xs
xsm
sm
md
lg

ขับ "ฟอร์ด เรนเจอร์" ลุยอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง เรียนรู้ “การชิงเผา” ภารกิจปกป้องไฟไหม้ป่า กับผู้พิทักษ์ป่าหญิงคนแรกในไทย

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หลังฟอร์ด ประเทศไทย ได้มีการปรับโฉมให้กับ “เรนเจอร์” ใหม่ ล่าสุดได้เชิญสื่อมวลชนหญิงทดลองขับรถฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ บนเส้นทางสุดท้าทาย พร้อมรวมกิจกรรมที่ชื่อว่า “Ladies Drive with Forest Ranger” ทั้งนี้เพื่อพิสูจน์สมรรถนะ “ฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่” รถกระบะที่รองรับทุกความสมบุกสมบัน เหมาะกับการใช้งานที่หลากหลาย และสะท้อนตัวตนความแกร่งของผู้ขับขี่อีกด้วย รวมถึงยังได้สัมผัสประสบการณ์การใช้ชีวิตแบบเรนเจอร์ ตามแนวคิด “Live The Ranger Life” ผ่านภารกิจปกป้องผืนป่าและทรัพยากรธรรมชาติ โดยการมอบความช่วยเหลือแก่เจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่าในการสร้างแนวกันไฟป่า ณ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก




สำหรับ เรนเจอร์ ใหม่ ได้มีการปรับโฉม พร้อมอุปกรณ์ตกแต่ง ไม่ว่าจะเป็นกระจังหน้าแบบใหม่ ตะแกรงสีดำตัดขอบด้วยสีส้ม Saber ที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับรุ่นไวลด์แทรคเท่านั้น พร้อมโลโก้ฟอร์ดสีดำสไตล์สปอร์ต , ล้ออัลลอยสีดำขนาด 18 นิ้ว มือเปิดประตู กรอบกระจกมองข้าง ช่องลมข้างบังโคลน ราวหลังคา สปอร์ตบาร์ และกันชนหลัง, ไฟหน้าออกแบบมาให้สีเข้มขึ้น,เบาะหนังดีไซน์ใหม่ทำด้วยหนังและหนังสังเคราะห์ และที่สำคัญเป็นครั้งแรกที่ฟอร์ดแนะนำอุปกรณ์เสริมใหม่ ชุดปิดฝากระบะท้ายควบคุมด้วยระบบไฟฟ้า (Power roller shutter) เฉพาะรุ่นฟอร์ด เรนเจอร์ ไวลด์เทรค




การเดินทางภายใต้คอนเซ็ปต์ Ladies Drive with Forest Ranger ครั้งนี้ มีสื่อมวลชนหญิงรวมกิจกรรมกว่า 20 ชีวิต ทุกคนได้มีโอกาศทดสอบสมรรถนะของ “ฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่” ที่มาพร้อมระบบส่งกำลังอันทรงพลังที่ได้รับการพัฒนาไปอีกขั้น ด้วยเครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร ทั้งแบบเทอร์โบเดี่ยวและเทอร์โบคู่ใน ฟอร์ด เรนเจอร์ ไวลด์แทรค และฟอร์ด เรนเจอร์ แร็พเตอร์ โดยในเครื่องยนต์แบบเทอร์โบคู่ ที่ผสานการทำงานกับเกียร์อัตโนมัติ 10 สปีด 213 แรงม้า และแรงบิด 500 นิวตันเมตร


ขณะที่เครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร ทำงานร่วมกับเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ใน ฟอร์ด เรนเจอร์ XLT มอบพละกำลังสูงสุด 160 แรงม้า และแรงบิด 385 นิวตันเมตร ฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ยังอัดแน่นด้วยเทคโนโลยีและฟีเจอร์ล้ำสมัย มาพร้อมศักยภาพที่ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างหลากหลาย รวมถึงความสามารถในการบรรทุกน้ำหนัก และความสามารถในการลากจูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กมลชนก ประเสริฐสม


กมลชนก ประเสริฐสม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย และตลาดอาเซียน กล่าวในการเดินทางครั้งนี้ว่า สื่อมวลชนจะได้ทดสอบความสามารถของฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ ที่ปรับโฉมให้มีความเท่มากขึ้นและสะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น รวมถึงการใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อลากจูงในการลำเลียงอุปกรณ์สำหรับสร้างแนวกันไฟ และการทดสอบช่วงล่างที่ทำให้การขับขี่มีความนุ่มหนึบ เกาะถนน พิชิตเส้นทางที่สมบุกสมบัน รวมถึงยังได้รับประสบการณ์จากระบบส่งกำลังที่พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และที่สำคัญ สื่อมวลชนจะได้รับรู้ถึงคุณค่าการใช้ชีวิตแบบ Live The Ranger Life ที่มีอยู่ในตัวตนของทุกคน ซึ่งสะท้อนออกมาจากการทำกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกับผู้พิทักษ์ป่าหญิงอีกด้วย”




ทริปนี้ถือเป็นการพิสูจน์ความสามารถของ ฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่อีกครั้งโดยรถ 1 คันมี 3 สื่อสลับกันขับ เมื่อทุกชีวิตออกเดินทางจากสนามบินพิษณุโลกสู่สถานีควบคุมไฟป่าทุ่งแสลงหลวง ที่รู้จักกันดีในนาม “ทุ่งหญ้าสะวันนาแห่งเมืองไทย” และเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับ 3 ของประเทศ ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาเพชรบูรณ์ ระหว่างการเดินทางไปยังสถานีควบคุมไฟป่าทุ่งแสลงหลวง พวกเราได้เดินทางในเส้นทางที่มีทั้งทางตรงยาวสลับโค้งคดเคี้ยว และเส้นทางขึ้น-ลงเขา และได้ทดสอบพละกำลังของเครื่องยนต์ฟอร์ด ต้องบอกว่ามันเหลือเฟือย ทำให้การขับเป็นไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว ทันใจ รวมถึงพวงมาลัยพาวเวอร์แบบไฟฟ้า (EPAS) ที่แปรผันน้ำหนักให้เหมาะสมกับความเร็วในการขับขี่ ควบคุมง่าย มั่นใจตลอดเส้นทาง ขับสบาย ๆ แม้บอดี้จะใหญ่ก็ตาม







ขนิษฐา ดอนชัย


เมื่อถึงสถานีควบคุมไฟป่า สื่อมวลชนได้พบกับ ขนิษฐา ดอนชัย หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าหญิงคนแรกในประเทศไทย ผู้ทำหน้าที่ดูแลผืนป่าทุ่งแสลงหลวงที่มีขนาดถึง 789,000 ไร่ ซึ่งเธอได้บอกว่า “สำหรับกิจกรรมในวันนี้เรียกว่า “การชิงเผา” ชิงเผา คือ การจัดการเชื้อเพลิงอย่างหนึ่งมีหลายรูปแบบอยู่ที่เราจะทำแบบไหน เช่นการเอาเชื้อเพลิงออกจากป่า หรือเผาในพื้นที่ที่เรากำหนดไว้เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อสภาพธรรมชาติ ชิงก่อนที่มันจะเกิดไฟ


“ในการชิงเผาเราจะทำก่อนที่จะเข้าฤดูไฟป่า โดยเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าจะเข้าไปสำรวจพื้นที่ ตำแหน่งเชื้อเพลิงมีมากหรือน้อย และจัดการกับเชื้อเพลิงนั้น เพราะเมื่อเกิดไฟไหม้จริงไฟมันจะได้เบา หรือไม่ตรงนั้น อาจจะไม่เกิดไฟไหม้เลยก็ได้”


สำหรับอุปกรณ์ที่เราจะนำเข้าไปในป่า ประกอบด้วยรถบรรทุกน้ำ ไม้ตบไฟ ,ครอบ ,ถังฉีดน้ำดับไฟป่า จะช่วยในการลดความร้อน ส่วนครอบจะใช้ในการแยกเชื้อเพลิงออกจากองค์ประกอบสามเหลี่ยมไฟหรือใช้ตัดเชื้อเพลิงให้ขาด ไม้ตบไฟคือปิดอากาศ ส่วนรถเรนเจอร์ได้ลากแท้งค์น้ำเพื่อไปเอาน้ำจากลำธาร บ่อน้ำ มาดับไฟ นอกจากนี้หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าหญิงยังพาพวกเราไปเก็บเชื้อเพลิงมาทำปุ๋ยเพราะอุทยานแห่งนี้จะทำปุ๋ยไว้ใช้เอง






แต่ก่อนที่ทุกคนจะเดินทางเข้าไปในป่า เพื่อทำภารกิจ "ชิงเผา"  ขนิษฐา ดอนชัย หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าหญิงคนแรกในประเทศไทย ได้สอนให้พวกเราประกอบเครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการดับไฟป่ากันเสียก่อน   เมื่อเราเรียนรู้ และเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อย จึงขนขึ้นรถเพื่อเข้าไปทำกิจกรรมดับไฟในป่ากัน 


ไฟป่า หมายถึง ไฟที่เกิดขึ้นจากสาเหตุอันใดก็ตามแล้วลามไปโดยอิสระปราศจากการควบคุม ทั้งนี้ ไม่ว่าไฟนั้นจะลุกลามในป่าธรรมชาติหรือสวนป่า


องค์ประกอบของไฟป่า


ไฟป่าจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบที่จำเป็น 3 ประการคือ เชื้อเพลิง ความร้อน และออกซิเจน มีลักษณะเฉพาะดังนี้


1.เชื้อเพลิง เชื้อเพลิงในการเกิดไฟป่า ได้แก่ ต้นไม้ ไม่พุ่ม กิ่งไม้ กอไม้ ลูกไม้เล็ก ๆ หญ้าและวัชพืชอื่น ๆ


2.ออกซิเจน ซึ่งมีอยู่ทั่วไป


3.ความร้อน แหล่งความร้อนที่ทำให้เกิดไฟป่า แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แหล่งความร้อนตามธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า และแหล่งความร้อนจากมนุษย์ ซึ่งจุดไฟด้วยสาเหตุต่าง ๆ กัน


องค์ประกอบทั้ง 3 ประการนี้ เรียกว่า สามเหลี่ยมไฟ (Fire Triangle) หากขาดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปไฟก็จะไม่เกิดขึ้นหรือไฟป่าที่เกิดขึ้นแล้วกำลังลุกลามอยู่ก็จะดับลง


สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่า เกิดจาก 2 สาเหตุคือ


1.เกิดจากธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า


2.เกิดจากมนุษย์


2.1 เก็บหาของป่า เป็นสาเหตุทีทำให้เกิดไฟป่ามากทีสุด การเก็บหาของป่าส่วนใหญ่ ได้แก่ ไม้ไผ่ น้ำผึ้ง ผักหวาน และฟืน เป็นต้น


2.2 เผาไร่ เพื่อกำจัดวัชพืชหรือซากพืชที่เหลืออยู่ภายหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในรอบต่อไป โดยปราศจากการทำแนวไฟและปราศจากการควบคุม ทำให้ไฟลุกลามเข้าป่าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง


2.3 ล่าสัตว์ โดยวิธีไล่ล่า หรือจุดไฟไล่สัตว์หนีออกจากที่ซ่อน เช่น จุดให้แมลงบินหนี้ไฟ นกชนิดต่าง ๆ จะบินมากินแมลงแล้วดักยิงนกอีกทอดหนึ่ง หรือจุดไฟเผาทุ่งหญ้าเพื่อให้หญ้าแตกยอดอ่อนล่อให้สัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่นกระทิง กระต่าย มากินหญ้าและดักรอยิงสัตว์นั้น ๆ


2.4 เลี้ยงสัตว์ ชาวบ้านที่เลี้ยงสัตว์แบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ มักลอบจุดไฟเผาป่าให้มีสภาพเป็นทุ่งหญ้าเพื่อเป็นแหล่งอาหารสัตว์


2.5 ความประมาท เกิดจากการที่คนเข้าไปพักแรมในป่าโดยก่อกองไฟแล้วลืมดับ หรือทิ้งก้นบุหรี่ลงในพื้นป่า หุงต้มอาหารหรือก่อไฟให้ความอบอุ่นแล้วไม่ได้ดับให้สนิท ทำให้เกิดการลุกลามเป็นไฟป่า


2.6 เพื่อความสะดวกในการเดินผ่านป่า จุดไฟเผาให้ป่าโล่ง ง่ายต่อการเดินผ่าน คนที่เดินผ่านป่าในเวลากลางคืน มักจุดไฟเผาป่าเพื่อความสะดวกต่อการเดินทาง


2.7 จุดเพื่อกลั่นแกล้ง เช่น ขัดแย้งกับหน่วยงานของทางราชการในพื้นที่เช่น สวนป่า อุทยานแห่งชาติโดยการกลั่นแกล้งจุดไฟเผาป่า


2.8 จุดไฟโดยความคึกคะนอง โดยไม่มีวัตถุประสงค์ใด ๆ แต่จุดเล่นเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น






จากนั้นคณะสื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่ได้ร่วมกิจกรรมสร้างแนวกันไฟ โดยใช้ความสามารถของรถยนต์ ฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการลากจูงแท้งค์น้ำ และบรรทุกอุปกรณ์ต่างๆ โดยมี ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี (Traction Control) ช่วยให้สามารถเหยียบคันเร่งบนทางลูกรังขณะขนของหนักได้โดยไม่ติดหล่ม และเพื่อความสะดวกในการใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์เสริมฝาปิดกระบะท้ายควบคุมด้วยไฟฟ้า (Power Roller Shutter) ที่เพิ่งเสริมเข้ามาในรุ่นไวลด์แทรค สามารถช่วยเพิ่มความสะดวกในการเปิด-ปิด ฝาท้ายกระบะได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว



















กิจกรรมในครั้งนี้มี บุ๋ม ปนัดดา วงศ์ผู้ดี นาวสาวไทยปี 2543 ได้มีส่วนรวมภารกิจการชิงเผากับสื่อมวลชนหญิงด้วยเช่นกัน และเธอได้กล่าวไว้ว่า “การดับไฟป่า ถือเป็นประสบการณ์อีกครั้งในชีวิตเพราะได้เรียนรู้วิธีการควบคุมไฟป่าจากผู้หญิงที่ได้เป็นหัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าหญิงคนแรกของประเทศไทย ทำให้รู้ซึ้งเลยว่าการทำงานตรงนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายและเอาชีวิตเข้าเสี่ยง นี่ขนาดกองไฟที่จำลองยังร้อนแผดเผาจนแสบผิว ควันที่อาจะทำให้สลบได้ภายในเสี้ยวนาที แล้วเจ้าหน้าที่รวมถึงอาสาที่ทำงานตรงนั้นจะต้องสู้มากขนาดไหน เป็นการทำงานที่ต้องเอาชีวิตเข้าแลกของจริง




ไฟป่าเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรทางธรรมชาติไปอย่างมากมาย และในระยะสองสามปีที่ผ่านมานี้ ไฟป่ายังเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทย การเดินทางไปสร้างแนวกันไฟป่าครั้งนี้จะช่วยเติมเต็มพันธกิจของฟอร์ดในฐานะผู้ผลิตรถยนต์ที่เห็นความสำคัญในการปกป้องผืนป่าและช่วยลดมลพิษ













ในวันที่สอง หลังปฏิบัติภารกิจสุดท้าทาย คณะสื่อมวลชนได้เดินทางด้วยรถยนต์ฟอร์ด เรนเจอร์ สัมผัสประสบการณ์การเดินทางแบบออฟโรด ผ่านเส้นทางถนนลูกรัง และผ่านอุปสรรคต่างๆ เพื่อเดินทางเข้าสู่ทุ่งนางพญาเมืองเลน ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวยอดนิยมของอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ทุ่งนางพญาเป็นทุ่งหญ้าที่แวดล้อมด้วยป่าสนสองใบสลับกับป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง เหมาะสำหรับการชมวิวทิวทัศน์ และผู้ที่ต้องการใกล้ชิดกับธรรมชาติอย่างแท้จริง โดยบรรยากาศคล้ายคลึงกับทุ่งหญ้าสะวันนาในทวีปแอฟริกา มีป่าสนเขาขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น รวมถึงไม้ดอกสีสันสวยงามที่มีอยู่หลากหลายชนิด ก่อนร่วมรับประทานอาหารเช้าแบบแคมป์ปิ้งท่ามกลางลมหนาว และภูมิประเทศที่งดงามส่งท้ายการเดินทางครั้งนี้


ซึ่งเส้นทางก่อนจะถึงจุดทานอาหารเช้าต้องยอมรับว่า วิวสองข้างทางสวยงาม โดยเฉพาะทางช่วงหนึ่งเต็มไปด้วย ทุ่งหญ้าสะวันน่า สีแดงเต็มไปหมด แต่พวกเราไม่มีเวลาเก็บภาพมากนักเนื่องจากจุดหมายของพวกเรายังอีกไกล




ทุ่งแสลงหลวงอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ หนองแม่นาประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นทุ่งหญ้าแบบสะวันนา มีพื้นที่เป็นที่โล่งกว้างใหญ่ เนื้อที่ประมาณ 16 ตารางกิโลเมตร ตามเส้นทางจะตัดผ่านป่าเบญจพรรณจะพบสัตว์ป่าออกมาหากินตามข้างทาง และมีพันธุ์ไม้ดอกมากมาย นอกจากนี้ยังมีทุ่งหญ้าแบบสะวันนาสลับกับป่าสนสองใบ คือทุ่งหญ้าเมืองเลนและทุ่งโนนสน


ทุ่งนางพญา อยู่ทางทิศใต้ของที่ทำการอุทยานฯ หนองแม่นา ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นทุ่งหญ้าแบบสะวันนา ล้อมรอบด้วยป่าสนเขาและป่าดิบเขา ตามกิ่งสนจะพบไม้ป่าที่หาชมได้ยาก คือ เอื้องชะนีและเอื้องคำปากไก่




ถึงบรรทัดนี้ บอกเลยว่าภารกิจที่พวกเราสื่อมวลชนหญิงและเจ้าหน้าที่หน่วยควบคุมไฟป่าได้ใช้รถยนต์ ฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ ในการทำกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อเอาชนะขีดจำกัด ให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อคงผืนป่าอันเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำหลายสายที่มีความสำคัญต่อการเกษตรในพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนให้คงอยู่ต่อไป




ที่สำคัญสื่อมวลชนได้สัมผัสการใช้ชีวิตแบบเรนเจอร์ ตามแนวคิด “Live The Ranger Life” ทั้ง 5 ประการ ให้เห็นเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะ “เราพร้อมลุยเสมอ (Up and Over)” และ “ส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับทุกคนที่ร่วมเดินทางไปกับเรา (Bring Others Along the Journey)” กล่าวคือ นอกจากจะได้ร่วมมือกันทำให้งานยากกลายเป็นสิ่งที่สำเร็จได้โดยง่ายแล้ว ยังสามารถสร้างแรงขับเคลื่อนให้ผู้หญิงในการร่วมมืออนุรักษ์ระบบนิเวศ และป้องกันไฟป่าอันเป็นหนึ่งในสาเหตุที่มาของฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเป็นปัญหาที่คนไทยกำลังให้ความสำคัญอีกด้วย กมลชนก ประเสริฐสม กล่าวตบท้าย




















กำลังโหลดความคิดเห็น