มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ นั้นเปิดตัวทำตลาดตั้งแต่ปี 2001 ในฐานะเอสยูวีที่เป็นคู่ต่อกรโดยตรงกับรถในคลาส คอมแพคเอสยูวีอย่าง ฮอนด้า ซีอาร์-วี ซึ่งเจเนอเรชันแรก นั้นเคยนำเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยเมื่อปี 2003 ก่อนที่จะเว้นวรรคการทำตลาดไป ก่อนที่จะกลับมาอีกครั้งในเจเนอเรชันที่ 3 กับการเปิดตัว เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี (Outlander PHEV) เมื่อปลายปีที่แล้ว
หลายคนมีความสงสัยว่า ทำไม มิตซูบิชิจึงนำเอา เอาท์แลนเดอร์ โฉมนี้มาขายเพราะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าโมเดลนี้เปิดตัวมาตั้งแต่ช่วงปี 2012 หรือทำตลาดมานานกว่า 8 ปีแล้ว ทั้งยังมีข่าวเรื่องของโฉมใหม่ เจเนอเรชันที่ 4 กำลังจะเปิดตัวในเร็วๆ นี้ (คาดว่าไตรมาสแรกของปี2021) คำตอบของคำถามนี้ ไม่มีคำยืนยันอย่างเป็นทางการถึงเหตุผลจากผู้บริหารของมิตซูบิชิ มอเตอร์ ประเทศไทย
แต่จากการวิเคราะห์ของผู้เขียนที่ติดตามโมเดลนี้มาอย่างยาวนาน แท้จริงแล้วมิตซูบิชิ มอเตอร์ ประเทศไทย มีแผนทำตลาดโมเดลนี้ตั้งแต่ปี 2017 แต่ด้วยเงื่อนไขด้านราคา หากเป็นการนำเข้าจะมีราคาสูงระดับ 3.9 ล้านบาท ดังนั้นจึงต้องชะลอการทำตลาดออกไปจนกระทั่งบีโอไอเปิดโครงการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งจะทำให้สามารถทำราคาแข่งขันในตลาดได้ ทางมิตซูบิชิจึงได้เข้าร่วมโครงการ
ทั้งนี้เมื่อนับระยะเวลาดำเนินการกว่าที่จะเปิดตัวทำตลาด เริ่มจากขออนุมัติจากบริษัทฯ แม่ที่ญี่ปุ่น เพราะโครงการนี้คือการขึ้นไลน์ผลิตรถ PHEV นอกประเทศญี่ปุ่นครั้งแรก และต้องรอทางการไทยอนุมัติโครงการ จึงจะเริ่มต้นตั้งไลน์การผลิตได้ โดยรวมแล้วใช้เวลาราว 2-3 ปี ฉะนั้นนึกภาพวันแรกของโครงการนี้ที่ร่างบนกระดาษคือเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ซึ่งโมเดลใหม่ เจเนอเรชันที่ 4 นั้นยังไม่เป็นรูปเป็นร่างแต่อย่างใด
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวความเป็นมาของ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ในไทย ส่วนการขับขี่เป็นอย่างไรบ้างนั้น เชิญติดตามได้
PHEV ล้ำสุดครบถ้วน
เริ่มกันที่ระบบ PHEV ของ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ตัวนี้ ลักษณะการทำงานระบบไฮบริดมีทั้งแบบอนุกรม(Series)และคู่ขนาน(Parallel) เรียกว่าเป็นระบบที่ก้าวล้ำนำหน้าระบบอื่นๆ หลักการทำงานขออธิบบายแบบง่ายๆดังนี้
เมื่อติดเครื่องยนต์ ตัวเครื่องยนต์จะไม่ทำงาน หน้าจอจะขึ้น Ready คือพร้อมเข้าเกียร์ ออกเดินทางได้ ช่วงออกตัวจะเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าขับล้วนๆ หากไฟไม่เพียงพอเครื่องยนต์จะติดขึ้นเพื่อปั่นไฟ ไปให้ใส่แบตเตอรี่เพื่อส่งให้มอเตอร์ขับเคลื่อน(การทำงานแบบอนุกรม) ซึ่งการขับเคลื่อนส่วนมากของรถจะทำงานแบบนี้
เมื่อกดคันเร่งหนักหน่วงจะเป็นการผสานการทำงานทั้งเครื่องยนต์ที่มีเฟืองส่งกำลังไปพร้อมกับมอเตอร์ไฟฟ้าปั่นลงเพลาเพื่อช่วยให้มีกำลังสูงในระยะเวลาสั้น(แบบคู่ขนาน) ส่วนการขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ล้วนจะไม่เกิดขึ้น ทุกการขับขี่มอเตอร์จะทำงานเสริมกำลังตลอดเวลา ฉะนั้นเครื่องยนต์จะทำงานน้อยมาก ลดภาระและช่วยในเรื่องของอัตราการบริโภคน้ำมันที่ดี
ทั้งนี้ในโหมด Charge เพื่อสร้างกระแสไฟกลับเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ โหมดนี้จะไม่ดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้งาน แต่จะชาร์จไฟด้วยการหมุนของเครื่องยนต์ไปปั่นเจเนอเรเตอร์ที่แยกเป็นอิสระ เพื่อสร้างกระแสเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่แทน ควบคู่ไปกับการส่งกำลังไปที่เพลาขับ ส่วนโหมดsave จะรักษาระดับไฟแบตเตอรี่ให้อยู่เท่าเดิม ซึ่งการใช้โหมดนี้จะกินน้ำมันมากกว่าโหมดปกติเล็กน้อย
สำหรับหัวใจเป็นเครื่องยนต์รหัส 4B12 ขนาด 2.4 ลิตร 4 สูบแถวเรียง 16 วาล์ว MIVEC กำลังสูงสุด 128 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 199 นิวตันเมตร รองรับเชื้อเพลิงเบนซินชนิด E20 ผสานการทำงานกับ มอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัวติดตั้งล้อหน้าและล้อหลัง โดยมอเตอร์หน้า กำลังสูงสุด 82 แรงม้า แรงบิด 137 นิวตันเมตร มอเตอร์หลัง กำลังสูงสุด 95 แรงม้า แรงบิด 195 นิวตันเมตร ส่วนพละกำลังรวมทั้งระบบเคลมไว้ที่ 305 แรงม้า
ด้านระบบส่งกำลังนั้นจะแตกต่างจากรถอื่นๆ ที่เราคุ้นเคย ด้วยการเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อตลอดเวลา ในชื่อ S-AWC ถ่ายเทกำลังได้อย่างอิสระด้วย ชุดเฟืองต่อตรงจากมอเตอร์ลงเพลาทั้งหน้าและหลัง ขณะที่เครื่องยนต์มีชุดเฟืองแยกอีกหนึ่งชุดต่อตรงลงเพลาขับหน้า นั่นหมายความว่า เอาท์แลนเดอร์ มีชุดส่งกำลัง3ชุดแยกอิสระต่อกันแต่ทำงานผสานกันผ่านระบบสมองกลสั่งงานเพื่อให้การขับขี่เป็นไปตามความต้องการ
แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนขนาด 13.8 กิโลวัตต์ แรงดันไฟฟ้า 300 โวลต์ รับประกัน 10 ปีหรือ 160,000 กม. ระยะเวลาการชาร์จแบบปกติราว 4 ชั่วโมง ส่วนแบบเร็วราว 25 นาที(หัวชาร์จแบบChadeMo) ระบบขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ พวงมาลัยไฟฟ้า ระบบช่วงล่างหน้าแบบแมคเฟอร์สันสตรัท หลังแบบมัลติลิงค์ ล้อและยางขนาด 225/55R18
การออกแบบภายในห้องโดยสารนั้น ต้องยอมรับตรงๆว่า ผิดยุคสมัย เพราะเป็นดีไซน์ที่เราคุ้นชินกันมาตั้งแต่ปี 2012 แต่ถ้าในแง่ของการใช้งานนั้นเรียกว่า ครบถ้วนทั้งแอร์อัตโนมัติ ช่องUSB รองรับApple CarPlay หัวเกียร์เป็นแบบJoystick ใช้งานง่าย เบาะนั่งหนังแท้ลายไดมอนด์คัท ฝาท้ายไฟฟ้า
ส่วนไฮไลต์ที่ทีมงานมิตซูบิชินำเสนอเป็นจุดขายในการทำตลาดคือ ระบบปล่อยไฟที่สามารถให้คุณเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ ไม่ว่าจะเป็น เตาไฟฟ้า, พัดลม หรือโคมไฟ ซึ่งเหมาะกับการออกไปท่องเที่ยวแนวลุยป่าเขาเพียงแค่หาจุดกลางเตนท์ที่เหมาะ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีปลั๊กไฟหรือไม่เพราะ เราใช้พลังงานไฟฟ้าจากเอาท์แลนเดอร์ได้
วิ่งเนียน ขับง่าย เหมาะครอบครัว
ก่อนจะได้ไปทดลองขับ อย่างที่บอกไปว่าทีมงานมิตซูบิชิชูเรื่องของการปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อเป็นแหล่งพลังงานในการใช้ชีวิตได้ ดังนั้นทีมงานจึงจัดให้เราทดลองใช้งานด้วยการจัดชุดแคมปิ้ง นำเตาไฟฟ้า มาให้ทำอาหารเช้าทั้งทอดไข่ดาว ไส้กรอก และเบคอนพร้อมต้มน้ำซุป เรียกว่า ทำได้ครบถ้วนโดยมีเงื่อนไขเดียวคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่อพ่วงนั้นต้องกินไฟไม่เกิน 1500 วัตต์และเราต้องติดเครื่องไว้ด้วย โดยเครื่องยนต์ไม่ทำงานแต่รถพร้อมทำงาน
หลังจากนั้นเป็นการทดลองขับแบบจริงจัง กล่าวโดยภาพรวมหลังการขับกว่า 200 กม. แบบวิ่งรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล คือรถขับดีมากเกินกว่าที่คาดไว้เยอะ ทั้งเรื่องของพละกำลังที่ต่อเนื่อง ไม่ได้แรงแบบพุ่งพล่าน แต่จัดจ้านทุกย่านความเร็ว
จุดสำคัญคือจังหวะคิกดาวน์นั้นจะมีช่วงเวลาราวหนึ่งอึดใจที่ต้องรอรถขยับเพิ่มความเร็ว ประเด็นนี้มีที่มาจากระบบส่งกำลังที่ต้องคำนวณความเร็วรอบของเฟืองให้สัมพันธ์กันระหว่างเครื่องยนต์และมอเตอร์หน้า เพื่อให้การขับขี่นุ่มนวลได้แรงกระชากหรือกระตุก เมื่อมีการตัดต่อกำลัง
ระบบช่วงล่างเป็นอีกหนึ่งอย่างที่ขอชื่นชม ดูดซับแรงสะเทือนได้ดี การทรงตัวที่ความเร็วสูงทำได้ประทับใจไม่แกว่งหรือโยนตัว การบังคับควบคุมพวงมาลัยอาจจะเบามือไปสักหน่อยสำหรับผู้ชาย แต่ถ้าเป็นคุณผู้หญิงน่าจะสบายและถูกจริตมากกว่า ทัศนวิสัยชัดเจนดีทุกมุมมองซึ่งเหมากันดีระบบเสริมความปลอดภัยที่ให้มาอย่างครบถ้วน
ความเงียบและการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ขอชื่นชม เสียงและแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องยนต์ นั้นน้อยมาก ยิ่งเมื่อวิ่งด้วยความเร็วเกินกว่า 120 กม./ชม. เสียงลมประทะกระจกยังได้ยินชัดกว่าเสียงของเครื่องยนต์หรือเสียงจากยางบดถนนเสียอีก
อย่างไรก็ตาม แม้ตัวรถจะขับดีและใช้งานง่ายเพียงใด แต่หนึ่งในปัจจัยเลือกซื้อรถที่สำคัญนั้นยังคงมีเรื่องของการดีไซน์ ที่ต้องบอกตรงๆว่า ภายในของเอาท์แลนเดอร์นั้น ไม่ตรงจริตของเรา ส่วนการออกแบบภายนอกอยู่ในจุดที่ยอมรับได้ ซึ่งเรื่องการดีไซน์ เราย้ำเสมอว่าเป็นเรื่อง นานาจิตตัง แล้วแต่ความชอบส่วนบุคคล
ขณะที่บางคนห่วงเรื่องการตกรุ่น เพราะเอาท์แลนเดอร์ใหม่กำลังจะเปิดตัวในตลาดโลก สิ่งที่ยืนยันได้ในนาทีนี้คือ มิตซูบิชิ มอเตอร์ ประเทศไทยจะยังคงขายและทำตลาดโมเดลนี้ไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี แน่นอน ฉะนั้นแม้ว่าคุณจะเห็นรถใหม่ในต่างประเทศแล้ว แต่ใช่ว่า มิตซูบิชิจะนำมาทำตลาดในเร็ววัน ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าซื้อมาแล้วจะตกรุ่น
สำหรับอัตราการบริโภคน้ำมัน มิตซูบิชิเคลมไว้ที่ 52.6 กม./ลิตร ในโบชัวร์ โดยสามารถวิ่งด้วยไฟฟ้าล้วนไม่ใช้น้ำมันได้ระยะทางถึง 55 กม. ส่วนการใช้งานจริง เราวิ่งไฟฟ้าล้วนได้ระยะทาง 44 กม. และเห็นตัวเลขอัตราการบริโภคที่หลากหลายระดับตั้งแต่ 10-15 กม./ลิตร (รีเซ็ตตัดส่วนที่เป็นการใช้งานไฟฟ้าล้วนทิ้งไป) ทั้งนี้ขึ้นกับโหมดที่ใช้และพฤติกรรมในการขับขี่นั่นเอง
สุดท้ายก่อนจากลา ทีมงานได้จัดสถานีทดสอบพิเศษให้เราลองขับเอาท์แลนเดอร์แบบทางฝุ่น เพื่อทดลองดูระบบขับเคลื่อนและการทรงตัว ผลลัพธ์คือ ความสนุกสนานจากการสไลด์ฝุ่นตลบและได้ลองโหมดขับขี่ทั้งSportและLock ที่ช่วยให้การขับลุยทางฝุ่นนั้นมั่นใจยิ่งขึ้น เรียกว่าขับลุยได้ แม้จะไม่ใช่จุดเด่นที่สุดของเอาท์แลนเดอร์คันนี้
เหมาะกับใคร
ถ้าเทียบกันกับรถในคลาสเดียวกัน เรายกให้เป็น Best in class สำหรับความรู้สึกในการขับขี่ที่ดีเยี่ยม ตรงใจรถใช้งานของครอบครัว และเมื่อมองไปที่ราคาค่าตัว 1,640,000 บาท และ 1,749,000 บาท ไม่ถือว่าแพงเทียบกับสิ่งที่ได้รับกลับมา แต่สิ่งที่ทำให้คิดหนักคงเป็นเรื่องของดีไซน์กับความสดใหม่ขึ้นกับว่า คุณแคร์แค่ไหน?
หลายคนมีความสงสัยว่า ทำไม มิตซูบิชิจึงนำเอา เอาท์แลนเดอร์ โฉมนี้มาขายเพราะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าโมเดลนี้เปิดตัวมาตั้งแต่ช่วงปี 2012 หรือทำตลาดมานานกว่า 8 ปีแล้ว ทั้งยังมีข่าวเรื่องของโฉมใหม่ เจเนอเรชันที่ 4 กำลังจะเปิดตัวในเร็วๆ นี้ (คาดว่าไตรมาสแรกของปี2021) คำตอบของคำถามนี้ ไม่มีคำยืนยันอย่างเป็นทางการถึงเหตุผลจากผู้บริหารของมิตซูบิชิ มอเตอร์ ประเทศไทย
แต่จากการวิเคราะห์ของผู้เขียนที่ติดตามโมเดลนี้มาอย่างยาวนาน แท้จริงแล้วมิตซูบิชิ มอเตอร์ ประเทศไทย มีแผนทำตลาดโมเดลนี้ตั้งแต่ปี 2017 แต่ด้วยเงื่อนไขด้านราคา หากเป็นการนำเข้าจะมีราคาสูงระดับ 3.9 ล้านบาท ดังนั้นจึงต้องชะลอการทำตลาดออกไปจนกระทั่งบีโอไอเปิดโครงการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งจะทำให้สามารถทำราคาแข่งขันในตลาดได้ ทางมิตซูบิชิจึงได้เข้าร่วมโครงการ
ทั้งนี้เมื่อนับระยะเวลาดำเนินการกว่าที่จะเปิดตัวทำตลาด เริ่มจากขออนุมัติจากบริษัทฯ แม่ที่ญี่ปุ่น เพราะโครงการนี้คือการขึ้นไลน์ผลิตรถ PHEV นอกประเทศญี่ปุ่นครั้งแรก และต้องรอทางการไทยอนุมัติโครงการ จึงจะเริ่มต้นตั้งไลน์การผลิตได้ โดยรวมแล้วใช้เวลาราว 2-3 ปี ฉะนั้นนึกภาพวันแรกของโครงการนี้ที่ร่างบนกระดาษคือเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ซึ่งโมเดลใหม่ เจเนอเรชันที่ 4 นั้นยังไม่เป็นรูปเป็นร่างแต่อย่างใด
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวความเป็นมาของ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ในไทย ส่วนการขับขี่เป็นอย่างไรบ้างนั้น เชิญติดตามได้
PHEV ล้ำสุดครบถ้วน
เริ่มกันที่ระบบ PHEV ของ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ตัวนี้ ลักษณะการทำงานระบบไฮบริดมีทั้งแบบอนุกรม(Series)และคู่ขนาน(Parallel) เรียกว่าเป็นระบบที่ก้าวล้ำนำหน้าระบบอื่นๆ หลักการทำงานขออธิบบายแบบง่ายๆดังนี้
เมื่อติดเครื่องยนต์ ตัวเครื่องยนต์จะไม่ทำงาน หน้าจอจะขึ้น Ready คือพร้อมเข้าเกียร์ ออกเดินทางได้ ช่วงออกตัวจะเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าขับล้วนๆ หากไฟไม่เพียงพอเครื่องยนต์จะติดขึ้นเพื่อปั่นไฟ ไปให้ใส่แบตเตอรี่เพื่อส่งให้มอเตอร์ขับเคลื่อน(การทำงานแบบอนุกรม) ซึ่งการขับเคลื่อนส่วนมากของรถจะทำงานแบบนี้
เมื่อกดคันเร่งหนักหน่วงจะเป็นการผสานการทำงานทั้งเครื่องยนต์ที่มีเฟืองส่งกำลังไปพร้อมกับมอเตอร์ไฟฟ้าปั่นลงเพลาเพื่อช่วยให้มีกำลังสูงในระยะเวลาสั้น(แบบคู่ขนาน) ส่วนการขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ล้วนจะไม่เกิดขึ้น ทุกการขับขี่มอเตอร์จะทำงานเสริมกำลังตลอดเวลา ฉะนั้นเครื่องยนต์จะทำงานน้อยมาก ลดภาระและช่วยในเรื่องของอัตราการบริโภคน้ำมันที่ดี
ทั้งนี้ในโหมด Charge เพื่อสร้างกระแสไฟกลับเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ โหมดนี้จะไม่ดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้งาน แต่จะชาร์จไฟด้วยการหมุนของเครื่องยนต์ไปปั่นเจเนอเรเตอร์ที่แยกเป็นอิสระ เพื่อสร้างกระแสเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่แทน ควบคู่ไปกับการส่งกำลังไปที่เพลาขับ ส่วนโหมดsave จะรักษาระดับไฟแบตเตอรี่ให้อยู่เท่าเดิม ซึ่งการใช้โหมดนี้จะกินน้ำมันมากกว่าโหมดปกติเล็กน้อย
สำหรับหัวใจเป็นเครื่องยนต์รหัส 4B12 ขนาด 2.4 ลิตร 4 สูบแถวเรียง 16 วาล์ว MIVEC กำลังสูงสุด 128 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 199 นิวตันเมตร รองรับเชื้อเพลิงเบนซินชนิด E20 ผสานการทำงานกับ มอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัวติดตั้งล้อหน้าและล้อหลัง โดยมอเตอร์หน้า กำลังสูงสุด 82 แรงม้า แรงบิด 137 นิวตันเมตร มอเตอร์หลัง กำลังสูงสุด 95 แรงม้า แรงบิด 195 นิวตันเมตร ส่วนพละกำลังรวมทั้งระบบเคลมไว้ที่ 305 แรงม้า
ด้านระบบส่งกำลังนั้นจะแตกต่างจากรถอื่นๆ ที่เราคุ้นเคย ด้วยการเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อตลอดเวลา ในชื่อ S-AWC ถ่ายเทกำลังได้อย่างอิสระด้วย ชุดเฟืองต่อตรงจากมอเตอร์ลงเพลาทั้งหน้าและหลัง ขณะที่เครื่องยนต์มีชุดเฟืองแยกอีกหนึ่งชุดต่อตรงลงเพลาขับหน้า นั่นหมายความว่า เอาท์แลนเดอร์ มีชุดส่งกำลัง3ชุดแยกอิสระต่อกันแต่ทำงานผสานกันผ่านระบบสมองกลสั่งงานเพื่อให้การขับขี่เป็นไปตามความต้องการ
แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนขนาด 13.8 กิโลวัตต์ แรงดันไฟฟ้า 300 โวลต์ รับประกัน 10 ปีหรือ 160,000 กม. ระยะเวลาการชาร์จแบบปกติราว 4 ชั่วโมง ส่วนแบบเร็วราว 25 นาที(หัวชาร์จแบบChadeMo) ระบบขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ พวงมาลัยไฟฟ้า ระบบช่วงล่างหน้าแบบแมคเฟอร์สันสตรัท หลังแบบมัลติลิงค์ ล้อและยางขนาด 225/55R18
การออกแบบภายในห้องโดยสารนั้น ต้องยอมรับตรงๆว่า ผิดยุคสมัย เพราะเป็นดีไซน์ที่เราคุ้นชินกันมาตั้งแต่ปี 2012 แต่ถ้าในแง่ของการใช้งานนั้นเรียกว่า ครบถ้วนทั้งแอร์อัตโนมัติ ช่องUSB รองรับApple CarPlay หัวเกียร์เป็นแบบJoystick ใช้งานง่าย เบาะนั่งหนังแท้ลายไดมอนด์คัท ฝาท้ายไฟฟ้า
ส่วนไฮไลต์ที่ทีมงานมิตซูบิชินำเสนอเป็นจุดขายในการทำตลาดคือ ระบบปล่อยไฟที่สามารถให้คุณเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ ไม่ว่าจะเป็น เตาไฟฟ้า, พัดลม หรือโคมไฟ ซึ่งเหมาะกับการออกไปท่องเที่ยวแนวลุยป่าเขาเพียงแค่หาจุดกลางเตนท์ที่เหมาะ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีปลั๊กไฟหรือไม่เพราะ เราใช้พลังงานไฟฟ้าจากเอาท์แลนเดอร์ได้
วิ่งเนียน ขับง่าย เหมาะครอบครัว
ก่อนจะได้ไปทดลองขับ อย่างที่บอกไปว่าทีมงานมิตซูบิชิชูเรื่องของการปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อเป็นแหล่งพลังงานในการใช้ชีวิตได้ ดังนั้นทีมงานจึงจัดให้เราทดลองใช้งานด้วยการจัดชุดแคมปิ้ง นำเตาไฟฟ้า มาให้ทำอาหารเช้าทั้งทอดไข่ดาว ไส้กรอก และเบคอนพร้อมต้มน้ำซุป เรียกว่า ทำได้ครบถ้วนโดยมีเงื่อนไขเดียวคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่อพ่วงนั้นต้องกินไฟไม่เกิน 1500 วัตต์และเราต้องติดเครื่องไว้ด้วย โดยเครื่องยนต์ไม่ทำงานแต่รถพร้อมทำงาน
หลังจากนั้นเป็นการทดลองขับแบบจริงจัง กล่าวโดยภาพรวมหลังการขับกว่า 200 กม. แบบวิ่งรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล คือรถขับดีมากเกินกว่าที่คาดไว้เยอะ ทั้งเรื่องของพละกำลังที่ต่อเนื่อง ไม่ได้แรงแบบพุ่งพล่าน แต่จัดจ้านทุกย่านความเร็ว
จุดสำคัญคือจังหวะคิกดาวน์นั้นจะมีช่วงเวลาราวหนึ่งอึดใจที่ต้องรอรถขยับเพิ่มความเร็ว ประเด็นนี้มีที่มาจากระบบส่งกำลังที่ต้องคำนวณความเร็วรอบของเฟืองให้สัมพันธ์กันระหว่างเครื่องยนต์และมอเตอร์หน้า เพื่อให้การขับขี่นุ่มนวลได้แรงกระชากหรือกระตุก เมื่อมีการตัดต่อกำลัง
ระบบช่วงล่างเป็นอีกหนึ่งอย่างที่ขอชื่นชม ดูดซับแรงสะเทือนได้ดี การทรงตัวที่ความเร็วสูงทำได้ประทับใจไม่แกว่งหรือโยนตัว การบังคับควบคุมพวงมาลัยอาจจะเบามือไปสักหน่อยสำหรับผู้ชาย แต่ถ้าเป็นคุณผู้หญิงน่าจะสบายและถูกจริตมากกว่า ทัศนวิสัยชัดเจนดีทุกมุมมองซึ่งเหมากันดีระบบเสริมความปลอดภัยที่ให้มาอย่างครบถ้วน
ความเงียบและการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ขอชื่นชม เสียงและแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องยนต์ นั้นน้อยมาก ยิ่งเมื่อวิ่งด้วยความเร็วเกินกว่า 120 กม./ชม. เสียงลมประทะกระจกยังได้ยินชัดกว่าเสียงของเครื่องยนต์หรือเสียงจากยางบดถนนเสียอีก
อย่างไรก็ตาม แม้ตัวรถจะขับดีและใช้งานง่ายเพียงใด แต่หนึ่งในปัจจัยเลือกซื้อรถที่สำคัญนั้นยังคงมีเรื่องของการดีไซน์ ที่ต้องบอกตรงๆว่า ภายในของเอาท์แลนเดอร์นั้น ไม่ตรงจริตของเรา ส่วนการออกแบบภายนอกอยู่ในจุดที่ยอมรับได้ ซึ่งเรื่องการดีไซน์ เราย้ำเสมอว่าเป็นเรื่อง นานาจิตตัง แล้วแต่ความชอบส่วนบุคคล
ขณะที่บางคนห่วงเรื่องการตกรุ่น เพราะเอาท์แลนเดอร์ใหม่กำลังจะเปิดตัวในตลาดโลก สิ่งที่ยืนยันได้ในนาทีนี้คือ มิตซูบิชิ มอเตอร์ ประเทศไทยจะยังคงขายและทำตลาดโมเดลนี้ไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี แน่นอน ฉะนั้นแม้ว่าคุณจะเห็นรถใหม่ในต่างประเทศแล้ว แต่ใช่ว่า มิตซูบิชิจะนำมาทำตลาดในเร็ววัน ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าซื้อมาแล้วจะตกรุ่น
สำหรับอัตราการบริโภคน้ำมัน มิตซูบิชิเคลมไว้ที่ 52.6 กม./ลิตร ในโบชัวร์ โดยสามารถวิ่งด้วยไฟฟ้าล้วนไม่ใช้น้ำมันได้ระยะทางถึง 55 กม. ส่วนการใช้งานจริง เราวิ่งไฟฟ้าล้วนได้ระยะทาง 44 กม. และเห็นตัวเลขอัตราการบริโภคที่หลากหลายระดับตั้งแต่ 10-15 กม./ลิตร (รีเซ็ตตัดส่วนที่เป็นการใช้งานไฟฟ้าล้วนทิ้งไป) ทั้งนี้ขึ้นกับโหมดที่ใช้และพฤติกรรมในการขับขี่นั่นเอง
สุดท้ายก่อนจากลา ทีมงานได้จัดสถานีทดสอบพิเศษให้เราลองขับเอาท์แลนเดอร์แบบทางฝุ่น เพื่อทดลองดูระบบขับเคลื่อนและการทรงตัว ผลลัพธ์คือ ความสนุกสนานจากการสไลด์ฝุ่นตลบและได้ลองโหมดขับขี่ทั้งSportและLock ที่ช่วยให้การขับลุยทางฝุ่นนั้นมั่นใจยิ่งขึ้น เรียกว่าขับลุยได้ แม้จะไม่ใช่จุดเด่นที่สุดของเอาท์แลนเดอร์คันนี้
เหมาะกับใคร
ถ้าเทียบกันกับรถในคลาสเดียวกัน เรายกให้เป็น Best in class สำหรับความรู้สึกในการขับขี่ที่ดีเยี่ยม ตรงใจรถใช้งานของครอบครัว และเมื่อมองไปที่ราคาค่าตัว 1,640,000 บาท และ 1,749,000 บาท ไม่ถือว่าแพงเทียบกับสิ่งที่ได้รับกลับมา แต่สิ่งที่ทำให้คิดหนักคงเป็นเรื่องของดีไซน์กับความสดใหม่ขึ้นกับว่า คุณแคร์แค่ไหน?