาม แต่เป็นการลงทุนที่รัฐบาลเกี่ยวข้อง ในขณะที่จีนเองก็เพิ่งตั้งกองทุน SWF ขึ้นมาด้วยมูลค่ากว่า 3 แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว
"เงินเหล่านี้ออกไปลงทุนที่ต่างๆซึ่งตอนนี้จะเห็นได้ว่าเวลาสถาบันการเงินต่างประเทศเดือนร้อน กองทุนไม่พอ ก็เอามาขายให้ SWF ไม่ว่าจะเป็น ซิตี้กรุ๊ป เมอร์ริลินซ์ ซึ่งตัวเลขที่นิตยสารไทม์ประกาศออกมา พบว่ามีจำนวนเงิน 70,000 ล้านเหรียญดอลาร์สหรัฐ ของ SWF ที่เข้าไปอยู่ในการลงทุนที่ต่างๆ ซึ่งประเทศที่มี SWF เป็นประเทศที่มีอิทธิพลมาก และได้รับความสนใจจากประเทศอื่นๆ"
การขยายตัวของ SWF
รายงานจาก IMF ที่เปิดออกมาได้ระบุถึงการขยายตัวของกองทุน SWF เอาไว้ว่า กองทุนเหล่านี้ในช่วงปีที่ผ่านมาสูงขึ้นเป็นอย่างมากเลยทีเดียว โดย ณ ปัจจุบันคาดกันว่าน่าจะมีมูลค่าถึงกว่า 2-3 ล้านล้านดอลลาร์ฯ หรือเกือบครึ่งหนึ่งของเงินทุนสำรองของประเทศต่างๆในโลกที่มีประมาณ 6.5 ล้านล้านดอลลาร์ฯ โดยมีปัจจัยหลักที่สนับสนุนการขยายตัวอยู่ 2 ปัจจัยด้วยคือ ราคาน้ำมัน กับความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก
ซึ่งการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกพบว่า ประเทศในกลุ่มสมาชิกโอเปก 8 ประเทศ (จากทั้งหมด 13ประเทศ) ที่ได้มีการจัดตั้ง SWF ของตนเอง ได้มีการเพิ่มสัดส่วนเงินทุนในกองทุนนี้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก หลังจากการปรับตัวของราคาน้ำมันทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง ส่วนปัจจัยในเรื่องของความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก เกิดจากจากการที่ประเทศสหรัฐฯมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงอย่างต่อเนื่องในหลายๆภูมิภาค เช่น เอเชีย และตะวันออกกลาง ทำให้รัฐบาลของประเทศเหล่านั้นมีความคิดที่จะจัดสรรเงินทุนที่สะสมไว้บางส่วนไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆมากขึ้นเช่นกัน
โดยปัจจุบันนี้ SWF ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ได้แก่ ADIA (Abu Dhabi Investment Authority) ของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ที่คาดว่าน่าจะมีขนาดประมาณ 500-875 พันล้านดอลลาร์ฯ รองลงมา ได้แก่ GIC (Government of Singapore Investment Corporation) ของประเทศสิงคโปร์ซึ่งคาดว่าจะมีขนาดประมาณ 330 พันล้านดอลลาร์ฯ อันดับสาม ได้แก่ GPF (The Government Pension Fund of Norway) ของประเทศนอร์เวย์ ซึ่งมีขนาดประมาณ 315 พันล้านดอลลาร์ฯ
ยักษ์ตัวจริงที่มหาอำนาจกลัว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้เคยรายงานผลสำรวจของกองทุนนี้ไว้ว่า เมื่อเทียบขนาดของ SWF ที่ได้รวบรวม 24 กอง กับขนาดของจีดีพี มูลค่าเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ และมูลค่าหลักทรัพย์ ณ.ราคาตลาด (Market Cap.) แล้วพบว่า SWF มีสัดส่วนที่สูงกว่าหลายเท่าตัว โดยเฉพาะ SWF ประเภท Commodity Funds ของประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง อันเป็นการชี้ให้เห็นถึงบทบาทของกองทุนประเภทนี้ที่ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจและตลาดทุนโลกมากขึ้นในปัจจุบัน
การขยายตัวเป็นอย่างมากของกองทุนนี้ ทำให้มีหลายฝ่ายแสดงความกังวลออกมา ซึ่งคาดว่าประเทศมหาอำนาจต่างๆในโลกตะวันตก ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนนโยบายการเปิดเสรีการค้าการลงทุน ถึงกับมีท่าทีที่เปลี่ยนแปลงไปต่อการเติบโตและการลงทุนของกองทุนนี้เลยทีเดียว เนื่องจากพบว่ากองทุนเหล่านี้ได้เข้าไปลงทุนในบริษัทในประเทศของตนมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศตน เช่น พลังงานและโทรคมนาคม อาจจะตกเป็นของรัฐบาลต่างชาติในอนาคต โดยเฉพาะหาก SWFs นั้นอยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลรัสเซีย หรือ จีน
โดยช่วงที่ผ่านมากลุ่มประเทศ G7 เองยังได้มีการตื่นตัวเพื่อจะผลักดันให้กองทุนเหล่านี้มีการดำเนินงานที่โปร่งใสมากขึ้นเลยทีเดียว โดยได้มีขอเรียกร้อง IMF และธนาคารโลกวางหลักเกณฑ์แนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับ SWFs โดยมุ่งหวังให้แนวทางการลงทุนของกองทุนเหล่านี้เป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นไปโดยวัตถุประสงค์ทางด้านการลงทุนอย่างเดียวโดยไม่มีเจตนาทางการเมืองแอบแฝง
นอกจากนี้ ในอนาคตยังมีการคาดการณ์กันว่า การที่กองทุนประเภทนี้มีบทบาทในการลงทุนเพิ่มมากขึ้นจะยิ่งเป็นการกระตุ้นแนวคิดในการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศจากกลุ่มประเทศมหาอำนาจในโลกตะวันตกมากขึ้น ทำให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนเกิดความเสรีน้อยลงทีเดียว เนื่องจากความกลัวในเรื่องดังกล่าว และคงเห็นความเข้มงวดของกฎเกณฑ์ในการพิจารณาตรวจสอบการลงทุนของต่างชาติในการซื้อกิจการในประเทศตน โดยเฉพาะเม็ดเงินที่มาจาก SWF ซึ่งประสงค์จะเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมอันจะกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ หรือกระทบต่อวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้
“รัฐบาลของประเทศมหาอำนาจเหล่านั้นคงจะต้องเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายในการวางแนวทางที่อยู่กึ่งกลาง ระหว่างความต้องการของตนในการปกป้องอุตสาหกรรมสำคัญในประเทศกับความต้องการเงินทุนจากต่างชาติของภาคเอกชนในประเทศ ในขณะที่ประเด็นดังกล่าวนี้ จะส่งผลให้กระแสการหมุนเวียนของเงินทุนในตลาดโลกที่แนวโน้มที่จะเป็นไปอย่างเสรีน้อยลงเลยทีเดียว”
หากจะอธิบายให้นึกภาพออกและเข้าใจได้ง่ายขึ้น คงต้องเริ่มต้นด้วยสาเหตุของการเกิดกองทุนประเภทนี้ก่อน โดยสาเหตุหลักของการเกิดกองทุนนี้ก็คือ ภาวะเงินสำรองล้นระบบ ซึ่งภาวะนี้เองทำให้รัฐบาลจำเป็นจะต้องหันมาจัดสรรเงินทุนที่สะสมไว้บางส่วนไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ มากขึ้น เพื่อลดสภาพคล่องในภายในประเทศให้ลดลงบ้างนั่นเอง
โดยการบริหารของกองทุน SWF มักจะแยกจากส่วนจากทุนสำรองที่บริหารจัดการโดยธนาคารกลาง หรือหน่วยงานของกระทรวงการคลัง ซึ่งการลงทุนของกองทุนนี้จะมีความแตกต่างจากการบริหารเงินทุนสำรองแบบดั้งเดิม เพื่อให้มีผลตอบแทนที่มากขึ้นจากการลงทุน และหลักทรัพย์ที่เข้าไปลงทุนจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า ในปัจจุบันเงินสำรองของประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีอยู่เป็นจำนวนมาก และเมื่อประเมินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศแล้ว มีจำนวนเงินสำรองทั่วโลกอยู่ประมาณ 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในจำนวนนี้อยู่ในเอเชียประมาณถึงกว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว และจากภาวะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในขณะนี้การเงินทั่วโลกยังล้นระบบอยู่มาก
"ภาพที่อยากบอกคือ เมื่อประเทศที่ร่ำรวย มีสภาพคล่องสูงขึ้น รัฐบาลมีรายได้เกินดุล การบริหารจัดการเม็ดเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้มีการตั้งกองทุน SWF ขึ้นมา และทำให้เกิดการเคลื่อนย้านเงินทุน ไปตามความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยในที่ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า อีกอย่างคือ ที่ไหนมีไฟแนนซ์เชียลโพรดักซ์หรือสินค้าให้ลงทุนที่มีผลตอบแทนสูงและความเสี่ยงต่ำ ก็จะไหลไปลงทุนที่นั้น เมื่อดอกเบี้ยแตกต่างกันเงินก็ไหลไปที่ดอกเบี้ยสูงกว่า ค่าเงินของประเทศต่างๆ ก็แข็งค่าขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจดีขึ้น ค่าเงินดีตามเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากความสามารถการบริหารจัดการที่ดี และการลงทุนด้วยเงินสำรอง ถ้ามีการลงทุนเร็วเงินลงทุนก็จะขึ้นช้า"
นายณรงค์ชัย บอกอีกว่า แนวโน้มของโลกหลังจากนี้คงยังมีอีกหลายประเทศที่จะจัดตั้งกองทุนลักษณะนี้ขึ้นมาอีก เพื่อให้เงินสำรองที่มีอยู่มากโยกออกไปหาผลตอบแทน และลดสภาพคล่องข้างในประเทศที่มีอยู่มากให้ลดลง โดยในทางบัญชีเงินสำรองที่นำไปลงทุนผ่านกองทุน SWF ก็ยังเป็นเงินสำรองอยู่ แต่อยู่ในรูปอื่นเท่านั้นเอง ซึ่งหากกองทุน SWF มีกำไรจากการลงทุนแล้วจะสามารถนำกำไรนั้นมาใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้อีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้คงยังไม่ค่อยเข้าใจกัน และประเทศไทยเองน่าจะจัดตั้งกองทุนนี้ได้เช่นกัน เนื่องจากยังมีเงินสำรองที่สามารถตั้งกองทุนดังกล่าวได้จากการที่มีเงินสำรองที่ใช้หนุนพันธบัตรอยู่ถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แต่จะต้องศึกษาขอมูลให้ดีก่อน เพราะประเทศไทยยังไม่ชำนาญในการบริหารกองทุนประเภทนี้เท่าไรนัก
โดยเมื่อมองประเทศในภูมิภาคเดียวกันอย่างประเทศสิงคโปร์แล้ว จะมีกองทุนลักษณะนี้เช่นกันอย่างเช่น GIC และเทมาเส็ก ซึ่งในส่วนของเทมาเส็กอาจจะไม่ใช่ SWF เต็ม 100% ก็ตาม แต่เป็นการลงทุนที่รัฐบาลเกี่ยวข้อง ในขณะที่จีนเองก็เพิ่งตั้งกองทุน SWF ขึ้นมาด้วยมูลค่ากว่า 3 แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว
"เงินเหล่านี้ออกไปลงทุนที่ต่างๆซึ่งตอนนี้จะเห็นได้ว่าเวลาสถาบันการเงินต่างประเทศเดือนร้อน กองทุนไม่พอ ก็เอามาขายให้ SWF ไม่ว่าจะเป็น ซิตี้กรุ๊ป เมอร์ริลินซ์ ซึ่งตัวเลขที่นิตยสารไทม์ประกาศออกมา พบว่ามีจำนวนเงิน 70,000 ล้านเหรียญดอลาร์สหรัฐ ของ SWF ที่เข้าไปอยู่ในการลงทุนที่ต่างๆ ซึ่งประเทศที่มี SWF เป็นประเทศที่มีอิทธิพลมาก และได้รับความสนใจจากประเทศอื่นๆ"
การขยายตัวของ SWF
รายงานจาก IMF ที่เปิดออกมาได้ระบุถึงการขยายตัวของกองทุน SWF เอาไว้ว่า กองทุนเหล่านี้ในช่วงปีที่ผ่านมาสูงขึ้นเป็นอย่างมากเลยทีเดียว โดย ณ ปัจจุบันคาดกันว่าน่าจะมีมูลค่าถึงกว่า 2-3 ล้านล้านดอลลาร์ฯ หรือเกือบครึ่งหนึ่งของเงินทุนสำรองของประเทศต่างๆในโลกที่มีประมาณ 6.5 ล้านล้านดอลลาร์ฯ โดยมีปัจจัยหลักที่สนับสนุนการขยายตัวอยู่ 2 ปัจจัยด้วยคือ ราคาน้ำมัน กับความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก
ซึ่งการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกพบว่า ประเทศในกลุ่มสมาชิกโอเปก 8 ประเทศ (จากทั้งหมด 13ประเทศ) ที่ได้มีการจัดตั้ง SWF ของตนเอง ได้มีการเพิ่มสัดส่วนเงินทุนในกองทุนนี้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก หลังจากการปรับตัวของราคาน้ำมันทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง ส่วนปัจจัยในเรื่องของความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก เกิดจากจากการที่ประเทศสหรัฐฯมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงอย่างต่อเนื่องในหลายๆภูมิภาค เช่น เอเชีย และตะวันออกกลาง ทำให้รัฐบาลของประเทศเหล่านั้นมีความคิดที่จะจัดสรรเงินทุนที่สะสมไว้บางส่วนไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆมากขึ้นเช่นกัน
โดยปัจจุบันนี้ SWF ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ได้แก่ ADIA (Abu Dhabi Investment Authority) ของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ที่คาดว่าน่าจะมีขนาดประมาณ 500-875 พันล้านดอลลาร์ฯ รองลงมา ได้แก่ GIC (Government of Singapore Investment Corporation) ของประเทศสิงคโปร์ซึ่งคาดว่าจะมีขนาดประมาณ 330 พันล้านดอลลาร์ฯ อันดับสาม ได้แก่ GPF (The Government Pension Fund of Norway) ของประเทศนอร์เวย์ ซึ่งมีขนาดประมาณ 315 พันล้านดอลลาร์ฯ
ยักษ์ตัวจริงที่มหาอำนาจกลัว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้เคยรายงานผลสำรวจของกองทุนนี้ไว้ว่า เมื่อเทียบขนาดของ SWF ที่ได้รวบรวม 24 กอง กับขนาดของจีดีพี มูลค่าเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ และมูลค่าหลักทรัพย์ ณ.ราคาตลาด (Market Cap.) แล้วพบว่า SWF มีสัดส่วนที่สูงกว่าหลายเท่าตัว โดยเฉพาะ SWF ประเภท Commodity Funds ของประเทศต่างๆในตะวันออกกลาง อันเป็นการชี้ให้เห็นถึงบทบาทของกองทุนประเภทนี้ที่ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจและตลาดทุนโลกมากขึ้นในปัจจุบัน
การขยายตัวเป็นอย่างมากของกองทุนนี้ ทำให้มีหลายฝ่ายแสดงความกังวลออกมา ซึ่งคาดว่าประเทศมหาอำนาจต่างๆในโลกตะวันตก ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนนโยบายการเปิดเสรีการค้าการลงทุน ถึงกับมีท่าทีที่เปลี่ยนแปลงไปต่อการเติบโตและการลงทุนของกองทุนนี้เลยทีเดียว เนื่องจากพบว่ากองทุนเหล่านี้ได้เข้าไปลงทุนในบริษัทในประเทศของตนมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศตน เช่น พลังงานและโทรคมนาคม อาจจะตกเป็นของรัฐบาลต่างชาติในอนาคต โดยเฉพาะหาก SWFs นั้นอยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลรัสเซีย หรือ จีน
โดยช่วงที่ผ่านมากลุ่มประเทศ G7 เองยังได้มีการตื่นตัวเพื่อจะผลักดันให้กองทุนเหล่านี้มีการดำเนินงานที่โปร่งใสมากขึ้นเลยทีเดียว โดยได้มีขอเรียกร้อง IMF และธนาคารโลกวางหลักเกณฑ์แนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับ SWFs โดยมุ่งหวังให้แนวทางการลงทุนของกองทุนเหล่านี้เป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นไปโดยวัตถุประสงค์ทางด้านการลงทุนอย่างเดียวโดยไม่มีเจตนาทางการเมืองแอบแฝง
นอกจากนี้ ในอนาคตยังมีการคาดการณ์กันว่า การที่กองทุนประเภทนี้มีบทบาทในการลงทุนเพิ่มมากขึ้นจะยิ่งเป็นการกระตุ้นแนวคิดในการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศจากกลุ่มประเทศมหาอำนาจในโลกตะวันตกมากขึ้น ทำให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนเกิดความเสรีน้อยลงทีเดียว เนื่องจากความกลัวในเรื่องดังกล่าว และคงเห็นความเข้มงวดของกฎเกณฑ์ในการพิจารณาตรวจสอบการลงทุนของต่างชาติในการซื้อกิจการในประเทศตน โดยเฉพาะเม็ดเงินที่มาจาก SWF ซึ่งประสงค์จะเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมอันจะกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ หรือกระทบต่อวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้
“รัฐบาลของประเทศมหาอำนาจเหล่านั้นคงจะต้องเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายในการวางแนวทางที่อยู่กึ่งกลาง ระหว่างความต้องการของตนในการปกป้องอุตสาหกรรมสำคัญในประเทศกับความต้องการเงินทุนจากต่างชาติของภาคเอกชนในประเทศ ในขณะที่ประเด็นดังกล่าวนี้ จะส่งผลให้กระแสการหมุนเวียนของเงินทุนในตลาดโลกที่แนวโน้มที่จะเป็นไปอย่างเสรีน้อยลงเลยทีเดียว”