ตลาดรถยนต์ของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รถในโครงการ “อีโคคาร์” ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมากจนทำให้กลุ่ม บี-เซ็กเมนท์ หรือ Sub-compact ที่แต่เดิมเคยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ต้องหดตัวลง เนื่องด้วยขนาดที่เล็กและราคาย่อมเยากว่าเหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นอยากมีรถคันแรก ส่งผลให้ค่ายรถยนต์ต่างทยอยหันมาเปิดตัวรถใหม่ภายใต้โครงการ อีโคคาร์ แทนรถในกลุ่ม บี-เซ็กเมนท์
ปัจจุบันค่ายรถที่มีอีโคคาร์จำหน่ายด้วยกัน 6 ยี่ห้อ ส่วนรถแบบ บี-เซกเมนท์ เหลือเพียง 2 ยี่ห้อเท่านั้น เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจเลือกคบหา ทีมงานเอ็มจีอาร์ มอเตอริ่ง รวบรวมข้อมูลของรถในแบบอีโคคาร์และบี-เซ็กเมนท์ มาให้ทุกท่าน พร้อมความเห็นส่วนตัวหลังจากที่ได้ทดลองขับมาแล้ว (ดูตารางประกอบ)
ทั้งนี้ เพื่อความกระชับของเนื้อหา จะเริ่มต้นด้วยแบบตัวถังแฮทช์แบ็ค 5 ประตู โดยแยกส่วนที่เป็นรุ่นซีดาน 4 ประตูออกไปก่อน ส่วนรุ่นใด จะเป็นอย่างไรบ้าง เชิญติดตามได้
ขนาด-พื้นที่ใช้สอย
ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ค น้องใหม่ล่าสุดที่เปิดตัวด้วยการเป็นอีโคคาร์ เฟสสอง ของฮอนด้า ออโตโมบิล มาทีหลังสร้างความแตกต่างได้ ด้วยการเป็นรถที่มีทั้งความยาวและความกว้างมากที่สุดในคลาสนี้ มิติตัวถังโดยรวมแล้วยังใหญ่กว่า ฮอนด้า แจ๊ซ อีกด้วย
ขณะที่ รถเล็กที่สุดคือ นิสสัน มาร์ช ซึ่งสั้นกว่าถึงเกือบ 600 มิลลิเมตร เรียกว่า นิสสัน มาร์ช มีขนาดยาวกว่า ซูซูกิ เซเลริโอ เพียง 180 มิลลิเมตร ซึ่งเราตัดสินใจไม่นำ ซูซูกิ เซเลริโอ มารวมในคลาสอีโคคาร์ ทั้งที่เป็นหนึ่งในอีโคคาร์ เนื่องจากขนาดตัวถังที่เล็กกว่ารุ่นอื่นๆ พอสมควรและเครื่องยนต์ที่เล็กกว่า กำลังน้อยกว่า ถือว่าค่อนข้างเสียเปรียบในทุกๆ ด้าน จะมีเพียงด้านราคาของ เซเลริโอ หลังการปรับใหม่ทำให้ได้รับความสนใจจนมียอดขายดีขึ้นกว่าเดิม 4 เท่าตัว
ด้านประโยชน์ของพื้นที่ใช้สอย ด้วยตัวถังที่ใหญ่กว่าทำให้ ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ค นำมาในหัวข้อนี้พร้อมกับการที่มีเบาะนั่งแบบอัลต้าซีทสามารถปรับพับเก็บเพิ่มพื้นที่ใช้สอยได้เหนือกว่าคู่แข่งแบบชัดเจน ส่วนการเก็บสัมภาระด้านหลัง มีเพียง มิตซูบิชิ มิราจ รุ่นเดียวที่ไม่สามารถใส่กระเป๋าเดินทางใบใหญ่ขนาด 29 นิ้วได้ นอกนั้นใส่ได้ทุกคัน
เครื่องยนต์
เป็นหัวข้อที่สำคัญอย่างยิ่ง หากดูที่ผลลัพธ์สุดท้าย “ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ค” ชนะเลิศด้วยพิกัดกำลัง 122 แรงม้า จากเครื่องยนต์เบนซิน 1.0 ลิตร เทอร์โบ มากกว่ารถ บี-เซกเมนท์ ที่ใช้เครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตรเสียอีก รวมถึงแรงบิดสูงสุดที่มากถึง 173 นิวตันเมตร เรียกว่าเทียบเท่ากับรถขนาดเครื่องยนต์ 1.8 ลิตรเลยทีเดียว
ขณะที่ส่วนใหญ่รถอีโคคาร์จะใช้เครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.2 ลิตร ไร้ระบบอัดอากาศ มีกำลังสูงสุด 79-93 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 100-123 นิวตันเมตร ห่างจาก ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ค ค่อนข้างมากอย่างมีนัยยะสำคัญในการตัดสินใจหากคุณกำลังมองหารถขับสนุกและชอบความแรงสไตล์สปอร์ต ซีตี้ แฮทช์แบ็ค จะเด่นกว่าทุกคันในหัวข้อนี้
ส่วนหากใครต้องการเครื่องยนต์ดีเซล จะมีเพียง มาสด้า 2 รุ่นเดียวเท่านั้นที่มีเครื่องยนต์ดีเซลให้เลือกคบหา ฉะนั้นจึงไม่นำมาเปรียบเทียบด้วย โดยความโดดเด่นของดีเซลจากมาสด้าจะอยู่ที่ แรงบิดในระดับ 250 นิวตันเมตร เหนือกว่าทุกรุ่นของคลาสนี้ แต่ต้องแลกมาด้วยราคาค่าตัวที่กระโดดไปอยู่ระดับ 782,000-799,000 บาท ห่างจากค่าเฉลี่ยของรถอีโคคาร์ที่อยู่ระหว่าง 500,000-600,000 บาท
ส่วนระบบส่งกำลัง ทุกรุ่นนั้นจะคบหากับเกียร์อัตโนมัติแบบ ซีวีที (แต่จะแตกต่างในแง่ของเทคโนโลยีและคุณภาพของวัสดุ) ยกเว้น มาสด้าที่ใช้ระบบเกียร์แบบทอร์ค คอนเวิร์ตเทอร์ 6 สปีด และ เอ็มจี 3 ที่ใช้เกียร์อัตโนมัติแบบ 4 สปีด ส่วนทางเลือกแบบเกียร์ธรรมดา จะมีให้เลือกเพียง นิสสัน มาร์ช และ มิตซูบิชิ มิราจ เท่านั้น
ระบบกันสะเทือน
ทุกแบรนด์ทุกรุ่น จะใช้ระบบช่วงล่างที่เป็นแบบเดียวกันคือ ด้านหน้า เป็นแบบ แม็คเฟอร์สันสตรัท พร้อมเหล็กกันโคลง ยกเว้น นิสสัน มาร์ช และ มิตซูบิชิ มิราจรุ่น GLX ไม่มีเหล็กกันโคลง ส่วนด้านหลังแบบ ทอร์ชันบีม โดยมีเพียงมาสด้า 2 ที่ใช้ช่วงล่างด้านหลังแบบกึ่งอิสระ ทอร์ชันบีม
หากมองในภาพรวมของความแตกต่างระบบกันสะเทือนแต่ละยี่ห้อแม้จะใช้ระบบเดียวกัน แต่จะมีเรื่องของคุณภาพของชิ้นส่วนและการออกแบบ รวมถึงน้ำหนักของตัวถังที่เป็นสิ่งสำคัญในการส่งผลต่อการขับขี่ โดยความเห็นของผู้เขียนจะชื่นชอบความรู้สึกของช่วงล่าง ซูซูกิ สวิฟท์ มากที่สุด
ระบบเบรก
ระบบเบรกหน้าเป็นดิสก์ และระบบเบรกหลังเป็นดรัมเบรก ถูกนำมาใช้เช่นเดียวกันในรถทุกแบรนด์ทุกรุ่น ยกเว้นเพียง ซูซูกิ สวิฟท์ รุ่น GLX เท่านั้น ที่เป็น ดิสก์เบรก 4 ล้อ โดยระบบเบรกเอบีเอส(ABS) และระบบกระจายแรงเบรก(EBD) ได้รับการติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในทุกรุ่น ส่วนระบบเสริมแรงเบรก(BA) บางรุ่นมิได้มีการระบุไว้แต่ยังไม่สามารถระบุชัดเจนว่า ไม่มีได้ เนื่องจากทั้งสามระบบเป็นแพคเกจมาตรฐานของผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ใช้งานร่วมกัน
ระบบความปลอดภัย
สำหรับระบบเสริมความปลอดภัย เป็นหัวข้อที่ดูเหมือนจะบอกได้ง่ายแต่ความจริงแล้ว ตัดสินใจค่อนข้างยาก เพราะถ้าเป็นระบบความปลอดภัยมาตรฐานทุกรุ่นจะมีมาให้อย่างครบถ้วน แต่ส่วนที่เสริมเพิ่มเข้ามานั้น แต่ละยี่ห้อเลือกใส่มาให้แตกต่างกัน ขึ้นกับว่าคุณมองว่าระบบใดมีความจำเป็นมากกว่ากัน
ระบบเตือนการชนด้านหน้าตรง จะมีใน มิตซูบิชิ มิราจ และ นิสสัน โน้ต โดยนิสสัน โน้ต จะมีระบบช่วยเบรกฉุกเฉินเพิ่มเข้ามา ขณะที่มิราจ ไม่มี ส่วนมาสด้า 2 มีระบบเตือนจุดอับสายตาทั้งด้านข้างและเตือนขณะถอยหลัง พร้อมกล้องมองรอบคัน (เฉพาะรุ่นท็อป) เช่นเดียวกับ นิสสัน โน้ตที่มีกล้องมองรอบคันด้วยเหมือนกัน
ระบบควบคุมการทรงตัว อาจจะมาในชื่อที่แตกต่างกันแต่ลักษณะการทำงานเหมือนกัน มีเป็นมาตรฐานในทุกรุ่น ยกเว้น นิสสัน มาร์ช
ส่วนถุงลมนิรภัย ทุกรุ่นได้รับการติดตั้งคู่หน้าแบบ SRS แต่ โตโยต้า ยาริส จะมีถุงลมนิรภัยเพิ่มเข้ามามากที่สุดถึง 7 ตำแหน่ง, ซูซูกิ สวิฟท์ (รุ่น GLX) , ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ค(เฉพาะรุ่นRS) และ ฮอนด้า แจ๊ซ (เฉพาะรุ่นRS) มี 6 ตำแหน่ง, ฮอนด้า ซีตี้ แฮทช์แบ็ค (รุ่น S+ และ SV) มี 4 ตำแหน่ง นอกนั้นรุ่นอื่นๆ ทุกแบรนด์จะมี 2 ตำแหน่งคู่หน้าเป็นอุปกรณ์มาตรฐานตามเงื่อนไขของอีโคคาร์
การบริโภคน้ำมัน-ไอเสีย
อัตราการบริโภคน้ำมัน อ้างอิงตามมาตรฐานของอีโคสติกเกอร์ ซึ่งเป็นการกำหนดโดยภาครัฐของไทย โดยรถยนต์ในโครงการอีโคคาร์เฟสสองทุกรุ่นที่ออกจำหน่ายสามารถทำอัตราการบริโภคน้ำมันอ้างอิงได้เท่ากันที่ 23.3 กม./ลิตร ไม่ว่าจะเป็น ฮอนด้า ซีตี้ แฮทช์แบ็ค, ซูซูกิ สวิฟท์, มิตซูบิชิ มิราจ, มาสด้า 2 และโตโยต้า ยาริส รวมถึงการปล่อยไอเสียทำได้เท่าเทียมกันที่ 100 กรัม/กม.
ขณะที่รถที่มีตัวเลขอัตราการบริโภคน้ำมันมากที่สุดคือ เอ็มจี3 และยังเป็นรถที่ปล่อยไอเสียสูงที่สุดในคลาสนี้ด้วยที่ 148 กรัม/กม. ส่วนการขับจริงบนท้องถนนนั้น มีปัจจัยที่แตกต่างกันโดยเฉพาะพฤติกรรมการขับขี่ของเจ้าของรถ ซึ่งรถแต่ละคันจะให้ผลลัพธ์ตัวเลขอัตราการบริโภคน้ำมันแตกต่างจากรายงานของอีโคคาร์อย่างแน่นอน
การดูแลหลังการขาย
ภายใต้เงื่อนไขการรับประกัน ทุกแบรนด์ให้มาตรฐานคือ 3 ปี หรือ 100,000 กม. จะมีเพียง เอ็มจี 3 ที่ให้ 4 ปี หรือ 120,000 กม. และ มิตซูบิชิ มิราจ ที่ให้ระยะเวลาเป็น 5 ปี หรือ 100,000 กม. พร้อมฟรีค่าแรงเช็คระยะ เป็นมาตรฐาน ส่วนรุ่นอื่นๆ อาจจะมีการรับประกันเพิ่มหรือฟรีค่าแรงเช็คระยะตามแคมเปญที่ออกมาในแต่ละช่วงเวลา
ส่วนด้านคุณภาพของการบริการหลังการขาย อันดับ 1 ต้องยกให้กับโตโยต้า ด้วยศูนย์บริการที่มีจำนวนมากที่สุดคลอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้การดูแลไม่ต้องใช้เวลานาน ทั้งนี้เมื่อพ้นระยะเวลาการรับประกันไปแล้ว โตโยต้า ยังคงได้ชื่อว่าเป็นรถที่ผู้ใช้งานมีความกังวลในด้านการซ่อมและดูแลน้อยที่สุด ด้วยอะไหล่ที่สามารถหาได้ง่าย ทุกอู่สามารถซ่อมได้
ความสดใหม่
ฮอนด้า ซีตี้ แฮทช์แบ็ค นำโด่งด้วยการเปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว กระแสยังคงแรงต่อเนื่อง ส่วนโมเดลเปิดตัวมานานที่สุดอย่าง นิสสัน มาร์ช ยังไม่มีความคืบหน้าว่าจะยุติการทำตลาดหรือจะมีโมเดลใหม่มาแทนเมื่อใด ขณะที่รุ่นอื่นๆ ทั้ง มาสด้า 2 , มิตซูบิชิ มิราจ, ซูซูกิ สวิฟท์ และโตโยต้า ต่างมีการปรับโฉมกระตุ้นความสดใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้วในช่วง 1-2 ปีก่อนหน้านี้ ดังนั้นคงต้องรอนับปีกว่าจะมีการขยับแบบใหญ่ๆ อีกสักครั้ง
ความคุ้มค่า
กล่าวด้วยความสัตย์จริง หากให้ผู้เขียนเลือกเพียงรุ่นเดียวเพื่อตอบโจทย์ของคำว่า “คุ้มค่า” ผู้เขียนไม่สามารถเลือกได้ เพราะความคุ้มค่าต่อราคานั้นแต่ละท่านมีหัวข้อในการให้น้ำหนักที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงลักษณะการใช้งานมีผลต่อการตัดสินใจ เช่น หากคุณเลือกเพื่อให้แม่บ้านไว้จ่ายกับข้าวหรือส่งลูกใกล้ๆ บ้าน “นิสสัน มาร์ช” รุ่นเกียร์ธรรมดา ราคา 420,000 บาท คือคำตอบของความคุ้มค่าอย่างไม่ต้องสงสัย แต่หากคุณต้องใช้รถเดินทางเพื่อไปพบกับลูกค้าทั่วทุกพื้นที่ทั่วประเทศ “โตโยต้า ยาริส” จะกลายเป็นคำตอบทันที
อย่างไรก็ตาม หากมองในภาพรวมจากทุกหัวข้อที่กล่าวมาทั้งหมด เปรียบเทียบกับราคาในตารางจำหน่าย คำตอบจะมีแนวโน้มมาออกที่ “ฮอนด้า ซีตี้ แฮทช์แบ็ค” ซึ่งได้ทั้งอรรถประโยชน์ใช้สอย, พละกำลัง, ความสดใหม่ และ การบริการหลังการขายที่คลอบคลุมทั่วประเทศ
คำตอบสุดท้าย
หากให้ผู้เขียนเลือกตามใจชอบหนึ่งรุ่น ผู้เขียนเลือก “ซูซูกิ สวิฟท์” ด้วยเหตุผลเป็นรถที่ขับแล้วชอบ ตรงจริต และ เหนือสิ่งอื่นใดคือ ผบทบ.(ผู้บังคับบัญชาที่บ้าน) บอกว่า “อยากได้” ซึ่งจะทำให้ปัญหาครอบครัวคลี่คลายได้ในทันทีถ้าตัดสินใจตามวลีนี้
ปัจจุบันค่ายรถที่มีอีโคคาร์จำหน่ายด้วยกัน 6 ยี่ห้อ ส่วนรถแบบ บี-เซกเมนท์ เหลือเพียง 2 ยี่ห้อเท่านั้น เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจเลือกคบหา ทีมงานเอ็มจีอาร์ มอเตอริ่ง รวบรวมข้อมูลของรถในแบบอีโคคาร์และบี-เซ็กเมนท์ มาให้ทุกท่าน พร้อมความเห็นส่วนตัวหลังจากที่ได้ทดลองขับมาแล้ว (ดูตารางประกอบ)
ทั้งนี้ เพื่อความกระชับของเนื้อหา จะเริ่มต้นด้วยแบบตัวถังแฮทช์แบ็ค 5 ประตู โดยแยกส่วนที่เป็นรุ่นซีดาน 4 ประตูออกไปก่อน ส่วนรุ่นใด จะเป็นอย่างไรบ้าง เชิญติดตามได้
ขนาด-พื้นที่ใช้สอย
ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ค น้องใหม่ล่าสุดที่เปิดตัวด้วยการเป็นอีโคคาร์ เฟสสอง ของฮอนด้า ออโตโมบิล มาทีหลังสร้างความแตกต่างได้ ด้วยการเป็นรถที่มีทั้งความยาวและความกว้างมากที่สุดในคลาสนี้ มิติตัวถังโดยรวมแล้วยังใหญ่กว่า ฮอนด้า แจ๊ซ อีกด้วย
ขณะที่ รถเล็กที่สุดคือ นิสสัน มาร์ช ซึ่งสั้นกว่าถึงเกือบ 600 มิลลิเมตร เรียกว่า นิสสัน มาร์ช มีขนาดยาวกว่า ซูซูกิ เซเลริโอ เพียง 180 มิลลิเมตร ซึ่งเราตัดสินใจไม่นำ ซูซูกิ เซเลริโอ มารวมในคลาสอีโคคาร์ ทั้งที่เป็นหนึ่งในอีโคคาร์ เนื่องจากขนาดตัวถังที่เล็กกว่ารุ่นอื่นๆ พอสมควรและเครื่องยนต์ที่เล็กกว่า กำลังน้อยกว่า ถือว่าค่อนข้างเสียเปรียบในทุกๆ ด้าน จะมีเพียงด้านราคาของ เซเลริโอ หลังการปรับใหม่ทำให้ได้รับความสนใจจนมียอดขายดีขึ้นกว่าเดิม 4 เท่าตัว
ด้านประโยชน์ของพื้นที่ใช้สอย ด้วยตัวถังที่ใหญ่กว่าทำให้ ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ค นำมาในหัวข้อนี้พร้อมกับการที่มีเบาะนั่งแบบอัลต้าซีทสามารถปรับพับเก็บเพิ่มพื้นที่ใช้สอยได้เหนือกว่าคู่แข่งแบบชัดเจน ส่วนการเก็บสัมภาระด้านหลัง มีเพียง มิตซูบิชิ มิราจ รุ่นเดียวที่ไม่สามารถใส่กระเป๋าเดินทางใบใหญ่ขนาด 29 นิ้วได้ นอกนั้นใส่ได้ทุกคัน
เครื่องยนต์
เป็นหัวข้อที่สำคัญอย่างยิ่ง หากดูที่ผลลัพธ์สุดท้าย “ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ค” ชนะเลิศด้วยพิกัดกำลัง 122 แรงม้า จากเครื่องยนต์เบนซิน 1.0 ลิตร เทอร์โบ มากกว่ารถ บี-เซกเมนท์ ที่ใช้เครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตรเสียอีก รวมถึงแรงบิดสูงสุดที่มากถึง 173 นิวตันเมตร เรียกว่าเทียบเท่ากับรถขนาดเครื่องยนต์ 1.8 ลิตรเลยทีเดียว
ขณะที่ส่วนใหญ่รถอีโคคาร์จะใช้เครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.2 ลิตร ไร้ระบบอัดอากาศ มีกำลังสูงสุด 79-93 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 100-123 นิวตันเมตร ห่างจาก ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ค ค่อนข้างมากอย่างมีนัยยะสำคัญในการตัดสินใจหากคุณกำลังมองหารถขับสนุกและชอบความแรงสไตล์สปอร์ต ซีตี้ แฮทช์แบ็ค จะเด่นกว่าทุกคันในหัวข้อนี้
ส่วนหากใครต้องการเครื่องยนต์ดีเซล จะมีเพียง มาสด้า 2 รุ่นเดียวเท่านั้นที่มีเครื่องยนต์ดีเซลให้เลือกคบหา ฉะนั้นจึงไม่นำมาเปรียบเทียบด้วย โดยความโดดเด่นของดีเซลจากมาสด้าจะอยู่ที่ แรงบิดในระดับ 250 นิวตันเมตร เหนือกว่าทุกรุ่นของคลาสนี้ แต่ต้องแลกมาด้วยราคาค่าตัวที่กระโดดไปอยู่ระดับ 782,000-799,000 บาท ห่างจากค่าเฉลี่ยของรถอีโคคาร์ที่อยู่ระหว่าง 500,000-600,000 บาท
ส่วนระบบส่งกำลัง ทุกรุ่นนั้นจะคบหากับเกียร์อัตโนมัติแบบ ซีวีที (แต่จะแตกต่างในแง่ของเทคโนโลยีและคุณภาพของวัสดุ) ยกเว้น มาสด้าที่ใช้ระบบเกียร์แบบทอร์ค คอนเวิร์ตเทอร์ 6 สปีด และ เอ็มจี 3 ที่ใช้เกียร์อัตโนมัติแบบ 4 สปีด ส่วนทางเลือกแบบเกียร์ธรรมดา จะมีให้เลือกเพียง นิสสัน มาร์ช และ มิตซูบิชิ มิราจ เท่านั้น
ระบบกันสะเทือน
ทุกแบรนด์ทุกรุ่น จะใช้ระบบช่วงล่างที่เป็นแบบเดียวกันคือ ด้านหน้า เป็นแบบ แม็คเฟอร์สันสตรัท พร้อมเหล็กกันโคลง ยกเว้น นิสสัน มาร์ช และ มิตซูบิชิ มิราจรุ่น GLX ไม่มีเหล็กกันโคลง ส่วนด้านหลังแบบ ทอร์ชันบีม โดยมีเพียงมาสด้า 2 ที่ใช้ช่วงล่างด้านหลังแบบกึ่งอิสระ ทอร์ชันบีม
หากมองในภาพรวมของความแตกต่างระบบกันสะเทือนแต่ละยี่ห้อแม้จะใช้ระบบเดียวกัน แต่จะมีเรื่องของคุณภาพของชิ้นส่วนและการออกแบบ รวมถึงน้ำหนักของตัวถังที่เป็นสิ่งสำคัญในการส่งผลต่อการขับขี่ โดยความเห็นของผู้เขียนจะชื่นชอบความรู้สึกของช่วงล่าง ซูซูกิ สวิฟท์ มากที่สุด
ระบบเบรก
ระบบเบรกหน้าเป็นดิสก์ และระบบเบรกหลังเป็นดรัมเบรก ถูกนำมาใช้เช่นเดียวกันในรถทุกแบรนด์ทุกรุ่น ยกเว้นเพียง ซูซูกิ สวิฟท์ รุ่น GLX เท่านั้น ที่เป็น ดิสก์เบรก 4 ล้อ โดยระบบเบรกเอบีเอส(ABS) และระบบกระจายแรงเบรก(EBD) ได้รับการติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในทุกรุ่น ส่วนระบบเสริมแรงเบรก(BA) บางรุ่นมิได้มีการระบุไว้แต่ยังไม่สามารถระบุชัดเจนว่า ไม่มีได้ เนื่องจากทั้งสามระบบเป็นแพคเกจมาตรฐานของผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ใช้งานร่วมกัน
ระบบความปลอดภัย
สำหรับระบบเสริมความปลอดภัย เป็นหัวข้อที่ดูเหมือนจะบอกได้ง่ายแต่ความจริงแล้ว ตัดสินใจค่อนข้างยาก เพราะถ้าเป็นระบบความปลอดภัยมาตรฐานทุกรุ่นจะมีมาให้อย่างครบถ้วน แต่ส่วนที่เสริมเพิ่มเข้ามานั้น แต่ละยี่ห้อเลือกใส่มาให้แตกต่างกัน ขึ้นกับว่าคุณมองว่าระบบใดมีความจำเป็นมากกว่ากัน
ระบบเตือนการชนด้านหน้าตรง จะมีใน มิตซูบิชิ มิราจ และ นิสสัน โน้ต โดยนิสสัน โน้ต จะมีระบบช่วยเบรกฉุกเฉินเพิ่มเข้ามา ขณะที่มิราจ ไม่มี ส่วนมาสด้า 2 มีระบบเตือนจุดอับสายตาทั้งด้านข้างและเตือนขณะถอยหลัง พร้อมกล้องมองรอบคัน (เฉพาะรุ่นท็อป) เช่นเดียวกับ นิสสัน โน้ตที่มีกล้องมองรอบคันด้วยเหมือนกัน
ระบบควบคุมการทรงตัว อาจจะมาในชื่อที่แตกต่างกันแต่ลักษณะการทำงานเหมือนกัน มีเป็นมาตรฐานในทุกรุ่น ยกเว้น นิสสัน มาร์ช
ส่วนถุงลมนิรภัย ทุกรุ่นได้รับการติดตั้งคู่หน้าแบบ SRS แต่ โตโยต้า ยาริส จะมีถุงลมนิรภัยเพิ่มเข้ามามากที่สุดถึง 7 ตำแหน่ง, ซูซูกิ สวิฟท์ (รุ่น GLX) , ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ค(เฉพาะรุ่นRS) และ ฮอนด้า แจ๊ซ (เฉพาะรุ่นRS) มี 6 ตำแหน่ง, ฮอนด้า ซีตี้ แฮทช์แบ็ค (รุ่น S+ และ SV) มี 4 ตำแหน่ง นอกนั้นรุ่นอื่นๆ ทุกแบรนด์จะมี 2 ตำแหน่งคู่หน้าเป็นอุปกรณ์มาตรฐานตามเงื่อนไขของอีโคคาร์
การบริโภคน้ำมัน-ไอเสีย
อัตราการบริโภคน้ำมัน อ้างอิงตามมาตรฐานของอีโคสติกเกอร์ ซึ่งเป็นการกำหนดโดยภาครัฐของไทย โดยรถยนต์ในโครงการอีโคคาร์เฟสสองทุกรุ่นที่ออกจำหน่ายสามารถทำอัตราการบริโภคน้ำมันอ้างอิงได้เท่ากันที่ 23.3 กม./ลิตร ไม่ว่าจะเป็น ฮอนด้า ซีตี้ แฮทช์แบ็ค, ซูซูกิ สวิฟท์, มิตซูบิชิ มิราจ, มาสด้า 2 และโตโยต้า ยาริส รวมถึงการปล่อยไอเสียทำได้เท่าเทียมกันที่ 100 กรัม/กม.
ขณะที่รถที่มีตัวเลขอัตราการบริโภคน้ำมันมากที่สุดคือ เอ็มจี3 และยังเป็นรถที่ปล่อยไอเสียสูงที่สุดในคลาสนี้ด้วยที่ 148 กรัม/กม. ส่วนการขับจริงบนท้องถนนนั้น มีปัจจัยที่แตกต่างกันโดยเฉพาะพฤติกรรมการขับขี่ของเจ้าของรถ ซึ่งรถแต่ละคันจะให้ผลลัพธ์ตัวเลขอัตราการบริโภคน้ำมันแตกต่างจากรายงานของอีโคคาร์อย่างแน่นอน
การดูแลหลังการขาย
ภายใต้เงื่อนไขการรับประกัน ทุกแบรนด์ให้มาตรฐานคือ 3 ปี หรือ 100,000 กม. จะมีเพียง เอ็มจี 3 ที่ให้ 4 ปี หรือ 120,000 กม. และ มิตซูบิชิ มิราจ ที่ให้ระยะเวลาเป็น 5 ปี หรือ 100,000 กม. พร้อมฟรีค่าแรงเช็คระยะ เป็นมาตรฐาน ส่วนรุ่นอื่นๆ อาจจะมีการรับประกันเพิ่มหรือฟรีค่าแรงเช็คระยะตามแคมเปญที่ออกมาในแต่ละช่วงเวลา
ส่วนด้านคุณภาพของการบริการหลังการขาย อันดับ 1 ต้องยกให้กับโตโยต้า ด้วยศูนย์บริการที่มีจำนวนมากที่สุดคลอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ทำให้การดูแลไม่ต้องใช้เวลานาน ทั้งนี้เมื่อพ้นระยะเวลาการรับประกันไปแล้ว โตโยต้า ยังคงได้ชื่อว่าเป็นรถที่ผู้ใช้งานมีความกังวลในด้านการซ่อมและดูแลน้อยที่สุด ด้วยอะไหล่ที่สามารถหาได้ง่าย ทุกอู่สามารถซ่อมได้
ความสดใหม่
ฮอนด้า ซีตี้ แฮทช์แบ็ค นำโด่งด้วยการเปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว กระแสยังคงแรงต่อเนื่อง ส่วนโมเดลเปิดตัวมานานที่สุดอย่าง นิสสัน มาร์ช ยังไม่มีความคืบหน้าว่าจะยุติการทำตลาดหรือจะมีโมเดลใหม่มาแทนเมื่อใด ขณะที่รุ่นอื่นๆ ทั้ง มาสด้า 2 , มิตซูบิชิ มิราจ, ซูซูกิ สวิฟท์ และโตโยต้า ต่างมีการปรับโฉมกระตุ้นความสดใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้วในช่วง 1-2 ปีก่อนหน้านี้ ดังนั้นคงต้องรอนับปีกว่าจะมีการขยับแบบใหญ่ๆ อีกสักครั้ง
ความคุ้มค่า
กล่าวด้วยความสัตย์จริง หากให้ผู้เขียนเลือกเพียงรุ่นเดียวเพื่อตอบโจทย์ของคำว่า “คุ้มค่า” ผู้เขียนไม่สามารถเลือกได้ เพราะความคุ้มค่าต่อราคานั้นแต่ละท่านมีหัวข้อในการให้น้ำหนักที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงลักษณะการใช้งานมีผลต่อการตัดสินใจ เช่น หากคุณเลือกเพื่อให้แม่บ้านไว้จ่ายกับข้าวหรือส่งลูกใกล้ๆ บ้าน “นิสสัน มาร์ช” รุ่นเกียร์ธรรมดา ราคา 420,000 บาท คือคำตอบของความคุ้มค่าอย่างไม่ต้องสงสัย แต่หากคุณต้องใช้รถเดินทางเพื่อไปพบกับลูกค้าทั่วทุกพื้นที่ทั่วประเทศ “โตโยต้า ยาริส” จะกลายเป็นคำตอบทันที
อย่างไรก็ตาม หากมองในภาพรวมจากทุกหัวข้อที่กล่าวมาทั้งหมด เปรียบเทียบกับราคาในตารางจำหน่าย คำตอบจะมีแนวโน้มมาออกที่ “ฮอนด้า ซีตี้ แฮทช์แบ็ค” ซึ่งได้ทั้งอรรถประโยชน์ใช้สอย, พละกำลัง, ความสดใหม่ และ การบริการหลังการขายที่คลอบคลุมทั่วประเทศ
คำตอบสุดท้าย
หากให้ผู้เขียนเลือกตามใจชอบหนึ่งรุ่น ผู้เขียนเลือก “ซูซูกิ สวิฟท์” ด้วยเหตุผลเป็นรถที่ขับแล้วชอบ ตรงจริต และ เหนือสิ่งอื่นใดคือ ผบทบ.(ผู้บังคับบัญชาที่บ้าน) บอกว่า “อยากได้” ซึ่งจะทำให้ปัญหาครอบครัวคลี่คลายได้ในทันทีถ้าตัดสินใจตามวลีนี้