ตอนนี้จีนไม่เพียงเป็นตลาดรถยนต์พลังไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของโลกเท่านั้น แต่พวกเขายังเป็นตัวเร่งให้เกิดการเติบโตและการขยายตัวของตลาดรถยนต์พลังไฟฟ้าของโลกให้เดินหน้าอย่างรวดเร็ว หลังจากหลายต่อหลายแบรนด์ เช่น BYD, Great Wall หรือแม้แต่ Changan Automobile ต่างเปิดแนวรุกใหม่ในตลาดต่างประเทศ
ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายได้ต่อปีในประเทศจีนเพิ่มขึ้นจาก 1.3 ล้านคันเป็น 6.8 ล้านคัน ส่งผลให้ปี 2022 เป็นปีที่ 8 ติดต่อกันที่จีนเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งอย่างตลาดรถยนต์อเมริกัน ถือว่าทิ้งห่างอย่างชัดเจน (800,000 คันในปี 2022)
คำถามคือ ทำไมและอย่างไร ?
ราคาและที่ชาร์จคือปัจจัยหลัก
มีการเปิดเผยว่า สิ่งที่เป็นปัจจัยในการผลักดันให้รถยนต์พลังไฟฟ้ามีแรงขับเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในจีน มาจาก 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ ราคาที่จับต้องได้ และความแพร่หลายของระบบสาธารณูปโภค ซึ่งก็คือ แท่นชาร์จสาธารณะ ซึ่งจีนมีครบทั้ง 2 ประการ
จากข้อมูลของบริษัทวิจัย JATO Dynamics ของ สหราชอาณาจักร เผยว่า ราคาเฉลี่ยในช่วงกลางปี 2022 ของรถยนต์พลังไฟฟ้าโดยเฉลี่ยในจีนอยู่ที่ 31,165 ยูโร (33,964 ดอลลาร์) และราคารถยนต์ไฟฟ้าที่ถูกที่สุดในจีนถูกกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินที่ถูกที่สุดถึง 8% ส่วนหนึ่งต้องขอบคุณเงินอุดหนุนจำนวนมหาศาลจากรัฐบาลและการมีอยู่ของธาตุหายากที่มีความสำคัญต่อการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์พลังไฟฟ้า
สิ่งที่เกิดขึ้นในจีนกลับตรงกันข้ามกลับสหรัฐอเมริกา โดยจากข้อมูลของบริษัทวิจัยยานยนต์ Kelley Blue Book ราคาเฉลี่ยของรถยนต์พลังไฟฟ้าในเมืองลุงแซมอยู่ในระดับถึง 53,000 เหรียญสหรัฐ สูงกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินประมาณ 5,000 เหรียญสหรัฐฯ
นอกจากนั้น สหรัฐอเมริกายังตามหลังจีนในด้านจำนวนสถานีชาร์จสาธารณะ เอกสารไวท์เปเปอร์ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากอุตสาหกรรมซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือนตุลาคมโดย Electrification Institute ระบุว่า สหรัฐอเมริกามีสถานีชาร์จสาธารณะประมาณ 52,000 แห่ง ยุโรปประมาณ 400,000 แห่ง ขณะที่จีนมีอยู่ประมาณ 1.2 ล้านแห่ง
อย่างไรก็ตาม ทาง IEA คาดการณ์ว่า ยอดขายจดทะเบียนรถยนต์พลังไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มขึ้นถึง 50% ภายในปี 2030 เนื่องจากผู้ขับขี่ถูกดึงดูดไปยังเทคโนโลยีที่ได้รับการปรับปรุง ราคาที่ลดลง และโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงราคาที่ผันผวนที่ปั๊มแก๊ส
“การเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองอาจทำให้การเปลี่ยนแปลงล่าช้า” โฆษกของ IEA กล่าว โดยอ้างถึงข้อกังวลของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าบางรายว่าการเลือกตั้งในสหรัฐฯปีหน้าอาจนำไปสู่นโยบายชุดใหม่ “แต่ท้ายที่สุดแล้วการเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นในแบบค่อยเป็นค่อยไป”
การควบคุมที่ดีในเรื่องซัพพลายเชน
ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนทำให้ต้นทุนรถยนต์พลังไฟฟ้าของจีนลดลงคือ การผูกขาดในห่วงโซ่อุปทานแบตเตอรี่ โดยจากข้อมูลจาก SNE Research บริษัทที่ปรึกษาของเกาหลีใต้ระบุว่าปี 2022 จีนมีส่วนแบ่งในตลาดแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์พลังไฟฟ้าทั่วโลกของจีนถึง 60% นอกจากนั้น ภาครัฐฯยังควบคุมการผลิตวัสดุแบตเตอรี่ เช่น นิกเกิล โคบอลต์ และลิเธียม
ตอนนี้ จีนแซงหน้าญี่ปุ่นจนกลายเป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกในไตรมาสแรกของปี 2023 โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการที่มากมายจากรัสเซีย ซึ่งโดนคว่ำบาตรจากเหตุสงครามรัสเซีย-ยูเครน และความกระหายทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า โดยช่วง 8 เดือนแรกของปี การส่งออกรถยนต์นั่งจากจีนเพิ่มขึ้น 72% เป็น 2.3 ล้านคัน ซึ่ง 1 ใน 4 เป็นรถยนต์พลังไฟฟ้า และในเดือนสิงหาคมปีเดียว BYD ผู้นำตลาดรถยนต์พลังไฟฟ้าของจีน ส่งออกรถยนต์มากกว่า 25,000 คัน ตามมาด้วย Tesla China 19,465 คัน
ตอนนี้ จีนแซงหน้าญี่ปุ่นจนกลายเป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกในไตรมาสแรกของปี 2023 โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการที่มากมายจากรัสเซีย ซึ่งโดนคว่ำบาตรจากเหตุสงครามรัสเซีย-ยูเครน และความกระหายทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า โดยช่วง 8 เดือนแรกของปี การส่งออกรถยนต์นั่งจากจีนเพิ่มขึ้น 72% เป็น 2.3 ล้านคัน ซึ่ง 1 ใน 4 เป็นรถยนต์พลังไฟฟ้า และในเดือนสิงหาคมปีเดียว BYD ผู้นำตลาดรถยนต์พลังไฟฟ้าของจีน ส่งออกรถยนต์มากกว่า 25,000 คัน ตามมาด้วย Tesla China 19,465 คัน
ความนิยมที่ส่งต่อไปยังตลาดโลก
แน่นอนว่าในประเทศต่างๆ รถยนต์พลังไฟฟ้าของจีนได้รับการตอบรับที่ดีอย่างไม่น่าเชื่อ โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลังคือ ภาครัฐ ที่มีบทบาทสำคัญมายาวนาน ในการสนับสนุนทั้งอุปทานและอุปทาน ผลจากการอุดหนุนจากรัฐบาล การลดหย่อนภาษี สัญญาจัดซื้อจัดจ้าง และสิ่งจูงใจเชิงนโยบายอื่นๆ ทำให้แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตเองจำนวนหนึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นและยังคงเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการในชีวิตจริงของผู้บริโภคชาวจีนได้ สิ่งนี้ได้ปลูกฝังผู้ซื้อรถยนต์รุ่นใหม่จำนวนมาก
แน่นอนว่าโมเดลนี้ทำให้รถยนต์พลังไฟฟ้าของจีนเกิดใหม่อย่างรวดเร็ว และมีจำนวนมากคาดว่ามีมากถึง 50 แบรนด์รถยนต์ที่เตรียมออกสู่ตลาดโลก ครอบคลุมและรองรับกับความต้องการในเกือบทุกระดับตั้งแต่ต่ำสุดไปจนถึงรุ่นท็อปๆ และแบรนด์ต่างๆ ได้นำแนวทางนี้ออกมาช่วงชิงตลาดรถยนต์ในยุโรป และออสเตรเลีย จนเรียกว่าได้รับการตอบรับที่ดีอย่างไม่น่าเชื่อ ด้วยทางเลือกที่มีความคุ้มค่าในขณะที่ราคาถูกกว่าหรือแตกต่างจากสินค้าระดับเดียวกันจากแบรนด์ยุโรปในระดับหนึ่งเลยทีเดียว เช่น ในออสเตรเลีย GWM ORA Goodcat มีราคาอยู่ที่ 40,000 เหรียญออสเตรเลีย ซึ่งถือว่าถูกกว่ารถยนต์ไซส์เดียวกันจากฝั่งยุโรปอย่าง Cupra Born ถึง 20,000 เหรียญออสเตรเลียเลยทีเดียว
ตอนนี้ จีนแซงหน้าญี่ปุ่นจนกลายเป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกในไตรมาสแรกของปี 2023 โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการที่มากมายจากรัสเซีย ซึ่งโดนคว่ำบาตรจากเหตุสงครามรัสเซีย-ยูเครน และความกระหายทั่วโลกที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า โดยช่วง 8 เดือนแรกของปี การส่งออกรถยนต์นั่งจากจีนเพิ่มขึ้น 72% เป็น 2.3 ล้านคัน ซึ่ง 1 ใน 4 เป็นรถยนต์พลังไฟฟ้า และในเดือนสิงหาคมปีเดียว BYD ผู้นำตลาดรถยนต์พลังไฟฟ้าของจีน ส่งออกรถยนต์มากกว่า 25,000 คัน ตามมาด้วย Tesla China 19,465 คัน
สำหรับตลาดยุโรป บริษัทจีนส่งออกรถยนต์พลังไฟฟ้าเกือบ 350,000 คันไปยัง 9 ประเทศในยุโรปช่วงครึ่งแรกของปี ซึ่งมากกว่าการส่งออกตลอดทั้งปี 2022 และภายในปี 2030 ผู้ผลิตรถยนต์จีนอาจครองส่วนแบ่งยอดขายในตลาดรถยนต์ทั่วโลกเพิ่มขึ้นสองเท่า จาก 17% เป็น 33% โดยบริษัทในยุโรปต้องสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดครั้งใหญ่ที่สุด
อย่างไรก็ตาม นี่ยังเป็นแค่จุดเริ่มต้น แต่สิ่งที่น่ากังวลสำหรับผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นๆ คือ การครอบครองในเชิงทัศนคติที่จากเดิมลูกค้านอกประเทศจะค่อนข้างติดลบกับผลิตภัณฑ์จากจีน แต่เมื่อสินค้ามีราคาถูกลงและเข้าถึงได้ง่าย ทำให้พวกเขามีโอกาสได้ลองและสัมผัส ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในด้านวิธีคิดและมุมมองที่มีต่อรถยนต์จากจีน และสิ่งนี้ได้ถูกปลูกฝังอยู่ในหัวของผู้ซื้อรุ่นใหม่ๆ ให้เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ