“เธอดูบ้านนั้นสิ ออกรถป้ายแดงมาใหม่ด้วย ต้องรวยแน่ๆ เลย” ประโยคแบบนี้มักเป็นปฎิกิริยาแรกของใครหลายคนทันทีที่ได้เห็นรถป้ายแดงของคนอื่น ซึ่งส่งผลให้เจ้าของรถที่ถอยรถใหม่ อยากใช้ป้ายแดงกันนานๆ เพราะได้ยินกี่ครั้งก็คงอิ่มเอมใจ จนกระทั่งกลายเป็นค่านิยมหนึ่งของคนซื้อรถใหม่แล้วไม่ยอมเปลี่ยนเป็นป้ายขาว แต่แล้ว...
“ขอดูใบอนุญาตขับขี่ด้วยครับ” สิ้นเสียงพูดของประโยคนี้ หัวใจของใครหลายคนคงตกไปอยู่ที่ตาตุ่ม พร้อมกับประโยคในใจ “ผิดอะไร” หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจในด่านโบก “รถป้ายแดง” คันงามของคุณ ทั้งๆ ที่คุณก็ขับมาแบบปกติไม่ได้ทำผิดกฎจราจรแต่อย่างใด ทำไมตำรวจจึงต้องเรียกตรวจด้วย
หลังจากที่ได้ใบขับขี่ของเราไป บางคนได้เจรจาว่า เป็นอย่างไร ผิดตรงไหน บางท่านอาจจะหายไปสักพักและกลับมาพร้อมใบสั่ง ให้ไปเสียค่าปรับ เมื่อดูใบสั่ง ก็ไม่เห็นมีข้อหาพิมพ์เอาไว้เลย มีแต่ช่อง “อื่นๆ” แล้วก็เป็นลายมือคุณตำรวจเขียน อ่านออกบ้างไม่ออกบ้าง… แน่นอนว่า เจ้าของรถอย่างเราคงสงสัยว่า “ขับรถป้ายแดง ผิดได้อย่างไร ผิดกฎหมายข้อไหน”
คำตอบของคำถามนี้ เมื่อพลิกตำรากฎหมาย จะพบเรื่องของทะเบียนป้ายแดงที่ “พระราชบัญญัติ รถยนต์ พ.ศ. 2522” มาตรา 27 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
“ผู้ใดมีรถยนต์ไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ถ้าจะขับเองหรือให้ผู้อื่นขับเพื่อการนั้น ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และให้ขับได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เว้นแต่มีความจําเป็นและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
ในการออกใบอนุญาต ให้นายทะเบียนออกเครื่องหมายพิเศษและสมุดคู่มือประจํา รถให้ด้วย
เครื่องหมายพิเศษและสมุดคู่มือประจํารถ ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดใน กฎกระทรวง และให้ใช้สับเปลี่ยนกันได้ไม่เฉพาะคันรถ”
แปลไทยเป็นไทย ให้เข้าใจง่ายๆ คือ เครื่องหมายพิเศษตามมาตรา 27 นั้นก็คือ “ป้ายแดง” ที่เรารู้จักกันนั่นเอง ซึ่งกรมการขนส่งทางบกออกให้กับ “ผู้ประกอบการค้ารถยนต์” สำหรับใช้ติดรถเพื่อนำไปส่งให้ลูกค้าหรือนำไปซ่อมแซม กรณีตัวอย่างเช่น จากผู้ผลิตรถส่งให้ดีลเลอร์, จากดีลเลอร์ส่งให้ดีลเลอร์ด้วยกัน และจากดีเลอร์ส่งมอบให้ผู้ซื้อถึงที่บ้าน มิใช่การให้ประชาชนผู้ซื้อรถนำไปติดแล้วขับไปที่ต่างๆ ได้
สำหรับเหตุผลในการใช้ป้ายแดง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการทั้งในแง่ของการขนส่งและภาษี (เพราะ ถ้าไม่มีป้ายแดงแล้วจะผิดกฎหมายดังที่จะกล่าวต่อไป) โดยระบุให้ใช้ได้เฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น พร้อมกับการลงบันทึกในสมุดคู่มือว่าจะไปที่ไหน เมื่อไรด้วย
ในด้านของความเป็นจริง ชัดเจนว่า ประชาชนที่ซื้อรถไปใช้ มิใช่ “ผู้มีรถไว้เพื่อขายหรือซ่อม” ดังนั้น จึงไม่เข้าเงื่อนไขในการได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายพิเศษ ป้ายแดงได้ แล้วถ้าหากประชาชนขับป้ายแดงบนถนนจะเป็นอย่างไร ผิดตรงไหน
ตามมาตรา 6 ของ พรบ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 บัญญัติไว้ว่า
ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถดังต่อไปนี้
(๑) รถที่ยังมิได้จดทะเบียน
(๒) รถที่ถูกเพิกถอนการจดทะเบียน
(๓) รถที่ยังมิได้เสียภาษีประจําปี
(๔) รถที่แจ้งการไม่ใช้รถ
(๕) รถที่ทะเบียนระงับ
ดังนั้นเมื่อประชาชนใช้รถป้ายแดงบนถนน จึงต้องมีความผิดตาม มาตรา 6 (๑) คือ “ใช้รถที่ยังไม่จดทะเบียน” ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน “หนึ่งหมื่นบาท” ตามมาตรา 59 พรบ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ซึ่งประเด็นนี้ กรมการขนส่งทางบก ออกข่าวประกาศเตือนประชาชนอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับบอกว่า การจดทะเบียนรถใหม่สามารถเสร็จได้ในวันเดียว
“ปัจจุบันการจดทะเบียนรถใหม่มีความสะดวก รวดเร็ว ใช้ระยะเวลาภายใน 1 วัน โดยสามารถรับแผ่นป้ายทะเบียนรถได้ทันที กรณีที่หลักฐานครบถ้วน ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถ, หนังสือแจ้งจำหน่ายจากบริษัทผู้ผลิต, หลักฐานการได้มาของรถ ได้แก่ สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ ใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษี, หลักฐานการประกันภัยตาม, พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และแบบคำขอจดทะเบียนรถ รวมทั้งหนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) โดยต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพเพื่อความถูกต้อง” นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าว
ถึงบรรทัดนี้ เราอาจจะเคยชินกับการใช้รถป้ายแดงว่าเป็นรถใหม่เอี่ยมมือแรก แต่อยากให้เข้าใจด้วยว่า รถป้ายแดง นอกจากจะผิดกฎหมายดังที่กล่าวมาแล้ว การไม่จดทะเบียนยังยากต่อการติดตามตรวจสอบกรณีรถสูญหายอีกด้วย ฉะนั้น เราทุกคนควรจดทะเบียนให้เรียบร้อยก่อนนำมาขับบนท้องถนนจะดีกว่า
ที่มา
- กรมการขนส่งทางบก www.dlt.go.th ,
- พระราชบัญญัติ รถยนต์ พ.ศ.2522 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา www.krisdika.go.th
เรียบเรียงโดย - อรรครินท์ ห้องดอกไม้
“ขอดูใบอนุญาตขับขี่ด้วยครับ” สิ้นเสียงพูดของประโยคนี้ หัวใจของใครหลายคนคงตกไปอยู่ที่ตาตุ่ม พร้อมกับประโยคในใจ “ผิดอะไร” หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจในด่านโบก “รถป้ายแดง” คันงามของคุณ ทั้งๆ ที่คุณก็ขับมาแบบปกติไม่ได้ทำผิดกฎจราจรแต่อย่างใด ทำไมตำรวจจึงต้องเรียกตรวจด้วย
หลังจากที่ได้ใบขับขี่ของเราไป บางคนได้เจรจาว่า เป็นอย่างไร ผิดตรงไหน บางท่านอาจจะหายไปสักพักและกลับมาพร้อมใบสั่ง ให้ไปเสียค่าปรับ เมื่อดูใบสั่ง ก็ไม่เห็นมีข้อหาพิมพ์เอาไว้เลย มีแต่ช่อง “อื่นๆ” แล้วก็เป็นลายมือคุณตำรวจเขียน อ่านออกบ้างไม่ออกบ้าง… แน่นอนว่า เจ้าของรถอย่างเราคงสงสัยว่า “ขับรถป้ายแดง ผิดได้อย่างไร ผิดกฎหมายข้อไหน”
คำตอบของคำถามนี้ เมื่อพลิกตำรากฎหมาย จะพบเรื่องของทะเบียนป้ายแดงที่ “พระราชบัญญัติ รถยนต์ พ.ศ. 2522” มาตรา 27 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
“ผู้ใดมีรถยนต์ไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ถ้าจะขับเองหรือให้ผู้อื่นขับเพื่อการนั้น ต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และให้ขับได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เว้นแต่มีความจําเป็นและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
ในการออกใบอนุญาต ให้นายทะเบียนออกเครื่องหมายพิเศษและสมุดคู่มือประจํา รถให้ด้วย
เครื่องหมายพิเศษและสมุดคู่มือประจํารถ ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดใน กฎกระทรวง และให้ใช้สับเปลี่ยนกันได้ไม่เฉพาะคันรถ”
แปลไทยเป็นไทย ให้เข้าใจง่ายๆ คือ เครื่องหมายพิเศษตามมาตรา 27 นั้นก็คือ “ป้ายแดง” ที่เรารู้จักกันนั่นเอง ซึ่งกรมการขนส่งทางบกออกให้กับ “ผู้ประกอบการค้ารถยนต์” สำหรับใช้ติดรถเพื่อนำไปส่งให้ลูกค้าหรือนำไปซ่อมแซม กรณีตัวอย่างเช่น จากผู้ผลิตรถส่งให้ดีลเลอร์, จากดีลเลอร์ส่งให้ดีลเลอร์ด้วยกัน และจากดีเลอร์ส่งมอบให้ผู้ซื้อถึงที่บ้าน มิใช่การให้ประชาชนผู้ซื้อรถนำไปติดแล้วขับไปที่ต่างๆ ได้
สำหรับเหตุผลในการใช้ป้ายแดง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการทั้งในแง่ของการขนส่งและภาษี (เพราะ ถ้าไม่มีป้ายแดงแล้วจะผิดกฎหมายดังที่จะกล่าวต่อไป) โดยระบุให้ใช้ได้เฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น พร้อมกับการลงบันทึกในสมุดคู่มือว่าจะไปที่ไหน เมื่อไรด้วย
ในด้านของความเป็นจริง ชัดเจนว่า ประชาชนที่ซื้อรถไปใช้ มิใช่ “ผู้มีรถไว้เพื่อขายหรือซ่อม” ดังนั้น จึงไม่เข้าเงื่อนไขในการได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายพิเศษ ป้ายแดงได้ แล้วถ้าหากประชาชนขับป้ายแดงบนถนนจะเป็นอย่างไร ผิดตรงไหน
ตามมาตรา 6 ของ พรบ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 บัญญัติไว้ว่า
ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถดังต่อไปนี้
(๑) รถที่ยังมิได้จดทะเบียน
(๒) รถที่ถูกเพิกถอนการจดทะเบียน
(๓) รถที่ยังมิได้เสียภาษีประจําปี
(๔) รถที่แจ้งการไม่ใช้รถ
(๕) รถที่ทะเบียนระงับ
ดังนั้นเมื่อประชาชนใช้รถป้ายแดงบนถนน จึงต้องมีความผิดตาม มาตรา 6 (๑) คือ “ใช้รถที่ยังไม่จดทะเบียน” ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน “หนึ่งหมื่นบาท” ตามมาตรา 59 พรบ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ซึ่งประเด็นนี้ กรมการขนส่งทางบก ออกข่าวประกาศเตือนประชาชนอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับบอกว่า การจดทะเบียนรถใหม่สามารถเสร็จได้ในวันเดียว
“ปัจจุบันการจดทะเบียนรถใหม่มีความสะดวก รวดเร็ว ใช้ระยะเวลาภายใน 1 วัน โดยสามารถรับแผ่นป้ายทะเบียนรถได้ทันที กรณีที่หลักฐานครบถ้วน ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของรถ, หนังสือแจ้งจำหน่ายจากบริษัทผู้ผลิต, หลักฐานการได้มาของรถ ได้แก่ สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ ใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษี, หลักฐานการประกันภัยตาม, พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และแบบคำขอจดทะเบียนรถ รวมทั้งหนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) โดยต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพเพื่อความถูกต้อง” นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าว
ถึงบรรทัดนี้ เราอาจจะเคยชินกับการใช้รถป้ายแดงว่าเป็นรถใหม่เอี่ยมมือแรก แต่อยากให้เข้าใจด้วยว่า รถป้ายแดง นอกจากจะผิดกฎหมายดังที่กล่าวมาแล้ว การไม่จดทะเบียนยังยากต่อการติดตามตรวจสอบกรณีรถสูญหายอีกด้วย ฉะนั้น เราทุกคนควรจดทะเบียนให้เรียบร้อยก่อนนำมาขับบนท้องถนนจะดีกว่า
ที่มา
- กรมการขนส่งทางบก www.dlt.go.th ,
- พระราชบัญญัติ รถยนต์ พ.ศ.2522 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา www.krisdika.go.th
เรียบเรียงโดย - อรรครินท์ ห้องดอกไม้