ในช่วงสามสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเมษายนนี้ ชาวลอนดอนผู้โชคดี 100 คนจะได้เดินทางในเกรนิช ลอนดอน ด้วยชัตเติลบัสไร้คนขับ ซึ่งชัตเติลบัสนี้ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ วิ่งด้วยความเร็ว 16.1 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ภายในรถมี 4 ที่นั่ง ไม่มีพวงมาลัยและเบรก แต่มีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกอบรมประจำอยู่บนรถเพื่อสั่งหยุดรถหากจำเป็น
ออกซ์โบติกา หรือเดิมคือ โมบิล โรโบติกส์ กรุ๊ปของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด พัฒนาต้นแบบชัตเติลบัสโดยให้ชื่อว่า “แฮร์รี่” เพื่อเป็นเกียรติแก่จอห์น แฮร์ริสัน ผู้คิดค้นนาฬิกาจับเวลาสำหรับใช้บนเรือ
เกรม สมิธ ประธานบริหารออกซ์โบติกา บอกว่า มีคนน้อยมากที่มีประสบการณ์กับรถอัตโนมัติ นี่จึงเป็นโอกาสให้ผู้คนได้ทดลองทำความรู้จักด้วยตัวเอง และบริษัทหวังว่า ประชาชนจะยอมรับการเดินทางรูปแบบนี้ รวมทั้งจะใช้โอกาสนี้ศึกษาปฏิกิริยาของผู้โดยสารระหว่างการเดินทางด้วย
ชัตเติลบัสอัตโนมัติได้รับการออกแบบให้ปลอดภัยและป้องกันภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่มีคนเดินเท้า สมิธกล่าวเสริม
ระหว่างการทดสอบ กล้อง 5 ตัวและเลเซอร์ 3 ตัวจะช่วยนำทางในเส้นทางริมแม่น้ำระยะทาง 3.2 กิโลเมตร รอบยูเค สมาร์ท โมบิลิตี้ ลิฟวิง แล็บ ใกล้โอทู อารีนาในลอนดอน ซึ่งเป็นย่านที่มีทั้งคนเดินถนนและจักรยาน ชัตเติลบัสขับขี่อัตโนมัติสามารถมองเห็นทางข้างหน้าในระยะ 100 เมตร และหยุดรถได้ทันทีเมื่อตรวจพบวัตถุบนเส้นทาง รวมทั้งสามารถเบรกฉุกเฉินหากจำเป็น
จุดประสงค์หลักของการทดสอบนี้คือ ความง่ายดายในการใช้งานในสภาพแวดล้อมจริงที่มีคนเดินถนน รวมทั้งสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการนั่งรถไร้คนขับ และอุปสรรคที่กีดขวางการยอมรับผ่านการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมทดสอบอย่างละเอียดทั้งก่อนและหลังนั่งรถ
ชัตเติลบัสนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเกตเวย์ (เกรนิช ออโตเมต ทรานสปอร์ต เอนไวรอนเมนต์) และใช้ระบบซอฟต์แวร์เซเลเนียมที่ช่วยให้สามารถนำทาง วางแผน และรับรู้ตามเวลาจริง
สำหรับตัวรถนั้นผลิตโดยเวสต์ฟิลด์ร่วมกับฮีทโธว์ เอนเตอร์ไพรส์ และออกซ์โบติกา
ผู้พัฒนาในโครงการเกตเวย์ระบุว่า วัตถุประสงค์ของโครงการคือสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของระบบขับขี่อัตโนมัติ รวมถึงค้นหาสิ่งที่ต้องทำก่อนที่จะสามารถนำรถเหล่านี้ลงสู่ท้องถนนจริง
ระบบนี้แตกต่างจากระบบอื่นๆ ที่คล้ายกัน เช่น ระบบของเทสลา บริษัทผลิตรถไฟฟ้ามาแรงของอเมริกา ตรงที่ผู้โดยสารสามารถลงจากรถเฉพาะสถานที่ที่กำหนดไว้เท่านั้น ไม่ใช่ลงได้ตามใจชอบ
โครงการนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนเกือบ 7 ล้านดอลลาร์จากกระทรวงขนส่งและกระทรวงธุรกิจ นวัตกรรม และทักษะ รวมถึงอีก 3 ล้านดอลลาร์จากบริษัทพันธมิตร อาทิ ฮีทโธว์ เอนเตอร์ไพรส์, โอทู และรอยัล ซัน อัลลายแอนซ์ นอกจากนี้ยังได้รับการอัดฉีดจากเซ็นเตอร์ ฟอร์ คอนเน็กต์ แอนด์ ออโตโนมัส เวฮิเคิล (ซีซีเอวี) ของรัฐบาลอังกฤษ
เจ้าหน้าที่ที่อยู่เบื้องหลังโปรเจ็กต์เกตเวย์เชื่อว่า ชัตเติลบัสนี้จะสามารถปรับปรุงการเชื่อมโยงระบบขนส่งในเกรนิชได้ และมองว่าประชาชนจะได้ใช้ระบบนี้ในปี 2019 ในขั้นทดสอบ และในอนาคตจะเปิดให้บริการในพื้นที่อื่นๆ ด้วย
นิก เฮิร์ด รัฐมนตรีอุตสาหกรรมของอังกฤษ กล่าวว่า โครงการนี้คือตัวอย่างนวัตกรรมที่สหราชอาณาจักรมีความเป็นเลิศ และกลยุทธ์อุตสาหกรรมที่มีอยู่ช่วยรับประกันว่า อังกฤษจะยังคงเป็นผู้เล่นแถวหน้าในเทคโนโลยีล้ำสมัย
เฮิร์ดกล่าวเสริมว่า เทคโนโลยีประเภทนี้มีศักยภาพในการรักษาชีวิตผู้คน รวมทั้งมอบเสรีภาพในการเดินทางสำหรับผู้สูงวัยและผู้พิการ และสิ่งสำคัญอีกประการก็คือการที่ประชาชนได้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ขณะที่เทคโนโลยีเหล่านี้เข้าใกล้ความจริงมากขึ้นทุกที
แม้ก่อนหน้านี้เคยมีการทดสอบรถบัสอัตโนมัติในลอนดอนและอังกฤษมาแล้วหลายครั้งโดยเชิญชวนผู้สื่อข่าวและพนักงานบริษัทเข้าร่วม แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ชาวลอนดอนได้ทดลองนั่งชัตเติลบัสไร้คนขับ และเมื่อไม่นานมานี้ ออกซ์โบติกาเคยชักชวนผู้สื่อข่าวทดสอบรถไร้คนขับในเมืองมิลตัน คีนส์
นอกจากนั้น ยังเคยมีการทดสอบยานยนต์ไร้คนขับในประเทศอื่นทั่วโลก เช่น เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ลาสเวกัสเปิดโอกาสให้ประชาชนทดลองนั่งรถบัสอัตโนมัติในย่านประวัติศาสตร์บนถนนฟรีมอนต์ และเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว นูโตโนมีในสิงคโปร์ ประกาศตัวว่า เป็นบริษัทแรกที่ให้บริการแท็กซี่ไร้คนขับผ่านแอปพลิเคชัน
อย่างไรก็ตาม บริการของนูโตโนมีในระยะแรกยังจำกัดในระยะทาง 4 กิโลเมตรเท่านั้น รวมทั้งมีรถให้บริการไม่มากนัก และจำกัดจุดรับ-ส่งผู้โดยสาร
ออกซ์โบติกา หรือเดิมคือ โมบิล โรโบติกส์ กรุ๊ปของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด พัฒนาต้นแบบชัตเติลบัสโดยให้ชื่อว่า “แฮร์รี่” เพื่อเป็นเกียรติแก่จอห์น แฮร์ริสัน ผู้คิดค้นนาฬิกาจับเวลาสำหรับใช้บนเรือ
เกรม สมิธ ประธานบริหารออกซ์โบติกา บอกว่า มีคนน้อยมากที่มีประสบการณ์กับรถอัตโนมัติ นี่จึงเป็นโอกาสให้ผู้คนได้ทดลองทำความรู้จักด้วยตัวเอง และบริษัทหวังว่า ประชาชนจะยอมรับการเดินทางรูปแบบนี้ รวมทั้งจะใช้โอกาสนี้ศึกษาปฏิกิริยาของผู้โดยสารระหว่างการเดินทางด้วย
ชัตเติลบัสอัตโนมัติได้รับการออกแบบให้ปลอดภัยและป้องกันภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่มีคนเดินเท้า สมิธกล่าวเสริม
ระหว่างการทดสอบ กล้อง 5 ตัวและเลเซอร์ 3 ตัวจะช่วยนำทางในเส้นทางริมแม่น้ำระยะทาง 3.2 กิโลเมตร รอบยูเค สมาร์ท โมบิลิตี้ ลิฟวิง แล็บ ใกล้โอทู อารีนาในลอนดอน ซึ่งเป็นย่านที่มีทั้งคนเดินถนนและจักรยาน ชัตเติลบัสขับขี่อัตโนมัติสามารถมองเห็นทางข้างหน้าในระยะ 100 เมตร และหยุดรถได้ทันทีเมื่อตรวจพบวัตถุบนเส้นทาง รวมทั้งสามารถเบรกฉุกเฉินหากจำเป็น
จุดประสงค์หลักของการทดสอบนี้คือ ความง่ายดายในการใช้งานในสภาพแวดล้อมจริงที่มีคนเดินถนน รวมทั้งสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการนั่งรถไร้คนขับ และอุปสรรคที่กีดขวางการยอมรับผ่านการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมทดสอบอย่างละเอียดทั้งก่อนและหลังนั่งรถ
ชัตเติลบัสนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเกตเวย์ (เกรนิช ออโตเมต ทรานสปอร์ต เอนไวรอนเมนต์) และใช้ระบบซอฟต์แวร์เซเลเนียมที่ช่วยให้สามารถนำทาง วางแผน และรับรู้ตามเวลาจริง
สำหรับตัวรถนั้นผลิตโดยเวสต์ฟิลด์ร่วมกับฮีทโธว์ เอนเตอร์ไพรส์ และออกซ์โบติกา
ผู้พัฒนาในโครงการเกตเวย์ระบุว่า วัตถุประสงค์ของโครงการคือสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของระบบขับขี่อัตโนมัติ รวมถึงค้นหาสิ่งที่ต้องทำก่อนที่จะสามารถนำรถเหล่านี้ลงสู่ท้องถนนจริง
ระบบนี้แตกต่างจากระบบอื่นๆ ที่คล้ายกัน เช่น ระบบของเทสลา บริษัทผลิตรถไฟฟ้ามาแรงของอเมริกา ตรงที่ผู้โดยสารสามารถลงจากรถเฉพาะสถานที่ที่กำหนดไว้เท่านั้น ไม่ใช่ลงได้ตามใจชอบ
โครงการนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนเกือบ 7 ล้านดอลลาร์จากกระทรวงขนส่งและกระทรวงธุรกิจ นวัตกรรม และทักษะ รวมถึงอีก 3 ล้านดอลลาร์จากบริษัทพันธมิตร อาทิ ฮีทโธว์ เอนเตอร์ไพรส์, โอทู และรอยัล ซัน อัลลายแอนซ์ นอกจากนี้ยังได้รับการอัดฉีดจากเซ็นเตอร์ ฟอร์ คอนเน็กต์ แอนด์ ออโตโนมัส เวฮิเคิล (ซีซีเอวี) ของรัฐบาลอังกฤษ
เจ้าหน้าที่ที่อยู่เบื้องหลังโปรเจ็กต์เกตเวย์เชื่อว่า ชัตเติลบัสนี้จะสามารถปรับปรุงการเชื่อมโยงระบบขนส่งในเกรนิชได้ และมองว่าประชาชนจะได้ใช้ระบบนี้ในปี 2019 ในขั้นทดสอบ และในอนาคตจะเปิดให้บริการในพื้นที่อื่นๆ ด้วย
นิก เฮิร์ด รัฐมนตรีอุตสาหกรรมของอังกฤษ กล่าวว่า โครงการนี้คือตัวอย่างนวัตกรรมที่สหราชอาณาจักรมีความเป็นเลิศ และกลยุทธ์อุตสาหกรรมที่มีอยู่ช่วยรับประกันว่า อังกฤษจะยังคงเป็นผู้เล่นแถวหน้าในเทคโนโลยีล้ำสมัย
เฮิร์ดกล่าวเสริมว่า เทคโนโลยีประเภทนี้มีศักยภาพในการรักษาชีวิตผู้คน รวมทั้งมอบเสรีภาพในการเดินทางสำหรับผู้สูงวัยและผู้พิการ และสิ่งสำคัญอีกประการก็คือการที่ประชาชนได้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ขณะที่เทคโนโลยีเหล่านี้เข้าใกล้ความจริงมากขึ้นทุกที
แม้ก่อนหน้านี้เคยมีการทดสอบรถบัสอัตโนมัติในลอนดอนและอังกฤษมาแล้วหลายครั้งโดยเชิญชวนผู้สื่อข่าวและพนักงานบริษัทเข้าร่วม แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ชาวลอนดอนได้ทดลองนั่งชัตเติลบัสไร้คนขับ และเมื่อไม่นานมานี้ ออกซ์โบติกาเคยชักชวนผู้สื่อข่าวทดสอบรถไร้คนขับในเมืองมิลตัน คีนส์
นอกจากนั้น ยังเคยมีการทดสอบยานยนต์ไร้คนขับในประเทศอื่นทั่วโลก เช่น เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ลาสเวกัสเปิดโอกาสให้ประชาชนทดลองนั่งรถบัสอัตโนมัติในย่านประวัติศาสตร์บนถนนฟรีมอนต์ และเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว นูโตโนมีในสิงคโปร์ ประกาศตัวว่า เป็นบริษัทแรกที่ให้บริการแท็กซี่ไร้คนขับผ่านแอปพลิเคชัน
อย่างไรก็ตาม บริการของนูโตโนมีในระยะแรกยังจำกัดในระยะทาง 4 กิโลเมตรเท่านั้น รวมทั้งมีรถให้บริการไม่มากนัก และจำกัดจุดรับ-ส่งผู้โดยสาร