อาร์เธอร์ ดี. ลิตเติล ประเทศไทย (ADL) คาดตัวเลขยอดขายรถEV ในไทยไม่เข้าเป้าตามที่รัฐคาด ระบุมีเพียงมอเตอร์ไซค์ที่แจ้งเกิดได้สำเร็จ ส่วนรถยนต์ทำได้ไม่ถึง 10%
นายฮิโรทากะ อุชิตะ ประธานบริหารและผู้อำนวยการ ประจำอาร์เธอร์ ดี. ลิตเติล ประเทศไทย กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรม EV มีความสำคัญต่อประเทศไทยอย่างมาก หากประเทศต้องการรักษาตำแหน่ง ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งเอเชีย เอาไว้และดึงเม็ดเงินการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ จะต้องให้ความสำคัญกับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้นเพื่อแข่งขันกับประเทศตลาดเกิดใหม่ เช่น ประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน อเมริกาเหนือ และตะวันออกกลาง
ดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านการขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าทั่วโลก (GEMRIX) ของ ADL ออกแบบมาเพื่อเปรียบเทียบเงื่อนไขตลาดของยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์สันดาปภายใน รายงานดังกล่าวทำการวิเคราะห์ประเทศทั้งสิ้น 15 ประเทศ โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มสูงมากขึ้นทั่วโลก และประเทศไทยอยู่อันดับที่ 9 ในด้านความพร้อมของตลาดสำหรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
“ประเทศไทย ได้ประกาศแผนที่มุ่งมั่นในการคว้าส่วนแบ่งตลาด EV ซึ่งเติบโตอย่างต่อเนื่อง และตั้งเป้าเปลี่ยนการวางจุดยืนในอุตสาหกรรมยานยนต์ พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปล่อยมลภาวะทางอากาศอีกด้วย แม้ว่ารัฐบาลไทยจะออกมาตรการกระตุ้นและการออกกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนการเติบโตของตลาด แต่อัตราการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในไทยยังถือว่าต่ำอยู่” นายฮิโรทากะ กล่าว
ด้าน นายอัคเชย์ ปราสาด ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายอุตสาหกรรมยานยนต์และการผลิต อาร์เธอร์ ดี. ลิตเติล ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยจะขึ้นอยู่กับผู้เล่นในตลาด เนื่องจากฐานความต้องการในไทยยังมีจำกัดและเงื่อนไขในฝั่งของผู้บริโภคยังไม่น่าพึงพอใจ
ADL คาดว่า ยอดขายยานยนต์ไฟฟ้าในไทยคาดว่าจะเพิ่มจาก 1,572 คัน เมื่อปี 2563 เป็นราว 831,161 คันในปี 2573 ซึ่งสูงขึ้นถึง 529 เท่า โดยแบ่งเป็น รถยนต์และรถกระบะ 61,000 คัน รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 763,000 คัน และ 7,000 คันสำหรับรถบัสและรถบรรทุก ซึ่งจะบรรลุเป้าหมายได้เพียงรถจักรยานยนต์เท่านั้น
“จากสภาพตลาดปัจจุบันและความเคลื่อนไหวที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ADL เชื่อว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ประเทศไทยจะพลาดเป้าการขายEVที่ตั้งไว้ 1.123 ล้านคันภายในปี 2573 ส่วนที่ตลาดสองล้อจะสำเร็จเพราะไทยมีกลุ่มผู้ใช้งานจำนวนมากเป็นตลาดใหญ่” นายอัคเชย์ กล่าว
ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมทั้งระบบจะต้องร่วมมือกัน เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ผลิตในประเทศและสตาร์ตอัปสามารถก่อตั้งแบรนด์ยานยนต์ไฟฟ้าของตนเอง ซึ่งอาจเป็นการพลิกเกมในวงการยานยนต์ไทยในอนาคต ซึ่งปัจจุบัน ยังต้องพึ่งพาแบรนด์และผู้เล่นจากต่างประเทศอยู่
นายฮิโรทากะ อุชิตะ ประธานบริหารและผู้อำนวยการ ประจำอาร์เธอร์ ดี. ลิตเติล ประเทศไทย กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรม EV มีความสำคัญต่อประเทศไทยอย่างมาก หากประเทศต้องการรักษาตำแหน่ง ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งเอเชีย เอาไว้และดึงเม็ดเงินการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ จะต้องให้ความสำคัญกับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้นเพื่อแข่งขันกับประเทศตลาดเกิดใหม่ เช่น ประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน อเมริกาเหนือ และตะวันออกกลาง
ดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านการขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าทั่วโลก (GEMRIX) ของ ADL ออกแบบมาเพื่อเปรียบเทียบเงื่อนไขตลาดของยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์สันดาปภายใน รายงานดังกล่าวทำการวิเคราะห์ประเทศทั้งสิ้น 15 ประเทศ โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มสูงมากขึ้นทั่วโลก และประเทศไทยอยู่อันดับที่ 9 ในด้านความพร้อมของตลาดสำหรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
“ประเทศไทย ได้ประกาศแผนที่มุ่งมั่นในการคว้าส่วนแบ่งตลาด EV ซึ่งเติบโตอย่างต่อเนื่อง และตั้งเป้าเปลี่ยนการวางจุดยืนในอุตสาหกรรมยานยนต์ พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปล่อยมลภาวะทางอากาศอีกด้วย แม้ว่ารัฐบาลไทยจะออกมาตรการกระตุ้นและการออกกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนการเติบโตของตลาด แต่อัตราการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในไทยยังถือว่าต่ำอยู่” นายฮิโรทากะ กล่าว
ด้าน นายอัคเชย์ ปราสาด ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายอุตสาหกรรมยานยนต์และการผลิต อาร์เธอร์ ดี. ลิตเติล ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยจะขึ้นอยู่กับผู้เล่นในตลาด เนื่องจากฐานความต้องการในไทยยังมีจำกัดและเงื่อนไขในฝั่งของผู้บริโภคยังไม่น่าพึงพอใจ
ADL คาดว่า ยอดขายยานยนต์ไฟฟ้าในไทยคาดว่าจะเพิ่มจาก 1,572 คัน เมื่อปี 2563 เป็นราว 831,161 คันในปี 2573 ซึ่งสูงขึ้นถึง 529 เท่า โดยแบ่งเป็น รถยนต์และรถกระบะ 61,000 คัน รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 763,000 คัน และ 7,000 คันสำหรับรถบัสและรถบรรทุก ซึ่งจะบรรลุเป้าหมายได้เพียงรถจักรยานยนต์เท่านั้น
“จากสภาพตลาดปัจจุบันและความเคลื่อนไหวที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ADL เชื่อว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ประเทศไทยจะพลาดเป้าการขายEVที่ตั้งไว้ 1.123 ล้านคันภายในปี 2573 ส่วนที่ตลาดสองล้อจะสำเร็จเพราะไทยมีกลุ่มผู้ใช้งานจำนวนมากเป็นตลาดใหญ่” นายอัคเชย์ กล่าว
ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมทั้งระบบจะต้องร่วมมือกัน เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ผลิตในประเทศและสตาร์ตอัปสามารถก่อตั้งแบรนด์ยานยนต์ไฟฟ้าของตนเอง ซึ่งอาจเป็นการพลิกเกมในวงการยานยนต์ไทยในอนาคต ซึ่งปัจจุบัน ยังต้องพึ่งพาแบรนด์และผู้เล่นจากต่างประเทศอยู่