xs
xsm
sm
md
lg

ประกาศผล “CU TOYOTA Ha:mo” ต่อยอดรถไฟฟ้าแบ่งกันใช้

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หลังจากที่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ริเริ่มโครงการ “CU TOYOTA Ha:mo” ภายใต้ความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2560 เพื่อทดลองระบบการแบ่งปันรถกันใช้ด้วยยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก EV Car Sharing เพื่อวิ่งในระยะทางสั้นๆ สำหรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างระบบขนส่งสาธารณะ และการเดินทางส่วนบุคคลอย่างราบรื่น เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบาย เดินทางสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างรวดเร็วและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม



ปัจจุบันโครงการมีรถไฟฟ้าที่ให้บริการรวมทั้งหมด 30 คัน ใน 22 สถานี โดยครอบคลุมพื้นที่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สยามสแควร์ สามย่าน และสวนหลวง จากการประเมินผลโครงการ “CU TOYOTA Ha:mo” พบว่า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อขยายระบบการคมนาคม Ha:mo ออกไปในวงกว้าง ทางโครงการจึงเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาที่สนใจได้เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาโครงการจากประสบการณ์การใช้งานจริง ภายใต้โครงการ “เวทีเปิดทางนวัตกรรม” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ความสามารถ และนำแนวความคิดหรือแผนงานที่เข้าร่วมแข่งขันไปประยุกต์ใช้งานในอนาคต ตลอดจนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ EV Car Sharing ไปในมิติต่างๆ ได้แก่

1) การพัฒนาระบบขับขี่อัตโนมัติ
2) การนำเทคโนโลยีหรือแอพพลิเคชั่นเข้ามาปรับปรุงให้ผู้ใช้งานขับขี่ปลอดภัยและประหยัดยิ่งขึ้น
3) การออกแบบระบบเคลื่อนย้ายหมุนเวียนรถเพื่อรองรับความต้องการใช้งาน
4) การวิเคราะห์และปรับปรุงกฎหมายให้รองรับ EV Car Sharing
5) การพัฒนาแผนการตลาดสำหรับธุรกิจ EV Car Sharing



โครงการ “เวทีเปิดทางนวัตกรรม” เปิดให้นิสิตนักศึกษาได้สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยมีผู้ที่สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 30 ทีม ซึ่งทางคณะกรรมการได้คัดเลือกทีมที่ผ่านตามเกณฑ์การตัดสินจนเหลือ 17 ทีมสุดท้ายเพื่อเข้ารอบชิงชนะเลิศในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562 โดยทั้ง 17 ทีม ได้นำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการการตัดสินจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนจากโครงการ CU TOYOTA Ha:mo และผู้แทนจากผู้สนับสนุนโครงการเพื่อคัดเลือกโครงงานนำไปสู่การประยุกต์ใช้งานจริงต่อไปในอนาคต โดยโครงการจะให้การสนับสนุนงบประมาณอีก 6 ล้านบาท


นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ
นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า แนวคิดอันเป็นประโยชน์ที่นิสิตนำมาเสนอในเวทีเปิดทางนวัตกรรมนี้ จะสามารถต่อยอดจากแนวความคิดพื้นฐานไปสู่กระบวนการที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และสามารถนำหลักคิดที่สำคัญมาร่วมกันพัฒนาทางเลือกใหม่สำหรับการเดินทางในสังคมเมืองอันจะก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ และนี่คืออีกหนึ่งความสุขที่โตโยต้าพร้อมขับเคลื่อนและมอบให้กับคนไทยอย่างยั่งยืนตลอดไป


“วันนี้ ผมได้เห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจของนิสิตแต่ละทีมที่ได้นำเสนอผลงานอย่างเต็มความสามารถ ผมเชื่อว่าทุกคนในที่นี้มีศักยภาพในการที่จะสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพ หากทุกคนมีความมุ่งมั่น ไม่ลดละความพยายาม ไม่ว่าวันนี้ผลการตัดสินจะเป็นอย่างไร ขอให้เราทุกคนมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา EV Car Sharing”
ทีมที่ได้รับรางวัลและผู้บริหารที่ร่วมสนับสนุนโครงการทั้งหมด




สำหรับ ผลการตัดสิน “เวทีเปิดทางนวัตกรรม (CU TOYOTA Ha:mo OPEN INNOVATION CONTEST)” มีดังนี้
1) ระบบขับขี่อัตโนมัติ เพื่อการรีโลเคชั่นรถ สำหรับ CU TOYOTA Ha:mo
► รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม KWY
-นายนภัทร พหลพลพยุหเสนา
-นายสิรวิชญ์ ธรรมานุธรรม
-นายสุภณ โง้วศิริกูล

► รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม HADAMO
-นายชินโชติ อนุกูลประเสริฐ
-นายอุกฤษฏ์ วัฒนกุลชาติ
-นายอัครวินท์ กาญจนรัตนากร
-นายทยากร ฟู
-นายอานนท์ ผ่องสว่าง

► รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม KAIMAIMO Ha:mo
-นายกิตติศักดิ์ บุญทองเนียม
-นายณพกิตติ์ แตงอ่อน
-นายกิตินันท์ บุญระวี
-นายคุปต์บดี ตันติพุกนนท์
-นายธนดล โกศลวัฒนสมบัติ



2) การนำเทคโนโลยีหรือแอปพลิเคชันเข้ามาปรับปรุงให้ผู้ใช้งานขับขี่ปลอดภัยและประหยัดมากขึ้น
► รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม SIMPLE HARMOIC
-นายนภัทรพน ปรานมนตรี
-นายชนพล ปิยะวิชยานนท์
-นายเจตริน เอี่ยมตระกูล
-นางสาวจุฑามาศ อรรถสกุลชัย
-นายพีรพล วรภัทรหิรัญมาศ

► รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม LOOK P INDIE
-นายปณายุ คีลาวัฒน์
-นายอมรพงศ์ ตระการกุลพันธ์
-นายชญานนท์ เอี่ยมวิวัฒน์
-นายปรินทร์ พุทธบุรี

► รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม TWENTY FOUR-SEVEN
-นายภูษณ วินัยพานิช
-นายรณัสถ์ชัย เหล่าศิริพงศ์
-นายรวิภาส ผลิตนนท์เกียรติ
-นายดนภัทร จิระมานะพันธ์
-นายภคพงษ์ โต๊ะทอง



3) การออกแบบระบบรีโลเคชั่นรถ สำหรับ CU TOYOTA Ha:mo
► รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม Ha:mo 1
-นายปัญญาวุธ ศรีอิสรานุสรณ์
-นายปวิตร เอี่ยมวรวุฒิกุล

► รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม ALWAYS PANDA
-นายสัณฑพล ศรีพิไลพงศ์
-นายวริทธิ์ ประสาทฤทธา
-นายปัญจพล สงวนพานิช
-นายชยพล ปัญจะเทวคุปต์
-นายชวาล เพียรสัตยานนท์

► รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม เขียว
-นายพิริยพงษ์ เลาพงษ์สิต
-นายพงศ์พิสิฐ ธนสุทธิเวศย์
-นายธัญญ์ธวัช สุวรรณฉัตรกุล
-นายรุจิกร ชรากร



4) การวิเคราะห์และให้คำปรึกษาทางกฎหมายสำหรับธุรกิจ EV sharing
► รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม CAPANITY
-นายพงศ์ธร จิตตาพินิจมาศ
-นายชยากร บุญศรี
-นางสาวกิรณาพัชญ์ บูรณพัฒน์ปกรณ์
-นางสาวนภัสวรรณ แสงสีแก้ว
-นางสาวเพลงพิณ ยงเมธาวุฒิ

► รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม ฮามั้ย ฮาโม่
- นางสาววิภาดา จีระออน
- นางสาวอัคร์ภา กุลกาญจนาธร
-นางสาวณัฐชยา พิเชฐสัทธา
-นางสาวจิดาภา ศรีสัมมาชีพ
-นางสาวศิรดา วิศวะโยธานันท์



5) แผนการตลาดเพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกและการใช้งาน
► รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม องค์หญิงสามย่าน
-นางสาวเบญจรัฏ ชั้นบุญใส
-นางสาวชนิสรา ศรีจันทร์โพธิคุณ
-นางสาวมินตรา หล่อบรรจงสุข

► รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม Ha:mo IN YOUR AREA
-นางสาวพิศุทธา จันทร์ประภาพ
-นางสาววริษฐา ประสพผล
-นางสาววรรณรดา ศิริสกุลไพศาล
-นางสาวกริษฐา สวัสดี
-นางสาวรัตนากร นิยมชื่น

► รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม SM
-นางสาวชัญญา โพธิ์นิ่มแดง
-นางสาวจุฑามาศ ปิ่นมณี
-นางสาวรมย์นลิน สุทธิจันทร์
-นายวิชานาถ แซ่ท่อร์
-นายณัฐชนน ชิงทอง



รางวัลที่ได้รับ
► รางวัลชนะเลิศ
-โล่เกียรติยศ พร้อมทุนการศึกษา จำนวน 35,000 บาท
-ศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นระยะเวลา 4 วัน

► รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
-โล่เกียรติยศ พร้อมทุนการศึกษา จำนวน 25,000 บาท

► รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
-โล่เกียรติยศ พร้อมทุนการศึกษา จำนวน 15,000 บาท

► รางวัลสนับสนุนแก่ทุกทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย
-ทุนสนับสนุน จำนวน 5,000 บาท

รวมมูลค่ารางวัลการประกวดทั้งสิ้น 2 ล้านบาท


กำลังโหลดความคิดเห็น