ข่าวในประเทศ - “BYD” ได้ตัวแทนใหม่ AJ และ Sharich ร่วมมือ ลุยขายเต็มสูบเน้นเจาะตลาดขนส่งสาธารณะ ส่ง “e6” มุ่งกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ ตั้งเป้า 500 คันปีแรก พร้อมจับตลาดรถเมล์ด้วย “eBus”หวังขายปีแรก 20 คันนำร่องรถเมล์ไฟฟ้า ชูจุดเด่นไร้มลพิษ ค่าบำรุงรักษาต่ำกว่า และสะอาด ฟันธงคุ้มระยะยาว

BYD ชื่อรถยนต์แบรนด์นี้หลายคนรู้จักพอผ่านหูผ่านตาอยู่บ้าง เนื่องจากเคยเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยหลายครั้งผ่านหลายตัวแทนจำหน่าย แต่ยังไม่ดังเปรี้ยงปร้างถึงขนาดติดตลาดของไทย ซึ่งหากใครที่เคยไปประเทศจีน ก็จะคุ้นเคยเป็นอย่างดี เรียกว่าเห็นจนชินตา ในฐานะผู้นำด้านรถยนต์ไฟฟ้าอันดับหนึ่งของจีน ล่าสุดกับตัวแทนจำหน่าย BYD รายใหม่ บนความร่วมมือกันระหว่าง AJ กับ Sharich

AJ เป็นใครมาจากไหน คนไทยคงคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะนี่คือ แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าของคนไทย ภายใต้การบริหารงานของ “อมร มีมะโน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ส่วน Sharich ก็ไม่ใช่ใครอื่นไกล เป็นบริษัท โฮลดิ้ง ของ “อภิชาติ ลีนุตพงษ์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชาริช โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งปัจจุบันแยกตัวจากกงสีของกลุ่มยนตกิจออกมาทำเอง โดยมีแบรนด์ในเครืออย่าง รถจักรยานยนต์ ดูคาติ ,รอยัล เอนฟิลด์ และ เครื่องใช้ไฟฟ้า ไอ โรบอท เป็นต้น
ทั้งนี้จากการเปิดเผยของ “อภิชาติ ลีนุตพงษ์” ว่าการร่วมมือกันครั้งนี้ เริ่มจากกลุ่ม AJ ได้รับสิทธิ์การเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการจาก BYD จึงหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญด้านรถยนต์และมีแนวคิดที่ตรงกันดังนั้นจึงมาร่วมมือกัน เกิดเป็น “บริษัท ไรเซน เอนเนอร์จี จำกัด” เพื่อนำเข้าและจัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ BYD ขึ้น ซึ่งมีการรายงานอย่างเป็นทางการผ่านตลาดหลักทรัพย์ดังที่เป็นข่าวก่อนหน้านี้แล้ว

นอกจากการขายรถยนต์ไฟฟ้า ยังมีส่วนของ การติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า,โรงงานผลิตแบตเตอรี่ และโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า รวมอยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ ด้วย แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ไรเซน เอนเนอร์จี เตรียมความพร้อมไว้อย่างครบครันสำหรับแผนงานในอนาคตทั้งหมด
“เราเตรียมแผนการไว้ครบถ้วน แต่ในช่วงแรกคงต้องเริ่มด้วยการสร้างแบรนด์ ควบคู่ไปกับการทำตลาดแบบ B to B หมายถึง การขายแบบเฉพาะกลุ่มก่อน ยังไม่ใช่การขายสู่รายย่อย เนื่องจากยังคงต้องรอปัจจัยอีก 3 ประการให้ครบถ้วนก่อน รถยนต์ไฟฟ้าจึงจะสามารถแจ้งเกิดได้อย่างเต็มรูปแบบ” อภิชาติ กล่าว
สำหรับการขายแบบเฉพาะกลุ่มดังกล่าว จะเน้นไปที่ระบบขนส่งมวลชนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น รถแท็กซี่ และ รถเมล์ รวมถึงรถประเภทพิเศษอย่างรถลากกระเป๋าในสนามบิน และรถโฟล์คลิฟท์ที่ใช้ยกของในโกดัง ซึ่ง BYD มีรถยนต์ไฟฟ้า ครบทุกรูปแบบดังที่กล่าวมา แม้จะยังไม่เน้นการขายรายย่อย แต่หากมีคนสนใจก็สามารถติดต่อซื้อได้
“มองในแง่ของความคุ้มค่า สำหรับผู้บริโภคทั่วไป ยังไม่คุ้มเนื่องจากตัวรถที่เรานำเข้ามา BYD e6 มีราคาจำหน่ายที่ 1.89 ล้านบาท เทียบกับรถที่อยู่ในระดับราคาเดียวกันแล้ว ยอมรับว่า ยังไม่คุ้ม แต่หากมองถึงเรื่องของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ ต้องบอกว่า e6 คุ้มที่สุด เพราะมีขนาดใหญ่ถึง 80Kw เทียบเท่ากับ เทสล่า ที่มีราคาราว 7 ล้านบาท”

ซึ่งกลุ่มเป้าหมายการขายชุดแรกทาง อภิชาต บอกว่าจะขอเน้นไปในเรื่องของ Public Transportations ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์หรือรถแท็กซี่โดยจะเข้าไปเจรจากับผู้ประกอบการแท็กซี่รายใหญ่ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพและคุ้มค่าหากลงทุนในการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการดำเนินกิจการ ซึ่ง e6 ในเมืองจีนนิยมนำมาใช้เป็นรถแท็กซี่กว่า4หมื่นคัน
“จุดสำคัญคือราคารถไฟฟ้าปัจจุบันที่ 1.89 ล้านบาท มองในแง่ของการนำไปใช้งานเทียบราคาต้นทุนค่าเดินทางคร่าวๆ e6 จะตกประมาณ หนึ่งบาทต่อกม. ส่วนรถที่ใช้น้ำมันจะตกราว สามบาทต่อกม. หรือถ้าใช้ก๊าซ จะอยู่เกือบ 2 บาท ดังนั้น ยิ่งวิ่งเยอะยิ่งคุ้ม เพราะ นอกจากต้นทุนการวิ่งที่ถูกกว่า และค่าบำรุงรักษาต่ำ หากมองในระยะเวลา 5 ปี กับการใช้งานเกิน 2 00,000 กม. รถยนต์ไฟฟ้าจะคุ้มค่าการลงทุน ที่ตอนแรกจ่ายแพงกว่า” อภิชาติกล่าว
อย่างไรก็ตาม ปัจจัย 3 ประการตามความเห็นของอภิชาติ ที่จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้า แจ้งเกิดได้อย่างสมบูรณ์นั้น จะประกอบไปได้วย หนึ่ง รถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับการพิสูจน์ด้วยการเป็นรถสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นรถแท็กซี่หรือรถเมล์ รวมถึงการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐ ในทุกด้านทั้งภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ
ส่วนปัจจัยที่สองคือ ความเข้าใจของผู้บริโภค ที่ต้องเชื่อมั่นและมีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีว่า รถยนต์ไฟฟ้าใช้งานอย่างไร มีประโยชน์แค่ไหน ทั้งในแง่ของความประหยัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ไม่ปล่อยมลพิษเลยขณะวิ่ง และปัจจัยข้อที่สามสุดท้าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จะทำให้แบตเตอรี่มีราคาถูกลง ประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น ประชาชนก็จะซื้อหาได้ง่ายขึ้น เพราะต้นทุนค่าแบตเตอรี่เป็น 1 ใน 3 ของราคารถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นหากแบตเตอรี่มีราคาถูกลงเมื่อไหร่ก็จะสามารถแข่งขันด้านราคากับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในได้

“ปีนี้ BYD ตั้งเป้าการขายไว้ในรุ่น e6 จำนวน 500 คัน และรถบัส eBus จำนวน 20 คัน กับการลงทุนก้อนแรกมูลค่า 50-100 ล้านบาท เชื่อว่าก่อนหน้ารถยนต์ไฟฟ้า ยังไม่ถึงเวลาของประเทศไทย แต่นับจากนี้ภายใน 3 ปี รถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามามีบทบาทต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอย่างแน่นอน ” อภิชาติ กล่าวทิ้งท้าย
ถึงบรรทัดนี้ คงต้องรอดูกันว่า ภาครัฐจะสนับสนุนอย่างจริงจังขนาดไหน เมื่อเอกชนเริ่มขยับตัวแบบชัดเจนเช่นนี้แล้ว

BYD ชื่อรถยนต์แบรนด์นี้หลายคนรู้จักพอผ่านหูผ่านตาอยู่บ้าง เนื่องจากเคยเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยหลายครั้งผ่านหลายตัวแทนจำหน่าย แต่ยังไม่ดังเปรี้ยงปร้างถึงขนาดติดตลาดของไทย ซึ่งหากใครที่เคยไปประเทศจีน ก็จะคุ้นเคยเป็นอย่างดี เรียกว่าเห็นจนชินตา ในฐานะผู้นำด้านรถยนต์ไฟฟ้าอันดับหนึ่งของจีน ล่าสุดกับตัวแทนจำหน่าย BYD รายใหม่ บนความร่วมมือกันระหว่าง AJ กับ Sharich
AJ เป็นใครมาจากไหน คนไทยคงคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะนี่คือ แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าของคนไทย ภายใต้การบริหารงานของ “อมร มีมะโน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ส่วน Sharich ก็ไม่ใช่ใครอื่นไกล เป็นบริษัท โฮลดิ้ง ของ “อภิชาติ ลีนุตพงษ์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชาริช โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งปัจจุบันแยกตัวจากกงสีของกลุ่มยนตกิจออกมาทำเอง โดยมีแบรนด์ในเครืออย่าง รถจักรยานยนต์ ดูคาติ ,รอยัล เอนฟิลด์ และ เครื่องใช้ไฟฟ้า ไอ โรบอท เป็นต้น
ทั้งนี้จากการเปิดเผยของ “อภิชาติ ลีนุตพงษ์” ว่าการร่วมมือกันครั้งนี้ เริ่มจากกลุ่ม AJ ได้รับสิทธิ์การเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการจาก BYD จึงหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญด้านรถยนต์และมีแนวคิดที่ตรงกันดังนั้นจึงมาร่วมมือกัน เกิดเป็น “บริษัท ไรเซน เอนเนอร์จี จำกัด” เพื่อนำเข้าและจัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ BYD ขึ้น ซึ่งมีการรายงานอย่างเป็นทางการผ่านตลาดหลักทรัพย์ดังที่เป็นข่าวก่อนหน้านี้แล้ว
นอกจากการขายรถยนต์ไฟฟ้า ยังมีส่วนของ การติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า,โรงงานผลิตแบตเตอรี่ และโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า รวมอยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ ด้วย แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ไรเซน เอนเนอร์จี เตรียมความพร้อมไว้อย่างครบครันสำหรับแผนงานในอนาคตทั้งหมด
“เราเตรียมแผนการไว้ครบถ้วน แต่ในช่วงแรกคงต้องเริ่มด้วยการสร้างแบรนด์ ควบคู่ไปกับการทำตลาดแบบ B to B หมายถึง การขายแบบเฉพาะกลุ่มก่อน ยังไม่ใช่การขายสู่รายย่อย เนื่องจากยังคงต้องรอปัจจัยอีก 3 ประการให้ครบถ้วนก่อน รถยนต์ไฟฟ้าจึงจะสามารถแจ้งเกิดได้อย่างเต็มรูปแบบ” อภิชาติ กล่าว
สำหรับการขายแบบเฉพาะกลุ่มดังกล่าว จะเน้นไปที่ระบบขนส่งมวลชนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น รถแท็กซี่ และ รถเมล์ รวมถึงรถประเภทพิเศษอย่างรถลากกระเป๋าในสนามบิน และรถโฟล์คลิฟท์ที่ใช้ยกของในโกดัง ซึ่ง BYD มีรถยนต์ไฟฟ้า ครบทุกรูปแบบดังที่กล่าวมา แม้จะยังไม่เน้นการขายรายย่อย แต่หากมีคนสนใจก็สามารถติดต่อซื้อได้
“มองในแง่ของความคุ้มค่า สำหรับผู้บริโภคทั่วไป ยังไม่คุ้มเนื่องจากตัวรถที่เรานำเข้ามา BYD e6 มีราคาจำหน่ายที่ 1.89 ล้านบาท เทียบกับรถที่อยู่ในระดับราคาเดียวกันแล้ว ยอมรับว่า ยังไม่คุ้ม แต่หากมองถึงเรื่องของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ ต้องบอกว่า e6 คุ้มที่สุด เพราะมีขนาดใหญ่ถึง 80Kw เทียบเท่ากับ เทสล่า ที่มีราคาราว 7 ล้านบาท”
ซึ่งกลุ่มเป้าหมายการขายชุดแรกทาง อภิชาต บอกว่าจะขอเน้นไปในเรื่องของ Public Transportations ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์หรือรถแท็กซี่โดยจะเข้าไปเจรจากับผู้ประกอบการแท็กซี่รายใหญ่ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพและคุ้มค่าหากลงทุนในการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการดำเนินกิจการ ซึ่ง e6 ในเมืองจีนนิยมนำมาใช้เป็นรถแท็กซี่กว่า4หมื่นคัน
“จุดสำคัญคือราคารถไฟฟ้าปัจจุบันที่ 1.89 ล้านบาท มองในแง่ของการนำไปใช้งานเทียบราคาต้นทุนค่าเดินทางคร่าวๆ e6 จะตกประมาณ หนึ่งบาทต่อกม. ส่วนรถที่ใช้น้ำมันจะตกราว สามบาทต่อกม. หรือถ้าใช้ก๊าซ จะอยู่เกือบ 2 บาท ดังนั้น ยิ่งวิ่งเยอะยิ่งคุ้ม เพราะ นอกจากต้นทุนการวิ่งที่ถูกกว่า และค่าบำรุงรักษาต่ำ หากมองในระยะเวลา 5 ปี กับการใช้งานเกิน 2 00,000 กม. รถยนต์ไฟฟ้าจะคุ้มค่าการลงทุน ที่ตอนแรกจ่ายแพงกว่า” อภิชาติกล่าว
อย่างไรก็ตาม ปัจจัย 3 ประการตามความเห็นของอภิชาติ ที่จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้า แจ้งเกิดได้อย่างสมบูรณ์นั้น จะประกอบไปได้วย หนึ่ง รถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับการพิสูจน์ด้วยการเป็นรถสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นรถแท็กซี่หรือรถเมล์ รวมถึงการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐ ในทุกด้านทั้งภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ
ส่วนปัจจัยที่สองคือ ความเข้าใจของผู้บริโภค ที่ต้องเชื่อมั่นและมีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีว่า รถยนต์ไฟฟ้าใช้งานอย่างไร มีประโยชน์แค่ไหน ทั้งในแง่ของความประหยัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ไม่ปล่อยมลพิษเลยขณะวิ่ง และปัจจัยข้อที่สามสุดท้าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จะทำให้แบตเตอรี่มีราคาถูกลง ประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น ประชาชนก็จะซื้อหาได้ง่ายขึ้น เพราะต้นทุนค่าแบตเตอรี่เป็น 1 ใน 3 ของราคารถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นหากแบตเตอรี่มีราคาถูกลงเมื่อไหร่ก็จะสามารถแข่งขันด้านราคากับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในได้
“ปีนี้ BYD ตั้งเป้าการขายไว้ในรุ่น e6 จำนวน 500 คัน และรถบัส eBus จำนวน 20 คัน กับการลงทุนก้อนแรกมูลค่า 50-100 ล้านบาท เชื่อว่าก่อนหน้ารถยนต์ไฟฟ้า ยังไม่ถึงเวลาของประเทศไทย แต่นับจากนี้ภายใน 3 ปี รถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามามีบทบาทต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอย่างแน่นอน ” อภิชาติ กล่าวทิ้งท้าย
ถึงบรรทัดนี้ คงต้องรอดูกันว่า ภาครัฐจะสนับสนุนอย่างจริงจังขนาดไหน เมื่อเอกชนเริ่มขยับตัวแบบชัดเจนเช่นนี้แล้ว