งานบางกอกมอเตอร์โชว์ ปีนี้ มีรถต้นแบบ (Concept Car) มาให้ชม 3 ค่าย มาดูกันว่าแต่ละรุ่นมีอะไรเด่นบ้าง
Toyota FCV Plus Concept
โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เป็นค่ายยักษ์ใหญ่ที่เข้าร่วมงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ มาโดยตลอด และดูเหมือนจะเป็นค่ายเดียวที่คงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์อันสำคัญของงานมอเตอร์โชว์ทั่วโลก นั่นก็คือ การขนรถยนต์ต้นแบบข้ามน้ำข้ามทะเลมาให้คนไทยได้สัมผัสและเรียนรู้ถึงเทคโนโลยีด้านยานยนต์ในอนาคตอยู่เสมอ
โดยปีนี้ โตโยต้า ภูมิใจนำเสนอ Toyota FCV Plus Concept หนึ่งในเทคโนโลยีแห่งอนาคตของรถพลังงานทางเลือกแบบ Fuel-Cell ซึ่งถูกออกแบบภายใต้แนวคิด การร่วมเป็นหนึ่งในหน่วยย่อยของสังคมยุคอนาคต รถต้นแบบคันนี้มีรูปทรงขนาดเล็ก
ห้องโดยสารประกอบไปด้วยที่นั่งแบบ 2+2 และเป็นมากกว่ายานพาหนะยุคใหม่ ที่ใช้สำหรับขนส่งผู้คนจากจุด A ไปยังจุด B ตัวรถใช้พลังงานจากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตโดยใช้ไฮโดรเจนเป็นสารตั้งต้น ไปทำปฏิกิริยาทางเคมีใน cell stack เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้า แต่สามารถเปลี่ยนตัวเองจาก eco-cars ไปสู่ energy-cars ได้ด้วยระบบที่เชื่อมต่อต่อเข้ากับกริด (vehicle-to-grid)
ขยายความให้กว้างขึ้นก็คือ FCV Plus Concept เมื่อไม่ได้ถูกใช้งานในฐานะยานพาหนะ ก็ถูกปรับเปลี่ยนมาใช้เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เสถียรได้อีกด้วย สามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์กักเก็บไฮโดรเจนภายนอก เพื่อใช้เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าให้แก่ครัวเรือน หรือ เมื่อใช้ต่อพ่วงกันเป็นกลุ่ม ก็จะสามารถเชื่อมต่อกับกริดไฟฟ้าซึ่งเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานของแหล่งชุมชนได้ เป็นต้น (power sharing) โดย โตโยต้า เรียกโหมดในการใช้งานนี้ว่า Social Mode
สำหรับชุดระบบขับเคลื่อนใน FCV Plus Concept นั้น โตโยต้าวางชุด cell stack เอาไว้ระหว่างล้อคู่หน้า และติดตั้งถังไฮโดรเจนแรงดันสูงเอาไว้ด้านหลังเบาะผู้โดยสาร ส่วนมอเตอร์ไฟฟ้าจะถูกแยกติดตั้งในแต่ละล้อ สำหรับใช้งานในแบบขับเคลื่อน 4 ล้อ
มิติตัวถังของรถสุดล้ำสมัยคันนี้ มีความยาวเพียงแค่ 3,800 มม. กว้าง 1,750 มม. สูง 1,540 มม. และความยาวฐานล้อมากถึง 3,000 มม.การออกแบบภายนอกมีความโดนเด่นในเรื่องของรูปลักษณ์ที่เน้นความล้ำสมัย เผยให้เห็นถึงอนาคต แผงเซลล์เชื้อเพลิงจะติดตั้งอยู่บริเวณ ด้านหลังล้อหน้าถัดจากถังเก็บไฮโดรเจนที่อยู่ระหว่างที่นั่งด้านหลัง และติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าอิสระทั้ง 4 ล้อ ทำให้พื้นที่ใช้สอยภายในรถค่อนข้างกว้างขวาง
โดยส่วนของภายในและภายนอกจะมีการออกแบบที่เชื่อมต่อกัน และการเลือกใช้สีฟ้าเป็นส่วนประกอบแสดงให้เห็นถึงพลังงานสะอาด และความล้ำสมัย ไฮไลต์สำคัญอยู่ที่ระบบสร้างพลังงานไฟฟ้าโดยตรงจากบริเวณด้านหลังล้อหน้า ที่สามารถเก็บกระแสไฟฟ้าได้ในระหว่างขับเคลื่อน
FCV Plus Concept แม้จะยังไปไม่ถึงขั้นการผลิตออกมาขายจริง แต่ด้วยแนวคิดหลักของตัวรถนับว่ามีความน่าสนใจอย่างสูงสำหรับโลกในอนาคต เพราะนอกจากจะเป็นรถพลังงานสะอาดแล้ว ยังถูกคิดไปไกลถึงการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าด้วยการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในครัวเรือนได้อีกด้วย
Nissan Solid Oxide Fuel Cell -SOFC
แม้จะนับว่าเป็นค่ายรถยนต์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านรถพลังงานไฟฟ้า สร้างโปรดักต์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกอย่างนิสสัน ลีฟ แต่ในวันนี้นิสสันนำเสนอ ต้นแบบยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานเซลล์เชื้อเพลิงแบบออกไซด์แข็ง (Solid Oxide Fuel Cell - SOFC)แบบแรกของโลกที่สามารถขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากเชื้อเพลิงเอทานอลชีวภาพ (Bio-Ethanol Electric Power)
โดยโครงงานการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขับเคลื่อน Solid Oxide Fuel-Cell (SOFC)-powered system ซึ่งขับเคลื่อนในรูปแบบการใช้พลังงาน Bio-Ethanol Electric Power ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ผู้ผลิตรถยนต์นำระบบนี้มาใช้ ซึ่งมีจุดเด่นคือ ระบบ e-Bio Fuel-Cell ที่มาพร้อมกับตัวสร้างพลังงานแบบ SOFC
ระบบ e-Bio Fuel-Cell เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด “Nissan Intelligent Power” ในการนำเสนอรถยนต์กับสิ่งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการขับเคลื่อนและการใช้พลังงานไฟฟ้า รวมถึงการสร้างความสนุกในการขับขี่ ซึ่งภายในห้องเครื่องยนต์ได้รับการติดตั้งตัวเก็บประจุที่เก็บกระแสไฟฟ้าได้เป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับตัวสร้างกระแสไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ
ตัวสร้างพลังงานแบบ SOFC มี แนวคิดหลักในการออกแบบ 3 ประการ คือ ประสิทธิภาพในการใช้งานสูงเดินทางได้ไกลมากขึ้น, จัดหาง่าย ด้วยต้นทุนเชื้อเพลิงที่มีราคาต่ำ (สามารถใช้เอทานอลผสมน้ำ) และเป็นพลังงานสะอาด เนื่องจากไม่มีการปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศ
e-Bio Fuel-Cell จึงเป็นการสร้างกระแสไฟฟ้าผ่านทางเซลล์เชื้อเพลิงแบบออกไซด์แข็ง SOFC ด้วยการใช้เอทานอลแบบชีวภาพ ซึ่งถูกเก็บไว้ที่ถังเชื้อเพลิงในตัวรถ ด้วยหลักการทำงานเหมือนกับเซลล์เชื้อเพลิง แต่การผลิตไฮโดรเจนเพื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนนั้น จะมาจากการนำเชื้อเพลิงซึ่งก็คือ เอทานอลชีวภาพ มาสกัดและแปรรูปผ่านทางอุปกรณ์รีฟอร์เมอร์ (Reformer) จากนั้นจึงค่อยส่งไฮโดรเจนที่ได้เข้ามาทำปฏิกิริยาเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าและส่งให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน
สิ่งที่แตกต่างจากระบบเซลล์เชื้อเพลิงแบบเดิมๆ คือ เชลล์เชื้อเพลิงชีวภาพ (e-Bio Fuel-Cell) จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า SOFC เปรียบเสมือนกับแหล่งพลังงาน ซึ่งจะทำหน้าที่ผลิตกำลังไฟฟ้าในระดับที่มีจำนวนมากเพื่อช่วยให้ตัวรถสามารถแล่นทำระยะทางได้ไกลขึ้น
ซึ่งจากการทดสอบในการขับด้วยความเร็วคงที่นั้น รถยนต์ที่ใช้ระบบนี้สามารถแล่นทำระยะทางได้ในระดับที่ใกล้เคียงกับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินทำได้ต่อการใช้น้ำมัน 1 ถัง (มากกว่า 600 กิโลเมตร) ยิ่งไปกว่านั้น รถยนต์แบบ e-Bio Fuel-Cell ยังมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้าอีกด้วย
ในอนาคต เทคโนโลยี e-Bio Fuel-Cell จะได้รับการพัฒนาให้มีความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น การผสมเอทานอลเข้ากับน้ำนั้นมีกระบวนที่ง่ายกว่า และปลอดภัยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงอื่นๆ ทั้งหมดที่มีอยู่ และจะเป็นการขจัดข้อจำกัดทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการต้องสร้างระบบสาธารณูปโภคใหม่ๆ ขึ้นมารองรับกับการใช้งาน และถือเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพออย่างมากในการทำให้ตลาดมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
แน่นอนว่า ต้นทุนในการใช้งานลดลงอย่างมาก และเกือบจะเท่ากับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์พลังไฟฟ้าในยุคปัจจุบัน และถือว่าสามารถก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งยวดสำหรับคนทั่วไปเช่นเดียวกับในภาคธุรกิจ เพราะว่า e-Bio Fuel-Cell สามารถรองรับกับความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า เนื่องจากการใช้ระยะเวลาไม่นานในการเติมเชื้อเพลิง และมีการสร้างพลังงานที่ค่อนข้างสูงสำหรับใช้งานจึงทำให้เทคโนโลยีสามารถรองรับกับการให้บริการบางอย่าง เช่น ระบบขนส่งที่ใช้ตู้แช่
อย่างไรก็ตาม นิสสันยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องในการนำเสนอคุณค่าที่โดดเด่นให้แก่ลูกค้าของเราผ่านทางระบบใหม่ๆ ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้จากเชื้อเพลิงที่หลากหลาย ขณะเดียวกันก็ยังให้ความสนใจกับประเด็นในเรื่องของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จะต้องรองรับกับการสนับสนุนทางด้านพลังงานในทุกภูมิภาคทั่วโลก
Mitsubishi MiEV Evolution III
งานบางกอก มอเตอร์โชว์ ปีนี้ มิตซูบิชิ มอเตอร์ ประเทศไทย ขนรถน่าสนใจเข้ามาร่วมโชว์ในงานมากมาย นอกจากมิตซูบิชิ โมเดล เอ รุ่นปี พ.ศ. 2460 ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรุ่นแรกที่ประกอบในประเทศญี่ปุ่นที่ โกเบ ชิปยาร์ด ของบริษัท มิตซูบิชิ ชิปบิลด์ดิ้ง จำกัด แล้วนั้น
มิตซูบิชิ ยังพร้อมนำเสนอ Mitsubishi MiEV Evolution III ซึ่งเป็นรถที่ถูกออกแบบมาให้เป็นรถแข่งพลังงานไฟฟ้าเจเนอเรชันที่สามที่ลงแข่งขันในรายการ Pikes Peak International Hill Climb ไต่เขาสุดมันส์ในรัฐโคโลราโดของสหรัฐอเมริกา มาให้แฟน ๆ ชาวไทยได้สัมผัส
โดยที่ผ่านมา บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ส่ง มิตซูบิชิ มิฟ อีโวลูชั่น 3 จำนวน 2 คัน ซึ่งเป็นรถแข่งที่ผนวกเทคโนโลยีรถพลังงานไฟฟ้า และเทคโนโลยีขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่ดีที่สุดเข้าด้วยกัน เข้าร่วมการแข่งขัน ไพค์ พีค โดยมีเป้าหมายที่จะคว้าชัยชนะอันดับ 1 จากการแข่งขันประเภทรถพลังงานไฟฟ้าดัดแปลง 1 (Electric Modified Division 1)
มิตซูบิชิ มิฟ อีโวลูชั่น 3 แตกต่างจาก มิตซูบิชิ มิฟ อีโวลูชั่น 2 ซึ่งเป็นรถแข่งที่เข้าร่วมการแข่งขัน ไพค์ พีค ในปี 2556 หลายด้าน ทั้งการดัดแปลงแชสซีส์มาใช้เหล็กน้ำหนักเบา, มอเตอร์ไฟฟ้ากำลังขับสูงขึ้นจาก 400 กิโลวัตต์ เป็น 450 กิโลวัตต์ ยางขนาดกว้างขึ้นจากขนาด 260/650-18 เป็น 330/680-18 เพื่อถ่ายทอดกำลังลงพื้นให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ นอกจากนี้ยังมี การ์ดบังลมด้านหน้าทำจากวัสดุคาร์บอนแบบใหม่ ที่ทำงานร่วมกับสปอยเลอร์เพื่อรีดลมให้ได้มากที่สุด ซึ่งเพียงพอต่อการไต่เขาสูงชันตลอดเส้นทาง
ทั้งนี้ มิตซูบิชิ มิฟ อีโวลูชั่น มาพร้อมกับระบบควบคุม Super All Wheel Control (S-AWC) เพื่อเพิ่มเสถียรภาพและลดการลื่นไถลของล้อหลัง และยังผนวกเข้ากับระบบควบคุมการทรงตัว (Vehicle Dynamic Controls) นำไปสู่การขับขี่ที่มั่นใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ท่านใดสนใจสามารถเยี่ยมชมรถยนต์รุ่นต่างๆ ได้ที่โชว์รูมรถยนต์บีอาร์จี กรุ๊ป ทั้ง 5 สาขา ได้แก่ สาขาแจ้งวัฒนะ สาขาสุทธิสาร สาขาศรีนครินทร์ สาขารามคำแหง และสาขาภูเก็ต หรือที่บู๊ธรถยนต์บีอาร์จี กรุ๊ป ในงาน บางกอกอินเตอร์ เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 17
Toyota FCV Plus Concept
โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เป็นค่ายยักษ์ใหญ่ที่เข้าร่วมงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ มาโดยตลอด และดูเหมือนจะเป็นค่ายเดียวที่คงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์อันสำคัญของงานมอเตอร์โชว์ทั่วโลก นั่นก็คือ การขนรถยนต์ต้นแบบข้ามน้ำข้ามทะเลมาให้คนไทยได้สัมผัสและเรียนรู้ถึงเทคโนโลยีด้านยานยนต์ในอนาคตอยู่เสมอ
โดยปีนี้ โตโยต้า ภูมิใจนำเสนอ Toyota FCV Plus Concept หนึ่งในเทคโนโลยีแห่งอนาคตของรถพลังงานทางเลือกแบบ Fuel-Cell ซึ่งถูกออกแบบภายใต้แนวคิด การร่วมเป็นหนึ่งในหน่วยย่อยของสังคมยุคอนาคต รถต้นแบบคันนี้มีรูปทรงขนาดเล็ก
ห้องโดยสารประกอบไปด้วยที่นั่งแบบ 2+2 และเป็นมากกว่ายานพาหนะยุคใหม่ ที่ใช้สำหรับขนส่งผู้คนจากจุด A ไปยังจุด B ตัวรถใช้พลังงานจากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตโดยใช้ไฮโดรเจนเป็นสารตั้งต้น ไปทำปฏิกิริยาทางเคมีใน cell stack เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้า แต่สามารถเปลี่ยนตัวเองจาก eco-cars ไปสู่ energy-cars ได้ด้วยระบบที่เชื่อมต่อต่อเข้ากับกริด (vehicle-to-grid)
ขยายความให้กว้างขึ้นก็คือ FCV Plus Concept เมื่อไม่ได้ถูกใช้งานในฐานะยานพาหนะ ก็ถูกปรับเปลี่ยนมาใช้เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เสถียรได้อีกด้วย สามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์กักเก็บไฮโดรเจนภายนอก เพื่อใช้เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าให้แก่ครัวเรือน หรือ เมื่อใช้ต่อพ่วงกันเป็นกลุ่ม ก็จะสามารถเชื่อมต่อกับกริดไฟฟ้าซึ่งเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานของแหล่งชุมชนได้ เป็นต้น (power sharing) โดย โตโยต้า เรียกโหมดในการใช้งานนี้ว่า Social Mode
สำหรับชุดระบบขับเคลื่อนใน FCV Plus Concept นั้น โตโยต้าวางชุด cell stack เอาไว้ระหว่างล้อคู่หน้า และติดตั้งถังไฮโดรเจนแรงดันสูงเอาไว้ด้านหลังเบาะผู้โดยสาร ส่วนมอเตอร์ไฟฟ้าจะถูกแยกติดตั้งในแต่ละล้อ สำหรับใช้งานในแบบขับเคลื่อน 4 ล้อ
มิติตัวถังของรถสุดล้ำสมัยคันนี้ มีความยาวเพียงแค่ 3,800 มม. กว้าง 1,750 มม. สูง 1,540 มม. และความยาวฐานล้อมากถึง 3,000 มม.การออกแบบภายนอกมีความโดนเด่นในเรื่องของรูปลักษณ์ที่เน้นความล้ำสมัย เผยให้เห็นถึงอนาคต แผงเซลล์เชื้อเพลิงจะติดตั้งอยู่บริเวณ ด้านหลังล้อหน้าถัดจากถังเก็บไฮโดรเจนที่อยู่ระหว่างที่นั่งด้านหลัง และติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าอิสระทั้ง 4 ล้อ ทำให้พื้นที่ใช้สอยภายในรถค่อนข้างกว้างขวาง
โดยส่วนของภายในและภายนอกจะมีการออกแบบที่เชื่อมต่อกัน และการเลือกใช้สีฟ้าเป็นส่วนประกอบแสดงให้เห็นถึงพลังงานสะอาด และความล้ำสมัย ไฮไลต์สำคัญอยู่ที่ระบบสร้างพลังงานไฟฟ้าโดยตรงจากบริเวณด้านหลังล้อหน้า ที่สามารถเก็บกระแสไฟฟ้าได้ในระหว่างขับเคลื่อน
FCV Plus Concept แม้จะยังไปไม่ถึงขั้นการผลิตออกมาขายจริง แต่ด้วยแนวคิดหลักของตัวรถนับว่ามีความน่าสนใจอย่างสูงสำหรับโลกในอนาคต เพราะนอกจากจะเป็นรถพลังงานสะอาดแล้ว ยังถูกคิดไปไกลถึงการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าด้วยการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในครัวเรือนได้อีกด้วย
Nissan Solid Oxide Fuel Cell -SOFC
แม้จะนับว่าเป็นค่ายรถยนต์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านรถพลังงานไฟฟ้า สร้างโปรดักต์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกอย่างนิสสัน ลีฟ แต่ในวันนี้นิสสันนำเสนอ ต้นแบบยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานเซลล์เชื้อเพลิงแบบออกไซด์แข็ง (Solid Oxide Fuel Cell - SOFC)แบบแรกของโลกที่สามารถขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากเชื้อเพลิงเอทานอลชีวภาพ (Bio-Ethanol Electric Power)
โดยโครงงานการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขับเคลื่อน Solid Oxide Fuel-Cell (SOFC)-powered system ซึ่งขับเคลื่อนในรูปแบบการใช้พลังงาน Bio-Ethanol Electric Power ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ผู้ผลิตรถยนต์นำระบบนี้มาใช้ ซึ่งมีจุดเด่นคือ ระบบ e-Bio Fuel-Cell ที่มาพร้อมกับตัวสร้างพลังงานแบบ SOFC
ระบบ e-Bio Fuel-Cell เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด “Nissan Intelligent Power” ในการนำเสนอรถยนต์กับสิ่งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการขับเคลื่อนและการใช้พลังงานไฟฟ้า รวมถึงการสร้างความสนุกในการขับขี่ ซึ่งภายในห้องเครื่องยนต์ได้รับการติดตั้งตัวเก็บประจุที่เก็บกระแสไฟฟ้าได้เป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับตัวสร้างกระแสไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ
ตัวสร้างพลังงานแบบ SOFC มี แนวคิดหลักในการออกแบบ 3 ประการ คือ ประสิทธิภาพในการใช้งานสูงเดินทางได้ไกลมากขึ้น, จัดหาง่าย ด้วยต้นทุนเชื้อเพลิงที่มีราคาต่ำ (สามารถใช้เอทานอลผสมน้ำ) และเป็นพลังงานสะอาด เนื่องจากไม่มีการปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศ
e-Bio Fuel-Cell จึงเป็นการสร้างกระแสไฟฟ้าผ่านทางเซลล์เชื้อเพลิงแบบออกไซด์แข็ง SOFC ด้วยการใช้เอทานอลแบบชีวภาพ ซึ่งถูกเก็บไว้ที่ถังเชื้อเพลิงในตัวรถ ด้วยหลักการทำงานเหมือนกับเซลล์เชื้อเพลิง แต่การผลิตไฮโดรเจนเพื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนนั้น จะมาจากการนำเชื้อเพลิงซึ่งก็คือ เอทานอลชีวภาพ มาสกัดและแปรรูปผ่านทางอุปกรณ์รีฟอร์เมอร์ (Reformer) จากนั้นจึงค่อยส่งไฮโดรเจนที่ได้เข้ามาทำปฏิกิริยาเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าและส่งให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน
สิ่งที่แตกต่างจากระบบเซลล์เชื้อเพลิงแบบเดิมๆ คือ เชลล์เชื้อเพลิงชีวภาพ (e-Bio Fuel-Cell) จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า SOFC เปรียบเสมือนกับแหล่งพลังงาน ซึ่งจะทำหน้าที่ผลิตกำลังไฟฟ้าในระดับที่มีจำนวนมากเพื่อช่วยให้ตัวรถสามารถแล่นทำระยะทางได้ไกลขึ้น
ซึ่งจากการทดสอบในการขับด้วยความเร็วคงที่นั้น รถยนต์ที่ใช้ระบบนี้สามารถแล่นทำระยะทางได้ในระดับที่ใกล้เคียงกับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินทำได้ต่อการใช้น้ำมัน 1 ถัง (มากกว่า 600 กิโลเมตร) ยิ่งไปกว่านั้น รถยนต์แบบ e-Bio Fuel-Cell ยังมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้าอีกด้วย
ในอนาคต เทคโนโลยี e-Bio Fuel-Cell จะได้รับการพัฒนาให้มีความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น การผสมเอทานอลเข้ากับน้ำนั้นมีกระบวนที่ง่ายกว่า และปลอดภัยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงอื่นๆ ทั้งหมดที่มีอยู่ และจะเป็นการขจัดข้อจำกัดทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการต้องสร้างระบบสาธารณูปโภคใหม่ๆ ขึ้นมารองรับกับการใช้งาน และถือเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพออย่างมากในการทำให้ตลาดมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
แน่นอนว่า ต้นทุนในการใช้งานลดลงอย่างมาก และเกือบจะเท่ากับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์พลังไฟฟ้าในยุคปัจจุบัน และถือว่าสามารถก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งยวดสำหรับคนทั่วไปเช่นเดียวกับในภาคธุรกิจ เพราะว่า e-Bio Fuel-Cell สามารถรองรับกับความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า เนื่องจากการใช้ระยะเวลาไม่นานในการเติมเชื้อเพลิง และมีการสร้างพลังงานที่ค่อนข้างสูงสำหรับใช้งานจึงทำให้เทคโนโลยีสามารถรองรับกับการให้บริการบางอย่าง เช่น ระบบขนส่งที่ใช้ตู้แช่
อย่างไรก็ตาม นิสสันยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องในการนำเสนอคุณค่าที่โดดเด่นให้แก่ลูกค้าของเราผ่านทางระบบใหม่ๆ ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้จากเชื้อเพลิงที่หลากหลาย ขณะเดียวกันก็ยังให้ความสนใจกับประเด็นในเรื่องของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จะต้องรองรับกับการสนับสนุนทางด้านพลังงานในทุกภูมิภาคทั่วโลก
Mitsubishi MiEV Evolution III
งานบางกอก มอเตอร์โชว์ ปีนี้ มิตซูบิชิ มอเตอร์ ประเทศไทย ขนรถน่าสนใจเข้ามาร่วมโชว์ในงานมากมาย นอกจากมิตซูบิชิ โมเดล เอ รุ่นปี พ.ศ. 2460 ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรุ่นแรกที่ประกอบในประเทศญี่ปุ่นที่ โกเบ ชิปยาร์ด ของบริษัท มิตซูบิชิ ชิปบิลด์ดิ้ง จำกัด แล้วนั้น
มิตซูบิชิ ยังพร้อมนำเสนอ Mitsubishi MiEV Evolution III ซึ่งเป็นรถที่ถูกออกแบบมาให้เป็นรถแข่งพลังงานไฟฟ้าเจเนอเรชันที่สามที่ลงแข่งขันในรายการ Pikes Peak International Hill Climb ไต่เขาสุดมันส์ในรัฐโคโลราโดของสหรัฐอเมริกา มาให้แฟน ๆ ชาวไทยได้สัมผัส
โดยที่ผ่านมา บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ส่ง มิตซูบิชิ มิฟ อีโวลูชั่น 3 จำนวน 2 คัน ซึ่งเป็นรถแข่งที่ผนวกเทคโนโลยีรถพลังงานไฟฟ้า และเทคโนโลยีขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่ดีที่สุดเข้าด้วยกัน เข้าร่วมการแข่งขัน ไพค์ พีค โดยมีเป้าหมายที่จะคว้าชัยชนะอันดับ 1 จากการแข่งขันประเภทรถพลังงานไฟฟ้าดัดแปลง 1 (Electric Modified Division 1)
มิตซูบิชิ มิฟ อีโวลูชั่น 3 แตกต่างจาก มิตซูบิชิ มิฟ อีโวลูชั่น 2 ซึ่งเป็นรถแข่งที่เข้าร่วมการแข่งขัน ไพค์ พีค ในปี 2556 หลายด้าน ทั้งการดัดแปลงแชสซีส์มาใช้เหล็กน้ำหนักเบา, มอเตอร์ไฟฟ้ากำลังขับสูงขึ้นจาก 400 กิโลวัตต์ เป็น 450 กิโลวัตต์ ยางขนาดกว้างขึ้นจากขนาด 260/650-18 เป็น 330/680-18 เพื่อถ่ายทอดกำลังลงพื้นให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ นอกจากนี้ยังมี การ์ดบังลมด้านหน้าทำจากวัสดุคาร์บอนแบบใหม่ ที่ทำงานร่วมกับสปอยเลอร์เพื่อรีดลมให้ได้มากที่สุด ซึ่งเพียงพอต่อการไต่เขาสูงชันตลอดเส้นทาง
ทั้งนี้ มิตซูบิชิ มิฟ อีโวลูชั่น มาพร้อมกับระบบควบคุม Super All Wheel Control (S-AWC) เพื่อเพิ่มเสถียรภาพและลดการลื่นไถลของล้อหลัง และยังผนวกเข้ากับระบบควบคุมการทรงตัว (Vehicle Dynamic Controls) นำไปสู่การขับขี่ที่มั่นใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ท่านใดสนใจสามารถเยี่ยมชมรถยนต์รุ่นต่างๆ ได้ที่โชว์รูมรถยนต์บีอาร์จี กรุ๊ป ทั้ง 5 สาขา ได้แก่ สาขาแจ้งวัฒนะ สาขาสุทธิสาร สาขาศรีนครินทร์ สาขารามคำแหง และสาขาภูเก็ต หรือที่บู๊ธรถยนต์บีอาร์จี กรุ๊ป ในงาน บางกอกอินเตอร์ เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 17