รถยนต์ไฟฟ้ากำลังได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทยหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศนโยบาย 30@30 วางเป้ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าไว้สูงถึง 30% ของยอดขายรถยนต์รวมทั้งประเทศภายในปี 2573 และเพื่อบรรลุเป้าหมายจึงได้ออกมาตการสนับสนุนให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นด้วยการมอบส่วนลด 150,000 บาท และลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% ทำให้ได้รับความสนใจจากค่ายรถยนต์โดยเฉพาะจากประเทศจีนที่เปิดตัวเข้ามาทำตลาดในไทยอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด กับแบรนด์น้องใหม่ GAC ได้มีการเปิดตัว AION Y PLUS เข้าสู่ตลาดไทย เราจึงได้นำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่ทำตลาดอยู่เดิมจากแบรนด์จีน โดยเลือกจากความใกล้เคียงกันทั้ง ราคา, ขนาด และ ระยะทางวิ่ง ผลลัพธ์ที่ได้คือ BYD ATTO 3 Extended Range , MG ZS EV X และ ORA Good Cat 500 Ultra ส่วนใครจะโดดเด่นในด้านไหนอย่างไร เราสรุปให้อ่านดังนี้
มิติตัวถัง
มองไปที่ขนาดของมิติตัวถัง AION Y PLUS จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า รวมถึงระยะฐานล้อที่ยาวกว่าคู่เปรียบในคราวนี้ทั้งหมด และเมื่อได้ทดลองนั่งทางด้านหลังจะรู้สึกว่า AION Y PLUS มีความกว้างและพื้นที่ค่อนข้างกว้าง ประตูเปิดได้กว้างเกือบ 90 องศา เรียกว่ามีพื้นที่ห้องโดยสารกว้างที่สุดจากทั้ง 4 รุ่น
ส่วนความสูงของระยะใต้ท้องรถต้องยกให้ BYD ATTO 3 ด้วยระยะ 175 มม. มีผลดีในเรื่องเวลาต้องลุยน้ำท่วมน่าจะผ่านได้ในระดับที่สูงกว่าคันอื่น และจะมีความเสี่ยงน้อยที่สุดในการโดนกระแทกจากใต้ท้องรถ ซึ่งเป็นที่ติดตั้งแบตเตอรี่
พละกำลัง
หากมองตัวเลขกำลัง BYD ATTO 3 และ AION Y PLUS จะมีกำลังเท่ากัน แต่เมื่อมองไปที่แรงบิดจะเห็นว่า BYD ATTO 3 มีแรงบิดสูงกว่า ซึ่งส่งผลโดยตรงต่ออัตราเร่ง ที่เมื่อเราขับแล้วค่อนข้างชัดเจนว่า BYD ATTO 3 มีการตอบสนองที่รวดเร็วว่า แต่ด้วยน้ำหนักตัวที่มากกว่า ทำให้ภาพรวมของอัตราเร่งเมื่อเทียบกับคู่แข่งแล้วไม่แตกต่างอย่างมีนัยยะมากนัก โดยทุกคันเป็นรถขับเคลื่อนล้อหน้า
ระยะทางวิ่ง
ตัวเลขที่นำเสนอเป็นการอ้างอิงจาก อีโคสติกเกอร์ ที่ใช้มาตรฐาน NEDC ทำให้แตกต่างจากการขับจริงบนท้องถนนอยู่พอสมควร ยกเว้น AION Y PLUS ที่ยังไม่มีรายงาน อีโคสติกเกอร์ โดยเมื่อพิจารณาแล้ว ORA Good Cat วิ่งได้ระยะทางไกลสุด 500 กม. อันเป็นผลจากตัวรถที่เล็ก น้ำหนักที่เบา มอเตอร์กำลังน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามระยะทางวิ่งจริงขึ้นกับการกดคันเร่งของผู้ขับขี่เป็นสำคัญ
แบตเตอรี่
ในเชิงของเทคโนโลยี AION Y PLUS และ BYD ATTO 3 ต่างใช้แบตเตอรี่แบบ LFP ซึ่งทั้งสองแบรนด์ มีการทดสอบความปลอดภัยด้วยการแทงตะปูแล้วพบว่า ไม่เกิดการระเบิด โดย BYD เรียกเทคโนโลยีของเขาว่า Blade Battery จุดเด่นคือมีการเรียงของเซลล์ที่คล้ายกับซิงค์ระบายความร้อน จึงช่วยลดความร้อนระหว่างใช้งานได้เป็นอย่างดี อันเป็นสิทธิบัตรเฉพาะของ BYD ส่วน AION เรียกแบตเตอรี่ของตัวเองว่า Magazine Battery จุดเด่นคือ ไม่ระเบิดแม้ถูกปืนยิง และสามารถเปลี่ยนโมดูลได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทั้งลูก
ขณะที่ MG ZS EV มิได้มีการระบุไว้ว่าเป็นชนิดใด แต่จากข้อมูลส่วนบุคคลระบุว่าเป็นLFPที่สามารถเปลี่ยนโมดูลได้ ส่วน Ora Good Cat 500 เป็นแบบ Ternary หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า NMC ซึ่งมีจุดเด่นคือ จัดเก็บพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่าในขนาดที่เท่ากัน แต่จะมีจุดอ่อนคือเรื่อง การทนความร้อนได้ไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับ LFP
ระบบเสริมความปลอดภัย
หัวข้อนี้ทั้ง Ora Good Cat 500 Ultra BYD ATTO 3 และ MG ZS EV จัดระบบเสริมความปลอดภัยไฮเทคมาให้อย่างครบครัน ฟังก์ชันสำคัญอย่างเช่น ระบบช่วยเตือนมุมอับสายตา (BSM) และเตือนออกนอกเลน (LDW) มีให้เป็นมาตรฐาน แต่ AION Y PLUS ใส่ให้เฉพาะรุ่น 550 โดยไม่มี BSM ด้วย เมื่อเทียบกันกับ 3 แบรนด์ร่วมชาติ จะแตกต่างกันนับสิบระบบเลยทีเดียว
การรับประกัน
ผู้มาใหม่อย่าง AION Y PLUS จัดเต็มด้วยการรับประกันที่ยาวและมากกว่าคู่แข่งทั้งหมด โดยตัวรถรับประกันถึง 8 ปี หรือ 160,000 กม. และแบตเตอรี่ 8 ปี หรือ 200,000 กม. ซึ่งหัวข้อนี้ประเด็นสำคัญคือ ความเชื่อมั่นของลูกค้า และเกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการด้านอะไหล่ ดังที่เราทราบกันว่า ในบางช่วงเวลารถยนต์แบรนด์จีนประสบปัญหาเรื่องการรออะไหล่นาน แต่ปัจจุบัน ทั้ง BYD และ MG ต่าง ปรับปรุงและเพิ่มปริมาณอะไหล่ พร้อมขยายคลังอะไหล่ให้มากขึ้นเรียบร้อยแล้ว
ราคา-ความคุ้มค่า
ประเด็นสุดท้าย สำหรับคนที่กำลังมองหารถยนต์ไฟฟ้าไว้ใช้งานสักหนึ่งคัน ผู้เขียนย้ำมาตลอดว่า การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในเวลานี้ยังมีข้อจำกัดอยู่ ทั้งเรื่องระยะทางการวิ่ง การชาร์จไฟและราคาแบตเตอรี่ที่ค่อนข้างสูง(ราว40%ของราคารถ) แต่หากคุณใช้วิ่งเยอะ รถยนต์ไฟฟ้าจะตอบโจทย์เรื่องความคุ้มค่าได้อย่างชัดเจน เพราะจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้ 3-4 เท่าตัว เมื่อเทียบกับรถน้ำมัน
ส่วนจะให้สรุปว่า คันใดคุ้มค่าที่สุด เราสามารถบอกได้เพียงจุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละคันที่มีแตกต่างกันไป ไม่มีคันไหนสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะหากนำปัจจัยเรื่อง รูปลักษณ์ , ภาพลักษณ์ มาร่วมพิจารณาด้วย รับประกันว่า หาจุดจบไม่เจออย่างแน่นอน สำหรับแนวทางของเราคือ เลือกให้ตรงตามลักษณะการใช้งานและดูความเชื่อมั่นในการดูแลของแบรนด์ แต่เราจะสรุปสั้นๆ ของแต่ละรุ่นให้ดังนี้
BYD ATTO 3 Extended Range
ชอบ- แบตเตอรี่ล้ำสมัย
รูปทรงทันสมัย ออปชันปลอดภัยเต็ม ลูกเล่นเยอะ น่าตื่นตาตื่นใจ อัตราเร่งดี
ไม่ชอบ
– ขับนุ่ม โยนตัวเมื่อเข้าโค้งแรง แอร์หนาว ไฟหน้าดับไม่ได้
GAC AION Y PLUS
ชอบ - กว้าง เบาะหลังนั่งสบาย
รถทรงตัวดี ค่อนข้างเฟิร์ม ฟังก์ชันใช้งานง่าย รับประกันนาน เบาะปรับนอนได้
ไม่ชอบ - ออปชันน้อย ระบบความปลอดภัยน้อย
ยังไม่ได้เซ็นMOU กับกรมสรรพสามิตแต่ประกาศราคาแล้ว
MG ZS EV X
ชอบ – ช่วงล่างเฟิร์ม ลูกเล่นเยอะ
ราคาถูกสุด ศูนย์บริการแพร่หลาย
ไม่ชอบ - การตอบสนองของหน้าจอช้า แบตเตอรี่วิ่งได้น้อยกว่า
ORA Good Cat 500 Ultra
ชอบ – ขนาดเล็ก ขับสนุก
ตอบสนองทันใจ รูปทรงแปลกตา
ไม่ชอบ - ช่วงล่างค่อนข้างแข็ง
ฟังก์ชันซับซ้อนใช้ยาก
ล่าสุด กับแบรนด์น้องใหม่ GAC ได้มีการเปิดตัว AION Y PLUS เข้าสู่ตลาดไทย เราจึงได้นำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่ทำตลาดอยู่เดิมจากแบรนด์จีน โดยเลือกจากความใกล้เคียงกันทั้ง ราคา, ขนาด และ ระยะทางวิ่ง ผลลัพธ์ที่ได้คือ BYD ATTO 3 Extended Range , MG ZS EV X และ ORA Good Cat 500 Ultra ส่วนใครจะโดดเด่นในด้านไหนอย่างไร เราสรุปให้อ่านดังนี้
มิติตัวถัง
มองไปที่ขนาดของมิติตัวถัง AION Y PLUS จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า รวมถึงระยะฐานล้อที่ยาวกว่าคู่เปรียบในคราวนี้ทั้งหมด และเมื่อได้ทดลองนั่งทางด้านหลังจะรู้สึกว่า AION Y PLUS มีความกว้างและพื้นที่ค่อนข้างกว้าง ประตูเปิดได้กว้างเกือบ 90 องศา เรียกว่ามีพื้นที่ห้องโดยสารกว้างที่สุดจากทั้ง 4 รุ่น
ส่วนความสูงของระยะใต้ท้องรถต้องยกให้ BYD ATTO 3 ด้วยระยะ 175 มม. มีผลดีในเรื่องเวลาต้องลุยน้ำท่วมน่าจะผ่านได้ในระดับที่สูงกว่าคันอื่น และจะมีความเสี่ยงน้อยที่สุดในการโดนกระแทกจากใต้ท้องรถ ซึ่งเป็นที่ติดตั้งแบตเตอรี่
พละกำลัง
หากมองตัวเลขกำลัง BYD ATTO 3 และ AION Y PLUS จะมีกำลังเท่ากัน แต่เมื่อมองไปที่แรงบิดจะเห็นว่า BYD ATTO 3 มีแรงบิดสูงกว่า ซึ่งส่งผลโดยตรงต่ออัตราเร่ง ที่เมื่อเราขับแล้วค่อนข้างชัดเจนว่า BYD ATTO 3 มีการตอบสนองที่รวดเร็วว่า แต่ด้วยน้ำหนักตัวที่มากกว่า ทำให้ภาพรวมของอัตราเร่งเมื่อเทียบกับคู่แข่งแล้วไม่แตกต่างอย่างมีนัยยะมากนัก โดยทุกคันเป็นรถขับเคลื่อนล้อหน้า
ระยะทางวิ่ง
ตัวเลขที่นำเสนอเป็นการอ้างอิงจาก อีโคสติกเกอร์ ที่ใช้มาตรฐาน NEDC ทำให้แตกต่างจากการขับจริงบนท้องถนนอยู่พอสมควร ยกเว้น AION Y PLUS ที่ยังไม่มีรายงาน อีโคสติกเกอร์ โดยเมื่อพิจารณาแล้ว ORA Good Cat วิ่งได้ระยะทางไกลสุด 500 กม. อันเป็นผลจากตัวรถที่เล็ก น้ำหนักที่เบา มอเตอร์กำลังน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามระยะทางวิ่งจริงขึ้นกับการกดคันเร่งของผู้ขับขี่เป็นสำคัญ
แบตเตอรี่
ในเชิงของเทคโนโลยี AION Y PLUS และ BYD ATTO 3 ต่างใช้แบตเตอรี่แบบ LFP ซึ่งทั้งสองแบรนด์ มีการทดสอบความปลอดภัยด้วยการแทงตะปูแล้วพบว่า ไม่เกิดการระเบิด โดย BYD เรียกเทคโนโลยีของเขาว่า Blade Battery จุดเด่นคือมีการเรียงของเซลล์ที่คล้ายกับซิงค์ระบายความร้อน จึงช่วยลดความร้อนระหว่างใช้งานได้เป็นอย่างดี อันเป็นสิทธิบัตรเฉพาะของ BYD ส่วน AION เรียกแบตเตอรี่ของตัวเองว่า Magazine Battery จุดเด่นคือ ไม่ระเบิดแม้ถูกปืนยิง และสามารถเปลี่ยนโมดูลได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทั้งลูก
ขณะที่ MG ZS EV มิได้มีการระบุไว้ว่าเป็นชนิดใด แต่จากข้อมูลส่วนบุคคลระบุว่าเป็นLFPที่สามารถเปลี่ยนโมดูลได้ ส่วน Ora Good Cat 500 เป็นแบบ Ternary หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า NMC ซึ่งมีจุดเด่นคือ จัดเก็บพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่าในขนาดที่เท่ากัน แต่จะมีจุดอ่อนคือเรื่อง การทนความร้อนได้ไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับ LFP
ระบบเสริมความปลอดภัย
หัวข้อนี้ทั้ง Ora Good Cat 500 Ultra BYD ATTO 3 และ MG ZS EV จัดระบบเสริมความปลอดภัยไฮเทคมาให้อย่างครบครัน ฟังก์ชันสำคัญอย่างเช่น ระบบช่วยเตือนมุมอับสายตา (BSM) และเตือนออกนอกเลน (LDW) มีให้เป็นมาตรฐาน แต่ AION Y PLUS ใส่ให้เฉพาะรุ่น 550 โดยไม่มี BSM ด้วย เมื่อเทียบกันกับ 3 แบรนด์ร่วมชาติ จะแตกต่างกันนับสิบระบบเลยทีเดียว
การรับประกัน
ผู้มาใหม่อย่าง AION Y PLUS จัดเต็มด้วยการรับประกันที่ยาวและมากกว่าคู่แข่งทั้งหมด โดยตัวรถรับประกันถึง 8 ปี หรือ 160,000 กม. และแบตเตอรี่ 8 ปี หรือ 200,000 กม. ซึ่งหัวข้อนี้ประเด็นสำคัญคือ ความเชื่อมั่นของลูกค้า และเกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการด้านอะไหล่ ดังที่เราทราบกันว่า ในบางช่วงเวลารถยนต์แบรนด์จีนประสบปัญหาเรื่องการรออะไหล่นาน แต่ปัจจุบัน ทั้ง BYD และ MG ต่าง ปรับปรุงและเพิ่มปริมาณอะไหล่ พร้อมขยายคลังอะไหล่ให้มากขึ้นเรียบร้อยแล้ว
ราคา-ความคุ้มค่า
ประเด็นสุดท้าย สำหรับคนที่กำลังมองหารถยนต์ไฟฟ้าไว้ใช้งานสักหนึ่งคัน ผู้เขียนย้ำมาตลอดว่า การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในเวลานี้ยังมีข้อจำกัดอยู่ ทั้งเรื่องระยะทางการวิ่ง การชาร์จไฟและราคาแบตเตอรี่ที่ค่อนข้างสูง(ราว40%ของราคารถ) แต่หากคุณใช้วิ่งเยอะ รถยนต์ไฟฟ้าจะตอบโจทย์เรื่องความคุ้มค่าได้อย่างชัดเจน เพราะจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้ 3-4 เท่าตัว เมื่อเทียบกับรถน้ำมัน
ส่วนจะให้สรุปว่า คันใดคุ้มค่าที่สุด เราสามารถบอกได้เพียงจุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละคันที่มีแตกต่างกันไป ไม่มีคันไหนสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะหากนำปัจจัยเรื่อง รูปลักษณ์ , ภาพลักษณ์ มาร่วมพิจารณาด้วย รับประกันว่า หาจุดจบไม่เจออย่างแน่นอน สำหรับแนวทางของเราคือ เลือกให้ตรงตามลักษณะการใช้งานและดูความเชื่อมั่นในการดูแลของแบรนด์ แต่เราจะสรุปสั้นๆ ของแต่ละรุ่นให้ดังนี้
BYD ATTO 3 Extended Range
ชอบ- แบตเตอรี่ล้ำสมัย
รูปทรงทันสมัย ออปชันปลอดภัยเต็ม ลูกเล่นเยอะ น่าตื่นตาตื่นใจ อัตราเร่งดี
ไม่ชอบ
– ขับนุ่ม โยนตัวเมื่อเข้าโค้งแรง แอร์หนาว ไฟหน้าดับไม่ได้
GAC AION Y PLUS
ชอบ - กว้าง เบาะหลังนั่งสบาย
รถทรงตัวดี ค่อนข้างเฟิร์ม ฟังก์ชันใช้งานง่าย รับประกันนาน เบาะปรับนอนได้
ไม่ชอบ - ออปชันน้อย ระบบความปลอดภัยน้อย
ยังไม่ได้เซ็นMOU กับกรมสรรพสามิตแต่ประกาศราคาแล้ว
MG ZS EV X
ชอบ – ช่วงล่างเฟิร์ม ลูกเล่นเยอะ
ราคาถูกสุด ศูนย์บริการแพร่หลาย
ไม่ชอบ - การตอบสนองของหน้าจอช้า แบตเตอรี่วิ่งได้น้อยกว่า
ORA Good Cat 500 Ultra
ชอบ – ขนาดเล็ก ขับสนุก
ตอบสนองทันใจ รูปทรงแปลกตา
ไม่ชอบ - ช่วงล่างค่อนข้างแข็ง
ฟังก์ชันซับซ้อนใช้ยาก