ท้ายที่สุดแล้ว เฟอร์รารี่ ก็ไม่สามารถต้านทานกระแสความต้องการของตลาดได้ แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงมากมายกับการที่เฟอร์รารี่จะสร้างรถอเนกประสงค์ แต่ในวันนี้เราได้เห็น Ferrari Purosangue คันจริงพร้อมจำหน่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รถอเนกประสงค์ที่ทุกคนเรียกว่าเป็น เอสยูวี ในทางตรงกันข้ามเฟอร์รารี่กลับไม่อยากให้เรียกว่าเป็น เอสยูวี โดยเรียกว่าเป็นรถแบบ 4 ประตู 2+2 ที่นั่ง
หลังจากที่เราได้สัมผัสคันจริงและพูดคุยกับทีมผู้พัฒนาของเฟอร์รารี่ เรารวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Ferrari Purosangue เอาไว้ 10 ข้อดังนี้
1. จุดกำเนิด Purosangue
ข้อมูลบางอย่างอาจจะดูย้อนแย้งอยู่บ้าง เพราะ Purosangue ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อสร้างยอดขายแบบเป็นกอบเป็นกำ หรือเพื่อกู้วิกฤตใดๆ ของบริษัท แต่เหตุผลที่เราได้มาตั้งแต่เมื่อ 4 ปีก่อน คือ เฟอร์รารี่มิอาจต้านทานความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งในห้วงเวลานั้น ยังมีความเห็นที่ไม่ลงรอยกันระหว่างทีมฝ่ายบริหารและทีมผู้พัฒนาว่าจะทำออกมาอย่างไร เพื่อคงดีเอ็นเอของเฟอร์รารี่เอาไว้ให้ได้
2. ดีไซน์
เน้นเรื่องของ อากาศพลศาสตร์เป็นหัวใจ ฝากระโปรงหน้าคล้าย F12 Berlinetta ด้านข้างออกแบบโป่งเพื่อรีดอากาศให้เข้าซุ้มล้อมากที่สุดซึ่งช่วยสร้างแรงกดอากาศ ด้านท้ายหยิบยกมาจาก Roma กระจกหลังไร้ใบปัดน้ำฝน โดยมีสปอยเลอร์รีดลมเพื่อไล่น้ำฝนแทน ดิฟฟิวเซอร์ด้านล่างออกแบบตามรถแข่ง F1
3. ชื่อ Purosangue
คำว่า Purosangue (ออกเสียงว่า พู-โร-ซัง-เกว่) ในภาษาอิตาลีหมายความว่า “พันธ์แท้” หรือ “ม้าอิตาลีที่มีสายเลือดแท้” คงไม่ต้องบอกถึงนัยยะแฝงของการเลือกใช้ชื่อนี้ และมีอีกความหมายตามคำบอกเล่าของทีมพัฒนาคือ “เครื่องยนต์ V12”
4. ประตูแบบ Suicide doors
เกิดจากแนวคิดเรื่องอากาศพลศาสตร์และความต้องการสร้างรถ 4 ประตูที่ดูเหมือน 2 ประตู รวมถึงการกระจายน้ำหนักของตัวรถให้มีความสมดุลที่สุด ความลับอยู่ที่การออกแบบแขนยึดเอาไว้ทางเสาซี
5. หัวใจ V12
เครื่องยนต์เบนซินขนาด 6.5 ลิตร ไร้ระบบอัดอากาศแบบ V12 ที่เป็นความภาคภูมิใจของเฟอร์รารี่ โดยมีการออกแบบใหม่ให้วางกลางทางด้านหน้าและนำชุดเกียร์ F1 DCT ไปไว้ทางด้านหลัง โดยระบบขับเคลื่อน 4 ล้อจะเป็นแบบ Part time คือในเวลาขับขี่ปกติไม่เกิน 200 กม./ชม. จะใช้เพียง 2 ล้อหลังเท่านั้น แรงบิดจะถูกส่งไปด้านหน้าต่อเมื่อระบบมองว่ามีความจำเป็นเท่านั้น กำลังสูงสุด 725 แรงม้าใช้น้ำมันออกเทน 98
6. เบาะหนัง Alcantara
นอกจากดีไซน์ของตัวเบาะที่ออกแบบใหม่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง วัสดุที่ลูกค้าสามารถเลือกได้คือ หนังกลับภายใต้แบรนด์ Alcantara ที่ถูกนำมาใช้ใน Purosangue เป็นครั้งแรก โดยมีจุดเด่นคือเป็นหนังสังเคราะห์จากเส้นใย โพลีเอสเยอร์ 68%
7. เครื่องเสียง Burmester
เป็นครั้งแรกที่เฟอร์รารี่เลือกใช้เครื่องเสียงจากแบรนด์ไฮเอนด์อย่าง Burmester ด้วยเหตุผลหลักคือ เพื่อความสุนทรีย์ในการเดินทาง อันเนื่องมาจากเฟอร์รารี่ได้สร้างรถที่เงียบที่สุดเท่าที่เคยสร้างมาแล้ว ฉะนั้นเครื่องเสียงจึงมีความสำคัญทันที โดย Burmester จัดเซ็ตพิเศษ 3D มีลำโพง 21 ตัวรวมซับวูฟเฟอร์
8. ขนาดล้อไม่เท่ากัน
ล้อหน้ามีขนาด 255/35 R22 ส่วนล้อหลัง 315/30 R23 ใช้ยางจากมิชลิน ซึ่งต้นเหตุของการเลือกใช้ล้อที่ไม่เท่ากันมาจากการสร้างสมดุลให้ Purosangue มีการกระจายน้ำหนักในสัดส่วนหน้า 49% หลัง 51% ซึ่งน้ำหนักของตัวรถทั้งหมด 2,033 กิโลกรัม
9. จำนวนการผลิต
เฟอร์รารี่วางแผนการผลิต Purosangue ในสัดส่วน 20% ของกำลังการผลิตทั้งหมด โดยจะเริ่มต้นส่งมอบคันแรกให้ลูกค้าตลาดยุโรปได้ในเดือนพฤษภาคม 2566 ส่วนตลาดอื่นๆ จะเรียงลำดับไปตามสัดส่วน ขณะที่คู่แข่งเป็นใครเฟอร์รรารี่ไม่ระบุชัดว่าคือแบรนด์ใด แต่บอกว่าทุกค่ายที่เป็นรถแบบ 4 ที่นั่ง 4 ประตู ที่มีความเป็นซูเปอร์คาร์
10. ปิดจองชั่วคราว
อ่านแล้วคงเกิดความสงสัยว่าคืออะไร รถเพิ่งจะเปิดตัวยังไม่มีการส่งมอบหรือมีใครได้เห็นคันจริง (รถจริงล็อตแรกคือรถที่ผู้เขียนได้มาขับ) เหตุใดจึงปิดรับจองแล้ว คำตอบคือ ย้อนกลับไปอ่านข้อแรก ยอดจองมีมากมายตั้งแต่ยังเป็นเพียงโปรเจ็คในกระดาษทำให้เมื่อมีการเปิดตัวพร้อมคีย์ข้อมูลเข้าระบบจริงยอดจึงทล่มทลาย ระยะเวลาในการรอส่งมอบรถปัจจุบันคืออย่างน้อย 18 เดือน
ในมุมมองเรา แท้จริงแล้วการเข้าสู่ตลาดของ Purosangue เฟอร์รารี่ มิได้ต้องการยอดขายอย่างที่กล่าวไว้ แต่สิ่งที่เฟอร์รารี่ต้องการอาจจะเป็นเพียงแค่การบอกให้ทุกคนทราบว่า เฟอร์รารี่ก็ทำได้ และทำได้ในแบบฉบับของม้าลำพอง ที่ไม่จำเป็นต้องตามใคร
หลังจากที่เราได้สัมผัสคันจริงและพูดคุยกับทีมผู้พัฒนาของเฟอร์รารี่ เรารวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Ferrari Purosangue เอาไว้ 10 ข้อดังนี้
1. จุดกำเนิด Purosangue
ข้อมูลบางอย่างอาจจะดูย้อนแย้งอยู่บ้าง เพราะ Purosangue ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อสร้างยอดขายแบบเป็นกอบเป็นกำ หรือเพื่อกู้วิกฤตใดๆ ของบริษัท แต่เหตุผลที่เราได้มาตั้งแต่เมื่อ 4 ปีก่อน คือ เฟอร์รารี่มิอาจต้านทานความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งในห้วงเวลานั้น ยังมีความเห็นที่ไม่ลงรอยกันระหว่างทีมฝ่ายบริหารและทีมผู้พัฒนาว่าจะทำออกมาอย่างไร เพื่อคงดีเอ็นเอของเฟอร์รารี่เอาไว้ให้ได้
2. ดีไซน์
เน้นเรื่องของ อากาศพลศาสตร์เป็นหัวใจ ฝากระโปรงหน้าคล้าย F12 Berlinetta ด้านข้างออกแบบโป่งเพื่อรีดอากาศให้เข้าซุ้มล้อมากที่สุดซึ่งช่วยสร้างแรงกดอากาศ ด้านท้ายหยิบยกมาจาก Roma กระจกหลังไร้ใบปัดน้ำฝน โดยมีสปอยเลอร์รีดลมเพื่อไล่น้ำฝนแทน ดิฟฟิวเซอร์ด้านล่างออกแบบตามรถแข่ง F1
3. ชื่อ Purosangue
คำว่า Purosangue (ออกเสียงว่า พู-โร-ซัง-เกว่) ในภาษาอิตาลีหมายความว่า “พันธ์แท้” หรือ “ม้าอิตาลีที่มีสายเลือดแท้” คงไม่ต้องบอกถึงนัยยะแฝงของการเลือกใช้ชื่อนี้ และมีอีกความหมายตามคำบอกเล่าของทีมพัฒนาคือ “เครื่องยนต์ V12”
4. ประตูแบบ Suicide doors
เกิดจากแนวคิดเรื่องอากาศพลศาสตร์และความต้องการสร้างรถ 4 ประตูที่ดูเหมือน 2 ประตู รวมถึงการกระจายน้ำหนักของตัวรถให้มีความสมดุลที่สุด ความลับอยู่ที่การออกแบบแขนยึดเอาไว้ทางเสาซี
5. หัวใจ V12
เครื่องยนต์เบนซินขนาด 6.5 ลิตร ไร้ระบบอัดอากาศแบบ V12 ที่เป็นความภาคภูมิใจของเฟอร์รารี่ โดยมีการออกแบบใหม่ให้วางกลางทางด้านหน้าและนำชุดเกียร์ F1 DCT ไปไว้ทางด้านหลัง โดยระบบขับเคลื่อน 4 ล้อจะเป็นแบบ Part time คือในเวลาขับขี่ปกติไม่เกิน 200 กม./ชม. จะใช้เพียง 2 ล้อหลังเท่านั้น แรงบิดจะถูกส่งไปด้านหน้าต่อเมื่อระบบมองว่ามีความจำเป็นเท่านั้น กำลังสูงสุด 725 แรงม้าใช้น้ำมันออกเทน 98
6. เบาะหนัง Alcantara
นอกจากดีไซน์ของตัวเบาะที่ออกแบบใหม่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง วัสดุที่ลูกค้าสามารถเลือกได้คือ หนังกลับภายใต้แบรนด์ Alcantara ที่ถูกนำมาใช้ใน Purosangue เป็นครั้งแรก โดยมีจุดเด่นคือเป็นหนังสังเคราะห์จากเส้นใย โพลีเอสเยอร์ 68%
7. เครื่องเสียง Burmester
เป็นครั้งแรกที่เฟอร์รารี่เลือกใช้เครื่องเสียงจากแบรนด์ไฮเอนด์อย่าง Burmester ด้วยเหตุผลหลักคือ เพื่อความสุนทรีย์ในการเดินทาง อันเนื่องมาจากเฟอร์รารี่ได้สร้างรถที่เงียบที่สุดเท่าที่เคยสร้างมาแล้ว ฉะนั้นเครื่องเสียงจึงมีความสำคัญทันที โดย Burmester จัดเซ็ตพิเศษ 3D มีลำโพง 21 ตัวรวมซับวูฟเฟอร์
8. ขนาดล้อไม่เท่ากัน
ล้อหน้ามีขนาด 255/35 R22 ส่วนล้อหลัง 315/30 R23 ใช้ยางจากมิชลิน ซึ่งต้นเหตุของการเลือกใช้ล้อที่ไม่เท่ากันมาจากการสร้างสมดุลให้ Purosangue มีการกระจายน้ำหนักในสัดส่วนหน้า 49% หลัง 51% ซึ่งน้ำหนักของตัวรถทั้งหมด 2,033 กิโลกรัม
9. จำนวนการผลิต
เฟอร์รารี่วางแผนการผลิต Purosangue ในสัดส่วน 20% ของกำลังการผลิตทั้งหมด โดยจะเริ่มต้นส่งมอบคันแรกให้ลูกค้าตลาดยุโรปได้ในเดือนพฤษภาคม 2566 ส่วนตลาดอื่นๆ จะเรียงลำดับไปตามสัดส่วน ขณะที่คู่แข่งเป็นใครเฟอร์รรารี่ไม่ระบุชัดว่าคือแบรนด์ใด แต่บอกว่าทุกค่ายที่เป็นรถแบบ 4 ที่นั่ง 4 ประตู ที่มีความเป็นซูเปอร์คาร์
10. ปิดจองชั่วคราว
อ่านแล้วคงเกิดความสงสัยว่าคืออะไร รถเพิ่งจะเปิดตัวยังไม่มีการส่งมอบหรือมีใครได้เห็นคันจริง (รถจริงล็อตแรกคือรถที่ผู้เขียนได้มาขับ) เหตุใดจึงปิดรับจองแล้ว คำตอบคือ ย้อนกลับไปอ่านข้อแรก ยอดจองมีมากมายตั้งแต่ยังเป็นเพียงโปรเจ็คในกระดาษทำให้เมื่อมีการเปิดตัวพร้อมคีย์ข้อมูลเข้าระบบจริงยอดจึงทล่มทลาย ระยะเวลาในการรอส่งมอบรถปัจจุบันคืออย่างน้อย 18 เดือน
ในมุมมองเรา แท้จริงแล้วการเข้าสู่ตลาดของ Purosangue เฟอร์รารี่ มิได้ต้องการยอดขายอย่างที่กล่าวไว้ แต่สิ่งที่เฟอร์รารี่ต้องการอาจจะเป็นเพียงแค่การบอกให้ทุกคนทราบว่า เฟอร์รารี่ก็ทำได้ และทำได้ในแบบฉบับของม้าลำพอง ที่ไม่จำเป็นต้องตามใคร