มาสด้า ประกาศแนวทางการดำเนินธุรกิจครั้งประวัติศาสตร์ขึ้นในประเทศไทย
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ดีลเลอร์ และพันธมิตรทางธุรกิจ
ด้วยการทุ่มทุนกว่า 5,000 ล้านบาท ดันไทยเป็นฐานการผลิตxEVs ส่งออกทั่วโลก เตรียมผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าคอมแพ็คเอสยูวี
100,000 คันต่อปี
พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืนด้วยCustomer Centric
มาสด้า ก้าวสู่ยุคพลังงานไฟฟ้า
มาซาฮิโร โมโร ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ
มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย กล่าวว่า มาสด้ากำลังเดินหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อการก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืนภายใต้ธีม
The
Future , Crafted by the joy of Driving ชูวิสัยทัศน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยียานยนต์ใหม่ล่าสุด
มาสด้าทั่วโลกมีเป้าหมายคือการนำเสนอรถยนต์ที่มาพร้อมพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งภายในปี 2573
รวมถึงรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในที่มาพร้อมพลังงานไฟฟ้า มาสด้าคาดว่ายอดจำหน่ายของรถBEVs อยู่ที่ประมาณ 25-40 % ของยอดจำหน่ายทั่วโลก
ซึ่งมาสด้ากำลังเดินหน้าตามแนวทางMulti-Solution Strategy เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
100 % ควบคู่กับการใช้แนวทางIntentional Follower
Approach โดยทำการศึกษาตลาดอย่างใกล้ชิดและรับฟังข้อคิดเห็นจากลูกค้า
เพื่อให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าให้ดีที่สุด
คาดว่าภายในปี 2573 มาสด้าจะมียอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์รถยนต์ที่ใช้พลังงานเป็นองค์ประกอบในการขับเคลื่อน 100 % ของยอดจำหน่ายรวมทั้งหมด แต่ในระหว่างนี้ มาสด้ากำลังเดินหน้าตามแผนพัฒนา xEVs ประกอบด้วยแผนกลยุทธ์ 3 เฟส ประกอบด้วย เฟสที่1 เป็นการเตรียมความพร้อม เฟสที่ 2 การเปลี่ยนผ่านอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจาก HEV, PHEV และBEV จนถึงเฟสที่ 3 เป็นการแนะนำรถไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ
มาสด้าพร้อมเดินหน้าส่งมอบเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ตามแนวทาง Multi-solution ซึ่งรวมถึง MHEVs, HEVs, PHEVs, BEVs, R-EVs และรถยนต์ที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกของผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและตรงกับความต้องการมากที่สุด มาสด้าเชื่อว่าแนวทางนี้จะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วที่สุด
เปิดแผนการนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าในไทย
มาซาฮิโร โมโร กล่าวถึงแผนธุรกิจมาสด้าในประเทศไทยว่า ไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานมากกว่า70 ปี ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ มาสด้า เซลส์ และผู้จำหน่ายมาสด้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโรงงานผลิตรถยนต์ที่จังหวัดระยอง Auto Alliance (AAT) ที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 ทำการผลิตรถยนต์นั่งและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รวมทั้ง โรงงานผลิตเครื่องยนต์และเกียร์อัตโนมัติ Mazda Powertrain Manufacturing Thailand (MPMT) ที่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2558 ทั้งสองโรงงานนี้คือรากฐานสำคัญที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นจุดศูนย์กลางในการผลิตรถยนต์มาสด้าและชิ้นส่วน เพื่อจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกยังตลาดต่างประเทศทั่วโลก
วันนี้ มาสด้าได้เตรียมความพร้อมไปอีกขั้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ที่สำคัญในการผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้า xEVs ด้วยการเพิ่มเงินลงทุนเป็นจำนวนกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าคอมแพ็คเอสยูวี โดยมุ่งเน้นไปที่การประกอบรถยนต์ การผลิตเครื่องยนต์ เกียร์ และแบตเตอรี่ พร้อมวางเป้ากำลังการผลิตอยู่ที่ 100,000 คันต่อปี นี่คือจุดเริ่มต้นและก้าวแรกที่ยิ่งใหญ่ต่อการลงทุนเพิ่มเติมสำหรับประเทศไทยเพื่อผลิตรถพลังงานไฟฟ้าของมาสด้าและเป็นก้าวสำคัญสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
ไม่เพียงเท่านี้ มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น พร้อมนำเสนอเทคโนโลยีอันล้ำสมัยที่สุด รวมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการประกอบรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามายังประเทศไทย ควบคู่กับการพัฒนาทักษะช่างฝีมือประกอบรถยนต์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ารถยนต์ที่ผลิตจากโรงงานในประเทศไทยจะเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกับมาสด้าทั่วโลก และพร้อมสำหรับการเป็นศูนย์กลางในการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า xEVs ในอนาคตอันใกล้นี้ต่อไป
สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นตลาดหลักที่สำคัญอันดับต้น ๆ มาสด้าตระหนักถึงกระแสตอบรับที่ดีและความต้องการรถไฟฟ้าที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มาสด้าจึงเร่งแผนในการนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าให้เร็วขึ้น เพื่อตอบสนองกับความต้องการของลูกค้า โดยวางแผนในการแนะนำรถไฟฟ้าในประเทศไทยเป็นไปตามกลยุทธ์ 3 เฟส เช่นเดียวกัน ซึ่งเฟส 2 จะเป็นการนำเสนอรถพลังงานไฟฟ้าในไทย โดยมาสด้าจะทำการเปิดตัวแนะนำเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยหลายรูปแบบ ทั้ง BEV, PHEV, HEV ระหว่างปี พ.ศ. 2568 – 2570 ถึง 5 รุ่น เพื่อสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า คือ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า BEV 2 รุ่น รถ PHEV 1 รุ่น และรถ HEV 2 รุ่น โดยรุ่นแรกที่ลูกค้าได้สัมผัสในเร็ว ๆ นี้ คือ รถยนต์ไฟฟ้า BEV รุ่น Mazda 6e
นายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ ประธานกรรมการบริหาร & ซีอีโอ บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเกี่ยวกับทิศทางและแผนการดำเนินธุรกิจมาสด้าในประเทศไทยว่า สำหรับประเทศไทยนั้น มาสด้ามุ่งมั่นที่จะปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพื่อเดินหน้าสู่ความสำเร็จไปพร้อมกันทั้งองค์กร ตามแนวทาง Management Policy ประกอบด้วย ผู้จำหน่าย พนักงาน และที่สำคัญสูงสุด คือ ลูกค้า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้งหมดนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ (Customer-Centric) สำหรับการเปลี่ยนแปลงของมาสด้าที่กำลังจะเกิดขึ้น แบ่งออกเป็น 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่
กลยุทธ์ที่ 1: การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรด้วย “ผู้คน”
• สร้างการเปลี่ยนแปลงองค์กร โดยมีเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ Agile และ Insight-Driven คล่องตัว ยืดหยุ่น และขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูลเชิงลึก ในปัจจุบัน กลุ่มมิลเลนเนียล หรือ Gen-Y มีประมาณ 70% ของพนักงานทั้งหมด กลุ่มคนเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี มีการศึกษาสูง ปรับตัวได้ดี มีเป้าหมายชัดเจน มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเราจะใช้จุดแข็งและพลังของกลุ่มมิลเลนเนียลผสานการทำงานร่วมกับ Gen-X และ Gen-Z เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า
• สนับสนุนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร ด้วยโปรแกรม “Career@Mazda” ที่ออกแบบมาเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของพนักงานทั้งที่ มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย และผู้จำหน่าย เพื่อพัฒนาทักษะ และส่งเสริมการสร้างความผูกพันของพนักงานกับแบรนด์และเพื่อนร่วมงาน
• สร้างโปรแกรม “Mazda Signature Services” ซึ่งเป็นโปรแกรมที่อยู่บนพื้นฐานของการส่งมอบคุณค่าอันมีเอกลักษณ์เฉพาะของมาสด้า 3 ประการ ได้แก่—“Radically Human,” การให้ความสำคัญกับมนุษย์ “Challenger Spirit,” สปิริตที่ไม่ย่อท้อ และ “Omotenashi” ให้การดูแลเช่นเดียวกับคนในครอบครัว เพื่อให้มั่นใจว่าคุณค่าของแบรนด์จะถูกถ่ายทอดไปยังลูกค้าในทุก ๆ touchpoint ของการบริการ
กลยุทธ์ที่ 2: ยกระดับการบริการและการสื่อสารกับลูกค้าด้วยข้อมูลเชิงลึก
ทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และสื่อสารกับลูกค้าด้วยข้อมูลเชิงลึก ด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์ม VOF หรือ “Voice of Fans” เพื่อช่วยวิเคราะห์ความคิดเห็นของลูกค้าแบบเรียลไทม์ พร้อมนำความคิดเห็นมาจัดเก็บเป็นข้อมูล วิเคราะห์ และตอบกลับอย่างทันท่วงที ทั้งในช่องทาง Digital และผ่านพนักงาน เพื่อปรับปรุงการบริการและสร้างความพึงพอใจสูงสุด
นอกจากนี้ มาสด้ากำลังสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง รวมถึงคลังข้อมูลที่สามารถให้ข้อมูลลูกค้าอย่างครบถ้วน อาทิ การสร้างระบบ Data Warehouse และการบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าแบบ SCV (Single Customer View) 360 องศา รวมถึงการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ Social Listening เพื่อรับข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ นำมาออกแบบ พัฒนา และปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้า เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่นำเสนอนั้นตรงกับความต้องการและความรู้สึกของลูกค้าอย่างแท้จริง
กลยุทธ์ที่ 3: การสร้างประสบการณ์ลูกค้าแบบไร้รอยต่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ด้านออนไลน์: มีการพัฒนาเว็บไซต์องค์กรใหม่ โดยเปลี่ยนให้เป็น Mazda NEX Tperience Hub ซึ่งแพลตฟอร์มนี้ได้รับการออกแบบเพื่อให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยี รวมถึงข่าวสารและการให้บริการต่าง ๆ ไม่ว่าลูกค้าต้องการลงทะเบียนจองคิวรถเพื่อทดลองขับ หรือนัดหมายเพื่อนำรถเข้าศูนย์บริการ ซึ่งจะช่วยให้การมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์เป็นไปอย่างราบรื่นขึ้น ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และไร้รอยต่อ
นอกจากนั้น ยังมีการพัฒนาแพลตฟอร์ม “Mazda Sky Journey” ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการมาตรฐานที่ผู้จำหน่ายมาสด้าทุกแห่งใช้ในการดำเนินงาน ระบบนี้ถูกการออกแบบมาเพื่อให้กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างแม่นยำและมีมาตรฐานสูง เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่นและสะดวกสบายในทุกขั้นตอน
ด้านออฟไลน์: มีการนำ “Mazda BASICS” แนวทางใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อเป็นต้นแบบการดำเนินธุรกิจของผู้จำหน่าย โดยมีพื้นฐานมาจากปรัชญาและคุณค่าของแบรนด์ ซึ่งเกิดจากแนวทางที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และสปิริตของ Omotenashi หรือปรัชญาด้านการบริการแบบญี่ปุ่น คุณค่าเหล่านี้จะถ่ายทอดผ่านการพัฒนาบุคลากร และการดำเนินงานของผู้จำหน่ายทั่วประเทศ
ปรับโครงสร้างและพัฒนาเครือข่ายผู้จำหน่าย
ปัจจุบัน ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มาสด้ามีผู้จำหน่ายทั้งหมด 19 โชว์รูม สามารถรองรับลูกค้าที่มาเข้ารับการบริการได้ถึง 250,000 รายต่อปี หรือมากกว่า 20,000 คันต่อปี ซึ่งเพียงพอกับลูกค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ในส่วนต่างจังหวัด มาสด้ากำลังเพิ่มศักยภาพของผู้จำหน่ายที่มีอยู่ทั้งหมด 65 แห่ง ให้พร้อมรองรับต่อความต้องการของลูกค้าที่จะเข้ามารับบริการ ด้วยกลยุทธ์ PMA ใหม่ ที่กำหนดขอบเขตให้ผู้จำหน่ายที่มีศักยภาพสูงมีพื้นที่ในการดูแลลูกค้าเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน สามารถรองรับปริมาณงานซ่อมได้สูงสุด
ทั้งหมดนี้ คือการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ที่กำลังจะเกิดขึ้นกับมาสด้าทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดประเทศไทย ที่ทางมาสด้าออกมาประกาศเดินหน้าเต็มขุมกำลัง เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแห่งสำคัญสุดของมาสด้าในการผลิตและส่งออก