หลังจากข่าวการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายรายใหม่ของแบรนด์รถยนต์ “โลตัส” เผยแพร่อย่างเป็นทางการ โดยมีกลุ่ม “เวิร์นส์ ออโตโมทีฟ” เป็นผู้ได้สิทธิ์ในการทำตลาดแทนรายเดิมอย่าง นิชคาร์ พร้อมรับจองรถรุ่นใหม่ “เอมิรา” (Emira) ที่มีการเปิดตัวในตลาดโลกอย่างทันควัน
หากมองผิวเผินการเปลี่ยนตัวแทนจำหน่ายถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาในแวดวงธุรกิจยานยนต์ เมื่อรายเก่าหมดสัญญาแล้วไม่ทำต่อหรือมีปัญหาบางประการ บริษัทแม่จะดำเนินการหาตัวแทนจำหน่ายรายใหม่เข้ามาแทนที่ แต่สำหรับดีลนี้ มีบางอย่างที่น่าสนใจนอกเหนือไปจากการเปลี่ยนตัวแทนปกติทั่วไป
ปิดฉากนิชคาร์ ทำความรู้จักเวิร์นส์
“โลตัส” เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นแบรนด์รถสปอร์ตสัญชาติอังกฤษ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน สร้างชื่อเสียงจากสนามแข่งและมีจุดเด่นในเรื่องของเทคโนโลยีด้านการออกแบบตัวถัง ขณะที่เครื่องยนต์จะอาศัยแบรนด์อื่นโดยซื้อมาปรับปรุงให้มีความพิเศษตามแบบฉบับของตัวเอง
การทำตลาดในประเทศไทย แบรนด์ โลตัส เดิมนั้นอยู่ภายใต้ปีกของ นิชคาร์ ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์สปอร์ตหลากหลายยี่ห้อ เช่น ลัมโบกินี่ (ปัจจุบัน เปลี่ยนมือไปอยู่กับ เรนาสโซ มอเตอร์), แมคลาเรน, ปากินี่ และฮัมเมอร์ ซึ่งการสูญเสียสิทธิ์การทำตลาดโลตัสไปจะทำให้ นิชคาร์ เหลือแบรนด์หลักในมือเพียง แมคลาเรน เท่านั้น เพราะอีก2แบรนด์แทบจะไม่มีความเคลื่อนไหวด้านยอดขายมานาน
สำหรับตัวแทนจำหน่ายรายใหม่ “เวิร์นส์ ออโตโมทีฟ ประเทศไทย” เป็นใครมาจากไหนอย่างไรนั้น ถ้าเป็นคนที่เคยใช้แบรนด์รถหรูอย่างวอลโว่ คุ้นเคยกับชื่อของ เวิร์นส์ เป็นอย่างดี เพราะเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์วอลโว่ ในประเทศไทยมียอดขายลำดับต้นๆ ของกลุ่มดีลเลอร์ หลายท่านอาจจะสงสัยว่า จากดีลเลอร์หนึ่งราย อยู่ดีๆ จะได้สิทธิ์ในการทำตลาดแบรนด์ ทำไมจึงง่ายเช่นนี้ ความจริงมิได้ง่ายเหมือนที่เราเห็น
คำตอบคงต้องย้อนกลับไปที่บริษัทแม่ของ เวิร์นส์ ออโตโมทีฟ ประเทศไทย นั่นคือ กลุ่ม เวิร์นส์ ออโตโมทีฟ ที่มีประวัติยาวนานกว่า 100 ปี ทำธุรกิจเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนจำหน่ายและดีลเลอร์มาอย่างยาวนาน ในภูมิภาคอาเซียน โดยถือสิทธิ์ของกลุ่มรถยนต์หรูหราเป็นหลัก รวมแล้ว 14 ยี่ห้อ ที่ได้รับสิทธิ์ในการทำตลาดตามแต่ละประเทศ เช่น วอลโว่, แอสตัน มาร์ติน, จากัวร์, แลนด์โรเวอร์ และเบนทลี่ย์ เป็นต้น ซึ่งกลุ่ม เวิร์นส์ ออโตโมทีฟ มีความสัมพันธ์ที่ยอดเยี่ยมกับประเทศมาเลเซีย
ส่วนโลตัส แม้จะเป็นแบรนด์ของอังกฤษ แต่ถูกซื้อกิจการเข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลของ โปรตอน ของมาเลเซีย ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด ในการเจรจาให้ดีล การได้เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์โลตัสในประเทศไทยของเวิร์นส์ ออโตโมทีฟ สำเร็จ แล้วเหตุใดจึงต้องเป็น เวิร์นส์ ออโตโมทีฟ
จีลี่ย์ พร้อมปักหมุดในไทย
ต้องไม่ลืมว่า โปรตอนที่เป็นบริษัทแม่ของโลตัสนั้น ถูกซื้อกิจการเข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลของ “จีลี่ย์” ยักษ์ใหญ่อีกหนึ่งแบรนด์ของจีน ซึ่ง จีลี่ย์ มีแบรนด์ในมืออย่าง วอลโว่ , โปรตอน, จีลี่ย์ , โลตัส และ ลอนดอน อีวี ที่เตรียมพร้อมขยายตลาดไปทั่วโลก
ด้วยคุณสมบัติ ความพร้อมทางด้านการเงิน ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ การเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ วอลโว่ ในประเทศไทยอยู่ก่อนแล้ว และความสัมพันธ์อันดีทำให้ เวิร์นส์ ออโตโมทีฟ จึงเป็นตัวเลือกที่โดดเด่นที่สุดในการทำตลาด แบรนด์โลตัส ในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม หากมองจากมุมของเวิร์นส์ การปั้นแบรนด์ โลตัสไม่น่าจะคุ้มค่าการลงทุน เพราะเมื่อดูจากยอดขายโลตัสปัจจุบัน ถือว่ามีจำนวนน้อยมาก แต่หากมองภาพใหญ่ระยะยาว ในเชิงความร่วมมือระหว่าง เวิร์นส์ และ จีลี่ย์ แล้วการทำตลาด รถยนต์โลตัสคราวนี้ จะมีส่วนสำคัญต่อยอดการขายรถยนต์ในอนาคตของกลุ่มเวิร์นส์ทั้งหมดอย่างไม่ต้องสงสัย
เดิมพันครั้งนี้ของกลุ่ม เวิร์นส์ ผูกไว้กับการปักหมุดของ “จีลี่ย์” ในประเทศไทย ข้อมูลจากแหล่งข่าวของทีมงานเอ็มจีอาร์ มอเตอริ่ง เปิดเผยให้ทราบว่า จีลีย์ มีความตั้งใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอยู่หลายครั้งหลายคราว เพียงแต่ยังไม่ถูกจังหวะกันเท่านั้น
ทั้งนี้หากไม่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 เสียก่อน เราจะได้เห็นการฟื้นคืนชีพของแบรนด์ “โปรตอน” ในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงปี 2563 โดยจีลี่ย์วางเป้าหมายเอาไว้ให้เป็นแบรนด์หลักในการเริ่มต้น แต่เมื่อสภาพตลาดไม่เอื้ออำนวยทำให้แผนการดังกล่าวต้องหยุดชะงักและมีการปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด
สำหรับแผนล่าสุด จะเป็นการใช้แบรนด์ จีลี่ย์ ในการรุกตลาดประเทศไทย ทั้งนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลและเจรจากับหน่วยงานภาครัฐของไทยในเรื่องสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับจากการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ขณะที่ความคืบหน้าการฟื้นแบรนด์ โปรตอน ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ
แน่นอนว่าในเชิงกลยุทธ์การรุกตลาดใหม่ โดยเฉพาะในประเทศไทย แบรนด์รถยนต์จากจีนจะเลือกใช้พาร์ทเนอร์หรือเรียกให้เข้าใจง่ายว่าผู้ร่วมทุน เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ เห็นตัวอย่างได้ชัดเจนจากกลุ่ม เอสเอไอซี มอเตอร์ ที่ร่วมมือกับ กลุ่มซีพี ในการทำแบรนด์ เอ็มจี
แม้แต่การเข้ามาของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ที่ดูเหมือนเป็นการฉายเดี่ยว แต่ปฏิเสธมิได้ว่า ถ้าเจเนอรัล มอเตอร์ ไม่ขายโรงงาน เกรท วอลล์ มอเตอร์ จะเข้ามาทำตลาดในไทยหรือยัง เพราะเกรท วอลล์ มอเตอร์ เคยโยนหินถามทางเตรียมตัวลุยไทยมาแล้ว แต่กลับหยุดชะงักไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ฉะนั้นการมีสหายร่วมทัพจึงเป็นสิ่งที่แบรนด์จีนให้ความสำคัญ
อนึ่ง ราว 10 กว่าปีก่อน แบรนด์จีลี่ย์เคยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยภายใต้การดูแลของกลุ่มยนตรกิจ ยอดขายอาจจะไม่ได้มากมายแต่เพียงพอที่จะเป็นที่จดจำของกลุ่มลูกค้าชาวไทยจำนวนหนึ่งได้เป็นอย่างดี แต่การกลับมาคราวนี้ของจีลี่ย์ ยังไม่มีสัญญาณใดๆ จากพันธมิตรเก่าอย่างยนตรกิจ
ในแง่ของการยอมรับของตลาดประเทศจีน จีลี่ ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ขนาดเล็กและขนาดคอมแพคที่มีความชำนาญทั้งรถแบบอเนกประสงค์และซีดาน ยิ่งเมื่อซื้อกิจการของวอลโว่เข้ามาอยู่ในเครือด้วยแล้วเสมือนเสือติดปีก รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่ออกมามีเทคโนโลยีและกลิ่นไอของสวีเดนดีไซน์อยู่หลากหลายรุ่น
ปัจจุบัน รถยนต์ในไลน์การขายของจีลีย์ มีมากถึงเกือบ 20 รุ่น เป็นตัวถังแบบ เอสยูวี 10 รุ่น , ซีดาน 7 รุ่น และ อเนกประสงค์เอ็มพีวี 1 รุ่น ส่วนรถที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเกี่ยวเนื่องรวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าล้วนมีรวมกัน 4 รุ่น
อย่างไรก็ตาม รถที่จะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ยอมรับว่ายากในการคาดคะเน แต่ถ้าพิจารณาจากการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมของรัฐบาลไทย เชื่อมั่นว่ารถที่เข้ามาทำตลาดจะต้องเป็นรถในรูปแบบของไฮบริด, ปลั๊กอินไฮบริด หรือรถยนต์ไฟฟ้าชนิดใช้แบตเตอรี่เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนอย่างแน่นอน
ถึงเวลานี้ แม้จะยังไม่สามารถสรุปแบบชัดเจนว่า จีลี่ย์ จะปักหมุดลุยทำตลาดในประเทศไทย หรือไม่ประการใด แต่จากความเคลื่อนไหวล่าสุด มีแนวโน้มว่าเร็วๆ นี้ อาจจะมีข่าวดีจากจีลี่ย์ ถึงประเทศไทย ถ้าเงื่อนไขทุกอย่างลงตัว
หากมองผิวเผินการเปลี่ยนตัวแทนจำหน่ายถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาในแวดวงธุรกิจยานยนต์ เมื่อรายเก่าหมดสัญญาแล้วไม่ทำต่อหรือมีปัญหาบางประการ บริษัทแม่จะดำเนินการหาตัวแทนจำหน่ายรายใหม่เข้ามาแทนที่ แต่สำหรับดีลนี้ มีบางอย่างที่น่าสนใจนอกเหนือไปจากการเปลี่ยนตัวแทนปกติทั่วไป
ปิดฉากนิชคาร์ ทำความรู้จักเวิร์นส์
“โลตัส” เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นแบรนด์รถสปอร์ตสัญชาติอังกฤษ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน สร้างชื่อเสียงจากสนามแข่งและมีจุดเด่นในเรื่องของเทคโนโลยีด้านการออกแบบตัวถัง ขณะที่เครื่องยนต์จะอาศัยแบรนด์อื่นโดยซื้อมาปรับปรุงให้มีความพิเศษตามแบบฉบับของตัวเอง
การทำตลาดในประเทศไทย แบรนด์ โลตัส เดิมนั้นอยู่ภายใต้ปีกของ นิชคาร์ ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์สปอร์ตหลากหลายยี่ห้อ เช่น ลัมโบกินี่ (ปัจจุบัน เปลี่ยนมือไปอยู่กับ เรนาสโซ มอเตอร์), แมคลาเรน, ปากินี่ และฮัมเมอร์ ซึ่งการสูญเสียสิทธิ์การทำตลาดโลตัสไปจะทำให้ นิชคาร์ เหลือแบรนด์หลักในมือเพียง แมคลาเรน เท่านั้น เพราะอีก2แบรนด์แทบจะไม่มีความเคลื่อนไหวด้านยอดขายมานาน
สำหรับตัวแทนจำหน่ายรายใหม่ “เวิร์นส์ ออโตโมทีฟ ประเทศไทย” เป็นใครมาจากไหนอย่างไรนั้น ถ้าเป็นคนที่เคยใช้แบรนด์รถหรูอย่างวอลโว่ คุ้นเคยกับชื่อของ เวิร์นส์ เป็นอย่างดี เพราะเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์วอลโว่ ในประเทศไทยมียอดขายลำดับต้นๆ ของกลุ่มดีลเลอร์ หลายท่านอาจจะสงสัยว่า จากดีลเลอร์หนึ่งราย อยู่ดีๆ จะได้สิทธิ์ในการทำตลาดแบรนด์ ทำไมจึงง่ายเช่นนี้ ความจริงมิได้ง่ายเหมือนที่เราเห็น
คำตอบคงต้องย้อนกลับไปที่บริษัทแม่ของ เวิร์นส์ ออโตโมทีฟ ประเทศไทย นั่นคือ กลุ่ม เวิร์นส์ ออโตโมทีฟ ที่มีประวัติยาวนานกว่า 100 ปี ทำธุรกิจเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนจำหน่ายและดีลเลอร์มาอย่างยาวนาน ในภูมิภาคอาเซียน โดยถือสิทธิ์ของกลุ่มรถยนต์หรูหราเป็นหลัก รวมแล้ว 14 ยี่ห้อ ที่ได้รับสิทธิ์ในการทำตลาดตามแต่ละประเทศ เช่น วอลโว่, แอสตัน มาร์ติน, จากัวร์, แลนด์โรเวอร์ และเบนทลี่ย์ เป็นต้น ซึ่งกลุ่ม เวิร์นส์ ออโตโมทีฟ มีความสัมพันธ์ที่ยอดเยี่ยมกับประเทศมาเลเซีย
ส่วนโลตัส แม้จะเป็นแบรนด์ของอังกฤษ แต่ถูกซื้อกิจการเข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลของ โปรตอน ของมาเลเซีย ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด ในการเจรจาให้ดีล การได้เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์โลตัสในประเทศไทยของเวิร์นส์ ออโตโมทีฟ สำเร็จ แล้วเหตุใดจึงต้องเป็น เวิร์นส์ ออโตโมทีฟ
จีลี่ย์ พร้อมปักหมุดในไทย
ต้องไม่ลืมว่า โปรตอนที่เป็นบริษัทแม่ของโลตัสนั้น ถูกซื้อกิจการเข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลของ “จีลี่ย์” ยักษ์ใหญ่อีกหนึ่งแบรนด์ของจีน ซึ่ง จีลี่ย์ มีแบรนด์ในมืออย่าง วอลโว่ , โปรตอน, จีลี่ย์ , โลตัส และ ลอนดอน อีวี ที่เตรียมพร้อมขยายตลาดไปทั่วโลก
ด้วยคุณสมบัติ ความพร้อมทางด้านการเงิน ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ การเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ วอลโว่ ในประเทศไทยอยู่ก่อนแล้ว และความสัมพันธ์อันดีทำให้ เวิร์นส์ ออโตโมทีฟ จึงเป็นตัวเลือกที่โดดเด่นที่สุดในการทำตลาด แบรนด์โลตัส ในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม หากมองจากมุมของเวิร์นส์ การปั้นแบรนด์ โลตัสไม่น่าจะคุ้มค่าการลงทุน เพราะเมื่อดูจากยอดขายโลตัสปัจจุบัน ถือว่ามีจำนวนน้อยมาก แต่หากมองภาพใหญ่ระยะยาว ในเชิงความร่วมมือระหว่าง เวิร์นส์ และ จีลี่ย์ แล้วการทำตลาด รถยนต์โลตัสคราวนี้ จะมีส่วนสำคัญต่อยอดการขายรถยนต์ในอนาคตของกลุ่มเวิร์นส์ทั้งหมดอย่างไม่ต้องสงสัย
เดิมพันครั้งนี้ของกลุ่ม เวิร์นส์ ผูกไว้กับการปักหมุดของ “จีลี่ย์” ในประเทศไทย ข้อมูลจากแหล่งข่าวของทีมงานเอ็มจีอาร์ มอเตอริ่ง เปิดเผยให้ทราบว่า จีลีย์ มีความตั้งใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอยู่หลายครั้งหลายคราว เพียงแต่ยังไม่ถูกจังหวะกันเท่านั้น
ทั้งนี้หากไม่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 เสียก่อน เราจะได้เห็นการฟื้นคืนชีพของแบรนด์ “โปรตอน” ในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงปี 2563 โดยจีลี่ย์วางเป้าหมายเอาไว้ให้เป็นแบรนด์หลักในการเริ่มต้น แต่เมื่อสภาพตลาดไม่เอื้ออำนวยทำให้แผนการดังกล่าวต้องหยุดชะงักและมีการปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด
สำหรับแผนล่าสุด จะเป็นการใช้แบรนด์ จีลี่ย์ ในการรุกตลาดประเทศไทย ทั้งนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลและเจรจากับหน่วยงานภาครัฐของไทยในเรื่องสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับจากการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ขณะที่ความคืบหน้าการฟื้นแบรนด์ โปรตอน ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ
แน่นอนว่าในเชิงกลยุทธ์การรุกตลาดใหม่ โดยเฉพาะในประเทศไทย แบรนด์รถยนต์จากจีนจะเลือกใช้พาร์ทเนอร์หรือเรียกให้เข้าใจง่ายว่าผู้ร่วมทุน เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ เห็นตัวอย่างได้ชัดเจนจากกลุ่ม เอสเอไอซี มอเตอร์ ที่ร่วมมือกับ กลุ่มซีพี ในการทำแบรนด์ เอ็มจี
แม้แต่การเข้ามาของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ที่ดูเหมือนเป็นการฉายเดี่ยว แต่ปฏิเสธมิได้ว่า ถ้าเจเนอรัล มอเตอร์ ไม่ขายโรงงาน เกรท วอลล์ มอเตอร์ จะเข้ามาทำตลาดในไทยหรือยัง เพราะเกรท วอลล์ มอเตอร์ เคยโยนหินถามทางเตรียมตัวลุยไทยมาแล้ว แต่กลับหยุดชะงักไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ฉะนั้นการมีสหายร่วมทัพจึงเป็นสิ่งที่แบรนด์จีนให้ความสำคัญ
อนึ่ง ราว 10 กว่าปีก่อน แบรนด์จีลี่ย์เคยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยภายใต้การดูแลของกลุ่มยนตรกิจ ยอดขายอาจจะไม่ได้มากมายแต่เพียงพอที่จะเป็นที่จดจำของกลุ่มลูกค้าชาวไทยจำนวนหนึ่งได้เป็นอย่างดี แต่การกลับมาคราวนี้ของจีลี่ย์ ยังไม่มีสัญญาณใดๆ จากพันธมิตรเก่าอย่างยนตรกิจ
ในแง่ของการยอมรับของตลาดประเทศจีน จีลี่ ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ขนาดเล็กและขนาดคอมแพคที่มีความชำนาญทั้งรถแบบอเนกประสงค์และซีดาน ยิ่งเมื่อซื้อกิจการของวอลโว่เข้ามาอยู่ในเครือด้วยแล้วเสมือนเสือติดปีก รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่ออกมามีเทคโนโลยีและกลิ่นไอของสวีเดนดีไซน์อยู่หลากหลายรุ่น
ปัจจุบัน รถยนต์ในไลน์การขายของจีลีย์ มีมากถึงเกือบ 20 รุ่น เป็นตัวถังแบบ เอสยูวี 10 รุ่น , ซีดาน 7 รุ่น และ อเนกประสงค์เอ็มพีวี 1 รุ่น ส่วนรถที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเกี่ยวเนื่องรวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าล้วนมีรวมกัน 4 รุ่น
อย่างไรก็ตาม รถที่จะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ยอมรับว่ายากในการคาดคะเน แต่ถ้าพิจารณาจากการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมของรัฐบาลไทย เชื่อมั่นว่ารถที่เข้ามาทำตลาดจะต้องเป็นรถในรูปแบบของไฮบริด, ปลั๊กอินไฮบริด หรือรถยนต์ไฟฟ้าชนิดใช้แบตเตอรี่เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนอย่างแน่นอน
ถึงเวลานี้ แม้จะยังไม่สามารถสรุปแบบชัดเจนว่า จีลี่ย์ จะปักหมุดลุยทำตลาดในประเทศไทย หรือไม่ประการใด แต่จากความเคลื่อนไหวล่าสุด มีแนวโน้มว่าเร็วๆ นี้ อาจจะมีข่าวดีจากจีลี่ย์ ถึงประเทศไทย ถ้าเงื่อนไขทุกอย่างลงตัว