xs
xsm
sm
md
lg

อี.เทค โชว์กึ๋นคว้าแชมป์ ดัดแปลง “จยย.ไฟฟ้า” ครั้งแรกในไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) โชว์ศักยภาพคว้าแชมป์ การแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต เปิดทางธุรกิจดัดแปลงรถจักรยานยนต์ให้สามารถใช้ไฟฟ้าแทนน้ำมันได้

E-TECH-Motorcycle 2021 จากวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค)
นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เปิดเผยว่า สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จับมือการไฟฟ้าฝ่ายผลิต จัดงานแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต EVAT x EGAT Electric Motorcycle Conversion Contest for Business Opportunityครั้งเเรกในประเทศไทย ตั้งเป้าส่งเสริมการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้า เสริมทัพการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พร้อมผู้สนับสนุนการจัดแข่งกันได้แก่ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.), กระทรวงอุตสาหกรรม, การไฟฟ้านครหลวง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย, บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด ประเทศไทย, บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จํากัด, บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัททรู คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน)
“สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เชื่อมั่นว่าการจัดงานครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญที่นิสิต นักศึกษา เเละประชาชนทั่วไปจะได้เเสดงศักยภาพในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ช่วยกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังเพิ่มโอกาสทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นอย่างเเพร่หลาย”

นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย
ในการเเข่งขันครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมเเข่งขันรวมทั้งสิ้นกว่า 92 ทีม แบ่งเป็นทีมประเภทสถาบันการศึกษา 81 ทีม และเป็นทีมประเภทบุคคลทั่วไป 11 ทีม โดยรูปเเบบการเเข่งขันเเบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้เเก่ รอบคัดเลือก เพื่อหา 20 ทีมสุดท้ายของประเภทสถาบันการศึกษา และ 5 ทีมสุดสำหรับประเภทบุคคลทั่วไป เพื่อเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ


สำหรับผลการแข่งขัน ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งประเภทกลุ่มสถาบันการศึกษา ได้เเก่ทีม E-TECH-Motorcycle 2021 จากวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) ได้รับถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาพร้อมเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาท

ขณะที่ ทีมวิทยาลัยเทคนิคตราด คว้ารองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท
เเละทีม BB5 จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ได้รองชนะเลิศอันดับสอง รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท

ส่วนกลุ่มที่ 2 ผู้ได้รับรางวัลประเภทกลุ่มประชาชนทั่วไป ทีม Itimgarage X Crafting lab คว้ารางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รองชนะเลิศอันดับหนึ่งได้แก่ทีม โมโตอีวี ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท เเละรองชนะเลิศอันดับสองคือ ทีม Pari automotive ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท

นอกจากนี้ยังมีรางวัลพิเศษรางวัลขวัญใจมหาชน ได้เเก่ทีม E-TECH-Motorcycle 2021 จากวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) ได้รับถ้วยรางวัลจากสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย

E-TECH-Motorcycle 2021 จากวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค)
การแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต EVAT x EGAT Electric Motorcycle Conversion Contest for Business Opportunity ซึ่งได้มีการจัดขึ้นตั้งเเต่วันที่ 1 - 3 เมษายน พ.ศ. 2565 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

ในการเเข่งขันครั้งนี้ ทางคณะกรรมการจัดงานได้จัดสนามการเเข่งขันโดยเเบ่งออกเป็น 10 สถานีหลัก ได้เเก่

สถานีที่ 1 ทดสอบอัตราเร่งของรถ เป็นสถานีที่ผู้เข้าเเข่งขันจะได้รับสัญญาณจากกรรมการให้ขับรถด้วยอัตราเร่งทันทีในระยะทาง 30 เมตร

สถานีที่ 2 รักษาระดับความเร็ว เป็นการทดสอบความเร็วตามความสามารถของรถ โดยให้ผู้ขับขี่รักษาความเร็วก่อนการเบรก ด้วยการรักษาความเร็วเฉลี่ย 20 - 25 กม./ชม. ในระยะทางทดสอบ 50 เมตร

ทีมวิทยาลัยเทคนิคตราด
สถานีที่ 3 ทดสอบระยะการเบรก ใช้ความเร็วระดับเดียวกับจุดที่ 2 เเต่มีระยะการตัดสินใจที่ให้เบรกประมาณ 5 เมตร

สถานีที่ 4 ทดสอบการประกอบของรถ จุดมุ่งหมายเพื่อทดสอบการประกอบทางกลของชิ้นส่วน โดยการขับรถวิ่งผ่านลูกระนาด ระยะทาง 50 เมตร เเละผู้ขับขี่ต้องรักษาความเร็วเฉลี่ยที่20-25 กม./ชม.

ทีม BB5 จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
สถานีที่ 5 ทดสอบบังคับเลี้ยววิ่งอ้อมกรวย ซึ่งจะเป็นการทดสอบโดยมีการวางกรวยในเเนวเส้นตรงกลางถนน ด้วยระยะทาง 50 เมตร เเละผู้ขับขี่ต้องรักษาความเร็ว 15-20 กม./ชม.

สถานีที่ 6 ทดสอบการขึ้นทางลาดชัน เพื่อทดสอบกำลังของรถในการวิ่งขึ้นเนิน ซึ่งผู้ขับขี่ต้องหยุดรถในพื้นที่หยุดรถ เเละเมื่อไดัรับสัญญาณ ต้องขับรถขึ้นเนินให้ได้ทันที โดยผู้ขับขี่ต้องรักษาความเร็วเฉลี่ยที่ 20 - 25 กม./ชม.

 ทีม Itimgarage X Crafting lab
สถานีที่ 7 การวิ่งในช่องทางคดเคี้ยวในช่องกรวย เพื่อทดสอบการทรงตัวเเละการบังคับเลี้ยวของการขับรถในช่องกรวยที่มีความกว้างเเต่ละคู่ 1.5 เมตร ด้วยระยะทาง 50 เมตร ในความเร็วเฉลี่ย 15-20 กม./ชม.

สถานีที่ 8 การวิ่งผ่านเนินชะลอความเร็ว ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วจนรถหยุดนิ่ง เป็นการชะลอความเร็วให้รถลดความเร็วก่อนขับขี่ลงเนินที่สูงชัน

ทีม โมโตอีวี
สถานีที่ 9 สถานีตรวจวัดพลังงาน ผู้เข้าเเข่งขันต้องขับรถตลอดระยะทางของการเเข่งขันด้วยความเร็วเฉลี่ยที่ 20 กม./ชม. ตั้งเเต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด โดยวิธีการใช้เครื่องอ่าน RFID

สถานีที่ 10 สถานีตรวจวัดการป้องกันน้ำ เป็นการตรวจวัดความปลอดภัยของอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง เมื่อต้องขับขี่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง

ทีม Pari automotive





เวสป้า สามารถดัดแปลงมาใช้พลังงานไฟฟ้าแทนน้ำมันได้

ทดสอบการขึ้นเขา ขี่ผ่านสบาย

ทดสอบความแข็งแรงของชิ้นส่วนด้วยลูกระนาด

เตรียมทดสอบอัตราเร่ง

จักรยานยนต์เก่าของตำรวจ นำมาดัดแปลงได้เช่นเดียวกัน ด้วยงบราว 80,000 บาท

การทดสอบสลาลม

์ฮอนด้า เอ็นเอสอาร์ ดัดแปลงได้เช่นเดียวกัน โดยคงสภาพเดิมเอาไว้ได้ด้วย

รถยอดนิยมอย่าง ฮอนด้า เวฟ ไม่พลาดในการถูกดัดแปลงให้มาใช้ไฟฟ้าขับเคลื่อนได้

เดิมคือ ไทเกอร์ เปลี่ยนมาใช้ motor in wheel แทน

motor in wheel เช่นเดียวกัน



เวสป้า ยกถังน้ำมันออกและใส่แบตเตอรี่แทน

เวฟ ก็ยกถังน้ำมันออก และใส่แบตเตอรี่แทนได้เหมือนกัน

หลากหลายรูปแบบการติดตั้ง

คณะกรรมการและผู้เข้าร่วมแข่งขันในวันสุดท้าย


กำลังโหลดความคิดเห็น