LCi คืออักษรย่อเรียกต่อท้ายชื่อรุ่นของรถเฉพาะในเครือบีเอ็มดับเบิลยู สำหรับรถที่เป็นการ ไมเนอร์เชนจ์ ซึ่ง ซีรี่ส์5 คือ โมเดลล่าสุดที่มีการเปิดตัวโฉม LCi นี้ออกมาอย่างเป็นทางการในประเทศไทย โดยมีรุ่นย่อยจำหน่าย 3 รุ่นย่อย 2 ทางเลือกเครื่องยนต์คือ ดีเซลและปลั๊กอินไฮบริด

หลังการเปิดตัวไม่นานทางบีเอ็มดับเบิลยูประเทศไทย ได้จัดงานทดลองขับแบบสั้นๆ ของซีรี่ส์ 5 ทั้งสองเครื่องยนต์ ดังนั้นเราจึงนำทั้งสองรุ่นเครื่องยนต์มาเปรียบเทียบกัน เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจของคุณ โดยขอบอกไว้ตรงนี้ว่า แม้จะเป็นรถรุ่นเดียวกันแต่ขับแล้วรับรู้ได้ถึงความแตกต่างอย่างแน่นอน

กรวยไตใหญ่ขึ้น ไฮเทคมาเต็ม
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงใน ซีรี่ส์ 5 LCi กันสักหน่อย เพราะถือว่าเปลี่ยนค่อนข้างเยอะมาก โดยเฉพาะในส่วนที่มองไม่เห็น เริ่มกันกับจุดที่เห็นได้ชัดก่อน กระจังหน้าทรงไตคู่มีขนาดใหญ่ขึ้น 20% ในรูปทรงแปดเหลี่ยมแบบใหม่ ยาวลงมาบรรจบกับกันชนหน้า ล้อมรอบด้วยกรอบเชื่อมต่อกันเป็นชิ้นเดียว ส่วนบนของซี่ในกระจังหน้ายื่นออกมาเล็กน้อยชอบหรือไม่ แล้วแต่จริตของแต่ละท่าน
ไฟหน้า Adaptive LED รูปตัว L ดีไซน์เรียวยาว พร้อมช่องดักอากาศแนวตั้งทั้งสองข้างบนกันชนหน้า ที่มาคู่กับเส้นสายดีไซน์แบบใหม่ ไฟท้าย LED มาในรูปแบบสามมิติทรงตัว L รับกับไฟหน้า และฝังท่อไอเสียทรงสี่เหลี่ยมในกันชนท้าย ด้านข้างซ้ายของรุ่น 530e M Sport จะมีช่องเสียบสำหรับชาร์จไฟ ที่กลายเป็นจุดสังเกตความแตกต่างได้ง่ายที่สุดระหว่างทั้งสองรุ่นย่อย

มิติตัวรถที่ยาวกว่ารุ่นก่อนหน้า 27 มิลลิเมตร ทำให้บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 5 ใหม่มีความยาว 4,963 มิลลิเมตร แต่ค่าสัมประสิทธิ์แรงต้าน (Cd) ต่ำเพียง 0.23 พร้อมชุดแต่ง M Aerodynamics และล้ออัลลอย M น้ำหนักเบาลาย Double-spoke ขนาด 18 นิ้ว สำหรับรุ่น 520d M Sport และล้ออัลลอย M น้ำหนักเบาลาย Y-spoke แบบสลับสี ขนาด 19 นิ้ว สำหรับรุ่น 530e M Sport อีกหนึ่งจุดแตกต่างระหว่างรุ่นที่สังเกตได้ง่าย
สำหรับหัวใจ ของ บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 5 มาพร้อมเทคโนโลยี BMW TwinPower Turbo โดยเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบใน บีเอ็มดับเบิลยู 520d M Sport กำลังสูงสุด 190 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 400 นิวตันเมตร อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ภายใน 7.5 วินาที ความเร็วสูงสุด 235 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ดูตารางประกอบ)

ขณะที่ บีเอ็มดับเบิลยู 530e M Sport ปลั๊กอินไฮบริด มากับเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ กำลังสูงสุด 184 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 300 นิวตันเมตร เมื่อทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้า มีกำลังรวมสูงสุด 292 แรงม้า และแรงบิดรวมสูงสุด 420 นิวตันเมตร
เหนือกว่าด้วยระบบ XtraBoost ใน 530e ที่จะมีพละกำลังเสริม 40 แรงม้า ภายในเวลาเพียง 10 วินาทีเมื่อขับขี่ในโหมด SPORT ทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ภายใน 5.9 วินาที ความเร็วสูงสุด 235 กม./ชม. และสามารถขับขี่โหมดไฟฟ้าล้วน ไร้มลพิษได้เป็นระยะทางสูงสุด 52 กิโลเมตรตามมาตรฐาน NEDC แบตเตอรี่มีความจุ 12.0 kWh ติดตั้งอยู่ใต้เบาะหลัง ไม่เสียพื้นที่ในการบรรจุสัมภาระท้ายรถ
นอกจากนี้ บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 5 ใหม่ในระบบขับเคลื่อนปลั๊กอินไฮบริดทั้งสองรุ่น ยังมีระดับการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยต่ำเพียง 41 กรัมต่อกิโลเมตรตามการอ้างอิงผล ECO Sticker ซึ่งนับว่าต่ำที่สุดในกลุ่มรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดขนาดใหญ่ในประเทศไทย

ระบบช่วงล่างความแตกต่างที่ชัดเจน
บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 5 ยังคงมีฐานล้อที่ยาวและกว้างเหมือนเดิม การออกแบบเน้นน้ำหนักเบาพร้อมการกระจายน้ำหนักแบบ 50:50 ช่วงล่างมาพร้อมเพลาหน้าแบบปีกนกคู่และเพลาหลังแบบ five-link ทั้งสองรุ่น แต่สิ่งที่แตกต่างคือ การเลือกใช้ระบบช่วงล่าง แบบ Adaptive ในรุ่น 530e และช่วงล่างแบบ M Sport ในรุ่น 520d ซึ่งจะกล่าวต่อไปในช่วงการขับ
นอกจากนี้เฉพาะรุ่น 530e M Sport ได้รับการติดตั้งระบบ เลี้ยว 4 ล้อ (Integral Active Steering) ที่มีมุมบิดเปิดกว้างกว่ารุ่นก่อนหน้า โดยล้อหลังจะเลี้ยวเมื่อเข้าโค้งด้วยความเร็วมากกว่า 3 กม./ชม. ช่วยเสริมความคล่องตัวขณะเข้าจอด
อีกหนึ่งความแตกต่างคือ เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่(Driving Assistant) ที่ได้รับการอัพเกรดใหม่ ปูทางสู่การขับขี่อัตโนมัติ โดย ในรุ่น 530e M Sport จะเป็นระบบควบคุุมความเร็วอัตโนมัติ พร้อมฟังก์ชั่น Stop & Go (Active cruise control with Stop & Go function) ส่วน ในรุ่น 520d M Sport ระบบควบคุุมความเร็วคงที่่ พร้อมฟังก์ชันช่วยลดความเร็ว (Cruise Control with braking function) คืออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ รุ่นปลั๊กอินไฮบริดจะหยุดและออกตัวได้เอง แต่รุ่นดีเซลจะช่วยชะลอจนเกือบหยุดสนิท

อีกหนึ่งระบบที่มีเฉพาะรุ่น 530e M Sport ได้แก่ กล้องแสดงภาพรอบทิศทาง (Surround View Camera) และระบบช่วยนำรถเข้าที่่จอดอัตโนมัติ รุ่น Plus (Parking Assistant Plus) ซึ่งจะถอยหลังจอดได้ทั้งเข้าซองและแบบจอดขนานริมถนน
ส่วนระบบความปลอดภัยมาตรฐานมีครบในทั้งสองรุ่น เช่น เซนเซอร์ควบคุุมระบบความปลอดภัยเมื่อเกิดการชน (Crash Sensor) ระบบป้องกันการกระแทกจากด้านข้าง (Side Impact Protection) ระบบ Active Protection และเซนเซอร์ควบคุมระยะการจอดด้านหน้าและหลัง (Park Distance Control) รวมถึงระบบช่วยเตือนอาการเหนื่อยล้าขณะขับขี่่ (Attentiveness Assistant) เป็นต้น
การตกแต่งภายในห้องโดยสาร เหมือนกันทุกสิ่งระหว่าง 2 รุ่นที่มีอักษรต่อท้ายว่า M Sport คือ โดยมีจุดเด่นพวงมาลัยเป็นแบบมัลติฟังก์ชั่น M Sport หุ้มหนัง, คอนโซลด้านบนบุด้วยหนัง Sensatec เบาะหนังแท้ Dakota พร้อมตกแต่งด้วยอลูมิเนียมลาย Rhombicle Smoke Grey และแถบโครเมี่่ยม ซึ่งถ้าเป็นรุ่น 530e Elite นั้นจะไม่มีรายการที่กล่าวมาทั้งหมด ส่วนซันรูฟนั้นจะมีเฉพาะรุ่น 530e M Sport เท่านั้น

อีกหนึ่งฟังก์ชันที่มีเฉพาะรุ่นที่ใช้คำว่า M Sport ต่อท้ายคือ จอ BMW Head-up Display และระบบ BMW Live Cockpit Professional ที่แสดงผลบนจอ Control Display ขนาด 12.3 นิ้ว สั่งการบนระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุด BMW Operating System 7 ที่ใช้งานง่ายขึ้น และระบบปลดล็อกประตููอัจฉริยะ (Comfort Access System) ที่รองรับ BMW Digital Key ซึ่งเปลี่ยนให้ iPhone กลายเป็นเหมือนกุญแจรถ สามารถล็อกและปลดล็อกรถได้โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระยะสั้นแบบ NFC (Near Field Communication) โดยรองรับผู้ใช้ได้สูงสุดถึง 5 คน





3 จุดลองระบบใหม่
กติกาการขับในคราวนี้ ทีมงานจัดให้แบบหนำใจด้วย 3 สถานีจำลองสถานการณ์ โดยให้เราขับรุ่นละ 1 ชั่วโมง โดยมี 520d M Sport และ 530e M Sport มาให้ลอง ส่วนรุ่น 530e Elite นั้นไม่มีในคราวนี้ และสามารถขับออกไปบนถนนจริงได้ตามความต้องการภายในเวลาที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งถือว่าดีมาก เพราะเราจะสามารถเปรียบเทียบรถทั้งสองรุ่นเพื่อหาความแตกต่างได้อย่างชัดเจนที่สุด
เรียกน้ำย่อยการทดลองขับกันด้วยสถานีทดลองเตือนการออกนอกเลน ที่จำลองเส้นถนน ซึ่งบอกกันตรงๆว่า สิ่งที่ทีมงานจำลองมาให้นั้น ระบบตรวจจับไม่เจอ ไม่มีการทำงานใดๆ ทั้งสิ้น ในทั้ง 2 รุ่น 2 รอบที่เราได้ลองขับ จนกระทั่งเราขับออกไปลองในถนนจริง พบว่ามีการเตือนตลอดทุกครั้ง และมีแรงดึงพวงมาลัยให้เข้ามาอยู่กลางเลนอย่างแรง ด้วยเหตุผลที่ทีมงานตั้งค่าการดึงไว้แรงที่สุด ถ้าหากไม่ชอบสามารถปรับให้เบาหรือปิดระบบการทำงานได้

ถัดมาเป็นการลองขับแบบสลาลม ที่ไม่เน้นความรวดเร็วแต่จะเน้นเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการมีระบบเลี้ยว 4 ล้อ กับรถที่ไม่มีระบบเลี้ยว 4 ล้อช่วย ซึ่ง 530e M Sport ที่มีระบบนี้ช่วย เห็นได้ชัดว่าเลี้ยวง่ายขึ้น หักน้อยกว่า ให้ความรู้สึกที่คล่องตัวกว่า แต่เมื่อขับออกไปทางด้านนอก สารภาพตามตรงว่า ไม่สามารถจับความแตกต่างของการมีหรือไม่มีเจ้าระบบนี้ได้ เพราะระบบจะเห็นผลที่ชัดเจนเมื่อต้องเลี้ยวมุมแคบหรือเลี้ยวบ่อยๆ เช่นการเข้าตรอกซอกซอยเป็นต้น
อีกหนึ่งจุดที่ให้ลองคือ จำลองการหักหลบแบบฉุกเฉิน เป็นอีกหนึ่งสถานีที่ทั้ง 2 รุ่นทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจ โดยเราขับที่ความเร็วราว 60 กม./ชม. ตามคำแนะนำของทีมงาน แล้วหักหลบซ้ายและขวา ตัวรถยังควบคุมได้ดั่งใจ ไม่มีอาการหลุดหรือรู้สึกว่าจะควบคุมไม่ได้แต่อย่างใด ส่วนความแตกต่างนั้นทำได้ดีแบบเท่าเทียมกันทั้งคู่ เรียกว่าถ้าให้คะแนนคือ ผลเสมอ

เสร็จสิ้นการขับจำลองในสนามเรียบร้อย ถึงเวลาของการขับบนถนนจริง ขอรวบรัดตัดความเทียบความแตกต่างกันแบบตรงๆ ภาพรวมการขับขี่อัตราเร่งของรุ่น ปลั๊กอินไฮบริดนั้น ดีกว่าไม่มากเท่ากับตัวเลขที่แสดงไว้ ถ้าเทียบให้รู้สึกได้คือไม่เกิน 20% การขับสนุกใกล้เคียงกัน
การทรงตัวคือความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุด อันเป็นผลมาจากการเลือกใช้ระบบช่วงล่างคนละแบบ แต่บอกไว้ก่อนกว่า หากขับต่ำกว่า 120 กม./ชม. บนถนนปกติคุณไม่สามารถสัมผัสถึงความแตกต่างได้เลย ทรงตัวได้ยอดเยี่ยมตามโลโก้หน้ารถใบพัดฟ้าขาว แต่เมื่อคุณเจอกับคอสะพานหรือขับด้วยความเร็วสูงเป็นพิเศษ ความแตกต่างจะชัดเจนทันที

บุคลิกของ 520d จะค่อนข้างมาทางนุ่มหนึบ เอาใจผู้ใหญ่ เน้นความสบายมากกว่า ส่วน 530e เมื่อขับความเร็วสูงจะทรงตัวดีกว่า และแน่นอนว่าจะรับรู้การสั่นสะเทือนจากผิวถนนได้มากกว่าเช่นเดียวกัน รวมถืงเมื่อเจอกับคอสะพาน ระยะการยืดโยนตัวของรถมีมากกว่า
เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เพราะระบบช่วงล่างแบบ Adaptive ใน 530e M Sport สามารถปรับระยะยืดหดตัวได้ตามลักษณะของการขับขี่ที่ผู้ขับต้องการนั่นเอง คือถ้าอยากได้ความรู้สึกที่เป็นบิมเมอร์แท้ๆ ตัว530e ตอบโจทย์ตรงใจ ส่วนอยากได้ช่วงล่างแบบนุ่มหนึบสบายๆ ไปคบหา 520d

ด้านของเสียงรบกวนแน่นอนว่า รุ่นปลั๊กอินไฮบริดนั้นจะเงียบกว่าอย่างไม่ต้องสงสัย รวมถึงสามารถวิ่งด้วยโหมดไฟฟ้าล้วนไม่ต้องใช้น้ำมันเลยสักหยดได้ระยะทางถึง 52 กม. หมายความว่า หากคุณใช้รถยนต์เดินทางเฉลี่ยวันละไม่ถึง 40 กม. ขอแนะนำให้ใช้รถเหมือนใช้มือถือ คือกลับมาถึงบ้านให้ชาร์จ แล้วตอนเช้าขับไปใช้ รับประกันได้ว่าคุณจะลืมการเติมน้ำมันไปชนิดที่เรียกว่า เป็นไปได้อย่างไร
ทั้งนี้เมื่อมองมาที่ค่าตัว เปรียบเทียบระหว่างรุ่น 520d M Sport กับ 530e M Sport มีส่วนต่างราคาที่ปลั๊กอินไฮบริดแพงกว่า 200,000 บาท โดยมีสิ่งที่ได้เพิ่มเติมเข้ามานอกจากอัตราการบริโภคน้ำมันที่น้อยแล้ว ได้แก่ ล้อ19 นิ้ว, ช่วงล่าง Adaptive, ระบบเลี้ยว 4 ล้อ, คาร์ลิปเปอร์ เบรก M Sport, หลังคาซันรูฟ, แอร์ 4 โซน , กล้องรอบทิศทาง, ระบบนำรถเข้าจอดอัตโนมัติแบบพลัส และ Adaptive Cruise Control stop&go ไม่ต้องถามเลยว่า ถ้าคิดจะใส่ออพชันเหล่านี้เพิ่ม 200,000 บาท คงไม่พออย่างแน่นอน

เหมาะกับใคร
เปรียบให้เห็นภาพแบบง่าย 520d M Sport เปรียบเหมือนหนุ่มใหญ่หุ่นหมีดูอบอุ่น ชอบความสบาย อึดทนรองรับอารมณ์แบบสุขุมนุ่มลึก ส่วน 530e M Sport เปรียบดั่งหนุ่มใหญ่หุ่นฟิตเฟิร์ม ครบเครื่อง เกี้ยวกราดในบางเวลา ต้องดูแลแบบใส่ใจพิเศษ สุดท้ายอยู่ที่ว่าแบบไหนตรงกับสเปคที่คุณวางไว้ในใจ และ 530e Elite แม้ไม่ได้ขับ แต่ราคานั้นถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนงบไม่ถึง 3 ล้านบาท









หลังการเปิดตัวไม่นานทางบีเอ็มดับเบิลยูประเทศไทย ได้จัดงานทดลองขับแบบสั้นๆ ของซีรี่ส์ 5 ทั้งสองเครื่องยนต์ ดังนั้นเราจึงนำทั้งสองรุ่นเครื่องยนต์มาเปรียบเทียบกัน เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจของคุณ โดยขอบอกไว้ตรงนี้ว่า แม้จะเป็นรถรุ่นเดียวกันแต่ขับแล้วรับรู้ได้ถึงความแตกต่างอย่างแน่นอน
กรวยไตใหญ่ขึ้น ไฮเทคมาเต็ม
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงใน ซีรี่ส์ 5 LCi กันสักหน่อย เพราะถือว่าเปลี่ยนค่อนข้างเยอะมาก โดยเฉพาะในส่วนที่มองไม่เห็น เริ่มกันกับจุดที่เห็นได้ชัดก่อน กระจังหน้าทรงไตคู่มีขนาดใหญ่ขึ้น 20% ในรูปทรงแปดเหลี่ยมแบบใหม่ ยาวลงมาบรรจบกับกันชนหน้า ล้อมรอบด้วยกรอบเชื่อมต่อกันเป็นชิ้นเดียว ส่วนบนของซี่ในกระจังหน้ายื่นออกมาเล็กน้อยชอบหรือไม่ แล้วแต่จริตของแต่ละท่าน
ไฟหน้า Adaptive LED รูปตัว L ดีไซน์เรียวยาว พร้อมช่องดักอากาศแนวตั้งทั้งสองข้างบนกันชนหน้า ที่มาคู่กับเส้นสายดีไซน์แบบใหม่ ไฟท้าย LED มาในรูปแบบสามมิติทรงตัว L รับกับไฟหน้า และฝังท่อไอเสียทรงสี่เหลี่ยมในกันชนท้าย ด้านข้างซ้ายของรุ่น 530e M Sport จะมีช่องเสียบสำหรับชาร์จไฟ ที่กลายเป็นจุดสังเกตความแตกต่างได้ง่ายที่สุดระหว่างทั้งสองรุ่นย่อย
มิติตัวรถที่ยาวกว่ารุ่นก่อนหน้า 27 มิลลิเมตร ทำให้บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 5 ใหม่มีความยาว 4,963 มิลลิเมตร แต่ค่าสัมประสิทธิ์แรงต้าน (Cd) ต่ำเพียง 0.23 พร้อมชุดแต่ง M Aerodynamics และล้ออัลลอย M น้ำหนักเบาลาย Double-spoke ขนาด 18 นิ้ว สำหรับรุ่น 520d M Sport และล้ออัลลอย M น้ำหนักเบาลาย Y-spoke แบบสลับสี ขนาด 19 นิ้ว สำหรับรุ่น 530e M Sport อีกหนึ่งจุดแตกต่างระหว่างรุ่นที่สังเกตได้ง่าย
สำหรับหัวใจ ของ บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 5 มาพร้อมเทคโนโลยี BMW TwinPower Turbo โดยเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบใน บีเอ็มดับเบิลยู 520d M Sport กำลังสูงสุด 190 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 400 นิวตันเมตร อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ภายใน 7.5 วินาที ความเร็วสูงสุด 235 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ดูตารางประกอบ)
ขณะที่ บีเอ็มดับเบิลยู 530e M Sport ปลั๊กอินไฮบริด มากับเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ กำลังสูงสุด 184 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 300 นิวตันเมตร เมื่อทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้า มีกำลังรวมสูงสุด 292 แรงม้า และแรงบิดรวมสูงสุด 420 นิวตันเมตร
เหนือกว่าด้วยระบบ XtraBoost ใน 530e ที่จะมีพละกำลังเสริม 40 แรงม้า ภายในเวลาเพียง 10 วินาทีเมื่อขับขี่ในโหมด SPORT ทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ภายใน 5.9 วินาที ความเร็วสูงสุด 235 กม./ชม. และสามารถขับขี่โหมดไฟฟ้าล้วน ไร้มลพิษได้เป็นระยะทางสูงสุด 52 กิโลเมตรตามมาตรฐาน NEDC แบตเตอรี่มีความจุ 12.0 kWh ติดตั้งอยู่ใต้เบาะหลัง ไม่เสียพื้นที่ในการบรรจุสัมภาระท้ายรถ
นอกจากนี้ บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 5 ใหม่ในระบบขับเคลื่อนปลั๊กอินไฮบริดทั้งสองรุ่น ยังมีระดับการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยต่ำเพียง 41 กรัมต่อกิโลเมตรตามการอ้างอิงผล ECO Sticker ซึ่งนับว่าต่ำที่สุดในกลุ่มรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดขนาดใหญ่ในประเทศไทย
ระบบช่วงล่างความแตกต่างที่ชัดเจน
บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 5 ยังคงมีฐานล้อที่ยาวและกว้างเหมือนเดิม การออกแบบเน้นน้ำหนักเบาพร้อมการกระจายน้ำหนักแบบ 50:50 ช่วงล่างมาพร้อมเพลาหน้าแบบปีกนกคู่และเพลาหลังแบบ five-link ทั้งสองรุ่น แต่สิ่งที่แตกต่างคือ การเลือกใช้ระบบช่วงล่าง แบบ Adaptive ในรุ่น 530e และช่วงล่างแบบ M Sport ในรุ่น 520d ซึ่งจะกล่าวต่อไปในช่วงการขับ
นอกจากนี้เฉพาะรุ่น 530e M Sport ได้รับการติดตั้งระบบ เลี้ยว 4 ล้อ (Integral Active Steering) ที่มีมุมบิดเปิดกว้างกว่ารุ่นก่อนหน้า โดยล้อหลังจะเลี้ยวเมื่อเข้าโค้งด้วยความเร็วมากกว่า 3 กม./ชม. ช่วยเสริมความคล่องตัวขณะเข้าจอด
อีกหนึ่งความแตกต่างคือ เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่(Driving Assistant) ที่ได้รับการอัพเกรดใหม่ ปูทางสู่การขับขี่อัตโนมัติ โดย ในรุ่น 530e M Sport จะเป็นระบบควบคุุมความเร็วอัตโนมัติ พร้อมฟังก์ชั่น Stop & Go (Active cruise control with Stop & Go function) ส่วน ในรุ่น 520d M Sport ระบบควบคุุมความเร็วคงที่่ พร้อมฟังก์ชันช่วยลดความเร็ว (Cruise Control with braking function) คืออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ รุ่นปลั๊กอินไฮบริดจะหยุดและออกตัวได้เอง แต่รุ่นดีเซลจะช่วยชะลอจนเกือบหยุดสนิท
อีกหนึ่งระบบที่มีเฉพาะรุ่น 530e M Sport ได้แก่ กล้องแสดงภาพรอบทิศทาง (Surround View Camera) และระบบช่วยนำรถเข้าที่่จอดอัตโนมัติ รุ่น Plus (Parking Assistant Plus) ซึ่งจะถอยหลังจอดได้ทั้งเข้าซองและแบบจอดขนานริมถนน
ส่วนระบบความปลอดภัยมาตรฐานมีครบในทั้งสองรุ่น เช่น เซนเซอร์ควบคุุมระบบความปลอดภัยเมื่อเกิดการชน (Crash Sensor) ระบบป้องกันการกระแทกจากด้านข้าง (Side Impact Protection) ระบบ Active Protection และเซนเซอร์ควบคุมระยะการจอดด้านหน้าและหลัง (Park Distance Control) รวมถึงระบบช่วยเตือนอาการเหนื่อยล้าขณะขับขี่่ (Attentiveness Assistant) เป็นต้น
การตกแต่งภายในห้องโดยสาร เหมือนกันทุกสิ่งระหว่าง 2 รุ่นที่มีอักษรต่อท้ายว่า M Sport คือ โดยมีจุดเด่นพวงมาลัยเป็นแบบมัลติฟังก์ชั่น M Sport หุ้มหนัง, คอนโซลด้านบนบุด้วยหนัง Sensatec เบาะหนังแท้ Dakota พร้อมตกแต่งด้วยอลูมิเนียมลาย Rhombicle Smoke Grey และแถบโครเมี่่ยม ซึ่งถ้าเป็นรุ่น 530e Elite นั้นจะไม่มีรายการที่กล่าวมาทั้งหมด ส่วนซันรูฟนั้นจะมีเฉพาะรุ่น 530e M Sport เท่านั้น
อีกหนึ่งฟังก์ชันที่มีเฉพาะรุ่นที่ใช้คำว่า M Sport ต่อท้ายคือ จอ BMW Head-up Display และระบบ BMW Live Cockpit Professional ที่แสดงผลบนจอ Control Display ขนาด 12.3 นิ้ว สั่งการบนระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุด BMW Operating System 7 ที่ใช้งานง่ายขึ้น และระบบปลดล็อกประตููอัจฉริยะ (Comfort Access System) ที่รองรับ BMW Digital Key ซึ่งเปลี่ยนให้ iPhone กลายเป็นเหมือนกุญแจรถ สามารถล็อกและปลดล็อกรถได้โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระยะสั้นแบบ NFC (Near Field Communication) โดยรองรับผู้ใช้ได้สูงสุดถึง 5 คน
3 จุดลองระบบใหม่
กติกาการขับในคราวนี้ ทีมงานจัดให้แบบหนำใจด้วย 3 สถานีจำลองสถานการณ์ โดยให้เราขับรุ่นละ 1 ชั่วโมง โดยมี 520d M Sport และ 530e M Sport มาให้ลอง ส่วนรุ่น 530e Elite นั้นไม่มีในคราวนี้ และสามารถขับออกไปบนถนนจริงได้ตามความต้องการภายในเวลาที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งถือว่าดีมาก เพราะเราจะสามารถเปรียบเทียบรถทั้งสองรุ่นเพื่อหาความแตกต่างได้อย่างชัดเจนที่สุด
เรียกน้ำย่อยการทดลองขับกันด้วยสถานีทดลองเตือนการออกนอกเลน ที่จำลองเส้นถนน ซึ่งบอกกันตรงๆว่า สิ่งที่ทีมงานจำลองมาให้นั้น ระบบตรวจจับไม่เจอ ไม่มีการทำงานใดๆ ทั้งสิ้น ในทั้ง 2 รุ่น 2 รอบที่เราได้ลองขับ จนกระทั่งเราขับออกไปลองในถนนจริง พบว่ามีการเตือนตลอดทุกครั้ง และมีแรงดึงพวงมาลัยให้เข้ามาอยู่กลางเลนอย่างแรง ด้วยเหตุผลที่ทีมงานตั้งค่าการดึงไว้แรงที่สุด ถ้าหากไม่ชอบสามารถปรับให้เบาหรือปิดระบบการทำงานได้
ถัดมาเป็นการลองขับแบบสลาลม ที่ไม่เน้นความรวดเร็วแต่จะเน้นเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการมีระบบเลี้ยว 4 ล้อ กับรถที่ไม่มีระบบเลี้ยว 4 ล้อช่วย ซึ่ง 530e M Sport ที่มีระบบนี้ช่วย เห็นได้ชัดว่าเลี้ยวง่ายขึ้น หักน้อยกว่า ให้ความรู้สึกที่คล่องตัวกว่า แต่เมื่อขับออกไปทางด้านนอก สารภาพตามตรงว่า ไม่สามารถจับความแตกต่างของการมีหรือไม่มีเจ้าระบบนี้ได้ เพราะระบบจะเห็นผลที่ชัดเจนเมื่อต้องเลี้ยวมุมแคบหรือเลี้ยวบ่อยๆ เช่นการเข้าตรอกซอกซอยเป็นต้น
อีกหนึ่งจุดที่ให้ลองคือ จำลองการหักหลบแบบฉุกเฉิน เป็นอีกหนึ่งสถานีที่ทั้ง 2 รุ่นทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจ โดยเราขับที่ความเร็วราว 60 กม./ชม. ตามคำแนะนำของทีมงาน แล้วหักหลบซ้ายและขวา ตัวรถยังควบคุมได้ดั่งใจ ไม่มีอาการหลุดหรือรู้สึกว่าจะควบคุมไม่ได้แต่อย่างใด ส่วนความแตกต่างนั้นทำได้ดีแบบเท่าเทียมกันทั้งคู่ เรียกว่าถ้าให้คะแนนคือ ผลเสมอ
เสร็จสิ้นการขับจำลองในสนามเรียบร้อย ถึงเวลาของการขับบนถนนจริง ขอรวบรัดตัดความเทียบความแตกต่างกันแบบตรงๆ ภาพรวมการขับขี่อัตราเร่งของรุ่น ปลั๊กอินไฮบริดนั้น ดีกว่าไม่มากเท่ากับตัวเลขที่แสดงไว้ ถ้าเทียบให้รู้สึกได้คือไม่เกิน 20% การขับสนุกใกล้เคียงกัน
การทรงตัวคือความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุด อันเป็นผลมาจากการเลือกใช้ระบบช่วงล่างคนละแบบ แต่บอกไว้ก่อนกว่า หากขับต่ำกว่า 120 กม./ชม. บนถนนปกติคุณไม่สามารถสัมผัสถึงความแตกต่างได้เลย ทรงตัวได้ยอดเยี่ยมตามโลโก้หน้ารถใบพัดฟ้าขาว แต่เมื่อคุณเจอกับคอสะพานหรือขับด้วยความเร็วสูงเป็นพิเศษ ความแตกต่างจะชัดเจนทันที
บุคลิกของ 520d จะค่อนข้างมาทางนุ่มหนึบ เอาใจผู้ใหญ่ เน้นความสบายมากกว่า ส่วน 530e เมื่อขับความเร็วสูงจะทรงตัวดีกว่า และแน่นอนว่าจะรับรู้การสั่นสะเทือนจากผิวถนนได้มากกว่าเช่นเดียวกัน รวมถืงเมื่อเจอกับคอสะพาน ระยะการยืดโยนตัวของรถมีมากกว่า
เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เพราะระบบช่วงล่างแบบ Adaptive ใน 530e M Sport สามารถปรับระยะยืดหดตัวได้ตามลักษณะของการขับขี่ที่ผู้ขับต้องการนั่นเอง คือถ้าอยากได้ความรู้สึกที่เป็นบิมเมอร์แท้ๆ ตัว530e ตอบโจทย์ตรงใจ ส่วนอยากได้ช่วงล่างแบบนุ่มหนึบสบายๆ ไปคบหา 520d
ด้านของเสียงรบกวนแน่นอนว่า รุ่นปลั๊กอินไฮบริดนั้นจะเงียบกว่าอย่างไม่ต้องสงสัย รวมถึงสามารถวิ่งด้วยโหมดไฟฟ้าล้วนไม่ต้องใช้น้ำมันเลยสักหยดได้ระยะทางถึง 52 กม. หมายความว่า หากคุณใช้รถยนต์เดินทางเฉลี่ยวันละไม่ถึง 40 กม. ขอแนะนำให้ใช้รถเหมือนใช้มือถือ คือกลับมาถึงบ้านให้ชาร์จ แล้วตอนเช้าขับไปใช้ รับประกันได้ว่าคุณจะลืมการเติมน้ำมันไปชนิดที่เรียกว่า เป็นไปได้อย่างไร
ทั้งนี้เมื่อมองมาที่ค่าตัว เปรียบเทียบระหว่างรุ่น 520d M Sport กับ 530e M Sport มีส่วนต่างราคาที่ปลั๊กอินไฮบริดแพงกว่า 200,000 บาท โดยมีสิ่งที่ได้เพิ่มเติมเข้ามานอกจากอัตราการบริโภคน้ำมันที่น้อยแล้ว ได้แก่ ล้อ19 นิ้ว, ช่วงล่าง Adaptive, ระบบเลี้ยว 4 ล้อ, คาร์ลิปเปอร์ เบรก M Sport, หลังคาซันรูฟ, แอร์ 4 โซน , กล้องรอบทิศทาง, ระบบนำรถเข้าจอดอัตโนมัติแบบพลัส และ Adaptive Cruise Control stop&go ไม่ต้องถามเลยว่า ถ้าคิดจะใส่ออพชันเหล่านี้เพิ่ม 200,000 บาท คงไม่พออย่างแน่นอน
เหมาะกับใคร
เปรียบให้เห็นภาพแบบง่าย 520d M Sport เปรียบเหมือนหนุ่มใหญ่หุ่นหมีดูอบอุ่น ชอบความสบาย อึดทนรองรับอารมณ์แบบสุขุมนุ่มลึก ส่วน 530e M Sport เปรียบดั่งหนุ่มใหญ่หุ่นฟิตเฟิร์ม ครบเครื่อง เกี้ยวกราดในบางเวลา ต้องดูแลแบบใส่ใจพิเศษ สุดท้ายอยู่ที่ว่าแบบไหนตรงกับสเปคที่คุณวางไว้ในใจ และ 530e Elite แม้ไม่ได้ขับ แต่ราคานั้นถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนงบไม่ถึง 3 ล้านบาท