เปิดแผนรุกเอ็มจี ทุ่ม 2,500 ล้านบาท ตั้งโรงงานประกอบแบตเตอรี่พร้อมขึ้นไลน์ผลิตรถรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเปิดตัวขายปี 2566 คาดเป้ายอดขายปีนี้ 50,000 คัน รถใหม่ 3 รุ่น หวังติดหนึ่งใน 5 แบรนด์รถยนต์ขายดีที่สุดในไทย สำหรับยอดขายตลาดรถรวมปีนี้อยู่ที่ 800,000-850,000 คัน
จาง ไห่ โป กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ – ซีพี จำกัด และบริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “เราประกาศแผนลงทุนครั้งใหม่ด้วยมูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงงานประกอบแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย มีการวางแผนที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยจะเริ่มต้นได้ทันทีหลังจากที่โรงงานประกอบแบตเตอรี่มีความพร้อม ซึ่งคาดว่าจะเป็นในปี 2566 พร้อมกับการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศเป็นจำนวนมากกว่าที่เงื่อนไขของการได้รับการสนับสนุนจากบีโอไอ”
สำหรับการลงทุนของ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ – ซีพี จำกัด จะเป็นในลักษณะของการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมาใช้เม็ดเงินจำนวนหลักพันล้านดอลล่าร์สหรัฐหรือหลายหมื่นล้านบาท ถือว่าเป็นบริษัท ผู้ผลิตรถยนต์จีนที่ลงทุนมากที่สุดในประเทศไทย
ทั้งนี้ ในการทำธุรกิจรถยนต์ ทุกครั้งที่มีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ จะมีการลงทุนเพิ่มในส่วนของเครื่องจักรและชิ้นส่วนใหม่ รวมถึงการปรับไลน์ผลิต ฉะนั้นจึงไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขที่ชัดเจนได้ว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ใช้เงินลงทุนไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด
เดินเกมปั้นสิ่งแวดล้อมรองรับ EV
เอ็มจีประกาศ 4 แนวทางหลักสำหรับการเป็นผู้บุกเบิกรถยนต์ไฟฟ้าให้สามารถใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้
-การพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย เพื่อให้สอดรับกับรูปแบบการใช้งาน ความต้องการและไลฟ์สไตล์ของแต่ละกลุ่มลูกค้า โดยรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทุกรุ่นของเอ็มจีที่จะเปิดตัวนับจากนี้ จะมีเทคโนโลยีใหม่ เช่น V2L ที่รถยนต์สามารถจ่ายไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นได้
-การพัฒนาและการจัดการแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หลังจากที่ได้รับการอนุมัติจาก BOI ในการตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศเรียบร้อยแล้ว เอ็มจีได้ศึกษาและวิจัยเรื่องของวิธีการจัดการแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ซึ่งนำไปสู่การรีไซเคิลอย่างเต็มรูปแบบ
-การสร้างและขยายเครือข่ายสถานีชาร์จให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกพร้อมเสริมความมั่นใจในการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า รองรับการใช้งานอย่างแพร่หลาย รวมถึงยังเป็นการปลดล็อกความกังวลเรื่องระยะทางการใช้งานต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง ด้วยจำนวนสถานีชาร์จนอกบ้านที่มีให้บริการตลอดเส้นทาง โดยทุกๆ 150 กิโลเมตรจะต้องมีเครือข่ายสถานีชาร์จอย่างน้อย 1 แห่ง
-การเร่งสร้างความรู้พื้นฐานและความเข้าใจเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยมีแผนที่จะเข้าไปสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเตรียมความพร้อมให้คนรุ่นใหม่เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันสังคมยานยนต์ไฟฟ้าในไทยให้เกิดขึ้นได้ไวมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็น ผู้ร่วมกำหนดมาตรฐานใหม่ของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในอนาคต
เป้าขาย 50,000 คัน หวังขึ้นท็อป 5
ยอดขายรถยนต์เอ็มจีในประเทศไทยประจำปี 2564 ที่ผ่านมามีจำนวนทั้งสิ้น 31,005 คัน เติบโตขึ้น 9.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แม้ว่าจะเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้น แต่ยังถือว่าพลาดจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 42,000 คันเมื่อต้นปี ซึ่งมีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบทั้งปัญหาการกลับมาแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์
สำหรับยอดขายรวมที่ 31,005 คัน ถือเป็นแบรนด์รถยนต์เพียงไม่กี่แบรนด์ที่มีตัวเลขอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น โดยมีสถิติและตัวเลขที่น่าสนใจ อาทิ ALL NEW MG5 สามารถขึ้นเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มรถยนต์ขนาดเล็ก หรือ B-segment ภายในเวลาเพียงแค่ 2 เดือนหลังจากการเปิดตัว ในส่วนของกลุ่ม SUV ที่เป็นโมเดลทำตลาดหลักของ เอ็มจี ในปี 2564 สามารถรั้งตำแหน่งในกลุ่มผู้นำต่อเนื่อง สำหรับกลุ่มรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้รับความนิยมมากขึ้นจากกลุ่มลูกค้าทั่วไปและลูกค้าองค์กร โดยครองการเป็นผู้นำด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึงกว่า 90% อีกทั้งยังสามารถดำเนินการติดตั้งสถานีชาร์จแบบเร็ว MG Super Charge ได้แล้วทั่วประเทศจำนวน 120 แห่ง เป็นต้น
“เป้าหมายสำคัญของเอ็มจีนอกจากยอดขายแล้ว เรายังคำนึงถึงสัดส่วนทางการตลาด แม้ยอดขายจะทำไม่ได้ตามเป้าแต่สัดส่วนการขายของเอ็มจีดีขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด ซึ่งเมื่อมองระยะยาวแล้วเป้าของเอ็มจีมีความหวังในการติดท็อป 5 ของรถยนต์ที่ขายดีที่สุดของไทย”
สำหรับปี 2565 เอ็มจี ตั้งเป้าการจำหน่ายรวมเอาไว้ที่ 50,000 คัน ส่วนตลาดรถยนต์รวมของไทยทั้งปีคาดว่าจะมียอดราว 800,000-850,000 คัน โดยคาดว่าจะมีรถยนต์รุ่นใหม่เปิดตัวอย่างน้อย 3 รุ่นภายในปีนี้ ซึ่งโมเดลแรกมีกระแสข่าวว่าจะเริ่มต้นด้วยรถยนต์รุ่น MG ZS EV โฉมไมเนอร์เชนจ์ที่ได้รับการปรับปรุงหน้าตาใหม่ทั้งหมด
ส่องข้อมูล 3 รถรุ่นใหม่
MG ZS EV รุ่นไมเนอร์เชนจ์ นอกจากการปรับเปลี่ยนดีไซน์แล้ว คาดว่าจะได้รับการเปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นชุดใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ตามแนวทางเดียวกับที่เปิดตัวในประเทศอังกฤษ โดยแบตเตอรี่รุ่นมาตรฐานขยับขนาดความจุจาก 44.5 kWh เพิ่มขึ้นเป็น 51.1 kWh วิ่งได้ระยะทางไกลสุด 430 กม.ทั้งยังได้เพิ่มทางเลือกรุ่น Long Range ด้วยการติดตั้งแบตเตอรี่ขนาด 72.6 kWh วิ่งได้ระยะทางไกลสุด 595 กม. (ตามมาตรฐาน NEDC)
ขณะที่ออปชันและฟังก์ชันต่างๆ มีการปรับปรุงด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนเวอร์ชันที่จะนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจะได้รับการปรับเปลี่ยนจากเดิมมากน้อยเพียงใดคงต้องอดใจรอถึงวันเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
ส่วนอีกหนึ่งรุ่นใหม่ที่ได้รับการคาดหมายว่าจะมีการเปิดตัวทำตลาดอย่างแน่นอนคือ MG HS โฉมใหม่ หลังจากที่มีการเปิดตัวในประเทศจีนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงมากว่า เอ็มจี ประเทศไทย จะเดินตามรอยบริษัทใหม่ ในการทำตลาด MG HS โฉมไมเนอร์เชนจ์ ซึ่งเป็นรถที่มากับดีไซน์เจเนอเรชัน3
ทั้งนี้จะเปิดตัวช่วงเวลาใดนั้นเชื่อว่า หลายคนทราบเป็นอย่างดี เพราะงานมอเตอร์โชว์ของไทยจะมีขึ้นช่วงปลายเดือนมีนาคม ฉะนั้นหากหวังยอดขายเป็นกอบเป็นกำ การเปิดตัวรถรุ่นใหม่จะมีขึ้นก่อนงานมอเตอร์โชว์เริ่มต้นอย่างแน่นอน
อีกหนึ่งรุ่นที่เป็นรุ่นสุดท้ายจากการคาดหมายของทีมข่าวเอ็มจีอาร์ มอเตอริ่ง พุ่งเป้าไปที่ MG One รถยนต์แบบอเนกประสงค์เอสยูวีโฉมใหม่ล่าสุดที่ เอสเอไอซี มอเตอร์ เปิดตัวอวดโฉมในเวทีโลก ซึ่งเป็นรถที่มากับดีไซน์เจเนอเรชัน3 เช่นเดียวกับ MG HS ไมเนอร์เชนจ์
MG One เป็นรถเอสยูวีขนาดเล็กกะทัดรัด พัฒนาขึ้นบนแพลตฟอร์มใหม่ล่าสุด Sigma มีขนาดตัวถังอยู่ตรงกลางระหว่าง MG ZS และ MG HS ซึ่งเมื่อเอ็มจีวางเป้าหมายการเป็นผู้นำในตลาดรถอเนกประสงค์แบบเอสยูวี ฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงว่า MG One จะเข้ามาเติมเต็มไลน์การขายของเอ็มจีอย่างลงตัว
จุดเด่นของ MG One อยู่ที่เครื่องยนต์เป็นแบบเบนซิน 4 สูบ ขนาด 1.5 ลิตร เทอร์โบ ที่มีกำลังสูงสุด 181 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 285 นิวตันเมตร ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติแบบ CVT ที่มาพร้อมระบบช่วยเหลือการขับขี่ MG Pilot 2.0 โดยใช้กล้องด้านหน้าพร้อมเรดาร์เซนเซอร์มากถึง 3 ตัว รองรับระบบล้ำสมัยเช่น ระบบช่วยจอดอัตโนมัติเต็มรูปแบบ APA และระบบสั่งจอดรถผ่านโทรศัพท์มือถือ RPA เป็นต้น
เร่งขยายเครือข่ายดีลเลอร์พร้อมส่งออก
ปัจจุบัน เอ็มจีมีตัวแทนจำหน่ายอยู่ทั้งสิ้น 158 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งเป้าหมายการขยายจำนวนผู้แทนจำหน่ายมองไว้ที่ 12 แห่ง ซึ่งจะทำให้เอ็มจีมีโชว์รูมและศูนย์บริการรวมทั้งสิ้น 170 แห่ง ทั่วประเทศภายในปีนี้ โดยเป็นการขยายควบคู่ไปกับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า MG Super Charge ที่มีจำนวน 120 แห่งแล้ว
ขณะที่การส่งออกอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยเป็นการส่งไปจำหน่ายในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ ประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และจะเริ่มส่งไปจำหน่ายยังประเทศมาเลเซียในปีนี้ ซึ่งการส่งออกมีสัดส่วนราว 10% จากยอดผลิตทั้งหมดของเอ็มจีในประเทศไทย
ถึงเวลานี้ เอ็มจี ประเทศไทย ทำตลาดในเมืองไทยมานานกว่า 8 ปี และมียอดขายสะสมรวมทั้งหมดมากกว่า 130,000 คัน ส่วนจะบรรลุเป้าหมายมียอดขายขึ้นติดอันดับหนึ่งในห้าได้หรือไม่ คงต้องจับตาดูว่ารถยนต์รุ่นใหม่ที่จะเปิดตัวมานั้น ถูกใจผู้บริโภคชาวไทยมากน้อยเพียงไร
จาง ไห่ โป กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ – ซีพี จำกัด และบริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “เราประกาศแผนลงทุนครั้งใหม่ด้วยมูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงงานประกอบแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย มีการวางแผนที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยจะเริ่มต้นได้ทันทีหลังจากที่โรงงานประกอบแบตเตอรี่มีความพร้อม ซึ่งคาดว่าจะเป็นในปี 2566 พร้อมกับการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศเป็นจำนวนมากกว่าที่เงื่อนไขของการได้รับการสนับสนุนจากบีโอไอ”
สำหรับการลงทุนของ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ – ซีพี จำกัด จะเป็นในลักษณะของการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมาใช้เม็ดเงินจำนวนหลักพันล้านดอลล่าร์สหรัฐหรือหลายหมื่นล้านบาท ถือว่าเป็นบริษัท ผู้ผลิตรถยนต์จีนที่ลงทุนมากที่สุดในประเทศไทย
ทั้งนี้ ในการทำธุรกิจรถยนต์ ทุกครั้งที่มีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ จะมีการลงทุนเพิ่มในส่วนของเครื่องจักรและชิ้นส่วนใหม่ รวมถึงการปรับไลน์ผลิต ฉะนั้นจึงไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขที่ชัดเจนได้ว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ใช้เงินลงทุนไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด
เดินเกมปั้นสิ่งแวดล้อมรองรับ EV
เอ็มจีประกาศ 4 แนวทางหลักสำหรับการเป็นผู้บุกเบิกรถยนต์ไฟฟ้าให้สามารถใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้
-การพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย เพื่อให้สอดรับกับรูปแบบการใช้งาน ความต้องการและไลฟ์สไตล์ของแต่ละกลุ่มลูกค้า โดยรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทุกรุ่นของเอ็มจีที่จะเปิดตัวนับจากนี้ จะมีเทคโนโลยีใหม่ เช่น V2L ที่รถยนต์สามารถจ่ายไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นได้
-การพัฒนาและการจัดการแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หลังจากที่ได้รับการอนุมัติจาก BOI ในการตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศเรียบร้อยแล้ว เอ็มจีได้ศึกษาและวิจัยเรื่องของวิธีการจัดการแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ซึ่งนำไปสู่การรีไซเคิลอย่างเต็มรูปแบบ
-การสร้างและขยายเครือข่ายสถานีชาร์จให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกพร้อมเสริมความมั่นใจในการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า รองรับการใช้งานอย่างแพร่หลาย รวมถึงยังเป็นการปลดล็อกความกังวลเรื่องระยะทางการใช้งานต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง ด้วยจำนวนสถานีชาร์จนอกบ้านที่มีให้บริการตลอดเส้นทาง โดยทุกๆ 150 กิโลเมตรจะต้องมีเครือข่ายสถานีชาร์จอย่างน้อย 1 แห่ง
-การเร่งสร้างความรู้พื้นฐานและความเข้าใจเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยมีแผนที่จะเข้าไปสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเตรียมความพร้อมให้คนรุ่นใหม่เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันสังคมยานยนต์ไฟฟ้าในไทยให้เกิดขึ้นได้ไวมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็น ผู้ร่วมกำหนดมาตรฐานใหม่ของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในอนาคต
เป้าขาย 50,000 คัน หวังขึ้นท็อป 5
ยอดขายรถยนต์เอ็มจีในประเทศไทยประจำปี 2564 ที่ผ่านมามีจำนวนทั้งสิ้น 31,005 คัน เติบโตขึ้น 9.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แม้ว่าจะเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้น แต่ยังถือว่าพลาดจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 42,000 คันเมื่อต้นปี ซึ่งมีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบทั้งปัญหาการกลับมาแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์
สำหรับยอดขายรวมที่ 31,005 คัน ถือเป็นแบรนด์รถยนต์เพียงไม่กี่แบรนด์ที่มีตัวเลขอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น โดยมีสถิติและตัวเลขที่น่าสนใจ อาทิ ALL NEW MG5 สามารถขึ้นเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มรถยนต์ขนาดเล็ก หรือ B-segment ภายในเวลาเพียงแค่ 2 เดือนหลังจากการเปิดตัว ในส่วนของกลุ่ม SUV ที่เป็นโมเดลทำตลาดหลักของ เอ็มจี ในปี 2564 สามารถรั้งตำแหน่งในกลุ่มผู้นำต่อเนื่อง สำหรับกลุ่มรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้รับความนิยมมากขึ้นจากกลุ่มลูกค้าทั่วไปและลูกค้าองค์กร โดยครองการเป็นผู้นำด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึงกว่า 90% อีกทั้งยังสามารถดำเนินการติดตั้งสถานีชาร์จแบบเร็ว MG Super Charge ได้แล้วทั่วประเทศจำนวน 120 แห่ง เป็นต้น
“เป้าหมายสำคัญของเอ็มจีนอกจากยอดขายแล้ว เรายังคำนึงถึงสัดส่วนทางการตลาด แม้ยอดขายจะทำไม่ได้ตามเป้าแต่สัดส่วนการขายของเอ็มจีดีขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด ซึ่งเมื่อมองระยะยาวแล้วเป้าของเอ็มจีมีความหวังในการติดท็อป 5 ของรถยนต์ที่ขายดีที่สุดของไทย”
สำหรับปี 2565 เอ็มจี ตั้งเป้าการจำหน่ายรวมเอาไว้ที่ 50,000 คัน ส่วนตลาดรถยนต์รวมของไทยทั้งปีคาดว่าจะมียอดราว 800,000-850,000 คัน โดยคาดว่าจะมีรถยนต์รุ่นใหม่เปิดตัวอย่างน้อย 3 รุ่นภายในปีนี้ ซึ่งโมเดลแรกมีกระแสข่าวว่าจะเริ่มต้นด้วยรถยนต์รุ่น MG ZS EV โฉมไมเนอร์เชนจ์ที่ได้รับการปรับปรุงหน้าตาใหม่ทั้งหมด
ส่องข้อมูล 3 รถรุ่นใหม่
MG ZS EV รุ่นไมเนอร์เชนจ์ นอกจากการปรับเปลี่ยนดีไซน์แล้ว คาดว่าจะได้รับการเปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นชุดใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ตามแนวทางเดียวกับที่เปิดตัวในประเทศอังกฤษ โดยแบตเตอรี่รุ่นมาตรฐานขยับขนาดความจุจาก 44.5 kWh เพิ่มขึ้นเป็น 51.1 kWh วิ่งได้ระยะทางไกลสุด 430 กม.ทั้งยังได้เพิ่มทางเลือกรุ่น Long Range ด้วยการติดตั้งแบตเตอรี่ขนาด 72.6 kWh วิ่งได้ระยะทางไกลสุด 595 กม. (ตามมาตรฐาน NEDC)
ขณะที่ออปชันและฟังก์ชันต่างๆ มีการปรับปรุงด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนเวอร์ชันที่จะนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจะได้รับการปรับเปลี่ยนจากเดิมมากน้อยเพียงใดคงต้องอดใจรอถึงวันเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
ส่วนอีกหนึ่งรุ่นใหม่ที่ได้รับการคาดหมายว่าจะมีการเปิดตัวทำตลาดอย่างแน่นอนคือ MG HS โฉมใหม่ หลังจากที่มีการเปิดตัวในประเทศจีนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงมากว่า เอ็มจี ประเทศไทย จะเดินตามรอยบริษัทใหม่ ในการทำตลาด MG HS โฉมไมเนอร์เชนจ์ ซึ่งเป็นรถที่มากับดีไซน์เจเนอเรชัน3
ทั้งนี้จะเปิดตัวช่วงเวลาใดนั้นเชื่อว่า หลายคนทราบเป็นอย่างดี เพราะงานมอเตอร์โชว์ของไทยจะมีขึ้นช่วงปลายเดือนมีนาคม ฉะนั้นหากหวังยอดขายเป็นกอบเป็นกำ การเปิดตัวรถรุ่นใหม่จะมีขึ้นก่อนงานมอเตอร์โชว์เริ่มต้นอย่างแน่นอน
อีกหนึ่งรุ่นที่เป็นรุ่นสุดท้ายจากการคาดหมายของทีมข่าวเอ็มจีอาร์ มอเตอริ่ง พุ่งเป้าไปที่ MG One รถยนต์แบบอเนกประสงค์เอสยูวีโฉมใหม่ล่าสุดที่ เอสเอไอซี มอเตอร์ เปิดตัวอวดโฉมในเวทีโลก ซึ่งเป็นรถที่มากับดีไซน์เจเนอเรชัน3 เช่นเดียวกับ MG HS ไมเนอร์เชนจ์
MG One เป็นรถเอสยูวีขนาดเล็กกะทัดรัด พัฒนาขึ้นบนแพลตฟอร์มใหม่ล่าสุด Sigma มีขนาดตัวถังอยู่ตรงกลางระหว่าง MG ZS และ MG HS ซึ่งเมื่อเอ็มจีวางเป้าหมายการเป็นผู้นำในตลาดรถอเนกประสงค์แบบเอสยูวี ฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงว่า MG One จะเข้ามาเติมเต็มไลน์การขายของเอ็มจีอย่างลงตัว
จุดเด่นของ MG One อยู่ที่เครื่องยนต์เป็นแบบเบนซิน 4 สูบ ขนาด 1.5 ลิตร เทอร์โบ ที่มีกำลังสูงสุด 181 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 285 นิวตันเมตร ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติแบบ CVT ที่มาพร้อมระบบช่วยเหลือการขับขี่ MG Pilot 2.0 โดยใช้กล้องด้านหน้าพร้อมเรดาร์เซนเซอร์มากถึง 3 ตัว รองรับระบบล้ำสมัยเช่น ระบบช่วยจอดอัตโนมัติเต็มรูปแบบ APA และระบบสั่งจอดรถผ่านโทรศัพท์มือถือ RPA เป็นต้น
เร่งขยายเครือข่ายดีลเลอร์พร้อมส่งออก
ปัจจุบัน เอ็มจีมีตัวแทนจำหน่ายอยู่ทั้งสิ้น 158 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งเป้าหมายการขยายจำนวนผู้แทนจำหน่ายมองไว้ที่ 12 แห่ง ซึ่งจะทำให้เอ็มจีมีโชว์รูมและศูนย์บริการรวมทั้งสิ้น 170 แห่ง ทั่วประเทศภายในปีนี้ โดยเป็นการขยายควบคู่ไปกับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า MG Super Charge ที่มีจำนวน 120 แห่งแล้ว
ขณะที่การส่งออกอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยเป็นการส่งไปจำหน่ายในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ ประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และจะเริ่มส่งไปจำหน่ายยังประเทศมาเลเซียในปีนี้ ซึ่งการส่งออกมีสัดส่วนราว 10% จากยอดผลิตทั้งหมดของเอ็มจีในประเทศไทย
ถึงเวลานี้ เอ็มจี ประเทศไทย ทำตลาดในเมืองไทยมานานกว่า 8 ปี และมียอดขายสะสมรวมทั้งหมดมากกว่า 130,000 คัน ส่วนจะบรรลุเป้าหมายมียอดขายขึ้นติดอันดับหนึ่งในห้าได้หรือไม่ คงต้องจับตาดูว่ารถยนต์รุ่นใหม่ที่จะเปิดตัวมานั้น ถูกใจผู้บริโภคชาวไทยมากน้อยเพียงไร