บนพื้นฐานตรรกะเดียวกับการยกย่อง “ฟอร์ด โมเดล ที” ว่าเป็นรถยนต์ที่ปฎิวัติวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ไปตลอดกาล “นิสสัน ลีฟ” ควรได้รับการยกย่องเช่นนั้นเหมือนกัน ด้วยเหตุผลอะไร ขอเชิญติดตามได้ ณ บัดนี้

การถือกำเนิดขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้า แท้จริง มีมานานเกินกว่า 50 ปีแล้ว แต่ด้วยคุณสมบัติต่างๆ เช่น ระยะทางวิ่ง ความเร็วในการขับเคลื่อน ความสะดวกในการชาร์จ ยังเป็นปัญหาในการผลิตเพื่อจำหน่ายและใช้งาน เราจึงเห็นรถยนต์ไฟฟ้าแค่เพียงโมเดลพิเศษหรือรถทดลองขับเท่านั้น จนกระทั่ง “นิสสัน” เปิดตัว “ลีฟ” เป็นครั้งแรกในโลกเมื่อปีค.ศ. 2010


เมื่อแรกเปิดตัว “นิสสัน ลีฟ” นอกจากการสร้างความสนใจไปทั่วทุกประเทศที่ทำตลาด ลีฟ ยังสามารถกวาดรางวัลรถยอดเยี่ยม จากแทบทุกสถาบัน โดยเฉพาะรางวัลหลักได้รับครบทุกถ้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่หากนับถึงปัจจุบัน ลีฟ ก้าวขึ้นมาอยู่ในตำแหน่ง รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นที่ขายดีที่สุดในโลกด้วยตัวเลขกว่า 342,000 คัน (นับถึงเดือนธันวาคม 2560)
ปัจจุบัน ลีฟ ได้เปิดตัว เจนเนอเรชันที่ 2 เรียบร้อยแล้วเมื่อปลายปี 2017 ซึ่งมีสิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงจากรุ่นก่อนหน้าหลายรายการ และแม้ว่าเวลานี้ นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย จะยังไม่เปิดตัว นิสสัน ลีฟ ในเมืองไทย แต่มีความเป็นไปได้สูงมาก เมื่อนิสสัน เชิญเราไปร่วมทริปทดสอบการขับขี่ เจ้าลีฟ พร้อมสัมผัสกับเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนที่ประเทศสเปน มาดูกันว่า ลีฟ ใหม่เป็นอย่างไรบ้าง


แบตใหญ่ วิ่งไกลกว่าเดิม
เริ่มกันที่ รูปทรงภายนอก นิสสัน ลีฟ ได้รับการออกแบบใหม่หมด เน้นที่ความลู่ลมตามหลักอากาศพลศาสตร์เป็นหลัก โดยมีค่าแรงเสียดทานอากาศที่ 0.28 (Cd) ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำมากสำหรับรถแบบ 5 ประตูเช่นนี้ ส่วน กระจังหน้า ‘V-motion’ ตกแต่งด้วยสีน้ำเงิน ย้ำถึงการเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% ที่มีการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์
ลูกเล่นใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามา ประกอบไปด้วย ProPILOT ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ที่ให้ความปลอดภัยและสะดวกสบายมากขึ้น ProPILOT Park ระบบช่วยจอดอัตโนมัติเต็มรูปแบบด้วยการกดสวิทช์เพียงปุ่มเดียว และระบบ e-Pedal ที่ให้คุณใช้เพียงแป้นคันเร่งในการขับเคลื่อนและเบรก โดยไม่จำเป็นต้องแตะแป้นเบรก


สำหรับระบบขับเคลื่อนเป็นแบบมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนล้อหน้า ให้กำลังสูงสุด 150 แรงม้า ที่ 3283-9795 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 320 นิวตันเมตร ที่ 0-3283 รอบ/นาที อัตราเร่งเร็วกว่ารุ่นก่อนด้วย 0-100 กม.ต่อชม. ทำได้ภายใน 7.9 วินาที ความเร็วสูงสุด 144 กม./ชม.
ส่วน แบตเตอรี่ ที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของรถยนต์ไฟฟ้า เป็นรุ่นใหม่แบบ ลิเธียม อิออน โคบอลท์ ความจุ 40 กิโลวัตต์ ใหญ่ขึ้นกว่าโมเดลก่อนหน้า ตามสเปคโรงงานระบุสามารถวิ่งได้สูงสุด 400 กม.ขณะที่การทดสอบจริงตามมาตรฐาน NEDC หรือมาตรฐานการทดสอบความประหยัดน้ำมันและมลพิษของยุโรประบุตัวเลข 378 กม.



นอกจากนี้ นิสสัน ลีฟ เป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นแรกที่ผ่านกระบวนการทดสอบรถยนต์น้ำหนักเบาระดับโลกหรือ WLTP ที่ลูกค้าสามารถขับขี่ในเมืองได้ไกลถึง 415 กม. ต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้ง แต่ตัวเลขการขับแบบเฉลี่ยทั้งในและนอกเมืองระบุระยะทาง 270 กม. โดยการทดสอบดังกล่าวสะท้อนสถานการณ์ใช้งานจริงได้อย่างถูกต้องแม่นยำกว่าแบบอื่น



สำหรับ ระยะเวลาชาร์จไฟหลังจากแจ้งเตือนจนถึงระดับ 80% (ชาร์จไฟเร็ว 50 Kw/ชม.) อยู่ที่ 40-60 นาที ขณะที่การชาร์จไฟวอลล์บ็อกซ์ (Wallbox) 7Kw/ชม. ตั้งแต่แจ้งเตือนถึง 100 เปอร์เซ็นต์ใช้เวลา 7.5 ชั่วโมง และการชาร์จไฟจากไฟบ้านธรรมดา(10 แอมป์) จะใช้เวลาราว 21 ชั่วโมง



ขับสนุก ควบคุมง่าย
สำหรับความรู้สึกแรกสารภาพตามตรงว่าตื่นเต้นมิใช่น้อย เมื่อได้ลองนั่งประจำการหลังพวงมาลัย แต่แล้วหลังจากขับออกไปได้สักพักความรู้สึกเปลี่ยนไปกลายเป็น คุ้นเคย และเมื่อสิ้นสุดการเดินทางพัฒนามาเป็น “ตกหลุมรัก”
ที่ผู้เขียนกล้าใช้คำนี้เนื่องจาก ก่อนหน้านี้ถ้าติดตาม MGR มอเตอริ่งอย่างสม่ำเสมอจะทราบว่าผู้เขียนพึ่งจะทดลองขับ BYD e6 รถไฟฟ้า100% เหมือนกัน หลังจากลองเสร็จก็บินไปลอง นิสสัน ลีฟ อย่างต่อเนื่องทันที ทำให้การเปรียบเทียบความรู้สึกของการขับรถไฟฟ้านั้น ชัดเจนมาก



ทริปนี้ทีมงานกำหนดจุดให้เราขับไปเป็นยอดเชาบนอุทยานแห่งชาติ ของเกาะเตเรนิเฟ่ โดยอาศัยระบบนำทางของรถ ที่ต้องยอมรับว่า แม่นยำ เชื่อใจได้ 100% มองไปที่หน้าจอแบตเตอรี่เกือบเต็ม ระบุระยะทางวิ่งได้อีก 262 กม. ซึ่งตามแผนที่กำหนดให้เราวิ่งไปกลับราว 150 กม. เหลือเฟือแน่นอนแบบนี้
การขับขี่ช่วงแรกเป็นเส้นทางแบบขึ้นภูเขา คดโค้งไปมามากมาย สิ่งที่สัมผัสได้ชัดเจนคือ ความเงียบเพราะไม่มีเครื่องยนต์ แทบจะไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย การเข้าโค้งแม่นยำ เกาะถนนดีไม่มีเสียอาการ พวงมาลัยเบามือควบคุมง่าย ขับสบาย แป้นคันเร่งเบาเท้ามาก



การคิกดาวน์แบบหนักหน่วงมิดเท้า ให้ความรู้สึกแบบหลังติดเบาะ ถ้าไม่เกร็งคอไว้ หัวจะไปกระแทกพนังพิกศรีษะได้ (เพื่อนร่วมทริปเราโดนมาแล้ว) ส่วนจังหวะเร่งแซงทำได้ทันใจ แม้จะเป็นช่วงที่วิ่งด้วยความเร็วสูงถึง 100 กม./ชม. ก็ยังสามารถคิกดาวน์เร่งขึ้นได้อีก ความเร็วสูงสุดเราลองวิ่งได้ถึง 140 กม./ชม.ความเร็วส่วนมากที่ขับอยู่ระหว่าง 60-100 กม./ชม. ให้ความรู้สึกสนุกตลอดการขับขี่



เราขับสลับกันกับเพื่อนร่วมทริป ขึ้นเขามาด้วยระยะทางราว 60 กม. ถึงจุดพัก ใจหายวาบ เพราะเมื่อมองไปที่หน้าจอแบตเตอรี่เหลือ 42% ระบุระยะทางวิ่งได้อีกราว 70 กม.
ทั้งนี้ระยะทางที่ต้องวิ่งยังมีเหลืออีก 90 กว่ากม. แต่เป็นทางแบบลงเขา (ทีมงานเขาบอกเช่นนั้น) ถึงเวลาเดินทางต่อ ช่วงลงเขาเราเห็นได้ชัดเจนว่า มีการสะสมพลังงานไฟฟ้ากลับเข้าแบตเตอรี่ แทนการใช้ไฟในการขับเคลื่อน เมื่อลงมาถึงตีนเขา แบตเตอรี่กลับมาถึงระดับ 50% เรียกว่าอุ่นใจขึ้นมาทันที


เมื่อมาถึงจุดหมายปลายทางตัวเลขแบตเตอรี่ระบุ 39% และระยะทางเหลือวิ่งได้อีก 120 กว่ากม. ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ แต่มันคือความจริงจากการทดลองขับ ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้กับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า นั่นหมายความว่า เราควรจะต้องรู้จักเส้นทางที่จะไปให้ดีก่อน เราจึงสามารถใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองนึกภาพตามหาวิ่งขึ้นเขาไป แล้วเห็นตัวเลขระยะทางเหลือต่ำกว่าระยะทางที่จะไป เราคงถอดใจขับกลับบ้านเรียบร้อย ใช่ไหม


เหมาะกับใคร
สำหรับเมืองไทย นิสสัน ลีฟ ยังไม่เห็นราคา จึงขอโฟกัสที่ตัวรถเพียงอย่างเดียว ซึ่งเหมาะกับคนที่ชื่นชอบเทคโนโลยี ความล้ำหน้า ก้าวไปก่อนคนอื่น และควรใช้งานในเส้นทางที่คุ้นเคยหรือวิ่งเส้นทางประจำ ยิ่งถ้าคุณใช้แค่ในเมืองหรือไป-กลับบ้านกับที่ทำงานวันละไม่เกิน 60 กม. มั่นใจได้ว่า นิสสัน มีพลังไฟให้เพียงพอใช้งานได้ตลอดสัปดาห์โดยไม่ต้องชาร์จ ว่าแต่คุณจะกล้าหรือไม่เท่านั้นเอง









การถือกำเนิดขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้า แท้จริง มีมานานเกินกว่า 50 ปีแล้ว แต่ด้วยคุณสมบัติต่างๆ เช่น ระยะทางวิ่ง ความเร็วในการขับเคลื่อน ความสะดวกในการชาร์จ ยังเป็นปัญหาในการผลิตเพื่อจำหน่ายและใช้งาน เราจึงเห็นรถยนต์ไฟฟ้าแค่เพียงโมเดลพิเศษหรือรถทดลองขับเท่านั้น จนกระทั่ง “นิสสัน” เปิดตัว “ลีฟ” เป็นครั้งแรกในโลกเมื่อปีค.ศ. 2010
เมื่อแรกเปิดตัว “นิสสัน ลีฟ” นอกจากการสร้างความสนใจไปทั่วทุกประเทศที่ทำตลาด ลีฟ ยังสามารถกวาดรางวัลรถยอดเยี่ยม จากแทบทุกสถาบัน โดยเฉพาะรางวัลหลักได้รับครบทุกถ้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่หากนับถึงปัจจุบัน ลีฟ ก้าวขึ้นมาอยู่ในตำแหน่ง รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นที่ขายดีที่สุดในโลกด้วยตัวเลขกว่า 342,000 คัน (นับถึงเดือนธันวาคม 2560)
ปัจจุบัน ลีฟ ได้เปิดตัว เจนเนอเรชันที่ 2 เรียบร้อยแล้วเมื่อปลายปี 2017 ซึ่งมีสิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงจากรุ่นก่อนหน้าหลายรายการ และแม้ว่าเวลานี้ นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย จะยังไม่เปิดตัว นิสสัน ลีฟ ในเมืองไทย แต่มีความเป็นไปได้สูงมาก เมื่อนิสสัน เชิญเราไปร่วมทริปทดสอบการขับขี่ เจ้าลีฟ พร้อมสัมผัสกับเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนที่ประเทศสเปน มาดูกันว่า ลีฟ ใหม่เป็นอย่างไรบ้าง
แบตใหญ่ วิ่งไกลกว่าเดิม
เริ่มกันที่ รูปทรงภายนอก นิสสัน ลีฟ ได้รับการออกแบบใหม่หมด เน้นที่ความลู่ลมตามหลักอากาศพลศาสตร์เป็นหลัก โดยมีค่าแรงเสียดทานอากาศที่ 0.28 (Cd) ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำมากสำหรับรถแบบ 5 ประตูเช่นนี้ ส่วน กระจังหน้า ‘V-motion’ ตกแต่งด้วยสีน้ำเงิน ย้ำถึงการเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% ที่มีการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์
ลูกเล่นใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามา ประกอบไปด้วย ProPILOT ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ที่ให้ความปลอดภัยและสะดวกสบายมากขึ้น ProPILOT Park ระบบช่วยจอดอัตโนมัติเต็มรูปแบบด้วยการกดสวิทช์เพียงปุ่มเดียว และระบบ e-Pedal ที่ให้คุณใช้เพียงแป้นคันเร่งในการขับเคลื่อนและเบรก โดยไม่จำเป็นต้องแตะแป้นเบรก
สำหรับระบบขับเคลื่อนเป็นแบบมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนล้อหน้า ให้กำลังสูงสุด 150 แรงม้า ที่ 3283-9795 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 320 นิวตันเมตร ที่ 0-3283 รอบ/นาที อัตราเร่งเร็วกว่ารุ่นก่อนด้วย 0-100 กม.ต่อชม. ทำได้ภายใน 7.9 วินาที ความเร็วสูงสุด 144 กม./ชม.
ส่วน แบตเตอรี่ ที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของรถยนต์ไฟฟ้า เป็นรุ่นใหม่แบบ ลิเธียม อิออน โคบอลท์ ความจุ 40 กิโลวัตต์ ใหญ่ขึ้นกว่าโมเดลก่อนหน้า ตามสเปคโรงงานระบุสามารถวิ่งได้สูงสุด 400 กม.ขณะที่การทดสอบจริงตามมาตรฐาน NEDC หรือมาตรฐานการทดสอบความประหยัดน้ำมันและมลพิษของยุโรประบุตัวเลข 378 กม.
นอกจากนี้ นิสสัน ลีฟ เป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นแรกที่ผ่านกระบวนการทดสอบรถยนต์น้ำหนักเบาระดับโลกหรือ WLTP ที่ลูกค้าสามารถขับขี่ในเมืองได้ไกลถึง 415 กม. ต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้ง แต่ตัวเลขการขับแบบเฉลี่ยทั้งในและนอกเมืองระบุระยะทาง 270 กม. โดยการทดสอบดังกล่าวสะท้อนสถานการณ์ใช้งานจริงได้อย่างถูกต้องแม่นยำกว่าแบบอื่น
สำหรับ ระยะเวลาชาร์จไฟหลังจากแจ้งเตือนจนถึงระดับ 80% (ชาร์จไฟเร็ว 50 Kw/ชม.) อยู่ที่ 40-60 นาที ขณะที่การชาร์จไฟวอลล์บ็อกซ์ (Wallbox) 7Kw/ชม. ตั้งแต่แจ้งเตือนถึง 100 เปอร์เซ็นต์ใช้เวลา 7.5 ชั่วโมง และการชาร์จไฟจากไฟบ้านธรรมดา(10 แอมป์) จะใช้เวลาราว 21 ชั่วโมง
ขับสนุก ควบคุมง่าย
สำหรับความรู้สึกแรกสารภาพตามตรงว่าตื่นเต้นมิใช่น้อย เมื่อได้ลองนั่งประจำการหลังพวงมาลัย แต่แล้วหลังจากขับออกไปได้สักพักความรู้สึกเปลี่ยนไปกลายเป็น คุ้นเคย และเมื่อสิ้นสุดการเดินทางพัฒนามาเป็น “ตกหลุมรัก”
ที่ผู้เขียนกล้าใช้คำนี้เนื่องจาก ก่อนหน้านี้ถ้าติดตาม MGR มอเตอริ่งอย่างสม่ำเสมอจะทราบว่าผู้เขียนพึ่งจะทดลองขับ BYD e6 รถไฟฟ้า100% เหมือนกัน หลังจากลองเสร็จก็บินไปลอง นิสสัน ลีฟ อย่างต่อเนื่องทันที ทำให้การเปรียบเทียบความรู้สึกของการขับรถไฟฟ้านั้น ชัดเจนมาก
ทริปนี้ทีมงานกำหนดจุดให้เราขับไปเป็นยอดเชาบนอุทยานแห่งชาติ ของเกาะเตเรนิเฟ่ โดยอาศัยระบบนำทางของรถ ที่ต้องยอมรับว่า แม่นยำ เชื่อใจได้ 100% มองไปที่หน้าจอแบตเตอรี่เกือบเต็ม ระบุระยะทางวิ่งได้อีก 262 กม. ซึ่งตามแผนที่กำหนดให้เราวิ่งไปกลับราว 150 กม. เหลือเฟือแน่นอนแบบนี้
การขับขี่ช่วงแรกเป็นเส้นทางแบบขึ้นภูเขา คดโค้งไปมามากมาย สิ่งที่สัมผัสได้ชัดเจนคือ ความเงียบเพราะไม่มีเครื่องยนต์ แทบจะไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย การเข้าโค้งแม่นยำ เกาะถนนดีไม่มีเสียอาการ พวงมาลัยเบามือควบคุมง่าย ขับสบาย แป้นคันเร่งเบาเท้ามาก
การคิกดาวน์แบบหนักหน่วงมิดเท้า ให้ความรู้สึกแบบหลังติดเบาะ ถ้าไม่เกร็งคอไว้ หัวจะไปกระแทกพนังพิกศรีษะได้ (เพื่อนร่วมทริปเราโดนมาแล้ว) ส่วนจังหวะเร่งแซงทำได้ทันใจ แม้จะเป็นช่วงที่วิ่งด้วยความเร็วสูงถึง 100 กม./ชม. ก็ยังสามารถคิกดาวน์เร่งขึ้นได้อีก ความเร็วสูงสุดเราลองวิ่งได้ถึง 140 กม./ชม.ความเร็วส่วนมากที่ขับอยู่ระหว่าง 60-100 กม./ชม. ให้ความรู้สึกสนุกตลอดการขับขี่
เราขับสลับกันกับเพื่อนร่วมทริป ขึ้นเขามาด้วยระยะทางราว 60 กม. ถึงจุดพัก ใจหายวาบ เพราะเมื่อมองไปที่หน้าจอแบตเตอรี่เหลือ 42% ระบุระยะทางวิ่งได้อีกราว 70 กม.
ทั้งนี้ระยะทางที่ต้องวิ่งยังมีเหลืออีก 90 กว่ากม. แต่เป็นทางแบบลงเขา (ทีมงานเขาบอกเช่นนั้น) ถึงเวลาเดินทางต่อ ช่วงลงเขาเราเห็นได้ชัดเจนว่า มีการสะสมพลังงานไฟฟ้ากลับเข้าแบตเตอรี่ แทนการใช้ไฟในการขับเคลื่อน เมื่อลงมาถึงตีนเขา แบตเตอรี่กลับมาถึงระดับ 50% เรียกว่าอุ่นใจขึ้นมาทันที
เมื่อมาถึงจุดหมายปลายทางตัวเลขแบตเตอรี่ระบุ 39% และระยะทางเหลือวิ่งได้อีก 120 กว่ากม. ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ แต่มันคือความจริงจากการทดลองขับ ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้กับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า นั่นหมายความว่า เราควรจะต้องรู้จักเส้นทางที่จะไปให้ดีก่อน เราจึงสามารถใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองนึกภาพตามหาวิ่งขึ้นเขาไป แล้วเห็นตัวเลขระยะทางเหลือต่ำกว่าระยะทางที่จะไป เราคงถอดใจขับกลับบ้านเรียบร้อย ใช่ไหม
เหมาะกับใคร
สำหรับเมืองไทย นิสสัน ลีฟ ยังไม่เห็นราคา จึงขอโฟกัสที่ตัวรถเพียงอย่างเดียว ซึ่งเหมาะกับคนที่ชื่นชอบเทคโนโลยี ความล้ำหน้า ก้าวไปก่อนคนอื่น และควรใช้งานในเส้นทางที่คุ้นเคยหรือวิ่งเส้นทางประจำ ยิ่งถ้าคุณใช้แค่ในเมืองหรือไป-กลับบ้านกับที่ทำงานวันละไม่เกิน 60 กม. มั่นใจได้ว่า นิสสัน มีพลังไฟให้เพียงพอใช้งานได้ตลอดสัปดาห์โดยไม่ต้องชาร์จ ว่าแต่คุณจะกล้าหรือไม่เท่านั้นเอง