Power Next เปิดตัว Smart Energy Swapping Platform โครงการระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ ให้บริการ จักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบสลับแบตเตอรี่ให้เช่า คาดลงทุนราว 3,000 ล้านบาท เจาะกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

นายพุทธพงศ์ สมใจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พาวเวอร์ เน็คซ์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดตัวระบบ Smart Energy Swapping Platform ผลิตภัณฑ์และบริการโครงการระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ สำหรับระบบนิเวศของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและระบบโครงข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบสลับแบตเตอรี่ โดยใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 3,000 ล้านบาท
สำหรับโครงการดังกล่าว คือการเปลี่ยนมาใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบสลับแบตเตอรี่ที่ติดตั้งภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย โดยให้บริการกับนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีมหาวิทยาลัย 8 แห่ง ตอบรับเซ็นข้อตกลงร่วมกันในการเป็นโครงการนำร่อง

“เฟสแรกจะใช้งบลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท มีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าพร้อมให้บริการประมาณ 300-500 คัน ต่อหนึ่งมหาวิทยาลัย โดยเจาะกลุ่มนักศึกษาปี 1 ที่เพิ่งเข้าเรียนเป็นปีแรก ซึ่งโครงการนี้ได้ร่วมมือกับ บริษัท พยัคฆ์ มอเตอร์ จำกัด ผู้นำเข้า ประกอบและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า แบรนด์ ZEEHO, Horwin และ Payak Motor ในการจัดหารถจักยานยนต์ไฟฟ้าและระบบสลับแบตเตอรี่” นายพุทธพงศ์ กล่าว

ด้าน นายภาณุ ศีติสาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พยัคฆ์ มอเตอร์ จำกัด กล่าวว่า สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ให้บริการจะมีจำนวน 3 รุ่น ได้แก่ Elektra 1, Elektra 2 และ SK1 โดยมีค่าเช่าเริ่มต้นเดือนละ 1,250 บาท โดยรวมค่าจดทะเบียน ฟรีประกันอุบัติเหตุ ฟรีซ่อมบำรุง (ยกเว้นปะยาง) ฟรีสลับแบตเตอรี่ได้ตลอดอายุสัญญา ฟรีชุดของแถม (จำนวนจำกัด) โดยผู้สนใจขอใช้บริการจะต้องมีใบขับขี่ บัตรนักศึกษา อาจารย์หรือบุคคลากรใช้เอกสารรับรองจากทางมหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัย 8 แห่งที่เข้าร่วมโครงการระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ล่าสุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

“เป้าหมายระยะยาวของโครงการนี้คือ ขยายไปยังมหาวิทยาลัยจำนวน 30 แห่ง ทั่วประเทศ ซึ่งจะใช้เงินลงทุนทั้งหมดราว 3,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากนักศึกษาในการใช้บริการ และจะขยายรองรับการใช้งานของประชาชนทั่วไปได้ในอนาคต” นายภานุ กล่าว

นายพุทธพงศ์ สมใจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พาวเวอร์ เน็คซ์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดตัวระบบ Smart Energy Swapping Platform ผลิตภัณฑ์และบริการโครงการระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ สำหรับระบบนิเวศของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและระบบโครงข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบสลับแบตเตอรี่ โดยใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 3,000 ล้านบาท
สำหรับโครงการดังกล่าว คือการเปลี่ยนมาใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบสลับแบตเตอรี่ที่ติดตั้งภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย โดยให้บริการกับนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีมหาวิทยาลัย 8 แห่ง ตอบรับเซ็นข้อตกลงร่วมกันในการเป็นโครงการนำร่อง
“เฟสแรกจะใช้งบลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท มีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าพร้อมให้บริการประมาณ 300-500 คัน ต่อหนึ่งมหาวิทยาลัย โดยเจาะกลุ่มนักศึกษาปี 1 ที่เพิ่งเข้าเรียนเป็นปีแรก ซึ่งโครงการนี้ได้ร่วมมือกับ บริษัท พยัคฆ์ มอเตอร์ จำกัด ผู้นำเข้า ประกอบและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า แบรนด์ ZEEHO, Horwin และ Payak Motor ในการจัดหารถจักยานยนต์ไฟฟ้าและระบบสลับแบตเตอรี่” นายพุทธพงศ์ กล่าว
ด้าน นายภาณุ ศีติสาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พยัคฆ์ มอเตอร์ จำกัด กล่าวว่า สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ให้บริการจะมีจำนวน 3 รุ่น ได้แก่ Elektra 1, Elektra 2 และ SK1 โดยมีค่าเช่าเริ่มต้นเดือนละ 1,250 บาท โดยรวมค่าจดทะเบียน ฟรีประกันอุบัติเหตุ ฟรีซ่อมบำรุง (ยกเว้นปะยาง) ฟรีสลับแบตเตอรี่ได้ตลอดอายุสัญญา ฟรีชุดของแถม (จำนวนจำกัด) โดยผู้สนใจขอใช้บริการจะต้องมีใบขับขี่ บัตรนักศึกษา อาจารย์หรือบุคคลากรใช้เอกสารรับรองจากทางมหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัย 8 แห่งที่เข้าร่วมโครงการระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ล่าสุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
“เป้าหมายระยะยาวของโครงการนี้คือ ขยายไปยังมหาวิทยาลัยจำนวน 30 แห่ง ทั่วประเทศ ซึ่งจะใช้เงินลงทุนทั้งหมดราว 3,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากนักศึกษาในการใช้บริการ และจะขยายรองรับการใช้งานของประชาชนทั่วไปได้ในอนาคต” นายภานุ กล่าว