ตลาดรถยนต์อเนกประสงค์ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ด้วยขนาดและราคาที่เหมาะสมกับการเป็นรถของครอบครัว เช่นเดียวกับทิศทางของตลาดโลกที่รถประเภทนี้ได้รับการตอบรับดีขึ้น สำหรับเมืองไทยจะมีความแตกต่างจากตลาดโลกอยู่เล็กน้อยตรงที่มีการแยกรถเป็น 2 แบบคือ PPV และ SUV เนื่องจากการจัดเก็บภาษีแตกต่างกัน แต่ในตลาดโลกแล้วรถทั้งสองแบบต่างถูกรวมไว้ในหมวดหมู่เดียวกันคือ อเนกประสงค์ SUV
ส่วนโจทย์ในคราวนี้เป็นการตรวจเช็คสเปคเพื่อค้นหารถของครอบครัวหนึ่งคัน ภายใต้เงื่อนไขราคาถูกที่สุด โดยเลือกจากรุ่นเริ่มต้นของแต่ละยี่ห้อ แม้บางยี่ห้ออาจจะได้ตัวที่ใส่ออพชันมากกว่าในราคาที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกับแบรนด์อื่น แต่เพื่อให้บทความกระชับจึงขอนำเฉพาะรุ่นเริ่มต้นมาเปรียบเทียบ ซึ่งมีรถยนต์เข้าเงื่อนไขมากถึง 10 รุ่น 10 แบรนด์ (ดูตารางประกอบ) นับว่าเป็นหนึ่งเซกเมนท์ที่มีตัวเลือกเยอะที่สุดของตลาด
PPV หรือ SUV
ลำดับแรกขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างเบื้องต้นของ PPV และ SUV กันก่อน อย่างที่เกริ่นไว้ด้านบนในตลาดโลกนั้นทั้งคู่คือรถอเนกประสงค์แบบ SUV แต่สำหรับประเทศไทย PPV ถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของรถปิกอัพ ทำให้เสียอัตราภาษีสรรพสามิต (20%) ต่ำกว่ารถแบบ SUV (เสียภาษีสรรพสามิตราว 25-30%)
ความแตกต่างของพื้นฐานทางวิศวกรรมตามการเรียกของไทย PPV จะมีตัวถังวางบนแชสซีส์ (Body on frame) ส่วน SUV จะเป็นตัวถังแบบขึ้นรูปชิ้นเดียว (Monocoque) โดยตัวถังแบบขึ้นรูปชิ้นเดียวจะเด่นในเรื่องของน้ำหนักเบา และมีเสียงรบกวนน้อยกว่า ขณะที่ตัวถังวางบนแชสซีส์จะเด่นกว่าในเรื่องของความทนทานเมื่อต้องใช้งานหนัก เพราะรถที่ใช้โครงสร้างลักษณะนี้จะเป็นรถบรรทุกหรือรถปิกอัพแทบทั้งสิ้น
ฉะนั้นลำดับแรกของการเลือกอยากให้ทุกท่านตรวจสอบลักษณะการใช้งานของตัวท่านเองว่าจะต้องใช้รถไปพื้นที่แบบใด หากต้องลุยหนักเป็นส่วนใหญ่ PPV ดูแล้วเหมาะสมกว่า แต่หากเน้นการใช้งานทางเรียบถนนหลวงหรือใช้งานในเมืองเป็นหลัก SUV จะให้ความนุ่มนวลมากกว่า
ขนาดตัวถัง
การที่เราเลือก C SUV มาเป็นคู่เปรียบเทียบกับ PPV เนื่องด้วยราคาและขนาดถือว่าใกล้เคียงกัน แต่ C SUV จะเสียเปรียบในเรื่องของความยาวโดยรวมที่จะสั้นกว่าประมาณ 200 มิลลิเมตร ซึ่งจะมีผลสำหรับเบาะนั่งแถวสาม ทำให้รถในเซกเมนท์ C SUV รุ่นเริ่มต้นจะเป็นตัว 5 ที่นั่ง ส่วน PPV จะเป็น 7 ที่นั่ง
ยาวสุดคือ ฟอร์ด เอเวอร์เรสต์ สั้นสุดคือ เปอโยต์ 3008, กว้างสุด คือ เอ็มจี เอชเอส แคบสุดคือ ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์และมิตซูบิชิ ปาร์เจโร สปอร์ต, สูงสุด PPV แทบทุกรุ่นสูงพอๆ กันที่ระดับ 1.83 เมตร เตี้ยสุด เปอโยต์ 3008, ระยะความสูงใต้ท้องรถสูงสุดคืออีซูซู มิว-เอ็กซ์ (ทำให้มีโอกาสเสียหายจากน้ำท่วมน้อยที่สุด) ต่ำสุด เอ็มจี เอชเอส
เครื่องยนต์
กลายเป็นการแบ่งสัดส่วนชัดเจน เพราะรถแบบ PPV ทุกรุ่นทำตลาดด้วยเครื่องยนต์ดีเซลเพียงอย่างเดียว ข้อดีคือความทนทานและประหยัดน้ำมัน ซ่อมง่าย ข้อด้อยคือเสียงดังและการปล่อยมลพิษของไอเสีย ขณะที่ C SUV ทุกรุ่นที่เรานำมาเทียบเป็นเครื่องยนต์เบนซิน จะมีเพียง ฮอนด้า ซีอาร์-วีและมาสด้า ซีเอ็กซ์-5 ที่มีทางเลือกเครื่องยนต์ดีเซล แต่ไม่ใช่รุ่นเริ่มต้น โดยจะขยับราคาไปเป็นประมาณกว่า 1,500,000 บาท
พละกำลังของรถในคลาสทุกคันอยู่ระหว่าง 150-190 แรงม้า ถือใกล้เคียงกัน ไม่มีผลมากนัก ส่วนรถที่มีพละกำลังสูงสุด ยกให้ นิสสัน เทอร์ร่า ทั้งแรงม้าและแรงบิดมีมากกว่าคู่แข่ง โดยความโดดเด่นดังกล่าวได้มาจากการเลือกเทคโนโลยีแบบเทอร์โบคู่เพียงหนึ่งเดียวของคลาส ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติแบบ 7 สปีด ถือว่าเหมาะสมกำลังดี ส่วนระบบส่งกำลังเด่นที่สุดของเซกเมนท์เรายกให้ เอ็มจี เอชเอส ด้วยระบบเกียร์แบบคลัทช์คู่ 7 สปีด
อย่างไรก็ตาม หากดูเปรียบเทียบพละกำลังต่อน้ำหนักแล้ว C SUV จะได้เปรียบ PPV อยู่มิใช่น้อย โดยอัตราแรงม้าต่อน้ำหนักดีที่สุดคือ ฮอนด้า ซีอาร์-วี 8.93 กก./แรงม้า ไล่เรียงตามลำดับ เปอโยต์ 3008 9.14 กก./แรงม้า, เอ็มจี เอชเอส 9.32 กก./แรงม้า, มาสด้า ซีเอ็กซ์-5 9.51 กก./แรงม้า, ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์ 9.82 กก./แรงม้า
ขณะที่ PPV แรงม้าต่อน้ำหนักดีที่สุดคือ มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต 10.71 กก./แรงม้า, นิสสัน เทอร์ร่า 10.75 กก./แรงม้า, ฟอร์ด เอเวอร์เรสต์ 12.2 กก./แรงม้า, อีซูซู มิว-เอ็กซ์ 13 กก./แรงม้า และ โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ 13.2 กก./แรงม้า
ทั้งนี้ในมุมของการขับขี่จริงจะมีเรื่องของระบบการส่งกำลังและการขับเคลื่อนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดย PPV ทั้งหมดขับเคลื่อนล้อหลัง ส่วน C SUV ทุกรุ่นขับเคลื่อนล้อหน้า ยกเว้น ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์ที่ขับเคลื่อน 4 ล้อตลอดเวลา รวมถึงการเป็นรถใช้เครื่องยนต์แบบ 4 สูบนอน (บ็อกเซอร์) แตกต่างจากคู่แข่งที่เป็นเครื่องยนต์ 4 สูบแถวเรียง ข้อดีคือ ทำให้รถมีจุดศูนย์ถ่วงต่ำ ส่งผลให้สมรรถนะการขับขี่โดยรวมดีกว่า แต่จะบริโภคเชื้อเพลิงมากกว่า
ระบบช่วงล่าง
เป็นอีกหนึ่งหัวข้อสำคัญอย่างยิ่งที่ส่งผลต่อการขับขี่และรถทั้งสองแบบนั้นมีโครงสร้างพื้นฐานแตกต่างกันด้วย เริ่มจาก PPV ระบบรองรับแรงสั่นสะเทือนทางด้านหน้าทุกรุ่นจะใช้แบบปีกนก 2 ชั้นหรือปีกนกคู่ เด่นในเรื่องของความทนทาน ส่วน C SUV ใช้ระบบ อิสระ แม็คเฟอร์สันสตรัท ที่เด่นด้านความนุ่มนวล
สำหรับระบบช่วงล่างด้านหลัง ส่วนใหญ่จะเป็นแบบมัลติลิงค์ คอยล์สปริง คือมีจุดยึดหลายจุด ลักษณะเดียวกันแต่แตกต่างกันที่คุณภาพและการออกแบบตำแหน่งในการยึดเพื่อดูดซับแรง สำหรับ PPV ไม่มีรุ่นใดใช้แหนบแล้ว ขณะที่เปอโยต์จะไม่เหมือนใครด้วยช่วงล่างแบบคานแข็ง ส่วนซูบารุเป็นแบบปีกนกคู่ ถือว่าเด่นที่สุดในคลาส
ระบบเบรก
ทุกรุ่นทุกยี่ห้อต่างใช้ระบบเบรกเป็นดิสก์เบรกสี่ล้อ ยกเว้นเพียง นิสสัน เทอร์ร่า ที่ใช้ระบบเบรกหลังเป็นแบบดรัมเบรก ส่วนความแตกต่างจะเป็นเรื่องของขนาด,คุณภาพ และการเซ็ตระบบแรงดันน้ำมันเบรกให้มีความเหมาะสมกับพละกำลังของตัวรถ
ความเห็นส่วนตัวหลังจากที่ได้เคยทดลองขับมาแล้วครบทั้ง 10 รุ่น ผู้เขียนมีความชื่นชอบระบบเบรกของ ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์ มากที่สุด ขณะที่ระบบเบรกของโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์แม้เคยเป็นข่าวใหญ่สร้างความกังวลให้กับใครหลายคน จากการลองขับรุ่นล่าสุดหลังการปรับโฉมโดยทีมงานวิศวกรคนไทย มีการปรับหลายส่วนเกี่ยวกับระบบการขับเคลื่อน รวมถึงระบบเบรกด้วย สามารถสร้างความมั่นใจได้เต็ม 100% ไม่ต้องห่วงอีกต่อไป
ออพชัน
เป็นหัวข้อที่ไม่สามารถลงรายละเอียดได้ เนื่องจากมีข้อมูลมากมาย และแต่ละแบรนด์จะมีออพชันที่ใกล้เคียงกัน บางรายการมีแต่ไม่ได้ลงรายละเอียดเอาไว้ ฉะนั้นหากพิจารณาเฉพาะออพชันเด่นๆ ที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ เช่น เบาะคู่หน้าปรับไฟฟ้า,ระบบปรับอากาศแบบแยกโซนซ้าย-ขวา, ระบบควบคุมความเร็วคงที่ และระบบเครื่องเสียง เกือบทุกแบรนด์ต่างมีมาให้อย่างครบถ้วน ขึ้นกับว่าคุณชอบออพชันไหนมากเป็นพิเศษหรือไม่ บางฟังก์ชันหายไปแต่จะได้สิ่งอื่นมาแทน
ระบบความปลอดภัย
ทุกรุ่นทุกแบรนด์ใส่ระบบความปลอดภัยมาตรฐานมาให้อย่างครบถ้วนทั้งระบบเบรก ABS , ระบบเสริมแรงเบรก และระบบกระจายแรงเบรก, ถุงลมนิรภัยคู่หน้าและกล้องมองหลัง ยกเว้น อีซูซุ มิว-เอ็กซ์ เพียงรุ่นเดียวที่ไม่มีกล้องมองหลัง แต่ อีซูซุ มิว-เอ็กซ์ จะมีระบบช่วยควบคุมการทรงตัว, ระบบลดกำลังเครื่องยนต์เพื่อช่วยเบรก, ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี, ระบบออกตัวบนทางลาดชัน, ระบบชะลอความเร็วขณะลงทางลาดชัน เข้ามาเป็นจุดเด่นในด้านความปลอดภัย
ขณะที่นิสสัน เทอร์ร่า จะเด่นด้วยถุงลมนิรภัย 6 จุด, ระบบช่วยควบคุมการทรงตัวและระบบออกตัวบนทางลาดชัน ส่วนมิตซูบิชิ ปาเจโร่ สปอร์ต จะได้ระบบชะลอความเร็วขณะลงทางลาดชัน และระบบลดกำลังเครื่องยนต์เพื่อช่วยเบรกเพิ่มขึ้นมา แต่มีถุงลมเพียง 2 ตำแหน่งคู่หน้าเท่านั้น
สำหรับโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์และฟอร์ด เอเวอร์เรสต์ มีจุดเด่นที่ถุงลมนิรภัย 7 จุด, ระบบช่วยควบคุมการทรงตัว, ระบบออกตัวบนทางลาดชันและระบบป้องกันล้อหมุนฟรี แต่ฟอร์ด เอเวอร์เรสต์จะมีระบบช่วยโทรฉุกเฉิน และระบบป้องกันการพลิกคว่ำเพิ่มเข้ามามากกว่าโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์
ด้านฮอนด้า ซีอาร์-วี มีถุงลมนิรภัย 6 จุด, ระบบช่วยควบคุมการทรงตัว, ระบบออกตัวบนทางลาดชัน, ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี, ระบบแสดงภาพมุมอับสายตา, ระบบเตือนความเหนื่อยล้าขณะขับขี่,สัญญาณไฟฉุกเฉินอัตโนมัติเมื่อเบรกกระทันหัน และระบบล็อกรถอัตโนมัติเมื่อกุญแจอยู่ห่างตัวรถ
มาสด้า ซีเอ็กซ์-5 มีจุดเด่นที่ถุงลมนิรภัย 6 จุด, ระบบช่วยควบคุมการทรงตัวและป้องกันการลื่นไถล, ระบบออกตัวบนทางลาดชัน, ระบบเตือนมุมอับสายตาเมื่อเปลี่ยนเลนและถอยหลัง, สัญญาณไฟฉุกเฉินอัตโนมัติเมื่อเบรกกะทันหันและระบบล็อกรถอัตโนมัติ
เปอโยต์ 3008 นอกจากระบบความปลอดภัยพื้นฐานดังกล่าวแล้วมีระบบช่วยควบคุมการทรงตัว, ระบบช่วยการขับขี่ และระบบช่วยกะระยะด้านหลัง เพิ่มเพียงเท่านี้ อย่างไรก็ตามเปอโยต์คือแบรนด์ยุโรปหนึ่งเดียวที่อยู่ในบทความ ด้วยราคาแพงกว่าคู่แข่งเล็กน้อยถือว่าแข่งขันเปรียบเทียบได้ หากคุณชอบความเป็นยุโรปนี่คือตัวเลือกที่น่าสนใจ
ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์ มีถุงลมนิรภัย 7 จุด, ระบบช่วยควบคุมการทรงตัว, ระบบควบคุมแรงบิดขณะเข้าโค้ง, ระบบป้องกันคันเร่งค้าง, ระบบยับยั้งการทำงานของเครื่องยนต์, สัญญาณไฟฉุกเฉินอัตโนมัติเมื่อเบรกกะทันหัน, ระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติ และระบบแป้นเหยียบนิรภัย
เอ็มจี เอชเอส มีถุงลมนิรภัย 6 จุด และระบบความปลอดภัยเกือบครบทุกรายการของทุกยี่ห้อรวมกัน ขาดไปเพียงระบบช่วยโทรฉุกเฉิน,ระบบเตือนมุมอับสายตา, ระบบป้องกันคันเร่งค้างและยับยั้งการทำงานของเครื่องยนต์ แต่ะจะได้ระบบป้องกันการลื่นไถลเมื่อเกียร์ลดต่ำอย่างเฉียบพลันและไฟส่องนำทางหลังดับเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นมา
ฉะนั้นหากมองถึงจำนวนของระบบเสริมความปลอดภัยในรุ่นเริ่มต้นของคลาส “เอ็มจี เอชเอส” ให้มากที่สุด
การบริโภคน้ำมัน
ตามมาตรฐานของอีโคสติกเกอร์ ค่าเฉลี่ยดีสุดคือ “เอ็มจี เอชเอส” ตัวเลข 16.1 กม./ลิตร เนื่องจากตัวรถมีน้ำหนักเบาและเครื่องยนต์มีขนาดเล็กสุดเพียง 1.5 ลิตรเท่านั้น ส่วน “ฮอนด้า ซีอาร์-วี” กลายเป็นรถที่มีการบริโภคน้ำมันมากสุดในคลาสคือ 12.5 กม./ลิตร
การดูแลหลังการขาย
โตโยต้า และอีซูซุ ชนะเลิศอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยจำนวนของศูนย์บริการคลอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมกับการดูแลแบบแทบไร้เสียงบ่นจากลูกค้า ทั้งๆ ที่เป็นแบรนด์ขายดีอันดับหนึ่งของประเทศ ฉะนั้นจึงเป็นเหมือนเครื่องหมายรับประกันด้านการบริการ รวมถึงการหาอะไหล่หรือการซ่อมบำรุงนอกศูนย์บริการยังสามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องกังวลใดๆอีกด้วย
ความสดใหม่
ยกให้ อีซูซุ มิว-เอ็กซ์ เปิดตัวโฉมใหม่เป็นรายล่าสุด หากหันไปมองคู่แข่งใน PPV ด้วยกันแล้วแบรนด์อื่นทำตลาดมาอย่างยาวนานหลายปี บางรุ่นอยู่ในช่วงปลายอายุโมเดลแล้ว ขณะที่เมื่อเทียบกับ C SUV มีเพียง เอ็มจี เอชเอส และซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์ ที่ดูสดใหม่ใกล้เคียงกัน ส่วนฮอนด้า ซีอาร์-วี เพิ่งจะมีการแนะนำตัวรุ่นไมเนอร์เชนจ์ไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา
ด้านเปอโยต์ โฉมไมเนอร์เชนจ์ มีการเปิดตัวในตลาดโลกเรียบร้อยแล้ว ตลาดเมืองไทยคงรออีกไม่นานน่าจะได้เห็น เช่นเดียวกับมาสด้า ซีเอ็กซ์-5 ที่ทำตลาดมานานกว่า 3 ปี คาดว่าจะมีรุ่นไมเนอร์เชนจ์ออกมาเร็วๆ นี้
ความคุ้มค่า
บนพื้นฐานของการเปรียบเทียบสินค้าแบบรถยนต์หนึ่งคันกับราคาขาย คำตอบคือ “เอ็มจี เอชเอส” ด้วยราคาค่าตัว 919,000 บาท ถูกสุดของตลาด และให้ออพชันพร้อมระบบเสริมความปลอดภัยมากที่สุด แถมยังมีอัตราสิ้นเปลืองประหยัดกว่าแบรนด์อื่นบนพื้นฐานการวัดด้วยมาตรฐานของทางราชการไทย
ถ้าให้เราเลือก
อย่างไรก็ตามการเลือกสินค้าอย่างรถยนต์นั้น มิใช่เลือกจากราคากับสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องดูหลายองค์ประกอบเช่น บริการหลังการขาย ความทนทาน และราคาขายต่อ รวมถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่จะสะท้อนตัวตนของผู้เป็นเจ้าของอีกด้วย
ฉะนั้นอย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้นหากการใช้งานเน้นความสมบุกสมบันต้องการความทนทานให้มองที่ PPV เป็นหลัก โดยผู้เขียนขอเลือก “อีซูซุ มิว-เอ็กซ์” ส่วนหากการใช้งานที่เน้นการขับขี่ในเมือง “ฮอนด้า ซีอาร์-วี” เป็นตัวเลือกแรกของเรา สุดท้ายความสวยงามคือหัวข้อที่ขอเว้นเอาไว้เพราะเป็นเรื่องนานาจิตตัง ต่างคนต่างชอบแตกต่างกันไป ไม่สามารถหาข้อยุติได้หากนำมาเปรียบเทียบ
ส่วนโจทย์ในคราวนี้เป็นการตรวจเช็คสเปคเพื่อค้นหารถของครอบครัวหนึ่งคัน ภายใต้เงื่อนไขราคาถูกที่สุด โดยเลือกจากรุ่นเริ่มต้นของแต่ละยี่ห้อ แม้บางยี่ห้ออาจจะได้ตัวที่ใส่ออพชันมากกว่าในราคาที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกับแบรนด์อื่น แต่เพื่อให้บทความกระชับจึงขอนำเฉพาะรุ่นเริ่มต้นมาเปรียบเทียบ ซึ่งมีรถยนต์เข้าเงื่อนไขมากถึง 10 รุ่น 10 แบรนด์ (ดูตารางประกอบ) นับว่าเป็นหนึ่งเซกเมนท์ที่มีตัวเลือกเยอะที่สุดของตลาด
PPV หรือ SUV
ลำดับแรกขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างเบื้องต้นของ PPV และ SUV กันก่อน อย่างที่เกริ่นไว้ด้านบนในตลาดโลกนั้นทั้งคู่คือรถอเนกประสงค์แบบ SUV แต่สำหรับประเทศไทย PPV ถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของรถปิกอัพ ทำให้เสียอัตราภาษีสรรพสามิต (20%) ต่ำกว่ารถแบบ SUV (เสียภาษีสรรพสามิตราว 25-30%)
ความแตกต่างของพื้นฐานทางวิศวกรรมตามการเรียกของไทย PPV จะมีตัวถังวางบนแชสซีส์ (Body on frame) ส่วน SUV จะเป็นตัวถังแบบขึ้นรูปชิ้นเดียว (Monocoque) โดยตัวถังแบบขึ้นรูปชิ้นเดียวจะเด่นในเรื่องของน้ำหนักเบา และมีเสียงรบกวนน้อยกว่า ขณะที่ตัวถังวางบนแชสซีส์จะเด่นกว่าในเรื่องของความทนทานเมื่อต้องใช้งานหนัก เพราะรถที่ใช้โครงสร้างลักษณะนี้จะเป็นรถบรรทุกหรือรถปิกอัพแทบทั้งสิ้น
ฉะนั้นลำดับแรกของการเลือกอยากให้ทุกท่านตรวจสอบลักษณะการใช้งานของตัวท่านเองว่าจะต้องใช้รถไปพื้นที่แบบใด หากต้องลุยหนักเป็นส่วนใหญ่ PPV ดูแล้วเหมาะสมกว่า แต่หากเน้นการใช้งานทางเรียบถนนหลวงหรือใช้งานในเมืองเป็นหลัก SUV จะให้ความนุ่มนวลมากกว่า
ขนาดตัวถัง
การที่เราเลือก C SUV มาเป็นคู่เปรียบเทียบกับ PPV เนื่องด้วยราคาและขนาดถือว่าใกล้เคียงกัน แต่ C SUV จะเสียเปรียบในเรื่องของความยาวโดยรวมที่จะสั้นกว่าประมาณ 200 มิลลิเมตร ซึ่งจะมีผลสำหรับเบาะนั่งแถวสาม ทำให้รถในเซกเมนท์ C SUV รุ่นเริ่มต้นจะเป็นตัว 5 ที่นั่ง ส่วน PPV จะเป็น 7 ที่นั่ง
ยาวสุดคือ ฟอร์ด เอเวอร์เรสต์ สั้นสุดคือ เปอโยต์ 3008, กว้างสุด คือ เอ็มจี เอชเอส แคบสุดคือ ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์และมิตซูบิชิ ปาร์เจโร สปอร์ต, สูงสุด PPV แทบทุกรุ่นสูงพอๆ กันที่ระดับ 1.83 เมตร เตี้ยสุด เปอโยต์ 3008, ระยะความสูงใต้ท้องรถสูงสุดคืออีซูซู มิว-เอ็กซ์ (ทำให้มีโอกาสเสียหายจากน้ำท่วมน้อยที่สุด) ต่ำสุด เอ็มจี เอชเอส
เครื่องยนต์
กลายเป็นการแบ่งสัดส่วนชัดเจน เพราะรถแบบ PPV ทุกรุ่นทำตลาดด้วยเครื่องยนต์ดีเซลเพียงอย่างเดียว ข้อดีคือความทนทานและประหยัดน้ำมัน ซ่อมง่าย ข้อด้อยคือเสียงดังและการปล่อยมลพิษของไอเสีย ขณะที่ C SUV ทุกรุ่นที่เรานำมาเทียบเป็นเครื่องยนต์เบนซิน จะมีเพียง ฮอนด้า ซีอาร์-วีและมาสด้า ซีเอ็กซ์-5 ที่มีทางเลือกเครื่องยนต์ดีเซล แต่ไม่ใช่รุ่นเริ่มต้น โดยจะขยับราคาไปเป็นประมาณกว่า 1,500,000 บาท
พละกำลังของรถในคลาสทุกคันอยู่ระหว่าง 150-190 แรงม้า ถือใกล้เคียงกัน ไม่มีผลมากนัก ส่วนรถที่มีพละกำลังสูงสุด ยกให้ นิสสัน เทอร์ร่า ทั้งแรงม้าและแรงบิดมีมากกว่าคู่แข่ง โดยความโดดเด่นดังกล่าวได้มาจากการเลือกเทคโนโลยีแบบเทอร์โบคู่เพียงหนึ่งเดียวของคลาส ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติแบบ 7 สปีด ถือว่าเหมาะสมกำลังดี ส่วนระบบส่งกำลังเด่นที่สุดของเซกเมนท์เรายกให้ เอ็มจี เอชเอส ด้วยระบบเกียร์แบบคลัทช์คู่ 7 สปีด
อย่างไรก็ตาม หากดูเปรียบเทียบพละกำลังต่อน้ำหนักแล้ว C SUV จะได้เปรียบ PPV อยู่มิใช่น้อย โดยอัตราแรงม้าต่อน้ำหนักดีที่สุดคือ ฮอนด้า ซีอาร์-วี 8.93 กก./แรงม้า ไล่เรียงตามลำดับ เปอโยต์ 3008 9.14 กก./แรงม้า, เอ็มจี เอชเอส 9.32 กก./แรงม้า, มาสด้า ซีเอ็กซ์-5 9.51 กก./แรงม้า, ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์ 9.82 กก./แรงม้า
ขณะที่ PPV แรงม้าต่อน้ำหนักดีที่สุดคือ มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต 10.71 กก./แรงม้า, นิสสัน เทอร์ร่า 10.75 กก./แรงม้า, ฟอร์ด เอเวอร์เรสต์ 12.2 กก./แรงม้า, อีซูซู มิว-เอ็กซ์ 13 กก./แรงม้า และ โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ 13.2 กก./แรงม้า
ทั้งนี้ในมุมของการขับขี่จริงจะมีเรื่องของระบบการส่งกำลังและการขับเคลื่อนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดย PPV ทั้งหมดขับเคลื่อนล้อหลัง ส่วน C SUV ทุกรุ่นขับเคลื่อนล้อหน้า ยกเว้น ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์ที่ขับเคลื่อน 4 ล้อตลอดเวลา รวมถึงการเป็นรถใช้เครื่องยนต์แบบ 4 สูบนอน (บ็อกเซอร์) แตกต่างจากคู่แข่งที่เป็นเครื่องยนต์ 4 สูบแถวเรียง ข้อดีคือ ทำให้รถมีจุดศูนย์ถ่วงต่ำ ส่งผลให้สมรรถนะการขับขี่โดยรวมดีกว่า แต่จะบริโภคเชื้อเพลิงมากกว่า
ระบบช่วงล่าง
เป็นอีกหนึ่งหัวข้อสำคัญอย่างยิ่งที่ส่งผลต่อการขับขี่และรถทั้งสองแบบนั้นมีโครงสร้างพื้นฐานแตกต่างกันด้วย เริ่มจาก PPV ระบบรองรับแรงสั่นสะเทือนทางด้านหน้าทุกรุ่นจะใช้แบบปีกนก 2 ชั้นหรือปีกนกคู่ เด่นในเรื่องของความทนทาน ส่วน C SUV ใช้ระบบ อิสระ แม็คเฟอร์สันสตรัท ที่เด่นด้านความนุ่มนวล
สำหรับระบบช่วงล่างด้านหลัง ส่วนใหญ่จะเป็นแบบมัลติลิงค์ คอยล์สปริง คือมีจุดยึดหลายจุด ลักษณะเดียวกันแต่แตกต่างกันที่คุณภาพและการออกแบบตำแหน่งในการยึดเพื่อดูดซับแรง สำหรับ PPV ไม่มีรุ่นใดใช้แหนบแล้ว ขณะที่เปอโยต์จะไม่เหมือนใครด้วยช่วงล่างแบบคานแข็ง ส่วนซูบารุเป็นแบบปีกนกคู่ ถือว่าเด่นที่สุดในคลาส
ระบบเบรก
ทุกรุ่นทุกยี่ห้อต่างใช้ระบบเบรกเป็นดิสก์เบรกสี่ล้อ ยกเว้นเพียง นิสสัน เทอร์ร่า ที่ใช้ระบบเบรกหลังเป็นแบบดรัมเบรก ส่วนความแตกต่างจะเป็นเรื่องของขนาด,คุณภาพ และการเซ็ตระบบแรงดันน้ำมันเบรกให้มีความเหมาะสมกับพละกำลังของตัวรถ
ความเห็นส่วนตัวหลังจากที่ได้เคยทดลองขับมาแล้วครบทั้ง 10 รุ่น ผู้เขียนมีความชื่นชอบระบบเบรกของ ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์ มากที่สุด ขณะที่ระบบเบรกของโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์แม้เคยเป็นข่าวใหญ่สร้างความกังวลให้กับใครหลายคน จากการลองขับรุ่นล่าสุดหลังการปรับโฉมโดยทีมงานวิศวกรคนไทย มีการปรับหลายส่วนเกี่ยวกับระบบการขับเคลื่อน รวมถึงระบบเบรกด้วย สามารถสร้างความมั่นใจได้เต็ม 100% ไม่ต้องห่วงอีกต่อไป
ออพชัน
เป็นหัวข้อที่ไม่สามารถลงรายละเอียดได้ เนื่องจากมีข้อมูลมากมาย และแต่ละแบรนด์จะมีออพชันที่ใกล้เคียงกัน บางรายการมีแต่ไม่ได้ลงรายละเอียดเอาไว้ ฉะนั้นหากพิจารณาเฉพาะออพชันเด่นๆ ที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ เช่น เบาะคู่หน้าปรับไฟฟ้า,ระบบปรับอากาศแบบแยกโซนซ้าย-ขวา, ระบบควบคุมความเร็วคงที่ และระบบเครื่องเสียง เกือบทุกแบรนด์ต่างมีมาให้อย่างครบถ้วน ขึ้นกับว่าคุณชอบออพชันไหนมากเป็นพิเศษหรือไม่ บางฟังก์ชันหายไปแต่จะได้สิ่งอื่นมาแทน
ระบบความปลอดภัย
ทุกรุ่นทุกแบรนด์ใส่ระบบความปลอดภัยมาตรฐานมาให้อย่างครบถ้วนทั้งระบบเบรก ABS , ระบบเสริมแรงเบรก และระบบกระจายแรงเบรก, ถุงลมนิรภัยคู่หน้าและกล้องมองหลัง ยกเว้น อีซูซุ มิว-เอ็กซ์ เพียงรุ่นเดียวที่ไม่มีกล้องมองหลัง แต่ อีซูซุ มิว-เอ็กซ์ จะมีระบบช่วยควบคุมการทรงตัว, ระบบลดกำลังเครื่องยนต์เพื่อช่วยเบรก, ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี, ระบบออกตัวบนทางลาดชัน, ระบบชะลอความเร็วขณะลงทางลาดชัน เข้ามาเป็นจุดเด่นในด้านความปลอดภัย
ขณะที่นิสสัน เทอร์ร่า จะเด่นด้วยถุงลมนิรภัย 6 จุด, ระบบช่วยควบคุมการทรงตัวและระบบออกตัวบนทางลาดชัน ส่วนมิตซูบิชิ ปาเจโร่ สปอร์ต จะได้ระบบชะลอความเร็วขณะลงทางลาดชัน และระบบลดกำลังเครื่องยนต์เพื่อช่วยเบรกเพิ่มขึ้นมา แต่มีถุงลมเพียง 2 ตำแหน่งคู่หน้าเท่านั้น
สำหรับโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์และฟอร์ด เอเวอร์เรสต์ มีจุดเด่นที่ถุงลมนิรภัย 7 จุด, ระบบช่วยควบคุมการทรงตัว, ระบบออกตัวบนทางลาดชันและระบบป้องกันล้อหมุนฟรี แต่ฟอร์ด เอเวอร์เรสต์จะมีระบบช่วยโทรฉุกเฉิน และระบบป้องกันการพลิกคว่ำเพิ่มเข้ามามากกว่าโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์
ด้านฮอนด้า ซีอาร์-วี มีถุงลมนิรภัย 6 จุด, ระบบช่วยควบคุมการทรงตัว, ระบบออกตัวบนทางลาดชัน, ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี, ระบบแสดงภาพมุมอับสายตา, ระบบเตือนความเหนื่อยล้าขณะขับขี่,สัญญาณไฟฉุกเฉินอัตโนมัติเมื่อเบรกกระทันหัน และระบบล็อกรถอัตโนมัติเมื่อกุญแจอยู่ห่างตัวรถ
มาสด้า ซีเอ็กซ์-5 มีจุดเด่นที่ถุงลมนิรภัย 6 จุด, ระบบช่วยควบคุมการทรงตัวและป้องกันการลื่นไถล, ระบบออกตัวบนทางลาดชัน, ระบบเตือนมุมอับสายตาเมื่อเปลี่ยนเลนและถอยหลัง, สัญญาณไฟฉุกเฉินอัตโนมัติเมื่อเบรกกะทันหันและระบบล็อกรถอัตโนมัติ
เปอโยต์ 3008 นอกจากระบบความปลอดภัยพื้นฐานดังกล่าวแล้วมีระบบช่วยควบคุมการทรงตัว, ระบบช่วยการขับขี่ และระบบช่วยกะระยะด้านหลัง เพิ่มเพียงเท่านี้ อย่างไรก็ตามเปอโยต์คือแบรนด์ยุโรปหนึ่งเดียวที่อยู่ในบทความ ด้วยราคาแพงกว่าคู่แข่งเล็กน้อยถือว่าแข่งขันเปรียบเทียบได้ หากคุณชอบความเป็นยุโรปนี่คือตัวเลือกที่น่าสนใจ
ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์ มีถุงลมนิรภัย 7 จุด, ระบบช่วยควบคุมการทรงตัว, ระบบควบคุมแรงบิดขณะเข้าโค้ง, ระบบป้องกันคันเร่งค้าง, ระบบยับยั้งการทำงานของเครื่องยนต์, สัญญาณไฟฉุกเฉินอัตโนมัติเมื่อเบรกกะทันหัน, ระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติ และระบบแป้นเหยียบนิรภัย
เอ็มจี เอชเอส มีถุงลมนิรภัย 6 จุด และระบบความปลอดภัยเกือบครบทุกรายการของทุกยี่ห้อรวมกัน ขาดไปเพียงระบบช่วยโทรฉุกเฉิน,ระบบเตือนมุมอับสายตา, ระบบป้องกันคันเร่งค้างและยับยั้งการทำงานของเครื่องยนต์ แต่ะจะได้ระบบป้องกันการลื่นไถลเมื่อเกียร์ลดต่ำอย่างเฉียบพลันและไฟส่องนำทางหลังดับเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นมา
ฉะนั้นหากมองถึงจำนวนของระบบเสริมความปลอดภัยในรุ่นเริ่มต้นของคลาส “เอ็มจี เอชเอส” ให้มากที่สุด
การบริโภคน้ำมัน
ตามมาตรฐานของอีโคสติกเกอร์ ค่าเฉลี่ยดีสุดคือ “เอ็มจี เอชเอส” ตัวเลข 16.1 กม./ลิตร เนื่องจากตัวรถมีน้ำหนักเบาและเครื่องยนต์มีขนาดเล็กสุดเพียง 1.5 ลิตรเท่านั้น ส่วน “ฮอนด้า ซีอาร์-วี” กลายเป็นรถที่มีการบริโภคน้ำมันมากสุดในคลาสคือ 12.5 กม./ลิตร
การดูแลหลังการขาย
โตโยต้า และอีซูซุ ชนะเลิศอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยจำนวนของศูนย์บริการคลอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมกับการดูแลแบบแทบไร้เสียงบ่นจากลูกค้า ทั้งๆ ที่เป็นแบรนด์ขายดีอันดับหนึ่งของประเทศ ฉะนั้นจึงเป็นเหมือนเครื่องหมายรับประกันด้านการบริการ รวมถึงการหาอะไหล่หรือการซ่อมบำรุงนอกศูนย์บริการยังสามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องกังวลใดๆอีกด้วย
ความสดใหม่
ยกให้ อีซูซุ มิว-เอ็กซ์ เปิดตัวโฉมใหม่เป็นรายล่าสุด หากหันไปมองคู่แข่งใน PPV ด้วยกันแล้วแบรนด์อื่นทำตลาดมาอย่างยาวนานหลายปี บางรุ่นอยู่ในช่วงปลายอายุโมเดลแล้ว ขณะที่เมื่อเทียบกับ C SUV มีเพียง เอ็มจี เอชเอส และซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์ ที่ดูสดใหม่ใกล้เคียงกัน ส่วนฮอนด้า ซีอาร์-วี เพิ่งจะมีการแนะนำตัวรุ่นไมเนอร์เชนจ์ไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา
ด้านเปอโยต์ โฉมไมเนอร์เชนจ์ มีการเปิดตัวในตลาดโลกเรียบร้อยแล้ว ตลาดเมืองไทยคงรออีกไม่นานน่าจะได้เห็น เช่นเดียวกับมาสด้า ซีเอ็กซ์-5 ที่ทำตลาดมานานกว่า 3 ปี คาดว่าจะมีรุ่นไมเนอร์เชนจ์ออกมาเร็วๆ นี้
ความคุ้มค่า
บนพื้นฐานของการเปรียบเทียบสินค้าแบบรถยนต์หนึ่งคันกับราคาขาย คำตอบคือ “เอ็มจี เอชเอส” ด้วยราคาค่าตัว 919,000 บาท ถูกสุดของตลาด และให้ออพชันพร้อมระบบเสริมความปลอดภัยมากที่สุด แถมยังมีอัตราสิ้นเปลืองประหยัดกว่าแบรนด์อื่นบนพื้นฐานการวัดด้วยมาตรฐานของทางราชการไทย
ถ้าให้เราเลือก
อย่างไรก็ตามการเลือกสินค้าอย่างรถยนต์นั้น มิใช่เลือกจากราคากับสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องดูหลายองค์ประกอบเช่น บริการหลังการขาย ความทนทาน และราคาขายต่อ รวมถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่จะสะท้อนตัวตนของผู้เป็นเจ้าของอีกด้วย
ฉะนั้นอย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้นหากการใช้งานเน้นความสมบุกสมบันต้องการความทนทานให้มองที่ PPV เป็นหลัก โดยผู้เขียนขอเลือก “อีซูซุ มิว-เอ็กซ์” ส่วนหากการใช้งานที่เน้นการขับขี่ในเมือง “ฮอนด้า ซีอาร์-วี” เป็นตัวเลือกแรกของเรา สุดท้ายความสวยงามคือหัวข้อที่ขอเว้นเอาไว้เพราะเป็นเรื่องนานาจิตตัง ต่างคนต่างชอบแตกต่างกันไป ไม่สามารถหาข้อยุติได้หากนำมาเปรียบเทียบ