xs
xsm
sm
md
lg

เชลล์ พาเยือนถิ่นกำเนิด “ม้าลำพอง” รถที่ทรงอิทธิพลอันดับหนึ่งของโลก (2)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

บริเวณโรงงานเฟอร์รารี่
เมื่อเอ่ยถึงเมือง มาราเนลโล่ (Maranello) สำหรับคอรถต้องนึกถึงรถยี่ห้อ เฟอร์รารี่ (Ferrari) แน่นอน เพราะที่นี้คือศูนย์กลางของแบรนด์เฟอร์รารี่ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิต ที่เก็บประวัติศาสตร์ของแบรนด์อย่าง Museo Ferrari หรือพิพิธภัณฑ์รถเฟอร์รารี่ ซึ่งปัจจุบันถือเป็นจุดดึงดูดบรรดาทัวร์ริสจากทั่วโลกให้เข้ามาเยี่ยมชม และบริษัท เชลล์ ประเทศไทย พันธมิตรโดยตรงกับเฟอร์รารี่มายาวนานจึงไม่พลาดที่จะพาลูกค้าผู้โชคดีจากเมืองไทยและสื่อมวลชนเข้าไปสัมผัส “ม้าลำพอง” ตัวนี้กันอย่างถึงแก่น
ประตูด้านหน้า
อันดับแรกทางเชลล์ พาพวกเราเข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตรถยนต์ของ เฟอร์รารี่ ซึ่งถือเป็นหัวใจและจิตวิญญาณของคนบ้าความเร็ว ความแรง ผสมผสานกับความคลาสสิคในสไตล์อิตาเลียน ผ่านรูปลักษณ์อันงดงาม ปราดเปรียว พร้อมพลังขับเคลื่อนแบบพายุสู่รถเฟอร์รารี่ ที่ทุกคนทั่วโลกต่างหลงใหลอยากจะเป็นเจ้าของ
รอบ ๆ เมือง มาราเนลโล่
การเยี่ยมชมโรงงานครั้งนี้ทุกคนจะต้องนั่งรถบัสทัวร์ภายในโรงงาน นักท่องเที่ยวจะต้องอยู่บนรถบัสตลอดเวลา และห้ามไม่ให้มีการบันทึกภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวเด็ดขาด โดยมีเจ้าหน้าที่คอยบรรยายให้ฟังในแต่ละจุดคืออะไร (ทีมงานเอ็มจีอาร์ มอเตอริ่ง พยายามหารูปมาประกอบบ้างส่วนจากเว็บเฟอร์รารี่ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพในบางมุมที่พอจะเผยแพร่ได้)

เมื่อรถบัสผ่านเข้าประตูมาภายในโรงงาน เจ้าหน้าที่ของเฟอร์รารี่ บอกว่า เมืองนี้สร้างโดย เอ็นโซ เฟอร์รารี่ เมื่อปี 1947 โรงงานอยู่ที่นี้มาตลอด และในปี 1990 มีการปรับปรุงใหม่ให้สภาพดูดีกว่าเดิม ดังนั้นตัวโรงงานของเฟอร์รารี่จึงมีส่วนผสมผสานของอาคารแบบดั่งเดิมและสมัยใหม่ รวมอยู่ด้วยกัน สำหรับอาคารใหม่ได้รับการออกแบบจากนักออกแบบชื่อดังเช่น Renzo Piano ออกแบบอาคารทดสอบอุโมงค์ลม, Massimiliano Fuksas ออกแบบอาคารส่วนออฟฟิค ,Marco Visconti ,Luigi Sturchio และรวมถึง Jean Nouvelle ที่เพิ่งเข้ามารับหน้าที่ออกแบบอาคารใหม่ในปี 2006
สีแดง เต็มเมือง
ภาพที่เห็นบนรถบัสเมื่อเหยียบเข้าเมืองเฟอร์รารี่คืออาคารบ้านเรือนสีแดง โลโก้ม้าลำพองเต็มไปหมดพนักงานที่ใส่ชุดสีแดงสัญญาลักษณ์ของเฟอร์รารี่ และมีโลโก้เชลล์ติดอยู่ด้วยที่สำคัญภายในโรงงานก็มีป้ายเชลล์ ตามจุดต่าง ๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็อธิบายว่าเชลล์กับเฟอร์รารี่เป็นพัทธมิตรทางธุรกิจกันมาเกือบ 70 ปีในการร่วมกันพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิง ,น้ำมันเครื่อง,ก๊าซ สำหรับรถเฟอร์รารี่ในการแข่งขันรถฟอร์มูล่า-วัน จึงไม่แปลกที่จะมีป้ายพันธมิตรที่เป็นเพื่อนรักของเราภายในบริเวณโรงงานหรืออยู่บนเสื้อพนักงาน
มีรถเฟอร์รารี่ จอดอยู่ตามถนนหนทางภายในเมือง
ทักทาย
เป็นภาพที่อบอุ่นเลยแอบถ่ายมา
โลโก้ มีอยู่ทั่วเมือง

แม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไป แต่บางอย่างในโรงงานแห่งนี้ยังคงรูปแบบของเดิมเอาไว้ ซึ่งก็รวมถึงทางเข้าโรงงานเฟอร์รารี่ ยังคงสภาพเดิมตั้งแต่สร้างเสร็จไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดใด... เส้นทางที่รถบัสวิ่งผ่านจะอยู่บนถนนเอ็นโซ่ เฟอร์รารี่ ซึ่งตั้งชื่อถนนเพื่อเป็นเกียร์ติแด่ผู้ก่อตั้งเฟอร์รารี่นั่นเอง ขณะที่ถนนเส้นอื่นภายในโรงงานก็ตั้งชื่อตามนักแข่งฟอร์มูล่า-วันของเฟอร์รารี่
รถบัสที่ใช้ในการพาทัวร์ โรงงาน
เจ้าหน้าที่ของเฟอร์รารี่ คอยบรรยายให้ฟังในแต่ละจุด
บริเวณโรงงานและสำนักงานของเฟอร์รารี่ถูกปรับปรุงให้เป็นพื้นที่สีเขียว มีต้นไม้เยอะ มีเลนจักรยาน ทั้งนี้ก็เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานให้ดีขึ้น และพนักงานเฟอร์รารี่สามารถรับประทานอาหารได้ที่โรงอาหารที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดี ทุกวันจะเสริฟอาหารประมาณ 2,500 ถาด มีพนักงาน 3,000 คน รวมถึงครอบครัวสามารถมาสังสรรค์ได้ด้วย มีโรงยิม ที่สำคัญโรงงานแห่งนี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง และเพียงพอต่อการผลิตรถเฟอร์รารี่ ทำให้ขั้นตอนการผลิตรถส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยมาก
อาคารในโรงงาน
บริเวณรอบๆ อาคาร เน้นให้ดูเป็นธรรมชาติ
อาคารสำหรับนักออกแบบ ออกแบบมาให้ดูผ่อนคลาย
ที่พิเศษหน่อยก็จะเป็นอาคารของนักออกแบบรถเฟอร์รารี่ เจ้าหน้าที่อธิบายว่า ในการเป็นนักออกแบบก็ต้องมีความเป็นครีเอทีฟ ตัวตึกจะออกแบบให้ดูผ่อนคลาย ข้างล่างเป็นน้ำ มีบันไดขึ้น-ลง จะได้คิดอะไรออกเมื่อมาทำงานทุกวัน
อีกหนึ่งอาคารในโรงงานเฟอร์รารี่
ปลูกต้นไม้ไว้รอบ ๆ อาคาร ทุกที
บรรยากาศเต็มไปด้วยสีเขียว
เน้นต้นไม้เยอะ ๆ
มีเลนจักรยานด้วย
ห้องอาหาร วันหนึ่งจะมีอาหารเสิร์ฟ 2,500 ทาด
นอกจากนี้ภายในโรงงานมีการสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่ไว้ อุโมงค์นี้ถูกออกแบบมาเป็นรูปร่างของเครื่องยนต์ ใช้ในการทดสอบอากาศพลศาสตร์ของรถเฟอร์รารี่ ที่ใช้ในการแข่งขันรถเฟอร์มูล่า-วัน รถทุกคันจะพ่นสีโดยใช้หุ่นยนต์หมด โรงงานประกอบรถจะเริ่มขึ้นที่นี้ ประกอบเครื่องยนต์ ตัวถัง จนเป็นตัวรถเลย เมื่อประกอบเสร็จก็เตรียมนำรถไปทดสอบ

เจ้าหน้าที่ชี้ไปจุดหนึ่งและบอกว่า รถสปอร์ตเฟอร์รารี่จะออกจากประตูนี้ เป็นจุดที่เฟอร์รารี่คันใหม่แล่นออกไป ทุกวันจะมีรถ 24-30 คัน ออกจากที่นี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นรถเฟอร์รารี่ใช้เวลา 1 ปี ในการผลิตจนสมบูรณ์ตามใบสั่งของลูกค้า โดยจะส่งออกไปยัง 62 ประเทศทั่วโลก โดยตลาดที่ใหญ่ที่สุดนั้นอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา รองลงมาคือ จีน

อาคารรูปอุโมงค์
สายการผลิต
ภายในไลน์การประกอบรถ
ภายในไลน์การประกอบรถ
ภายในไลน์การประกอบรถ
การจะเข้ามาชมโรงงานต้องมีการจองล่วงหน้า
ห้องพ่นสี
หลังพ่นสี รถถูกเก็บไว้ในห้องนี้
หลังจากนั้นรถบัสพาเรามายังสนามทดสอบรถที่อยู่ใกล้ๆกับโรงงาน โดยสนามแห่งนี้ลูกค้าสามารถนำรถมาทดสอบได้ด้วย การสร้างสนามทดสอบขึ้นมาเองก็เนื่องจาก เอ็นโซ่ เฟอร์รารี่ ต้องการความเป็นส่วนตัว สนามยาว 3 กิโลเมตร มี 8 โค้ง แต่ละโค้งสร้างโดยมีจุดประสงค์ต่อการทดสอบทั้งสิ้น สนามนี้สร้างเมื่อปี 1972 เพื่อเป็นสนามทดสอบอย่างเดียวไม่ใช่สนามแข่ง

บริเวณสนามมีแผนกกีฬามอเตอร์สปอร์ต กำลังทำใหม่ ,ออฟฟิคทีมฟอร์มูล่า-วัน และที่เป็นหัวใจสำคัญเลยคือที่นี้เป็นสถานที่เก็บรถแข่งฟอร์มูล่า-วัน เมื่อมีรายการแข่งขันก็จะเอารถขึ้นรถบรรทุกขนาดใหญ่ไปยังสนามแข่ง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ถือเป็นความลับของการแข่งรถฟอร์มูล่า-วัน ก็ว่าได้


ทางเข้าสนามทดสอบ ตรงนี้อนุญาติให้ถ่ายภาพได้
ภายในสนามมีตึกอยู่ 3 ตึก ที่เด่นคือตึกสีขาว เพราะเป็นที่ทำงานของเอ็นโซ่ เฟอร์รารี่ เขาชอบทำงานที่นี้ อยากอยู่กับนักแข่ง อยากได้ยินเสียงรถนักแข่ง เอ็นโซ่ เฟอร์รารี่ เสียชีวิตเมื่อปี 1988 อายุรวม 90 ปี และออฟฟิคของเขาทางเฟอร์รารี่ยังคงสภาพเดิมเหมือนตอนที่เขายังมีชีวิตอยู่

เจ้าหน้าที่เฟอร์รารี่ยังเล่าต่ออีกว่า ตึกอีก 2 หลัง เป็นห้องพักของนักแข่งฟอร์มูล่าวัน มียิมให้ออกกำลังกายด้วย เพื่อให้ร่างกายฟิตและแข็งแรงก่อนลงแข่ง เพราะน้ำหนักจะหายไป 3 กิโลกรัมเมื่อลงแข่งแต่ละครั้ง สำหรับนักแข่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับเฟอร์รารี่ จนโด่งดัง คือ มิชาเอล ชูมัคเกอร์ นักแข่งรถเจ้าของสถิติฟอร์มูล่าวัน 7 สมัย ชนะการแข่งขัน 5 ครั้งติดต่อกัน มากสุด และที่สะดุดตาพวกเราบนรถบัส คือเครื่องบินจอดอยู่บริเวณสนามทดสอบ เธอบอกว่า มีการขับแข่งกันระหว่างเครื่องบินกับรถเฟอร์รารี่ ปรากฏว่า รถเฟอร์รารี่ ชนะ กองทัพอากาศเลยมอบเครื่องบินลำนี้ให้กับเฟอร์รารี่ ...... ไม่อยากจะเชื่อเลยจริง ๆ …แต่ก็ต้องเชื่อ ..

สนามทดสอบ
ขับรถผ่านด้านหน้า
ก่อนลงจากรถ เจ้าหน้าที่เฟอร์รารี่บอกว่าจริงๆ รถเฟอร์รารี่ต้นฉบับคือสีเหลืองไม่ใช่สีแดง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสีเหลืองคือสีของเมืองที่เอ็นโซ่ เฟอร์รารี่เกิด แต่ที่เปลี่ยนมาสีแดงก็เพราะทางการของอิตาลีขอให้รถเฟอร์รารี่ที่ไปแข่งขันในต่างประเทศต้องเป็นสีแดงเท่านั้น
ป้ายโลโก้ ยังคงใช่ สีเหลือง
 Ferrai 488 Piata (2019)
นี่คือยี่ห้อรถยนต์ที่ทรงอิทธิพลอันดับหนึ่งของโลก และยังเป็นสัญลักษณ์ของความเร็ว ความหรูหรา ความแรง และความรวย .....ณ จุดนี้ การได้มาเยือนถิ่นกำเนิดของรถแบรนด์นี้จึงถือว่านี่คือที่สุดของการทำข่าวรถยนต์เลยก็ว่าได้



Ferrai 488 Piata (2019)


กำลังโหลดความคิดเห็น