ข่าวในประเทศ - ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ ถึงจุดเดือดแต่ละแบรนด์โหมกระหน่ำจัดแคมเปญ พร้อมส่งสินค้ารุ่นใหม่ให้ครบไลน์การขาย ดันมูลค่าตลาดรวมปี 2560 แตะถึงระดับ 1,500 ล้านบาท เติบโตขึ้นกว่าเดิมราว 10% “ลามิน่า” ยังขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งด้วยยอดขายมูลค่ารวมกว่า 760 ล้านบาท “ฟิล์มแถม” ยังครองตลาดสูงสุด
ตลาดฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ของไทยในปี 2560 เรียกว่ากำลังเข้าสู่ภาวะแข่งขันดุเดือด หลังการได้รับสิทธิ์ในการขายของแบรนด์ใหม่ๆ และรายเดิมที่จบปัญหาได้เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการแต่งเพียงผู้เดียวเรียบร้อย พร้อมเข้าลุยชิงเค้กก้อนใหญ่ตลาดฟิล์มกรองแสงของไทยที่มีมูลค่าประมาณ 1,500-1,700 ล้านบาทตามการประเมินของบรรดาแบรนด์ฟิล์มต่างๆ
ซึ่งจากตัวเลขยอดขายของ ลามิน่า ที่คาดว่าในปี 2560 นั้นจะมียอดทั้งสิ้นประมาณ 760 ล้านบาท จากมูลค่าตลาดที่ลามิน่าคาดไว้ว่าจะอยู่ในระดับ 1,500 -1,700 ล้านบาท นั่นหมายความว่า ลามิน่า จะครองสัดส่วนการขายประมาณ 50% ของตลาดรวม ขึ้นแท่นเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดฟิล์มกรองแสงในประเทศไทย
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ลามิน่า ก้าวขึ้นแทนเป็นเบอร์หนึ่งของตลาดฟิล์มกรองแสงในเมืองไทย จากคำกล่าวของ นางสาวจันนภา สายสมร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทคโนเซล (เฟรย์) จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายฟิล์มกรองแสงรถยนต์และฟิล์มกรองแสงอาคาร 'ลามิน่า' ระบุว่า
“จุดเด่นของลามิน่าคือ เรามีฟิล์มกรองแสงที่ครอบคลุมทุกระดับราคาให้ผู้บริโภคเลือกซื้อหาได้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ระดับราคาถูกไปจนถึงฟิล์มระดับไฮเฮนด์ ซึ่งลามิน่าเป็นรายแรกและรายเดียวที่ได้รับมาตรฐานด้านการประหยัดพลังงานทั้งจากสหรัฐอเมริกาและไทย รวมถึงการได้รับรางวัลการันตีด้านคุณภาพและการบริการจากหลายหน่วยงานจึงทำให้ลามิน่าประสบความสำเร็จ ผู้บริโภคมีความมั่นใจในสินค้า”
ดังนั้นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการทำตลาดฟิล์มคือการมีสินค้าให้ครบถ้วนทุกไลน์การขายและระดับราคา พร้อมกับการสร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวสินค้า จึงจะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกสินค้าได้ง่ายขึ้น
เช่นเดียวกับที่ คู่แข่งรายสำคัญอย่าง “วีคูล” หลังจากได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในนาม วี-คูล กรุ๊ป ไทยแลนด์ เป็นตัวแทนจำหน่ายฟิล์มกรองแสง วีคูล แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย เสริมไลน์การขาย ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายฟิล์มกรองแสงยี่ห้อ “ฮิวเปอร์ ออฟติค” อีกหนึ่งแบรนด์ ซึ่งจะเข้ามาช่วยเติมเต็มฟิล์มแบบเซรามิค
“ในแง่ของภาพรวมแบรนด์วีคูล ยอดขายเราเติบโตขึ้นราว 11-13%แต่ยอดรายได้กลับไม่แตกต่างจากเดิมที่ระดับ 13% หรือประมาณ 180 ล้านบาทของมูลค่าตลาดรวมฟิล์มที่มีประมาณ 1,500-1,600 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องมาจากการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาดฟิล์ม ซึ่งทำให้เราต้องเล่นแคมเปญแรงอย่างต่อเนื่องกับดีลเลอร์ ส่งผลต่อรายรับที่เป็นมูลค่าเงินต่อหน่วยลดลง” คำกล่าวของ นางสาวพิมพา ชลาลัย ประธานบริหาร บริษัท วี เค เอส กรุ๊ป (เอเซีย) จำกัด ที่มีต่อภาพรวมตลาดฟิล์มในปีที่ผ่านมา และกล่าวต่อว่า
"การเสริมแบรนด์ ฮิวเปอร์ ออฟติค จะช่วยอุดช่องว่างด้านราคาสินค้าให้ครบไลน์การขาย และตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่สนใจฟิล์มชนิดเซรามิค ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น โดยมีจุดเด่นที่ราคาเริ่มต้นไม่สูงมากเพียง 9,000 บาทต่อชุด"
ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ นายปิยะ สุนสะธรรม ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินเตอร์มาร์ค บิสซิเนส จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์จอห์นสัน และเอ็กซ์ตร้าโคล จากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวว่า ฟิล์มชนิดเซรามิค ลูกค้าเริ่มสอบถามและสนใจมากขึ้นกว่าเดิมถึงเท่าตัว
“จากเดิมมีลูกค้าเพียง 30% แต่ปัจจุบันมากกว่า 70% ที่สอบถามและสนใจฟิล์มแบบเซรามิค ส่วนตลาดฟิล์มกรองแสงของไทยปี 2560 คาดว่าน่าจะอยู่ที่ระดับ 1,500 ล้านบาท เติบโตขึ้นราว 10% โดย 20-30% เป็นระดับฟิล์มพรีเมี่ยมที่มีราคาสูงกว่า 20,000 บาทขึ้นไป สำหรับยอดขายของเราปี 2560 มีมูลค่าประมาณ 72 ล้านบาท แบ่งเป็น จอห์นสัน20% และเอ็กซ์ตร้าโคล 80%” นายปิยะกล่าว
อย่างไรก็ตาม สำหรับตลาดใหญ่สุดของฟิล์มกรองแสงที่ทุกแบรนด์ยอมรับคือ “ฟิล์มแถม” หรือฟิล์มที่ติดให้เมื่อผู้บริโภคซื้อรถใหม่ โดยมีสัดส่วนของตลาดอยู่มากถึง 60-70% ของตลาดฟิล์มทั้งหมด ส่วนอีก 30-40% คือ ฟิล์มทดแทน หรือฟิล์มติดใหม่แทนฟิล์มเก่าที่หมดอายุการใช้งาน ดังนั้นการให้สำคัญของผู้ค้าฟิล์มจึงอยู่ที่โชว์รูมหรือดีลเลอร์รถยนต์ ซึ่งสามารถเห็นได้ทุกโชว์รูมเมื่อไปจองรถมักจะมีฟิล์มกรองแสงให้เลือกด้วย
สำหรับในปีนี้ 2561 แต่ละแบรนด์คาดว่าอัตราการเติบโตของตลาดฟิล์มกรองแสงจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดรถยนต์ โดยคาดหมายการเติบโตที่ระดับ 5-6% ส่วนจะดุเดือดขนาดไหนต้องติดตามชม
ตลาดฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ของไทยในปี 2560 เรียกว่ากำลังเข้าสู่ภาวะแข่งขันดุเดือด หลังการได้รับสิทธิ์ในการขายของแบรนด์ใหม่ๆ และรายเดิมที่จบปัญหาได้เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการแต่งเพียงผู้เดียวเรียบร้อย พร้อมเข้าลุยชิงเค้กก้อนใหญ่ตลาดฟิล์มกรองแสงของไทยที่มีมูลค่าประมาณ 1,500-1,700 ล้านบาทตามการประเมินของบรรดาแบรนด์ฟิล์มต่างๆ
ซึ่งจากตัวเลขยอดขายของ ลามิน่า ที่คาดว่าในปี 2560 นั้นจะมียอดทั้งสิ้นประมาณ 760 ล้านบาท จากมูลค่าตลาดที่ลามิน่าคาดไว้ว่าจะอยู่ในระดับ 1,500 -1,700 ล้านบาท นั่นหมายความว่า ลามิน่า จะครองสัดส่วนการขายประมาณ 50% ของตลาดรวม ขึ้นแท่นเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดฟิล์มกรองแสงในประเทศไทย
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ลามิน่า ก้าวขึ้นแทนเป็นเบอร์หนึ่งของตลาดฟิล์มกรองแสงในเมืองไทย จากคำกล่าวของ นางสาวจันนภา สายสมร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทคโนเซล (เฟรย์) จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายฟิล์มกรองแสงรถยนต์และฟิล์มกรองแสงอาคาร 'ลามิน่า' ระบุว่า
“จุดเด่นของลามิน่าคือ เรามีฟิล์มกรองแสงที่ครอบคลุมทุกระดับราคาให้ผู้บริโภคเลือกซื้อหาได้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ระดับราคาถูกไปจนถึงฟิล์มระดับไฮเฮนด์ ซึ่งลามิน่าเป็นรายแรกและรายเดียวที่ได้รับมาตรฐานด้านการประหยัดพลังงานทั้งจากสหรัฐอเมริกาและไทย รวมถึงการได้รับรางวัลการันตีด้านคุณภาพและการบริการจากหลายหน่วยงานจึงทำให้ลามิน่าประสบความสำเร็จ ผู้บริโภคมีความมั่นใจในสินค้า”
ดังนั้นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการทำตลาดฟิล์มคือการมีสินค้าให้ครบถ้วนทุกไลน์การขายและระดับราคา พร้อมกับการสร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวสินค้า จึงจะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกสินค้าได้ง่ายขึ้น
เช่นเดียวกับที่ คู่แข่งรายสำคัญอย่าง “วีคูล” หลังจากได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในนาม วี-คูล กรุ๊ป ไทยแลนด์ เป็นตัวแทนจำหน่ายฟิล์มกรองแสง วีคูล แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย เสริมไลน์การขาย ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายฟิล์มกรองแสงยี่ห้อ “ฮิวเปอร์ ออฟติค” อีกหนึ่งแบรนด์ ซึ่งจะเข้ามาช่วยเติมเต็มฟิล์มแบบเซรามิค
“ในแง่ของภาพรวมแบรนด์วีคูล ยอดขายเราเติบโตขึ้นราว 11-13%แต่ยอดรายได้กลับไม่แตกต่างจากเดิมที่ระดับ 13% หรือประมาณ 180 ล้านบาทของมูลค่าตลาดรวมฟิล์มที่มีประมาณ 1,500-1,600 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องมาจากการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาดฟิล์ม ซึ่งทำให้เราต้องเล่นแคมเปญแรงอย่างต่อเนื่องกับดีลเลอร์ ส่งผลต่อรายรับที่เป็นมูลค่าเงินต่อหน่วยลดลง” คำกล่าวของ นางสาวพิมพา ชลาลัย ประธานบริหาร บริษัท วี เค เอส กรุ๊ป (เอเซีย) จำกัด ที่มีต่อภาพรวมตลาดฟิล์มในปีที่ผ่านมา และกล่าวต่อว่า
"การเสริมแบรนด์ ฮิวเปอร์ ออฟติค จะช่วยอุดช่องว่างด้านราคาสินค้าให้ครบไลน์การขาย และตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่สนใจฟิล์มชนิดเซรามิค ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น โดยมีจุดเด่นที่ราคาเริ่มต้นไม่สูงมากเพียง 9,000 บาทต่อชุด"
ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ นายปิยะ สุนสะธรรม ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินเตอร์มาร์ค บิสซิเนส จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์จอห์นสัน และเอ็กซ์ตร้าโคล จากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวว่า ฟิล์มชนิดเซรามิค ลูกค้าเริ่มสอบถามและสนใจมากขึ้นกว่าเดิมถึงเท่าตัว
“จากเดิมมีลูกค้าเพียง 30% แต่ปัจจุบันมากกว่า 70% ที่สอบถามและสนใจฟิล์มแบบเซรามิค ส่วนตลาดฟิล์มกรองแสงของไทยปี 2560 คาดว่าน่าจะอยู่ที่ระดับ 1,500 ล้านบาท เติบโตขึ้นราว 10% โดย 20-30% เป็นระดับฟิล์มพรีเมี่ยมที่มีราคาสูงกว่า 20,000 บาทขึ้นไป สำหรับยอดขายของเราปี 2560 มีมูลค่าประมาณ 72 ล้านบาท แบ่งเป็น จอห์นสัน20% และเอ็กซ์ตร้าโคล 80%” นายปิยะกล่าว
อย่างไรก็ตาม สำหรับตลาดใหญ่สุดของฟิล์มกรองแสงที่ทุกแบรนด์ยอมรับคือ “ฟิล์มแถม” หรือฟิล์มที่ติดให้เมื่อผู้บริโภคซื้อรถใหม่ โดยมีสัดส่วนของตลาดอยู่มากถึง 60-70% ของตลาดฟิล์มทั้งหมด ส่วนอีก 30-40% คือ ฟิล์มทดแทน หรือฟิล์มติดใหม่แทนฟิล์มเก่าที่หมดอายุการใช้งาน ดังนั้นการให้สำคัญของผู้ค้าฟิล์มจึงอยู่ที่โชว์รูมหรือดีลเลอร์รถยนต์ ซึ่งสามารถเห็นได้ทุกโชว์รูมเมื่อไปจองรถมักจะมีฟิล์มกรองแสงให้เลือกด้วย
สำหรับในปีนี้ 2561 แต่ละแบรนด์คาดว่าอัตราการเติบโตของตลาดฟิล์มกรองแสงจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดรถยนต์ โดยคาดหมายการเติบโตที่ระดับ 5-6% ส่วนจะดุเดือดขนาดไหนต้องติดตามชม