ขอย้อนเวลากลับไปในยุค 90 กระแสของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น กลับมาฮิตอีกครั้งในเวลานี้ ไม่เว้นแม้แต่รถยนต์ แน่นอนหนึ่งในรถยนต์ที่สร้างกระแสยอดขายถล่มทลายเหนือความคาดหมายของตลาดเมืองไทยยุคนั้นจารึกชื่อของ “ฮอนด้า ซีวิค” เอาไว้ในลำดับต้นๆ ด้วยรูปทรงแบบ “แฮทช์แบ็ก” ที่สามารถปลุกกระแสแจ้งเกิดรถประตูท้ายเปิดได้สำเร็จอย่างงดงามเป็นค่ายแรก
กลับมาค.ศ.2017 นี้ ฮอนด้า นำ “ซีวิค แฮทช์แบ็ก” มาทำตลาดอีกครั้งในเจเนอเรชั่นที่ 10 ซึ่งเพิ่งจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อต้นเดือนมีนาคมและขายอย่างเป็นทางการช่วงปลายเดือนเดียวกัน แล้วจึงมาจัดให้สื่อมวลชนได้ทดลองขับ และMGR มอเตอริ่ง ไม่พลาดงานนี้
ปรับช่วงล่าง-ตัดเนวิเกเตอร์
ซีวิค แฮทช์แบ็ก แตกต่างจากรุ่น ซีดาน 4 ประตูอย่างไร คงเป็นคำถามยอดนิยมอันดับ 1 ส่วนคำตอบจากทีมวิศวกรผู้พัฒนาฮอนด้า ซีวิค บอกกับเราว่า “ช่วงล่าง” คือสิ่งที่แตกต่าง ด้วยลักษณะของตัวถังใหญ่กว่าและมีบั้นท้ายสูง ดังนั้นการเซตช่วงล่างจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยทีมงานพยายามเซตและปรับค่าของโช้คให้ความรู้สึกของการขับขี่ใกล้เคียงรุ่นซีดาน
ด้วยเหตุผลที่ยุโรปไม่มีการจำกัดความเร็วดังนั้น การพัฒนาเพื่อให้ได้รถดีที่สุดจึงต้องไปทำที่ยุโรป ทีมวิศวกรปักหลักพัฒนาซีวิค แฮทช์แบ็กที่ประเทศอังกฤษ และได้พบว่า การจะใส่เตาบาบีคิวที่ท้ายรถได้นั้น ต้องไม่มีถาด ดังนั้นเราจึงเห็นผ้าแบบเลื่อนซ้าย-ขวาปิดบังสิ่งของภายในแทน ถาดแบบเดิมๆที่เคยเห็นในรถแฮทช์แบ็กทั่วไป
อีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือ บริเวณด้านหน้าฝากระโปรง ออกแบบให้มีชิ้นส่วนด้านหน้ายื่นออกมา ก่อนจะเป็นฝากระโปรง เพื่อช่วยซับแรงกระแทกกรณีรถชนคน ฝากระโปรงจะได้ไม่กระแทกคนซึ่งจะทำให้บาดเจ็บหนักได้เพราะเป็นเหล็กชิ้นใหญ่ ขณะที่ความแตกต่างด้านอุปกรณ์ของรุ่นแฮทช์แบ็กกับ รุ่นท้อปของตัวซีดาน ก็คือเรื่องของการตัดระบบนำทางหรือเนวิเกเตอร์ออกไปและส่วนปลีกย่อยอื่นๆ รวมแล้วทำให้ราคาต่ำกว่า 3 หมื่นบาท
นิ่ง เงียบ ปลายแตะ200กม./ชม.
จั่วหัวแบบนี้ อ่านแล้วไม่น่าเชื่อ(บนพื้นฐานเครื่องยนต์แค่ 1.5 ลิตร) แต่ความจริงตามการเคลมของฮอนด้า บอกว่า ซีวิค แฮทช์แบ็ก สามารถวิ่งได้เร็วสุดถึง 200 กม./ชม. ซึ่งผู้เขียนลองขับที่ความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. และสื่อมวลชนอีกท่านที่สลับกันขับ ยืนยันทำความเร็วแตะที่ 200 กม./ชม. และหากขับด้วยความเร็วต่ำกว่า 150 กม./ชม. ตัวรถนิ่งมาก มั่นใจ ขับเพลินๆ ไม่รู้สึกว่าเร็วแต่ประการใด ทั้งนี้ท่านต้องได้ลองเอง (ถ้าโดนใบสั่งก็ต้องจ่ายเองด้วยนะ)
ทั้งนี้ทั้งนั้น การทรงตัวที่ยอดเยี่ยมเราต้องยกเครดิตให้ทีมวิศวกรที่ตั้งใจเซตช่วงล่างของรุ่นแฮทช์แบ็กให้มีความนิ่งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยการปรับองศาและเพิ่มความแข็งของสปริงให้มากกว่ารุ่น 4 ประตู (ไหนบอกตอนแรกว่าจะทำให้ใกล้เคียงรุ่นซีดาน พอลองขับจริงนิ่งกว่าเห็นๆ) รวมถึงการมีความยาวด้านท้ายที่สั้นลงกว่า 145 มม.
อีกหนึ่งความประทับใจของผู้เขียนคือเรื่องของการเก็บเสียงภายในห้องโดยสาร แม้จะวิ่งด้วยความเร็วสูงระดับ 120-140 กม./ชม. เป็นส่วนใหญ่ เสียงลมปะทะหรือเสียงยางบดถนนดังเข้ามารบกวนน้อยมาก ส่วนหนึ่งนอกจากการประกอบที่ดีแล้วเหตุผลสำคัญคือ การเลือกใช้ยาง โยโกฮามา ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องของความนุ่มนวลและเงียบ เก็บเสียงดี
สำหรับเครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร หลายคนอาจจะมองว่า เล็ก แต่ความจริงของโลกรถยนต์ทุกวันนี้ ทุกค่ายผู้ผลิตต่างลดขนาดความจุของกระบอกสูงลง สวนทางกับสมรรถนะที่เพิ่มขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่แสนง่าย “เทอร์โบ” พร้อมระบบหัวฉีดแบบไดเรค อินเจคชัน ฉีดจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้โดยตรง ทำให้ได้กำลังมากขึ้นและกินน้ำมันน้อยลง
สำหรับ ฮอนด้า ซีวิค แฮทช์แบ็กมีพิกัดกำลัง 173 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 220 นิวตันเมตร เทียบเท่ากับรถเครื่องยนต์ขนาด 2.4 ลิตรในยุคก่อน แต่สิ่งที่ตรงข้ามคือ ซีวิค แฮทช์แบ็ก มีอัตราการบริโภคน้ำมัน เคลมไว้ที่ 17.2 กม./ลิตร ขณะที่การขับจริงของเรา แบบเหยียบคันเร่งเต็มสปีด ผ่อนบ้างตามจังหวะ ตัวเลขแสดงผลเฉลี่ยที่ 9.5 กม./ลิตร
ระบบเกียร์แบบซีวีที พร้อมแพดเดิลชิฟ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สร้างความประทับใจให้ผู้เขียน เพราะสามารถเลือกความสนุกจากการขับขี่ได้อย่างง่ายดายทุกย่านความเร็ว พร้อมโหมด s ที่ปรับเปลี่ยนจังหวะเกียร์ให้กลายเป็นเสมือนเกียร์ธรรมดาที่เราต้องกดปุ่มแพดเดิลชิฟบวกและลบทุกครั้งเพื่อเปลี่ยนเกียร์
การบังคับควบคุมพวงมาลัย ผู้เขียนรู้สึกว่าเบาเกินไปสักหน่อย แต่น่าจะเหมาะกับสุภาพสตรีและการใช้งานในเมืองที่ต้องเลี้ยวไปมาบ่อยๆ แน่นอนว่า เมื่อขับด้วยความเร็วสูงพวงมาลัยจะหนักขึ้นตามความเร็วที่เพิ่มขึ้นจึงมั่นใจได้แม้ขับด้วยความเร็วเกินระดับ 140 กม./ชม.
ฮอนด้า ซีวิค แฮทช์แบ็ก มาพร้อมกับระบบความปลอดภัยที่ครบถ้วนทั้ง ถุงลม 6 จุด (ขออนุญาตไม่ทดลองการใช้งานนะครับ), ระบบเบรกเอบีเอส,ระบบกระจายแรงเบรก,ระบบช่วยควบคุมการทรงตัว และที่ขาดไม่ได้ ระบบช่วยออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน ซึ่งเสียงตอบรับจากทีมงานฮอนด้าบอกว่า สาวๆชอบระบบนี้มาก
ส่วนข้อติงของผู้เขียนที่มีต่อซีวิค แฮทช์แบ็ก และได้บอกกล่าวไปยังทีมวิศวกรผู้สร้างก็คือเรื่องของ ท่อไอเสีย ซึ่ง ซีวิค แฮทช์แบ็ก มีท่อไอเสียแบบคู่แท้ๆ แต่กลับไม่ทำปลายท่อไอเสียคู่ โดยเลือกงอปลายท่อไอเสียกดลงด้านล่าง เพื่อซ่อนอย่างมิดชิด แต่ผู้เขียนมองว่า หากปล่อยปลายท่อให้ยาวตรงมาโผล่บนสปอยเลอร์หลังจะดูสปอร์ตและสวยงามกว่า อย่างไรก็ตามเข้าใจว่า สิ่งนี้เป็นความชอบส่วนบุคคลของแต่ละท่าน คงมิอาจวิพากษ์วิจารณ์ได้
เหมาะกับใคร
สำหรับคนปกติทั่วไป โดยเฉพาะคุณผู้หญิงเน้นการใช้งานในเมืองสลับเดินทางต่างจังหวัดที่ต้องการความคล่องตัว พร้อมความเอนกประสงค์ในรูปทรงไม่ใหญ่โตแบบเอสยูวี ซีวิค แฮทช์แบ็ก เป็นคำตอบที่โดนใจแบบไม่ต้องสงสัย ส่วนสาวกสายสปอร์ตของฮอนด้า นี่คือ โมเดลที่สามารถแปลงร่างเป็น “Type R” ได้อย่างลงตัว จะมัวรออะไรอีก
กลับมาค.ศ.2017 นี้ ฮอนด้า นำ “ซีวิค แฮทช์แบ็ก” มาทำตลาดอีกครั้งในเจเนอเรชั่นที่ 10 ซึ่งเพิ่งจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อต้นเดือนมีนาคมและขายอย่างเป็นทางการช่วงปลายเดือนเดียวกัน แล้วจึงมาจัดให้สื่อมวลชนได้ทดลองขับ และMGR มอเตอริ่ง ไม่พลาดงานนี้
ปรับช่วงล่าง-ตัดเนวิเกเตอร์
ซีวิค แฮทช์แบ็ก แตกต่างจากรุ่น ซีดาน 4 ประตูอย่างไร คงเป็นคำถามยอดนิยมอันดับ 1 ส่วนคำตอบจากทีมวิศวกรผู้พัฒนาฮอนด้า ซีวิค บอกกับเราว่า “ช่วงล่าง” คือสิ่งที่แตกต่าง ด้วยลักษณะของตัวถังใหญ่กว่าและมีบั้นท้ายสูง ดังนั้นการเซตช่วงล่างจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยทีมงานพยายามเซตและปรับค่าของโช้คให้ความรู้สึกของการขับขี่ใกล้เคียงรุ่นซีดาน
ด้วยเหตุผลที่ยุโรปไม่มีการจำกัดความเร็วดังนั้น การพัฒนาเพื่อให้ได้รถดีที่สุดจึงต้องไปทำที่ยุโรป ทีมวิศวกรปักหลักพัฒนาซีวิค แฮทช์แบ็กที่ประเทศอังกฤษ และได้พบว่า การจะใส่เตาบาบีคิวที่ท้ายรถได้นั้น ต้องไม่มีถาด ดังนั้นเราจึงเห็นผ้าแบบเลื่อนซ้าย-ขวาปิดบังสิ่งของภายในแทน ถาดแบบเดิมๆที่เคยเห็นในรถแฮทช์แบ็กทั่วไป
อีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือ บริเวณด้านหน้าฝากระโปรง ออกแบบให้มีชิ้นส่วนด้านหน้ายื่นออกมา ก่อนจะเป็นฝากระโปรง เพื่อช่วยซับแรงกระแทกกรณีรถชนคน ฝากระโปรงจะได้ไม่กระแทกคนซึ่งจะทำให้บาดเจ็บหนักได้เพราะเป็นเหล็กชิ้นใหญ่ ขณะที่ความแตกต่างด้านอุปกรณ์ของรุ่นแฮทช์แบ็กกับ รุ่นท้อปของตัวซีดาน ก็คือเรื่องของการตัดระบบนำทางหรือเนวิเกเตอร์ออกไปและส่วนปลีกย่อยอื่นๆ รวมแล้วทำให้ราคาต่ำกว่า 3 หมื่นบาท
นิ่ง เงียบ ปลายแตะ200กม./ชม.
จั่วหัวแบบนี้ อ่านแล้วไม่น่าเชื่อ(บนพื้นฐานเครื่องยนต์แค่ 1.5 ลิตร) แต่ความจริงตามการเคลมของฮอนด้า บอกว่า ซีวิค แฮทช์แบ็ก สามารถวิ่งได้เร็วสุดถึง 200 กม./ชม. ซึ่งผู้เขียนลองขับที่ความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. และสื่อมวลชนอีกท่านที่สลับกันขับ ยืนยันทำความเร็วแตะที่ 200 กม./ชม. และหากขับด้วยความเร็วต่ำกว่า 150 กม./ชม. ตัวรถนิ่งมาก มั่นใจ ขับเพลินๆ ไม่รู้สึกว่าเร็วแต่ประการใด ทั้งนี้ท่านต้องได้ลองเอง (ถ้าโดนใบสั่งก็ต้องจ่ายเองด้วยนะ)
ทั้งนี้ทั้งนั้น การทรงตัวที่ยอดเยี่ยมเราต้องยกเครดิตให้ทีมวิศวกรที่ตั้งใจเซตช่วงล่างของรุ่นแฮทช์แบ็กให้มีความนิ่งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยการปรับองศาและเพิ่มความแข็งของสปริงให้มากกว่ารุ่น 4 ประตู (ไหนบอกตอนแรกว่าจะทำให้ใกล้เคียงรุ่นซีดาน พอลองขับจริงนิ่งกว่าเห็นๆ) รวมถึงการมีความยาวด้านท้ายที่สั้นลงกว่า 145 มม.
อีกหนึ่งความประทับใจของผู้เขียนคือเรื่องของการเก็บเสียงภายในห้องโดยสาร แม้จะวิ่งด้วยความเร็วสูงระดับ 120-140 กม./ชม. เป็นส่วนใหญ่ เสียงลมปะทะหรือเสียงยางบดถนนดังเข้ามารบกวนน้อยมาก ส่วนหนึ่งนอกจากการประกอบที่ดีแล้วเหตุผลสำคัญคือ การเลือกใช้ยาง โยโกฮามา ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องของความนุ่มนวลและเงียบ เก็บเสียงดี
สำหรับเครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร หลายคนอาจจะมองว่า เล็ก แต่ความจริงของโลกรถยนต์ทุกวันนี้ ทุกค่ายผู้ผลิตต่างลดขนาดความจุของกระบอกสูงลง สวนทางกับสมรรถนะที่เพิ่มขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่แสนง่าย “เทอร์โบ” พร้อมระบบหัวฉีดแบบไดเรค อินเจคชัน ฉีดจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้โดยตรง ทำให้ได้กำลังมากขึ้นและกินน้ำมันน้อยลง
สำหรับ ฮอนด้า ซีวิค แฮทช์แบ็กมีพิกัดกำลัง 173 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 220 นิวตันเมตร เทียบเท่ากับรถเครื่องยนต์ขนาด 2.4 ลิตรในยุคก่อน แต่สิ่งที่ตรงข้ามคือ ซีวิค แฮทช์แบ็ก มีอัตราการบริโภคน้ำมัน เคลมไว้ที่ 17.2 กม./ลิตร ขณะที่การขับจริงของเรา แบบเหยียบคันเร่งเต็มสปีด ผ่อนบ้างตามจังหวะ ตัวเลขแสดงผลเฉลี่ยที่ 9.5 กม./ลิตร
ระบบเกียร์แบบซีวีที พร้อมแพดเดิลชิฟ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สร้างความประทับใจให้ผู้เขียน เพราะสามารถเลือกความสนุกจากการขับขี่ได้อย่างง่ายดายทุกย่านความเร็ว พร้อมโหมด s ที่ปรับเปลี่ยนจังหวะเกียร์ให้กลายเป็นเสมือนเกียร์ธรรมดาที่เราต้องกดปุ่มแพดเดิลชิฟบวกและลบทุกครั้งเพื่อเปลี่ยนเกียร์
การบังคับควบคุมพวงมาลัย ผู้เขียนรู้สึกว่าเบาเกินไปสักหน่อย แต่น่าจะเหมาะกับสุภาพสตรีและการใช้งานในเมืองที่ต้องเลี้ยวไปมาบ่อยๆ แน่นอนว่า เมื่อขับด้วยความเร็วสูงพวงมาลัยจะหนักขึ้นตามความเร็วที่เพิ่มขึ้นจึงมั่นใจได้แม้ขับด้วยความเร็วเกินระดับ 140 กม./ชม.
ฮอนด้า ซีวิค แฮทช์แบ็ก มาพร้อมกับระบบความปลอดภัยที่ครบถ้วนทั้ง ถุงลม 6 จุด (ขออนุญาตไม่ทดลองการใช้งานนะครับ), ระบบเบรกเอบีเอส,ระบบกระจายแรงเบรก,ระบบช่วยควบคุมการทรงตัว และที่ขาดไม่ได้ ระบบช่วยออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน ซึ่งเสียงตอบรับจากทีมงานฮอนด้าบอกว่า สาวๆชอบระบบนี้มาก
ส่วนข้อติงของผู้เขียนที่มีต่อซีวิค แฮทช์แบ็ก และได้บอกกล่าวไปยังทีมวิศวกรผู้สร้างก็คือเรื่องของ ท่อไอเสีย ซึ่ง ซีวิค แฮทช์แบ็ก มีท่อไอเสียแบบคู่แท้ๆ แต่กลับไม่ทำปลายท่อไอเสียคู่ โดยเลือกงอปลายท่อไอเสียกดลงด้านล่าง เพื่อซ่อนอย่างมิดชิด แต่ผู้เขียนมองว่า หากปล่อยปลายท่อให้ยาวตรงมาโผล่บนสปอยเลอร์หลังจะดูสปอร์ตและสวยงามกว่า อย่างไรก็ตามเข้าใจว่า สิ่งนี้เป็นความชอบส่วนบุคคลของแต่ละท่าน คงมิอาจวิพากษ์วิจารณ์ได้
เหมาะกับใคร
สำหรับคนปกติทั่วไป โดยเฉพาะคุณผู้หญิงเน้นการใช้งานในเมืองสลับเดินทางต่างจังหวัดที่ต้องการความคล่องตัว พร้อมความเอนกประสงค์ในรูปทรงไม่ใหญ่โตแบบเอสยูวี ซีวิค แฮทช์แบ็ก เป็นคำตอบที่โดนใจแบบไม่ต้องสงสัย ส่วนสาวกสายสปอร์ตของฮอนด้า นี่คือ โมเดลที่สามารถแปลงร่างเป็น “Type R” ได้อย่างลงตัว จะมัวรออะไรอีก