ข่าวในประเทศ - ฟอร์ด ประเทศไทย จัดกิจกรรม “Ford Experience World Class Engineering” เชิญคณะสื่อมวลชนและผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมและยานยนต์ ร่วมทดสอบเทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่อัจฉริยะในรถกระบะฟอร์ด เรนเจอร์ ไวลด์แทรค และ ฟอร์ด เอเวอเรสต์ ใหม่ พร้อมเยี่ยมชมการผลิตรถยนต์ฟอร์ดภายในโรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง ณ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง
เทคโนโลยีด้านความปลอดภับทีติดตั้งในฟอร์ด ได้แก่
ระบบควบคุมความเร็วแบบรักษาระยะห่างอัตโนมัติ (Adaptive Cruise Control)
ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในช่องทาง (Lane Keeping System)
ระบบเตือนการชนด้านหน้า (Forward Collision Warning System)
ระบบแจ้งเตือนการขับขี่ (Driver Alert System)
ระบบเปิด-ปิดไฟสูงอัจฉริยะ (Auto High Beam Control)
และยังมีการทดสอบ ระบบช่วยจอดอัจฉริยะ (Active Park Assist) ใน ฟอร์ด เอเวอเรสต์ ไทเทเนี่ยม พลัส ที่ช่วยให้การนำรถเข้าจอดเทียบข้าง ด้วยการเหยียบคันเร่ง เข้าเกียร์ และเบรก โดยไม่จำเป็นต้องบังคับพวงมาลัย รวมไปถึง ระบบตรวจจับรถขณะออกจากซองจอด (Cross Traffic Alert) ซึ่งจะคอยแจ้งเตือนผู้ขับขี่ในกรณีที่มีรถคันอื่นอยู่ในจุดบอด หรือเมื่อมีรถตัดผ่านในขณะถอยออกจากซองจอด ช่วยให้การถอยรถออกจากช่องจอดได้เป็นได้ง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
นอกจากการทดสอบการขับและการใช้เทคโนโลยีช่วยในการขับขี่อัจฉริยะของรถฟอร์ดแล้ว มีการเยี่ยมชมภายในโรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง ณ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ซึ่งกระบวนการผลิตรถยนต์ในโรงงาน จะประกอบไปด้วย 4 กระบวนการหลัก ได้แก่
1) โรงปั๊มขึ้นรูปและประกอบตัวถัง โดยใช้แท่นพิมพ์ความเร็วสูง พร้อมเทคโนโลยีระบบป้อนชิ้นงานแบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์จำนวน 243 ตัว ในโรงงานประกอบตัวถังช่วยเชื่อมชิ้นส่วนแบบเชื่อมอัด (Spot Welding) เพื่อผนึกชิ้นส่วนและส่งต่องาน โดยระบบการประกอบตัวถังมีความยืดหยุ่น 8 ระบบ พร้อมการเก็บริมแบบ Table Top
2) โรงพ่นสี ซึ่งใช้เทคโนโลยี Rotational Dip ที่หมุนรถทั้งคันแบบ 360 องศาในถังเคมี เพื่อรองพื้นและเคลือบผิวทั่วคันรถอย่างสม่ำเสมอ และเทคโนโลยีการพ่นสีแบบ Three-Wet High Solid หรือให้รถผ่านการพ่นสีซ้อนทับกัน 3 ชั้น ก่อนเข้าเตาอบเพียงครั้งเดียว
3) โรงประกอบรถยนต์และการตรวจสอบคุณภาพ โดยเน้นสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรในด้านสรีรศาสตร์ (Ergonomic Friendly Environment) เช่น ระบบพื้นมีการยกปรับระดับในสายพานการผลิต ออกแบบให้เหมาะสมกับสรีระ ช่วยให้พนักงานเคลื่อนไหวได้โดยสะดวก รวมถึงระบบติดตามปัญหาระหว่างการผลิต Quality Leadership System (QLS) ที่เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
4) ขั้นตอนการขนส่งวัสดุ ซึ่งใช้รถขนส่งอัตโนมัติ (AGV - Automatic Guided Vehicle) และใช้ระบบประกอบและลำเลียง (Kitting and Sequencing) สำหรับงานที่มีความซับซ้อนสูง
“ฟอร์ด ให้ความสำคัญกับการคิดค้น พัฒนา และนำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ เพื่อสร้างคุณค่าสูงสุดให้กับรถยนต์ทุกรุ่นของเรา กิจกรรม Ford Experience World Class Engineering จัดขึ้น เพื่อทดสอบเทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่อัจฉริยะที่มีอยู่ในฟอร์ด เรนเจอร์ ไวลด์แทรค 3.2 ลิตร และ ฟอร์ด เอเวอเรสต์ ไทเทเนี่ยม พลัส รุ่นปี 2016 เพื่อให้ผู้บริโภคชาวไทยได้สัมผัสในราคาที่สามารถจับต้องได้” ศุภรางศุ์ อนุชปรีดา ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย กล่าว
เทคโนโลยีด้านความปลอดภับทีติดตั้งในฟอร์ด ได้แก่
ระบบควบคุมความเร็วแบบรักษาระยะห่างอัตโนมัติ (Adaptive Cruise Control)
ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในช่องทาง (Lane Keeping System)
ระบบเตือนการชนด้านหน้า (Forward Collision Warning System)
ระบบแจ้งเตือนการขับขี่ (Driver Alert System)
ระบบเปิด-ปิดไฟสูงอัจฉริยะ (Auto High Beam Control)
และยังมีการทดสอบ ระบบช่วยจอดอัจฉริยะ (Active Park Assist) ใน ฟอร์ด เอเวอเรสต์ ไทเทเนี่ยม พลัส ที่ช่วยให้การนำรถเข้าจอดเทียบข้าง ด้วยการเหยียบคันเร่ง เข้าเกียร์ และเบรก โดยไม่จำเป็นต้องบังคับพวงมาลัย รวมไปถึง ระบบตรวจจับรถขณะออกจากซองจอด (Cross Traffic Alert) ซึ่งจะคอยแจ้งเตือนผู้ขับขี่ในกรณีที่มีรถคันอื่นอยู่ในจุดบอด หรือเมื่อมีรถตัดผ่านในขณะถอยออกจากซองจอด ช่วยให้การถอยรถออกจากช่องจอดได้เป็นได้ง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
นอกจากการทดสอบการขับและการใช้เทคโนโลยีช่วยในการขับขี่อัจฉริยะของรถฟอร์ดแล้ว มีการเยี่ยมชมภายในโรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง ณ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ซึ่งกระบวนการผลิตรถยนต์ในโรงงาน จะประกอบไปด้วย 4 กระบวนการหลัก ได้แก่
1) โรงปั๊มขึ้นรูปและประกอบตัวถัง โดยใช้แท่นพิมพ์ความเร็วสูง พร้อมเทคโนโลยีระบบป้อนชิ้นงานแบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์จำนวน 243 ตัว ในโรงงานประกอบตัวถังช่วยเชื่อมชิ้นส่วนแบบเชื่อมอัด (Spot Welding) เพื่อผนึกชิ้นส่วนและส่งต่องาน โดยระบบการประกอบตัวถังมีความยืดหยุ่น 8 ระบบ พร้อมการเก็บริมแบบ Table Top
2) โรงพ่นสี ซึ่งใช้เทคโนโลยี Rotational Dip ที่หมุนรถทั้งคันแบบ 360 องศาในถังเคมี เพื่อรองพื้นและเคลือบผิวทั่วคันรถอย่างสม่ำเสมอ และเทคโนโลยีการพ่นสีแบบ Three-Wet High Solid หรือให้รถผ่านการพ่นสีซ้อนทับกัน 3 ชั้น ก่อนเข้าเตาอบเพียงครั้งเดียว
3) โรงประกอบรถยนต์และการตรวจสอบคุณภาพ โดยเน้นสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรในด้านสรีรศาสตร์ (Ergonomic Friendly Environment) เช่น ระบบพื้นมีการยกปรับระดับในสายพานการผลิต ออกแบบให้เหมาะสมกับสรีระ ช่วยให้พนักงานเคลื่อนไหวได้โดยสะดวก รวมถึงระบบติดตามปัญหาระหว่างการผลิต Quality Leadership System (QLS) ที่เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
4) ขั้นตอนการขนส่งวัสดุ ซึ่งใช้รถขนส่งอัตโนมัติ (AGV - Automatic Guided Vehicle) และใช้ระบบประกอบและลำเลียง (Kitting and Sequencing) สำหรับงานที่มีความซับซ้อนสูง
“ฟอร์ด ให้ความสำคัญกับการคิดค้น พัฒนา และนำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ เพื่อสร้างคุณค่าสูงสุดให้กับรถยนต์ทุกรุ่นของเรา กิจกรรม Ford Experience World Class Engineering จัดขึ้น เพื่อทดสอบเทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่อัจฉริยะที่มีอยู่ในฟอร์ด เรนเจอร์ ไวลด์แทรค 3.2 ลิตร และ ฟอร์ด เอเวอเรสต์ ไทเทเนี่ยม พลัส รุ่นปี 2016 เพื่อให้ผู้บริโภคชาวไทยได้สัมผัสในราคาที่สามารถจับต้องได้” ศุภรางศุ์ อนุชปรีดา ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย กล่าว