MGC-ASIA ปรับแผนธุรกิจใหม่ พร้อมเดินหน้ากระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ กลายเป็นบริษัท มหาชน ระดมทุนขยายธุรกิจ ตั้งเป้ายอดรายได้ 23,000 ล้านบาท เติบโตราว 10% ทำตลาดครอบคลุมทุกธุรกิจยานยนต์ในไทย เตรียมเปิดลีสซิ่งเพิ่ม
กลุ่มธุรกิจ มาสเตอร์ กรุ๊ป คอร์ปอเรชัน (เอเชีย) หรือ เอ็มจีซี-เอเชีย (MGC-ASIA) แถลงผลประการณ์ประจำปี 2563 พร้อมกับเปิดเผยถึงทิศทางในการทำธุรกิจปี 2564 โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ การขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีความแข็งแรงในการดำเนินกิจการ พร้อมกับการปรับโครงสร้างให้กลายเป็น บริษัท มหาชน ด้วยการระดมทุนกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“การที่เราจะขยายกิจการให้เติบโตอย่างมั่นคง จำเป็นต้องมีแห่งเงินทุนสนับสนุนที่เพียบพร้อม แต่การกู้เงินจำนวนมากจะทำให้สัดส่วนหนี้ต่อทุนสูงขึ้น ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดีในการทำธุรกิจ ดังนั้น เราจึงต้องนำบริษัท เข้ากระจายหุ้น ระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ อันเป็นช่องทางที่ได้ประโยชน์ทั้งความน่าเชื่อถือและเงินทุนในการขยายกิจการ” ดร.สัณหวุฒิ ธรรมชวนวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ มาสเตอร์ กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) กล่าวถึงมูลเหตุในการนำบริษัทฯ เข้าตลาดหลักทรัพย์
สำหรับแผนการต่างๆ นั้น เอ็มจีซี-เอเชีย อยู่ในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยยังไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอนสำหรับการกระจายหุ้นได้ (IPO) เช่นเดียวกับโครงสร้างทางธุรกิจมีการปรับใหม่ให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ปรับโมเดลธุรกิจใหม่เหลือ 5 กลุ่ม
หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ซึ่งสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างทำให้มีการปรับกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจในเครือใหม่ทั้งหมด โดยแบ่งใหม่เป็น 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจค้าปลีกยานยนต์และบริการครบวงจร, กลุ่มธุรกิจนำเข้ายานยนต์, กลุ่มธุรกิจครีเอทีฟโซลูชัน, กลุ่มธุรกิจเรือสำราญ และกลุ่มธุรกิจการเงินและประกันภัย
“ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจในเวลานี้คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากผลกระทบทำให้วงจรของธุรกิจเสียหาย หนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบต้องหยุดจะกระทบต่อรายอื่นๆ ด้วย เช่น อะไหล่บางชิ้นไม่สามารถผลิตได้ ทำให้โรงงานประกอบรถยนต์ไม่สามารถผลิตได้ รถไม่สามารถส่งมอบให้ลูกค้าได้ กลายเป็นผลกระทบลูกโซ่ต่อเนื่อง โดยคาดหวังว่าภายในสิ้นไตรมาสที่สองของปีนี้ถ้าสถานการณ์ดีขึ้น วัคซีนเห็นผล เชื่อว่าทุกอย่างจะทยอยดีขึ้นตามลำดับ ส่วนปัจจัยทางด้านการเมืองไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก เชื่อมั่นว่ารัฐบาลสามารถคุมเกมส์ได้อยู่” ดร.สัณหวุฒิ กล่าว
สำหรับรายได้ของเอ็มจีซี-เอเชียในปี 2563 มีรวมทั้งสิ้น 21,465 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วนรายได้จากการขายรถประมาณ 70% , ศูนย์บริการ 20% และการให้บริการต่างๆ ราว 10% โดยยอดจำหน่ายรถใหม่รวม 10,078 คัน ลดลง 13.5% ขณะที่ตลาดรวมมียอดขายลดลง 31% โดย เอ็มจีซี-เอเชีย สามารถครองสัดส่วนยอดขาย 17% ในตลาดรถพรีเมียมขึ้นไป ส่วนรายละเอียดแผนงานในปีนี้ของแต่ละกลุ่มนั้นมีดังต่อไปนี้
กลุ่มธุรกิจค้าปลีกยานยนต์และบริการครบวงจร
กลุ่มธุรกิจนี้จะจำแนกย่อยไปตามเซกเมนท์ของตลาด ได้แก่ ตลาดลักชัวรี่ ซึ่งจะประกอบไปด้วย โรลส์-รอยส์ มอเตอร์ คาร์ส แบงคอก, แอสตัน มาร์ติน แบงคอก และ มาเซราติ ประเทศไทย โดยตลาดกลุ่มนี้ถือว่าทรงตัวไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เนื่องจากลูกค้านั้นมีความแข็งแรงทางด้านการเงิน ถือว่าเป็นเรื่องปกติของลูกค้าในกลุ่มนี้ที่มักจะไม่ได้รับผลกระทบเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์ต่างๆ
ตลาดพรีเมียม ประกอบไปด้วย มิลเลนเนียม ออโต้ (ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู, มินิ และบีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด) และ ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน ในปีที่ผ่านมาถือว่าทำผลงานได้ดี ส่วนปีนี้มีแผนการขยายโชว์รูมและศูนย์บริการเพิ่มขึ้น ในชื่อ 5/7 คือขยาย 5 พื้นที่ 7 แบรนด์ อยู่รวมกันในลักษณะของ ออโต้เพล็กซ์ รวมทั้งมีการเพิ่มช่องทางจำหน่ายและติดต่อสื่อสานผ่านออนไลน์ให้มากกว่าเดิม
ตลาดพรีเมียมแมส ได้แก่แบรนด์ เปอโยต์ (ภายใต้บริษัท ไลอ้อน ออโตโมบิล จำกัด) และ ตลาดแมส ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฮอนด้าภายใต้ชื่อ ซัมมิท ฮอนด้า ทั้ง 2 กลุ่มนี้ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตโควิด-19 ทั้งการชะลอตัวของลูกค้าและการขาดแคลนรถยนต์ไม่สามารถส่งมอบให้แก่ลูกค้าได้ ทำให้ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
“เรามีการปรับแผนการตลาดใหม่ทันที หลังจากที่ทราบว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มต้นขึ้นราวเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม และรัฐได้ใช้มาตรการแรงในการยับยั้ง ซึ่งถือว่าเราทำได้ดีที่สุดแล้วภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดของห้วงเวลาดังกล่าว รวมถึงการดูแลบุคลากรให้มีความปลอดภัยอีกด้วย” ดร.สัณหวุฒิ กล่าว
ด้านกลุ่มรถใช้แล้ว ที่ประกอบไปด้วยแบรนด์อย่าง บีเอ็มดับเบิลยู พรีเมียม ซีเล็กชั่น, มินิ เน็กซ์, ฮอนด้า เซอร์ทิฟายด์ ยูสคาร์, มาสเตอร์ เซอร์ทิฟายด์ ยูสคาร์ และ ยัวร์ไบค์ (YourBike) ยอดขายในปีที่ผ่านมาถือว่าทรงตัวในระดับที่น่าพึงพอใจ และเชื่อว่ามีศักยภาพเพียงพอที่จะเติบโตได้ในปีนี้
สำหรับรถเช่าและพนักงานขับรถ ที่ทำตลาดภายใต้แบรนด์ มาสเตอร์ คาร์เร้นเทิล และ ซิกท์ ประเทศไทย (SIXT Thailand), และ มาสเตอร์ ไดร์ฟเวอร์ แอนด์ เซอร์วิสเซส (Master Driver and Services) ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบอย่างหนัก มีการลดจำนวนของรถที่ให้บริการลงอย่างต่อเนื่องถึง 50% จากระดับ 1,000 กว่าคัน ปัจจุบันเหลือราว 500 คันเท่านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะของตลาด อันเป็นผลโดยตรงจากการหายไปของกลุ่มนักท่องเที่ยว
ส่วนกลุ่มอาฟเตอร์มาร์เก็ต ภายใต้แบรนด์ เอ็มเอ็มเอส บ๊อช คาร์ เซอร์วิส แอนด์ ไทร์ มีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีให้บริการ 15 สาขา โดยในปีนี้วางแผนขยายเพิ่มอีก 15 สาขาภายในระยะเวลา 3 ปี ส่วนจำนวนเงินลงทุนนั้นไม่สามารถเปิดเผยอย่างเป็นทางการได้
กลุ่มธุรกิจนำเข้ายานยนต์
ปัจจุบันมีเพียง เปอโยต์ แบรนด์เดียว ภายใต้การดูแลของ บริษัท เบลฟอร์ด ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด แต่ในอนาคตจะมีการทำตลาดแบรนด์อื่นเพิ่มเติมอย่างแน่นอน เนื่องจากมีการรวมกลุ่มกันระหว่าง FCA และ PSA ทำให้มีแบรนด์ในเครือมากถึงกว่า 10 แบรนด์ โดยยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าจะนำแบรนด์ใดเข้ามาทำตลาดอีกบ้าง
“เรามีการเจรจากับแบรนด์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องในการนำรถยนต์เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย และเมื่อกลุ่ม Stellantis ที่เป็นการรวมกันระหว่าง FCA และ PSA ได้เกิดขึ้น นับเป็นโอกาสที่ดีในการเพิ่มแบรนด์ที่จะทำตลาดในเมืองไทย แต่จะต้องไม่กระทบหรืออยู่ในเซกเมนท์เดียวกับแบรนด์ที่ทาง เอ็มจีซี ทำตลาดอยู่แล้ว เพื่อเป็นการให้เกรียติ กับคู่ค้าของเรา” ดร.สัณหวุฒิ กล่าว
ทั้งนี้ทางกลุ่มเอ็มจีซี ได้ยอมรับว่ามีการเจรจาติดต่อกับทาง เทสล่า เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์เทสล่าในประเทศไทยด้วย โดยผลตอบรับคือ ทางเทสล่า ยังไม่มีนโยบายในการตั้งตัวแทนจำหน่ายแต่อย่างใด ซึ่งจะเห็นได้จากในแต่ละประเทศที่มีรถเทสล่าจำหน่ายนั้นจะเป็นการเข้าไปทำตลาดโดยตรงของเทสล่าเองทั้งสิ้น
กลุ่มธุรกิจครีเอทีฟโซลูชัน
สำหรับกลุ่มธุรกิจนี้จะประกอบไปด้วย i24, iMX (Innovative Mobility Experience) และ MAT (Master Automotive Training Center) ซึ่งจะเป็นหน่วยธุรกิจที่สนับสนุนการดำเนินกิจการภายในองค์กรของเอ็มจีซี โดยในปีนี้ทางฝ่ายของ MAT ที่ดำเนินการด้านการฝึกอบรมบุคลากรจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากจะมีการเตรียมการเพื่อรองรับเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า
“ยอมรับว่าธุรกิจรถยนต์ในวันนี้ไม่มีทางหลีกเลี่ยงการเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้าได้ เพราะทุกแบรนด์ต่างเร่งพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าของตัวเอง ทางกลุ่มเอ็มจีซีจึงต้องมีการพัฒนาบุคลากรและจุดชาร์จไฟฟ้า เพื่อรองรับรถยนต์ที่ขายในเครือของเราเท่านั้น คงไม่ใช่การทำเพื่อสร้างรายได้จากการเป็นผู้ให้บริการชาร์จไฟ เพราะไม่ใช่แนวทางการทำธุรกิจของเอ็มจีซี” ดร. สัณหวุฒิ กล่าว
นโยบายสำคัญเกี่ยวกับการรองรับเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้านั้นจะมุ่งไปที่การยกระดับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าทั้งหมด ให้มีความรู้และความชำนาญเพียงพอ ซึ่งต้องเตรียมการล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 1-3 ปี พร้อมกับการวางระบบต่างๆ ให้รองรับโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา
ทั้งนี้การเข้ามาครองตลาดของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นอาจจะไม่ใช่เร็ววันนี้ แต่หากภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง เชื่อว่าทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างฉับพลัน เหมือนที่เกิดขึ้นในยุโรปบางประเทศแล้วขณะนี้
กลุ่มธุรกิจเรือสำราญ
ทำตลาดภายใต้ชื่อของ อะซิมุท ยอชท์ ประเทศไทย หรือ บริษัท เอ็มจีซี-มารีน (เอเชีย) จำกัด โดยในปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบบ้างเล็กน้อย เนื่องจากกลุ่มลูกค้าที่เล่นเรือระดับราคาสูงนั้นมีขนาดเล็ก จึงได้รับผลกระทบไม่มากนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประเมินยอดขายในปีนี้คาดว่าจะอยู่ในระดับเท่าๆ กับปีที่แล้ว
กลุ่มธุรกิจการเงินและประกันภัย
เป็นกลุ่มธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้เติบโตอย่างน่าทึ่ง ภายใต้แบรนด์ ฮาวเด้น แมกซี่ อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ โดยปีที่ผ่านมา ฮาวเด้น แมกซี่ มีรายได้จากเบี้ยประกันสูงถึง 2,767 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 14% เป็นรายรับเบื้ยประกันภัยที่ไม่เกี่ยวกับยานยนต์มากถึง 1,854 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
สำหรับในปีนี้มีแผนการเตรียมเปิดธุรกิจเช่าชื้อภายใต้เครือ เอ็มจีซี เพื่อให้บริการด้านสินเชื่อแบบครบวงจรทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อยานยนต์ ซึ่งจะช่วยเกื้อหนุนธุรกิจการขายรถที่เป็นหลักของกลุ่มให้มีความคล่องตัวมากขึ้น โดยจะมีการเปิดตัวบริษัทและธุรกิจใหม่ดังกล่าวในเร็วๆ นี้
อนึ่ง การตั้งเป้ายอดรายได้ของทั้งกลุ่มในปีนี้ ทั้งจากการขยายกิจการและเปิดธุรกิจใหม่ คาดว่าจะมีรายได้ราว 23,000 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตประมาณ 10% รายได้ส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มธุรกิจค้าปลีกยานยนต์เป็นหลักเหมือนเช่นปีที่แล้ว
กลุ่มธุรกิจ มาสเตอร์ กรุ๊ป คอร์ปอเรชัน (เอเชีย) หรือ เอ็มจีซี-เอเชีย (MGC-ASIA) แถลงผลประการณ์ประจำปี 2563 พร้อมกับเปิดเผยถึงทิศทางในการทำธุรกิจปี 2564 โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ การขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีความแข็งแรงในการดำเนินกิจการ พร้อมกับการปรับโครงสร้างให้กลายเป็น บริษัท มหาชน ด้วยการระดมทุนกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
“การที่เราจะขยายกิจการให้เติบโตอย่างมั่นคง จำเป็นต้องมีแห่งเงินทุนสนับสนุนที่เพียบพร้อม แต่การกู้เงินจำนวนมากจะทำให้สัดส่วนหนี้ต่อทุนสูงขึ้น ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดีในการทำธุรกิจ ดังนั้น เราจึงต้องนำบริษัท เข้ากระจายหุ้น ระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ อันเป็นช่องทางที่ได้ประโยชน์ทั้งความน่าเชื่อถือและเงินทุนในการขยายกิจการ” ดร.สัณหวุฒิ ธรรมชวนวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ มาสเตอร์ กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) กล่าวถึงมูลเหตุในการนำบริษัทฯ เข้าตลาดหลักทรัพย์
สำหรับแผนการต่างๆ นั้น เอ็มจีซี-เอเชีย อยู่ในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยยังไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอนสำหรับการกระจายหุ้นได้ (IPO) เช่นเดียวกับโครงสร้างทางธุรกิจมีการปรับใหม่ให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ปรับโมเดลธุรกิจใหม่เหลือ 5 กลุ่ม
หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ซึ่งสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างทำให้มีการปรับกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจในเครือใหม่ทั้งหมด โดยแบ่งใหม่เป็น 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจค้าปลีกยานยนต์และบริการครบวงจร, กลุ่มธุรกิจนำเข้ายานยนต์, กลุ่มธุรกิจครีเอทีฟโซลูชัน, กลุ่มธุรกิจเรือสำราญ และกลุ่มธุรกิจการเงินและประกันภัย
“ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจในเวลานี้คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากผลกระทบทำให้วงจรของธุรกิจเสียหาย หนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบต้องหยุดจะกระทบต่อรายอื่นๆ ด้วย เช่น อะไหล่บางชิ้นไม่สามารถผลิตได้ ทำให้โรงงานประกอบรถยนต์ไม่สามารถผลิตได้ รถไม่สามารถส่งมอบให้ลูกค้าได้ กลายเป็นผลกระทบลูกโซ่ต่อเนื่อง โดยคาดหวังว่าภายในสิ้นไตรมาสที่สองของปีนี้ถ้าสถานการณ์ดีขึ้น วัคซีนเห็นผล เชื่อว่าทุกอย่างจะทยอยดีขึ้นตามลำดับ ส่วนปัจจัยทางด้านการเมืองไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก เชื่อมั่นว่ารัฐบาลสามารถคุมเกมส์ได้อยู่” ดร.สัณหวุฒิ กล่าว
สำหรับรายได้ของเอ็มจีซี-เอเชียในปี 2563 มีรวมทั้งสิ้น 21,465 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วนรายได้จากการขายรถประมาณ 70% , ศูนย์บริการ 20% และการให้บริการต่างๆ ราว 10% โดยยอดจำหน่ายรถใหม่รวม 10,078 คัน ลดลง 13.5% ขณะที่ตลาดรวมมียอดขายลดลง 31% โดย เอ็มจีซี-เอเชีย สามารถครองสัดส่วนยอดขาย 17% ในตลาดรถพรีเมียมขึ้นไป ส่วนรายละเอียดแผนงานในปีนี้ของแต่ละกลุ่มนั้นมีดังต่อไปนี้
กลุ่มธุรกิจค้าปลีกยานยนต์และบริการครบวงจร
กลุ่มธุรกิจนี้จะจำแนกย่อยไปตามเซกเมนท์ของตลาด ได้แก่ ตลาดลักชัวรี่ ซึ่งจะประกอบไปด้วย โรลส์-รอยส์ มอเตอร์ คาร์ส แบงคอก, แอสตัน มาร์ติน แบงคอก และ มาเซราติ ประเทศไทย โดยตลาดกลุ่มนี้ถือว่าทรงตัวไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เนื่องจากลูกค้านั้นมีความแข็งแรงทางด้านการเงิน ถือว่าเป็นเรื่องปกติของลูกค้าในกลุ่มนี้ที่มักจะไม่ได้รับผลกระทบเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์ต่างๆ
ตลาดพรีเมียม ประกอบไปด้วย มิลเลนเนียม ออโต้ (ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู, มินิ และบีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด) และ ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน ในปีที่ผ่านมาถือว่าทำผลงานได้ดี ส่วนปีนี้มีแผนการขยายโชว์รูมและศูนย์บริการเพิ่มขึ้น ในชื่อ 5/7 คือขยาย 5 พื้นที่ 7 แบรนด์ อยู่รวมกันในลักษณะของ ออโต้เพล็กซ์ รวมทั้งมีการเพิ่มช่องทางจำหน่ายและติดต่อสื่อสานผ่านออนไลน์ให้มากกว่าเดิม
ตลาดพรีเมียมแมส ได้แก่แบรนด์ เปอโยต์ (ภายใต้บริษัท ไลอ้อน ออโตโมบิล จำกัด) และ ตลาดแมส ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฮอนด้าภายใต้ชื่อ ซัมมิท ฮอนด้า ทั้ง 2 กลุ่มนี้ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตโควิด-19 ทั้งการชะลอตัวของลูกค้าและการขาดแคลนรถยนต์ไม่สามารถส่งมอบให้แก่ลูกค้าได้ ทำให้ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
“เรามีการปรับแผนการตลาดใหม่ทันที หลังจากที่ทราบว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มต้นขึ้นราวเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม และรัฐได้ใช้มาตรการแรงในการยับยั้ง ซึ่งถือว่าเราทำได้ดีที่สุดแล้วภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดของห้วงเวลาดังกล่าว รวมถึงการดูแลบุคลากรให้มีความปลอดภัยอีกด้วย” ดร.สัณหวุฒิ กล่าว
ด้านกลุ่มรถใช้แล้ว ที่ประกอบไปด้วยแบรนด์อย่าง บีเอ็มดับเบิลยู พรีเมียม ซีเล็กชั่น, มินิ เน็กซ์, ฮอนด้า เซอร์ทิฟายด์ ยูสคาร์, มาสเตอร์ เซอร์ทิฟายด์ ยูสคาร์ และ ยัวร์ไบค์ (YourBike) ยอดขายในปีที่ผ่านมาถือว่าทรงตัวในระดับที่น่าพึงพอใจ และเชื่อว่ามีศักยภาพเพียงพอที่จะเติบโตได้ในปีนี้
สำหรับรถเช่าและพนักงานขับรถ ที่ทำตลาดภายใต้แบรนด์ มาสเตอร์ คาร์เร้นเทิล และ ซิกท์ ประเทศไทย (SIXT Thailand), และ มาสเตอร์ ไดร์ฟเวอร์ แอนด์ เซอร์วิสเซส (Master Driver and Services) ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบอย่างหนัก มีการลดจำนวนของรถที่ให้บริการลงอย่างต่อเนื่องถึง 50% จากระดับ 1,000 กว่าคัน ปัจจุบันเหลือราว 500 คันเท่านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะของตลาด อันเป็นผลโดยตรงจากการหายไปของกลุ่มนักท่องเที่ยว
ส่วนกลุ่มอาฟเตอร์มาร์เก็ต ภายใต้แบรนด์ เอ็มเอ็มเอส บ๊อช คาร์ เซอร์วิส แอนด์ ไทร์ มีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีให้บริการ 15 สาขา โดยในปีนี้วางแผนขยายเพิ่มอีก 15 สาขาภายในระยะเวลา 3 ปี ส่วนจำนวนเงินลงทุนนั้นไม่สามารถเปิดเผยอย่างเป็นทางการได้
กลุ่มธุรกิจนำเข้ายานยนต์
ปัจจุบันมีเพียง เปอโยต์ แบรนด์เดียว ภายใต้การดูแลของ บริษัท เบลฟอร์ด ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด แต่ในอนาคตจะมีการทำตลาดแบรนด์อื่นเพิ่มเติมอย่างแน่นอน เนื่องจากมีการรวมกลุ่มกันระหว่าง FCA และ PSA ทำให้มีแบรนด์ในเครือมากถึงกว่า 10 แบรนด์ โดยยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าจะนำแบรนด์ใดเข้ามาทำตลาดอีกบ้าง
“เรามีการเจรจากับแบรนด์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องในการนำรถยนต์เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย และเมื่อกลุ่ม Stellantis ที่เป็นการรวมกันระหว่าง FCA และ PSA ได้เกิดขึ้น นับเป็นโอกาสที่ดีในการเพิ่มแบรนด์ที่จะทำตลาดในเมืองไทย แต่จะต้องไม่กระทบหรืออยู่ในเซกเมนท์เดียวกับแบรนด์ที่ทาง เอ็มจีซี ทำตลาดอยู่แล้ว เพื่อเป็นการให้เกรียติ กับคู่ค้าของเรา” ดร.สัณหวุฒิ กล่าว
ทั้งนี้ทางกลุ่มเอ็มจีซี ได้ยอมรับว่ามีการเจรจาติดต่อกับทาง เทสล่า เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์เทสล่าในประเทศไทยด้วย โดยผลตอบรับคือ ทางเทสล่า ยังไม่มีนโยบายในการตั้งตัวแทนจำหน่ายแต่อย่างใด ซึ่งจะเห็นได้จากในแต่ละประเทศที่มีรถเทสล่าจำหน่ายนั้นจะเป็นการเข้าไปทำตลาดโดยตรงของเทสล่าเองทั้งสิ้น
กลุ่มธุรกิจครีเอทีฟโซลูชัน
สำหรับกลุ่มธุรกิจนี้จะประกอบไปด้วย i24, iMX (Innovative Mobility Experience) และ MAT (Master Automotive Training Center) ซึ่งจะเป็นหน่วยธุรกิจที่สนับสนุนการดำเนินกิจการภายในองค์กรของเอ็มจีซี โดยในปีนี้ทางฝ่ายของ MAT ที่ดำเนินการด้านการฝึกอบรมบุคลากรจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากจะมีการเตรียมการเพื่อรองรับเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า
“ยอมรับว่าธุรกิจรถยนต์ในวันนี้ไม่มีทางหลีกเลี่ยงการเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้าได้ เพราะทุกแบรนด์ต่างเร่งพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าของตัวเอง ทางกลุ่มเอ็มจีซีจึงต้องมีการพัฒนาบุคลากรและจุดชาร์จไฟฟ้า เพื่อรองรับรถยนต์ที่ขายในเครือของเราเท่านั้น คงไม่ใช่การทำเพื่อสร้างรายได้จากการเป็นผู้ให้บริการชาร์จไฟ เพราะไม่ใช่แนวทางการทำธุรกิจของเอ็มจีซี” ดร. สัณหวุฒิ กล่าว
นโยบายสำคัญเกี่ยวกับการรองรับเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้านั้นจะมุ่งไปที่การยกระดับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าทั้งหมด ให้มีความรู้และความชำนาญเพียงพอ ซึ่งต้องเตรียมการล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 1-3 ปี พร้อมกับการวางระบบต่างๆ ให้รองรับโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา
ทั้งนี้การเข้ามาครองตลาดของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นอาจจะไม่ใช่เร็ววันนี้ แต่หากภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง เชื่อว่าทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างฉับพลัน เหมือนที่เกิดขึ้นในยุโรปบางประเทศแล้วขณะนี้
กลุ่มธุรกิจเรือสำราญ
ทำตลาดภายใต้ชื่อของ อะซิมุท ยอชท์ ประเทศไทย หรือ บริษัท เอ็มจีซี-มารีน (เอเชีย) จำกัด โดยในปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบบ้างเล็กน้อย เนื่องจากกลุ่มลูกค้าที่เล่นเรือระดับราคาสูงนั้นมีขนาดเล็ก จึงได้รับผลกระทบไม่มากนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประเมินยอดขายในปีนี้คาดว่าจะอยู่ในระดับเท่าๆ กับปีที่แล้ว
กลุ่มธุรกิจการเงินและประกันภัย
เป็นกลุ่มธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้เติบโตอย่างน่าทึ่ง ภายใต้แบรนด์ ฮาวเด้น แมกซี่ อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ โดยปีที่ผ่านมา ฮาวเด้น แมกซี่ มีรายได้จากเบี้ยประกันสูงถึง 2,767 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 14% เป็นรายรับเบื้ยประกันภัยที่ไม่เกี่ยวกับยานยนต์มากถึง 1,854 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
สำหรับในปีนี้มีแผนการเตรียมเปิดธุรกิจเช่าชื้อภายใต้เครือ เอ็มจีซี เพื่อให้บริการด้านสินเชื่อแบบครบวงจรทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อยานยนต์ ซึ่งจะช่วยเกื้อหนุนธุรกิจการขายรถที่เป็นหลักของกลุ่มให้มีความคล่องตัวมากขึ้น โดยจะมีการเปิดตัวบริษัทและธุรกิจใหม่ดังกล่าวในเร็วๆ นี้
อนึ่ง การตั้งเป้ายอดรายได้ของทั้งกลุ่มในปีนี้ ทั้งจากการขยายกิจการและเปิดธุรกิจใหม่ คาดว่าจะมีรายได้ราว 23,000 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตประมาณ 10% รายได้ส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มธุรกิจค้าปลีกยานยนต์เป็นหลักเหมือนเช่นปีที่แล้ว