วินาทีแรกที่ทราบว่า เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประกาศคืนชีพสร้างรถสปอร์ตในตระกูล เอสแอล (SL) อีกครั้ง หัวใจของเราพองโตขึ้นมาทันที เพราะนี่คือรถสปอร์ตระดับตำนานที่ได้ชื่อว่า “ดีที่สุด” ในไลน์การผลิตของค่ายแห่งดวงดาวจากเมืองสตุทการ์ท ประวัติศาสตร์ของเอสแอลมีมาอย่างยาวนานร่วม 70 ปี ผ่าน 6 เจเนอเรชัน ก่อนจะยุติการพัฒนาไป
SL ใหม่ เจเนอเรชันที่ 7 มากับรหัสพัฒนา R232 โดยอยู่ในความรับผิดชอบของทีม AMG ดังนั้นชื่อเรียกจึงถูกขนานนามใหม่ว่า Mercedes-AMG SL และเปิดตัวด้วย 3 ทางเลือกหลักคือ SL43 , SL55 และ SL63 ซึ่งในเมืองไทยทำตลาดอย่างเป็นทางการเพียงรุ่นเดียวคือ SL43 มีการเปิดตัวเมื่อปลายปี 2565 ด้วยราคาเริ่มต้น 11,700,000 บาท
เหนือสิ่งอื่นใด คงไม่มีใครคิดว่า เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย จะใจกล้า ให้สื่อมวลชนได้ทดลองขับ ซึ่งมิใช่การทดลองขับแบบปิดในสนามแข่งหรือจำกัดการขับ แต่เป็นการให้ลองกันอย่างหนำใจ ด้วยเส้นทาง เชียงราย-เชียงใหม่-กรุงเทพฯ ระยะทางร่วม 1,000 กม. และเราเป็นไม้สุดท้ายขับยาวกว่า 700 กม.
SL43 หัวใจเล็ก 4 สูบ แต่ทรงพลัง
มิติตัวถัง ยาว 4,700 กว้าง 1,915 และ สูง1,359 (มม. จุดเด่นภายนอก ฝากระโปรงหน้า Powerdomes ไฟหน้า DIGITAL LIGHT เสียงท่อไอเสีย AMG Real Performance Sound) ล้อขนาด 20 นิ้ว ลายพิเศษทำจากวัสดุน้ำหนักเบาพร้อมยาง หน้า 265 / 40 R20 -หลัง 295 / 35 R20
ส่วนระบบช่วงล่าง มาในชื่อ AMG Ride Control เทคโนโลยีจากสนามแข่งฟอร์มูล่า วัน และระบบเบรก AMG high-performance compound brake system เลือกสี Callipers เบรกได้(เพิ่มเงิน) ซึ่งเมอร์เซเดส-เอเอ็มจีคือเจ้าของตำแหน่งแชมป์โลก 8 สมัยติดต่อกัน ฉะนั้นด้วยชื่อเสียงระดับนี้มั่นใจได้
ความรู้สึกแรกของใครหลายคนหลังได้ยินว่าเจ้า SL43 บรรจุหัวใจเป็นเครื่องยนต์ 4 สูบ ซึ่งผิดไปจากเจเนอเรชันก่อนๆ ที่เลือกใช้เครื่องยนต์แบบ 6 สูบ, 8 สูบ และ 12 สูบ แม้จะถูกปรามาสตั้งแต่ยังไม่เห็นตัวจริง แต่ต้องไม่ลืมว่า จุดกำเนิดของ SL นั้น มาจากคำว่า Sport Leicht(ภาษาเยอรมัน) ที่หมายถึง รถสปอร์ตน้ำหนักเบา และเจเนอเรชันแรกก็ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบด้วยเช่นเดียวกัน
เครื่องยนต์ มากับรหัส M139 แบบ 4 สูบ 2.0 ลิตร เทอร์โบ ไมล์ไฮบริด กำลังสูงสุด 381 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 480 นิวตันเมตร ขับเคลื่อนล้อหลัง ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 9 สปีด AMG SPEEDSHIFT MCT 9G ซึ่งระบบขับเคลื่อนทั้งหมดเป็นผลงานของ AMG ที่ยังคงใช้นโยบาย วิศวกรหนึ่งคนต่อการประกอบเครื่องยนต์ 1 เครื่อง (One Man One Engine)สมรรถนะเคลมอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. เอาไว้ที่ 4.9 วินาที ความเร็วสูงสุด 275 กม./ชม.
การออกแบบภายในห้องโดยสาร หยิบบางส่วนมาจาก เอส-คลาส เช่นหน้าจอกลางและระบบปฏิบัติการชุดใหม่ล่าสุด รองรับการเชื่อมต่อได้ทั้ง Android Auto และ Apple Carplay โดยมีซิมการ์ดติดตั้งซ่อนอยู่ในตัวรถ ทำหน้าที่เชื่อมต่อรถกับโลกออนไลน์พร้อมระบบโทรออกอัตโนมัตเพื่อขอความช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
เบาะนั่งถูกออกแบบพิเศษ สไตล์บัคเก็ตซีตของรถแข่งในสนามแต่ยังคงความสบายในการเดินทางได้ ช่วยลดความเมื่อยล้าหากต้องเดินทางไกลรวมถึงมีระบบเป่าลมที่หัวหมอนช่วยเพิ่มความอบอุ่นหากต้องขับในฤดูหนาวหรือหิมะตก ที่ต้องมีระบบนี้เพราะ หลังคาของ SL R232 เป็นผ้าใบที่แม้จะมีความหนาพิเศษแต่หากเจอหิมะแรงๆ คงยากที่จะต้านทานความหนาวเย็นได้
หลังคาชุดนี้มากับแนวคิดตั้งเดิมคือ ทำให้รถมีน้ำหนักเบาจึงตัดสินใจเลือกเป็นผ้าใบ มีการติดตั้งระบบเปิดปิดแบบไฟฟ้าที่ใช้เวลาเพียง 15 วินาที สามารถเปิดปิดขณะขับขี่ได้ เมื่อวิ่งด้วยความเร็วต่ำกว่า 60 กม./ชม. ส่วนระบบเสริมความปลอดภัยใส่มาให้เต็มพิกัด ADAS ครบชุด พร้อมด้วยระบบ PRE - SAFE®และ ถุงลมนิรภัย 7 จุด
ขับสนุก ต้นหาย ปลายไหล สบายทางยาว
อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้น ทริปนี้คือการเดินทางที่ยาวจากภาคเหนือลงมากรุงเทพฯ แต่ไฮไลท์สำคัญของเราคือ การได้ลองเอาเจ้า SL43 ขึ้นดอยสุเทพ แม้จะเป็นเพียงระยะทางสั้นๆ ไป-กลับ ราว 30 กม. แต่รับรู้ถึงสมรรถนะต่างๆ ได้อย่างเต็มเปี่ยม โดยเฉพาะการบังคับควบคุมและการเข้าโค้ง
การได้ลองขับขึ้นลงดอยสุเทพ ทำให้เราเห็นบุคลิกที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนของ SL R232 เมื่อเทียบกับเจเนอเรชันก่อนหน้าไม่ว่าจะเป็น R230 หรือ R231 รวมถึง R129 จากความนุ่มแบบป๋าๆ รุ่นใหญ่ กลายร่างเป็นกระฉับกระเฉงดูวัยรุ่นมากขึ้นเปรียบเสมือนหนุ่มวัยกลางคนแต่หัวใจยังเด็ก คือรักความสบายแต่ชอบความสนุก
สิ่งสำคัญที่เรารับรู้คือ การขับขี่ที่ควบคุมง่าย ช่วงล่างค่อนข้างนุ่มแต่เฟิร์ม และทุกครั้งในการเข้าโค้ง ตัวรถพร้อมให้ความสนุกได้หากคุณเติมคันเร่งเพื่อให้ท้ายออก หรือปิดระบบเสริมความปลอดภัยในการขับขี่ ส่วนหนึ่งมาจากการเป็นรถเครื่องยนต์วางหน้าขับล้อหลัง ทำให้การดริฟท์ หรือเสียการทรงตัวทำได้ง่าย แน่นอนว่าต้องประกอบด้วยความแรงของเครื่องยนต์ที่เพียงพอ
ทั้งนี้ต้องไม่ทิ้งในเรื่องของสมดุลของตัวรถ ไม่ว่าจะใส่เทคโนโลยีช่วยในการขับขี่มามากขนาดไหนแต่หากการออกแบบโครงสร้างตัวถังไม่สอดรับกับพละกำลัง ผลลัพธ์ที่ได้จากการขับจะไม่มีทางดีได้เลย หลายจังหวะที่เราได้ลองเข้าโค้งแรงๆ ชัดเจนว่า ตัวรถสมดุลดีมากและระบบช่วยให้เราควบคุมรถง่ายได้ดังใจ จุดนี้ขอคารวะทีมงาน AMG จากหัวใจคนใช้ SL R230
อย่างไรก็ตามมี 2 จุดที่ต้องบอกกล่าวเอาไว้คือ หนึ่งระบบดับเครื่องอัตโนมัติเมื่อจอด Auto Start/Stop ซึ่งจะทำงานดับเครื่องยนต์ก่อนที่รถจะหยุด คือหากคุณขับช้าๆ จังหวะความเร็วไม่เกิน 10 กม./ชม. รถจะมีอาการเหมือนสะอึกจะดับ ทำให้การขับไม่เนียน โดยเฉพาะเมื่อต้องชะลอเข้าโค้งช้าๆ ส่วนอีกหนึ่งสิ่งคือ เสียงเบรก หลังการขับมาสักพัก แล้วเบรกเพื่อหยุดสนิทรถจะมีเสียงเอี๊ยดออกมาก่อนที่รถจะหยุด สองสิ่งนี้คือ การรบกวนใจในการขับขี่เจ้า SL43
ขณะที่การขับขี่แบบทางยาวๆ เรารับรถมาด้วยเลขไมล์สะสมราว สี่ร้อยกว่ากม. เรียกว่าใหม่มากๆ เราหวดช่วงแรกราว 300 กม. แล้วพักจากนั้น 200 และ 200 กม. สิ้นสุดที่กรุงเทพฯ ตามเป้าหมายกินเวลารวม 10 ชม. ในการขับขี่ (ไม่รวมเวลาพัก) เลขไมล์สุดท้ายทะลุไปกว่า 1,200 กม. เมื่อรวมกับการขับใน กทม. ด้วย
อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. เคลมไว้ที่ 4.9 วินาที แต่จากการลองขับของเรา ช่วงออกตัวมีการรอรอบเล็กน้อย ไม่พุ่งกระชาก หรือมีอาการดึงหลังติดเบาะแต่อย่างใด เรียกว่าหากเทียบกับคู่แข่งในคลาสอย่าง ปอร์เช่ 911 หรือ เฟอร์รารี่ หรือ ลัมโบกินี่ เจ้า SL43 จะยังสู้ไม่ได้ต้องเรียกลูกพี่ SL55 หรือ SL63 มาเป็นคู่ชกแทน
แต่ความบันเทิงในช่วงความเร็วกลางไปจนถึงปลายกลายเป็นจุดที่โดดเด่นอย่างมาก จังหวะกระชากจาก 80-120 กม./ชม. เพื่อเร่งแซงคือ มาอย่างทันทีทันใด สนุกเร้าใจ การขับด้วยความเร็วในย่านนี้คือยอดเยี่ยม และหากกดคันเร่งต่อเนื่องให้ความเร็วจะทะลุไปจนใกล้ความเร็วสูงสุดที่เคลมไว้ 275 กม./ชม. ตัวรถยังคงนิ่งและมั่นใจว่าควบคุมได้
เหนือสิ่งอื่นใด ขอชื่นชมการออกแบบเบาะนั่งที่ทำให้ตลอดระยะทางไม่รู้สึกเมื่อยหรือเหนื่อยล้า แต่อย่างใด ทั้งที่บางช่วงต้องเจอกับสภาพถนนที่เลวร้าย เป็นคลื่น เป็นหลุม การดูดซับแรงสะเทือนทำได้ดีเยี่ยม รับรู้ถึงแรงสะเทือนอยู่บ้างแต่ไม่แย่ และหากเทียบในคลาสซูเปอร์คาร์ SL คือสบายที่สุด
เสียงลมประทะ ต้องรับสภาพในส่วนนี้หากวิ่งด้วยความเร็วเกินกว่า 120 กม./ชม. หากขับช้ากว่านั้นแทบไม่ได้ยินเสียงรบกวน ส่วนเมื่อเปิดประทุนขับ จะมีเพียงลมหวนจากด้านหลังพัดเข้ามาไม่มาก(ไม่ลดกระจกประตูลง) เรียกว่าเป็นการออกแบบได้อย่างถูกต้องตามหลักอากาศพลศาสตร์
โหมดการขับขี่ที่มีให้เลือกหลากหลายให้ความรู้สึกในการขับขี่แตกต่างออกไปอย่างมาก ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นคือการขับในโหมด Comfort แต่หากเปลี่ยนมาเป็นโหมด Sport รอบเครื่องยนต์จะสูงกว่า เสียงท่อไอเสียจะดังขึ้น ส่วนถ้าใช้โหมด Sport+ รอบจะสูงขึ้นไปอีก เสียงท่อไอเสียจะเปลื่ยนเป็นคำราม และช่วงล่างจะแข็งขึ้นชัดเจน การตอบสนองต่างๆ รวดเร็วทันใจ ขณะที่โหมด Track และ individual เราได้ลองเพียงสั้นๆ เพราะแค่ 3 โหมดแรกก็เพียงพอตอบสนองสไตล์การขับของเราแล้ว
ความคล่องตัวเมื่อใช้งานในเมือง ทำได้ประทับใจตัวรถไม่ใหญ่จนทำให้รู้สึกหวาดระแวงเวลาขับรถติดๆ จังหวะขึ้นลงเนินหรือเจอลูกระนาดใหญ่ ไม่ได้ยินเสียงการบิดตัวของตัวถัง ถ้าจะมีระแวงคงเป็นเรื่องของการโดนจักรยานยนต์เฉี่ยวชน เพราะสีของคันที่เราขับนั้นต้องจ่ายเพิ่มราว 800,000 บาท ฉะนั้น จึงไม่อยากจะนึกถึงค่าทำสีหากรถมีริ้วรอย
อัตราสิ้นเปลืองจากการขับของเรา รวมระยะทางกว่า 700 กม ความเร็วที่ใช้ตัวเลขเฉลี่ยบนหน้าจอระบุ 74 กม./ชม. ส่วนการขับจริงไม่ต่ำกว่า 100 กม./ชม. เมื่อถึงกรุงเทพฯ หน้าจอโชว์ 10.1 ลิตรต่อระยะทาง 100 กม. หรือคำนวนง่ายๆ ราว 10 กม./ลิตร ประทับใจ
เหมาะกับใคร
SL R232 คือซูเปอร์คาร์ที่ใช้งานได้ทุกวัน เดินทางไกลสบาย แต่การตัดสินใจซื้อรถแบบนี้คงเป็นเรื่องของ “อารมณ์” และ “ความฝัน” มากกว่าเรื่องราวของเหตุผล โดยบุคลิกของตัวรถเหมาะกับหนุ่มใหญ่ หรือสาวใส รักความสบาย ชอบความสนุก บู๊ได้ไม่อายใคร แต่หากอยากไปให้สุดที่ SL55 และ SL63 แม้จะไม่มีการประกาศว่ามีจำหน่าย ถ้าคุณอยากได้ ขอให้ติดต่อตัวแทนจำหน่ายเมอร์เซเดส-เบนซ์ อย่างเป็นทางการ รับประกันท่านจะไม่ผิดหวัง
SL ใหม่ เจเนอเรชันที่ 7 มากับรหัสพัฒนา R232 โดยอยู่ในความรับผิดชอบของทีม AMG ดังนั้นชื่อเรียกจึงถูกขนานนามใหม่ว่า Mercedes-AMG SL และเปิดตัวด้วย 3 ทางเลือกหลักคือ SL43 , SL55 และ SL63 ซึ่งในเมืองไทยทำตลาดอย่างเป็นทางการเพียงรุ่นเดียวคือ SL43 มีการเปิดตัวเมื่อปลายปี 2565 ด้วยราคาเริ่มต้น 11,700,000 บาท
เหนือสิ่งอื่นใด คงไม่มีใครคิดว่า เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย จะใจกล้า ให้สื่อมวลชนได้ทดลองขับ ซึ่งมิใช่การทดลองขับแบบปิดในสนามแข่งหรือจำกัดการขับ แต่เป็นการให้ลองกันอย่างหนำใจ ด้วยเส้นทาง เชียงราย-เชียงใหม่-กรุงเทพฯ ระยะทางร่วม 1,000 กม. และเราเป็นไม้สุดท้ายขับยาวกว่า 700 กม.
SL43 หัวใจเล็ก 4 สูบ แต่ทรงพลัง
มิติตัวถัง ยาว 4,700 กว้าง 1,915 และ สูง1,359 (มม. จุดเด่นภายนอก ฝากระโปรงหน้า Powerdomes ไฟหน้า DIGITAL LIGHT เสียงท่อไอเสีย AMG Real Performance Sound) ล้อขนาด 20 นิ้ว ลายพิเศษทำจากวัสดุน้ำหนักเบาพร้อมยาง หน้า 265 / 40 R20 -หลัง 295 / 35 R20
ส่วนระบบช่วงล่าง มาในชื่อ AMG Ride Control เทคโนโลยีจากสนามแข่งฟอร์มูล่า วัน และระบบเบรก AMG high-performance compound brake system เลือกสี Callipers เบรกได้(เพิ่มเงิน) ซึ่งเมอร์เซเดส-เอเอ็มจีคือเจ้าของตำแหน่งแชมป์โลก 8 สมัยติดต่อกัน ฉะนั้นด้วยชื่อเสียงระดับนี้มั่นใจได้
ความรู้สึกแรกของใครหลายคนหลังได้ยินว่าเจ้า SL43 บรรจุหัวใจเป็นเครื่องยนต์ 4 สูบ ซึ่งผิดไปจากเจเนอเรชันก่อนๆ ที่เลือกใช้เครื่องยนต์แบบ 6 สูบ, 8 สูบ และ 12 สูบ แม้จะถูกปรามาสตั้งแต่ยังไม่เห็นตัวจริง แต่ต้องไม่ลืมว่า จุดกำเนิดของ SL นั้น มาจากคำว่า Sport Leicht(ภาษาเยอรมัน) ที่หมายถึง รถสปอร์ตน้ำหนักเบา และเจเนอเรชันแรกก็ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบด้วยเช่นเดียวกัน
เครื่องยนต์ มากับรหัส M139 แบบ 4 สูบ 2.0 ลิตร เทอร์โบ ไมล์ไฮบริด กำลังสูงสุด 381 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 480 นิวตันเมตร ขับเคลื่อนล้อหลัง ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 9 สปีด AMG SPEEDSHIFT MCT 9G ซึ่งระบบขับเคลื่อนทั้งหมดเป็นผลงานของ AMG ที่ยังคงใช้นโยบาย วิศวกรหนึ่งคนต่อการประกอบเครื่องยนต์ 1 เครื่อง (One Man One Engine)สมรรถนะเคลมอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. เอาไว้ที่ 4.9 วินาที ความเร็วสูงสุด 275 กม./ชม.
การออกแบบภายในห้องโดยสาร หยิบบางส่วนมาจาก เอส-คลาส เช่นหน้าจอกลางและระบบปฏิบัติการชุดใหม่ล่าสุด รองรับการเชื่อมต่อได้ทั้ง Android Auto และ Apple Carplay โดยมีซิมการ์ดติดตั้งซ่อนอยู่ในตัวรถ ทำหน้าที่เชื่อมต่อรถกับโลกออนไลน์พร้อมระบบโทรออกอัตโนมัตเพื่อขอความช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
เบาะนั่งถูกออกแบบพิเศษ สไตล์บัคเก็ตซีตของรถแข่งในสนามแต่ยังคงความสบายในการเดินทางได้ ช่วยลดความเมื่อยล้าหากต้องเดินทางไกลรวมถึงมีระบบเป่าลมที่หัวหมอนช่วยเพิ่มความอบอุ่นหากต้องขับในฤดูหนาวหรือหิมะตก ที่ต้องมีระบบนี้เพราะ หลังคาของ SL R232 เป็นผ้าใบที่แม้จะมีความหนาพิเศษแต่หากเจอหิมะแรงๆ คงยากที่จะต้านทานความหนาวเย็นได้
หลังคาชุดนี้มากับแนวคิดตั้งเดิมคือ ทำให้รถมีน้ำหนักเบาจึงตัดสินใจเลือกเป็นผ้าใบ มีการติดตั้งระบบเปิดปิดแบบไฟฟ้าที่ใช้เวลาเพียง 15 วินาที สามารถเปิดปิดขณะขับขี่ได้ เมื่อวิ่งด้วยความเร็วต่ำกว่า 60 กม./ชม. ส่วนระบบเสริมความปลอดภัยใส่มาให้เต็มพิกัด ADAS ครบชุด พร้อมด้วยระบบ PRE - SAFE®และ ถุงลมนิรภัย 7 จุด
ขับสนุก ต้นหาย ปลายไหล สบายทางยาว
อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้น ทริปนี้คือการเดินทางที่ยาวจากภาคเหนือลงมากรุงเทพฯ แต่ไฮไลท์สำคัญของเราคือ การได้ลองเอาเจ้า SL43 ขึ้นดอยสุเทพ แม้จะเป็นเพียงระยะทางสั้นๆ ไป-กลับ ราว 30 กม. แต่รับรู้ถึงสมรรถนะต่างๆ ได้อย่างเต็มเปี่ยม โดยเฉพาะการบังคับควบคุมและการเข้าโค้ง
การได้ลองขับขึ้นลงดอยสุเทพ ทำให้เราเห็นบุคลิกที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนของ SL R232 เมื่อเทียบกับเจเนอเรชันก่อนหน้าไม่ว่าจะเป็น R230 หรือ R231 รวมถึง R129 จากความนุ่มแบบป๋าๆ รุ่นใหญ่ กลายร่างเป็นกระฉับกระเฉงดูวัยรุ่นมากขึ้นเปรียบเสมือนหนุ่มวัยกลางคนแต่หัวใจยังเด็ก คือรักความสบายแต่ชอบความสนุก
สิ่งสำคัญที่เรารับรู้คือ การขับขี่ที่ควบคุมง่าย ช่วงล่างค่อนข้างนุ่มแต่เฟิร์ม และทุกครั้งในการเข้าโค้ง ตัวรถพร้อมให้ความสนุกได้หากคุณเติมคันเร่งเพื่อให้ท้ายออก หรือปิดระบบเสริมความปลอดภัยในการขับขี่ ส่วนหนึ่งมาจากการเป็นรถเครื่องยนต์วางหน้าขับล้อหลัง ทำให้การดริฟท์ หรือเสียการทรงตัวทำได้ง่าย แน่นอนว่าต้องประกอบด้วยความแรงของเครื่องยนต์ที่เพียงพอ
ทั้งนี้ต้องไม่ทิ้งในเรื่องของสมดุลของตัวรถ ไม่ว่าจะใส่เทคโนโลยีช่วยในการขับขี่มามากขนาดไหนแต่หากการออกแบบโครงสร้างตัวถังไม่สอดรับกับพละกำลัง ผลลัพธ์ที่ได้จากการขับจะไม่มีทางดีได้เลย หลายจังหวะที่เราได้ลองเข้าโค้งแรงๆ ชัดเจนว่า ตัวรถสมดุลดีมากและระบบช่วยให้เราควบคุมรถง่ายได้ดังใจ จุดนี้ขอคารวะทีมงาน AMG จากหัวใจคนใช้ SL R230
อย่างไรก็ตามมี 2 จุดที่ต้องบอกกล่าวเอาไว้คือ หนึ่งระบบดับเครื่องอัตโนมัติเมื่อจอด Auto Start/Stop ซึ่งจะทำงานดับเครื่องยนต์ก่อนที่รถจะหยุด คือหากคุณขับช้าๆ จังหวะความเร็วไม่เกิน 10 กม./ชม. รถจะมีอาการเหมือนสะอึกจะดับ ทำให้การขับไม่เนียน โดยเฉพาะเมื่อต้องชะลอเข้าโค้งช้าๆ ส่วนอีกหนึ่งสิ่งคือ เสียงเบรก หลังการขับมาสักพัก แล้วเบรกเพื่อหยุดสนิทรถจะมีเสียงเอี๊ยดออกมาก่อนที่รถจะหยุด สองสิ่งนี้คือ การรบกวนใจในการขับขี่เจ้า SL43
ขณะที่การขับขี่แบบทางยาวๆ เรารับรถมาด้วยเลขไมล์สะสมราว สี่ร้อยกว่ากม. เรียกว่าใหม่มากๆ เราหวดช่วงแรกราว 300 กม. แล้วพักจากนั้น 200 และ 200 กม. สิ้นสุดที่กรุงเทพฯ ตามเป้าหมายกินเวลารวม 10 ชม. ในการขับขี่ (ไม่รวมเวลาพัก) เลขไมล์สุดท้ายทะลุไปกว่า 1,200 กม. เมื่อรวมกับการขับใน กทม. ด้วย
อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. เคลมไว้ที่ 4.9 วินาที แต่จากการลองขับของเรา ช่วงออกตัวมีการรอรอบเล็กน้อย ไม่พุ่งกระชาก หรือมีอาการดึงหลังติดเบาะแต่อย่างใด เรียกว่าหากเทียบกับคู่แข่งในคลาสอย่าง ปอร์เช่ 911 หรือ เฟอร์รารี่ หรือ ลัมโบกินี่ เจ้า SL43 จะยังสู้ไม่ได้ต้องเรียกลูกพี่ SL55 หรือ SL63 มาเป็นคู่ชกแทน
แต่ความบันเทิงในช่วงความเร็วกลางไปจนถึงปลายกลายเป็นจุดที่โดดเด่นอย่างมาก จังหวะกระชากจาก 80-120 กม./ชม. เพื่อเร่งแซงคือ มาอย่างทันทีทันใด สนุกเร้าใจ การขับด้วยความเร็วในย่านนี้คือยอดเยี่ยม และหากกดคันเร่งต่อเนื่องให้ความเร็วจะทะลุไปจนใกล้ความเร็วสูงสุดที่เคลมไว้ 275 กม./ชม. ตัวรถยังคงนิ่งและมั่นใจว่าควบคุมได้
เหนือสิ่งอื่นใด ขอชื่นชมการออกแบบเบาะนั่งที่ทำให้ตลอดระยะทางไม่รู้สึกเมื่อยหรือเหนื่อยล้า แต่อย่างใด ทั้งที่บางช่วงต้องเจอกับสภาพถนนที่เลวร้าย เป็นคลื่น เป็นหลุม การดูดซับแรงสะเทือนทำได้ดีเยี่ยม รับรู้ถึงแรงสะเทือนอยู่บ้างแต่ไม่แย่ และหากเทียบในคลาสซูเปอร์คาร์ SL คือสบายที่สุด
เสียงลมประทะ ต้องรับสภาพในส่วนนี้หากวิ่งด้วยความเร็วเกินกว่า 120 กม./ชม. หากขับช้ากว่านั้นแทบไม่ได้ยินเสียงรบกวน ส่วนเมื่อเปิดประทุนขับ จะมีเพียงลมหวนจากด้านหลังพัดเข้ามาไม่มาก(ไม่ลดกระจกประตูลง) เรียกว่าเป็นการออกแบบได้อย่างถูกต้องตามหลักอากาศพลศาสตร์
โหมดการขับขี่ที่มีให้เลือกหลากหลายให้ความรู้สึกในการขับขี่แตกต่างออกไปอย่างมาก ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นคือการขับในโหมด Comfort แต่หากเปลี่ยนมาเป็นโหมด Sport รอบเครื่องยนต์จะสูงกว่า เสียงท่อไอเสียจะดังขึ้น ส่วนถ้าใช้โหมด Sport+ รอบจะสูงขึ้นไปอีก เสียงท่อไอเสียจะเปลื่ยนเป็นคำราม และช่วงล่างจะแข็งขึ้นชัดเจน การตอบสนองต่างๆ รวดเร็วทันใจ ขณะที่โหมด Track และ individual เราได้ลองเพียงสั้นๆ เพราะแค่ 3 โหมดแรกก็เพียงพอตอบสนองสไตล์การขับของเราแล้ว
ความคล่องตัวเมื่อใช้งานในเมือง ทำได้ประทับใจตัวรถไม่ใหญ่จนทำให้รู้สึกหวาดระแวงเวลาขับรถติดๆ จังหวะขึ้นลงเนินหรือเจอลูกระนาดใหญ่ ไม่ได้ยินเสียงการบิดตัวของตัวถัง ถ้าจะมีระแวงคงเป็นเรื่องของการโดนจักรยานยนต์เฉี่ยวชน เพราะสีของคันที่เราขับนั้นต้องจ่ายเพิ่มราว 800,000 บาท ฉะนั้น จึงไม่อยากจะนึกถึงค่าทำสีหากรถมีริ้วรอย
อัตราสิ้นเปลืองจากการขับของเรา รวมระยะทางกว่า 700 กม ความเร็วที่ใช้ตัวเลขเฉลี่ยบนหน้าจอระบุ 74 กม./ชม. ส่วนการขับจริงไม่ต่ำกว่า 100 กม./ชม. เมื่อถึงกรุงเทพฯ หน้าจอโชว์ 10.1 ลิตรต่อระยะทาง 100 กม. หรือคำนวนง่ายๆ ราว 10 กม./ลิตร ประทับใจ
เหมาะกับใคร
SL R232 คือซูเปอร์คาร์ที่ใช้งานได้ทุกวัน เดินทางไกลสบาย แต่การตัดสินใจซื้อรถแบบนี้คงเป็นเรื่องของ “อารมณ์” และ “ความฝัน” มากกว่าเรื่องราวของเหตุผล โดยบุคลิกของตัวรถเหมาะกับหนุ่มใหญ่ หรือสาวใส รักความสบาย ชอบความสนุก บู๊ได้ไม่อายใคร แต่หากอยากไปให้สุดที่ SL55 และ SL63 แม้จะไม่มีการประกาศว่ามีจำหน่าย ถ้าคุณอยากได้ ขอให้ติดต่อตัวแทนจำหน่ายเมอร์เซเดส-เบนซ์ อย่างเป็นทางการ รับประกันท่านจะไม่ผิดหวัง