ยอดจดทะเบียนรถส่งสัญญาณตลาดฟื้นตัวได้ พลิกกลับมาบวกเป็นครั้งแรกหลังลดลงต่อเนื่อง 3 ปี มียอดจดเพิ่มขึ้นร่วม 100,000 คัน เฉพาะรถใหม่ป้ายแดง โตโยต้า ครองอันดับ 1 ยอดจดทะเบียนรวมรถทุกประเภท ,รถเก๋ง และรถยนต์ส่วนบุคคลนั่งเกิน 7 คน ขณะที่อีซูซุ ครองอันดับ 1 ยอดจดทะเบียนรถปิกอัพ
กรมการขนส่งทางบก รายงานสถิติการจดทะเบียนรถประจำปี 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,872,026 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มีจำนวน 2,772,269 คัน โดยปริมาณการจดทะเบียนที่สูงขึ้นมาจากรถตาม กฎหมายว่าด้วยรถยนต์* ได้แก่ รถจักรยานยนต์มียอดจดเพิ่มกว่า 90,000 คัน และรถยนต์ราว 10,000 คัน ส่วนรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก* (รถโดยสารและรถบรรทุก) มีปริมาณลดลงกว่า 5,000 คัน
ซึ่งตัวเลขการจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยเริ่มมีการฟื้นตัวดีขึ้น หลังจากยอดจดทะเบียนลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา โดยในปี 2556 มียอดจดทะเบียน 3,633,822 คันลดลงจากปีก่อนหน้าราว 100,000 คัน ปี 2557 มียอดจดทะเบียน 2,897,963 คันและปี 2558 ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ลดลง 3 ปีติดต่อกัน จนกระทั่งปี 2559 จึงพลิกกลับมาบวกได้
สำหรับสถิติที่น่าสนใจคือ การจดทะเบียนรถยนต์ใหม่(ป้ายแดง) ซึ่งกรมการขนส่งทางบก จำแนกประเภทด้วยการจดทะเบียนและเสียภาษีตามกฎหมาย ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน(รย.2), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3), รถจักรยานยนต์ (รย.12), รถโดยสาร และ รถบรรทุก เพื่อมิให้เยิ่นเย้อ เราขอโฟกัสเฉพาะในส่วนของรถยนต์เท่านั้น
โดยในปี 2559 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน(รย.1) ที่เรามักเรียกกันติดปากว่า รถเก๋งนั้นมียอดจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 535,919 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มียอดจดทะเบียนเพียง 514,117 คันเท่านั้น ซึ่งโตโยต้า ครองแชมป์ด้วยตัวเลข 157,950 คัน ตามมาด้วยฮอนด้ามียอดจด 116,126 คัน
จุดสังเกตุของรถประเภท รย.1 นี้ คือ จะมีป้ายทะเบียนเป็นพื้นสีขาว ตัวอักษร/เลขสีดำ ซึ่งรถปิกอัพ 4 ประตูจะถูกรวมเข้าไว้ในรถประเภทนี้ด้วยตามข้อกำหนดของกฎหมาย ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ตรงกับการรายงานตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ที่จำแนกตามประเภทของค่ายรถ
ขณะที่รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล(รย.3) หรือรถปิกอัพ มียอดจดทะเบียนในปี 2559 ทั้งสิ้น 222,206 คัน ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้าที่มียอดจดทะเบียน 233,041 คัน โดย อีซูซุครองแชมป์ด้วยสถิติ 84,159 คัน ตามมาด้วย โตโยต้า ที่ยอด 80,783 คัน สำหรับจุดสังเกตุของรถประเภท รย.3 นี้คือ ป้ายทะเบียนจะเป็นพื้นสีขาว ตัวอักษร/เลข สีเขียว
ส่วนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน(รย.2) ปี 2559 มียอดจดทะเบียนทั้งสิ้น 11,234 คันใกล้เคียงกับปี 2558 ที่มียอด 11,859 คัน โดย โตโยต้ามียอดจดทะเบียนมากที่สุดด้วยสถิติ 5,333 คัน ตามมาด้วย ฮุนได มียอดจด 3,228 คัน จุดสังเกตุรถประเภท รย.2 นี้จะมีป้ายทะเบียนพื้นสีขาว ตัวอักษร/เลข สีน้ำเงิน ซึ่งรถปิกอัพแบบ 4 ประตู (นั่งสองตอนท้ายบรรทุก) ที่ได้รับการต่อเติมที่นั่งเกิน 7 คนสามารถแจ้งจดเป็นรถแบบ รย.2 นี้ได้เช่นกัน
ทั้งนี้ เมื่อรวมยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่(ป้ายแดง)ทั้ง 3 ประเภทเข้าด้วยกัน ปี 2559 จะมียอดจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 769,359 คัน มากกว่าปี 2558 ที่มียอดจดรวม 759,017 คัน ซึ่ง โตโยต้าสามารถคว้าตำแหน่งแชมป์ยอดจดทะเบียนไปครองได้ด้วยตัวเลข 244,066 คัน ตามด้วยอีซูซุ 132,756 คัน และด้วยสถิติตัวเลขทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงสัญญาณบวกของยานยนต์ไทยมีทิศทางดีขึ้นชัดเจน
เหนืออื่นใด ตลาดรถยนต์ปี 2560 นี้ แค่เพียงเดือนแรกของปี ก็มีรถยนต์รุ่นใหม่ทะยอยเปิดตัวมาแล้วหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า วีออส, นิสสัน โน้ต, ฮอนด้า ซิตี้ และ มาสด้า3 ซึ่งทุกรุ่นถือว่าเป็นตัวขายลำดับต้นๆ ของแต่ละแบรนด์ก็ว่าได้ ดังนั้นอีก 11 เดือนนับจากนี้ยังมีรถรุ่นใหม่จ่อคิวเปิดตัวอีกมาก ดังนั้น ตลาดรถยนต์ไทยน่าจะคึกคักตลอดทั้งปีและกลับมามียอดขายเติบโตอีกครั้ง
*หมายเหตุ
ก. รวมรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
รย.1 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
รย.2 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
รย.3 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
รย.4 รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
รย.5 รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด
รย.6 รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน
รย.7 รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง
รย.8 รถยนต์รับจ้างสามล้อ
รย.9 รถยนต์บริการธุรกิจ
รย.10 รถยนต์บริการทัศนาจร
รย.11 รถยนต์บริการให้เช่า
รย.12 รถจักรยานยนต์
รย.13 รถแทรกเตอร์
รย.14 รถบดถนน
รย.15 รถใช้งานเกษตรกรรม
รย.16 รถพ่วง
รย.17 รถจักรยานยนต์สาธารณะ
ข. รวมรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
1.รถโดยสาร แยกเป็น - ประจำทาง - ไม่ประจำทาง - ส่วนบุคคล
2. รถบรรทุก แยกเป็น - ไม่ประจำทาง - ส่วนบุคคล
กรมการขนส่งทางบก รายงานสถิติการจดทะเบียนรถประจำปี 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,872,026 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มีจำนวน 2,772,269 คัน โดยปริมาณการจดทะเบียนที่สูงขึ้นมาจากรถตาม กฎหมายว่าด้วยรถยนต์* ได้แก่ รถจักรยานยนต์มียอดจดเพิ่มกว่า 90,000 คัน และรถยนต์ราว 10,000 คัน ส่วนรถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก* (รถโดยสารและรถบรรทุก) มีปริมาณลดลงกว่า 5,000 คัน
ซึ่งตัวเลขการจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยเริ่มมีการฟื้นตัวดีขึ้น หลังจากยอดจดทะเบียนลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา โดยในปี 2556 มียอดจดทะเบียน 3,633,822 คันลดลงจากปีก่อนหน้าราว 100,000 คัน ปี 2557 มียอดจดทะเบียน 2,897,963 คันและปี 2558 ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ลดลง 3 ปีติดต่อกัน จนกระทั่งปี 2559 จึงพลิกกลับมาบวกได้
สำหรับสถิติที่น่าสนใจคือ การจดทะเบียนรถยนต์ใหม่(ป้ายแดง) ซึ่งกรมการขนส่งทางบก จำแนกประเภทด้วยการจดทะเบียนและเสียภาษีตามกฎหมาย ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) , รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน(รย.2), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3), รถจักรยานยนต์ (รย.12), รถโดยสาร และ รถบรรทุก เพื่อมิให้เยิ่นเย้อ เราขอโฟกัสเฉพาะในส่วนของรถยนต์เท่านั้น
โดยในปี 2559 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน(รย.1) ที่เรามักเรียกกันติดปากว่า รถเก๋งนั้นมียอดจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 535,919 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มียอดจดทะเบียนเพียง 514,117 คันเท่านั้น ซึ่งโตโยต้า ครองแชมป์ด้วยตัวเลข 157,950 คัน ตามมาด้วยฮอนด้ามียอดจด 116,126 คัน
จุดสังเกตุของรถประเภท รย.1 นี้ คือ จะมีป้ายทะเบียนเป็นพื้นสีขาว ตัวอักษร/เลขสีดำ ซึ่งรถปิกอัพ 4 ประตูจะถูกรวมเข้าไว้ในรถประเภทนี้ด้วยตามข้อกำหนดของกฎหมาย ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ตรงกับการรายงานตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ที่จำแนกตามประเภทของค่ายรถ
ขณะที่รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล(รย.3) หรือรถปิกอัพ มียอดจดทะเบียนในปี 2559 ทั้งสิ้น 222,206 คัน ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนหน้าที่มียอดจดทะเบียน 233,041 คัน โดย อีซูซุครองแชมป์ด้วยสถิติ 84,159 คัน ตามมาด้วย โตโยต้า ที่ยอด 80,783 คัน สำหรับจุดสังเกตุของรถประเภท รย.3 นี้คือ ป้ายทะเบียนจะเป็นพื้นสีขาว ตัวอักษร/เลข สีเขียว
ส่วนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน(รย.2) ปี 2559 มียอดจดทะเบียนทั้งสิ้น 11,234 คันใกล้เคียงกับปี 2558 ที่มียอด 11,859 คัน โดย โตโยต้ามียอดจดทะเบียนมากที่สุดด้วยสถิติ 5,333 คัน ตามมาด้วย ฮุนได มียอดจด 3,228 คัน จุดสังเกตุรถประเภท รย.2 นี้จะมีป้ายทะเบียนพื้นสีขาว ตัวอักษร/เลข สีน้ำเงิน ซึ่งรถปิกอัพแบบ 4 ประตู (นั่งสองตอนท้ายบรรทุก) ที่ได้รับการต่อเติมที่นั่งเกิน 7 คนสามารถแจ้งจดเป็นรถแบบ รย.2 นี้ได้เช่นกัน
ทั้งนี้ เมื่อรวมยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่(ป้ายแดง)ทั้ง 3 ประเภทเข้าด้วยกัน ปี 2559 จะมียอดจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 769,359 คัน มากกว่าปี 2558 ที่มียอดจดรวม 759,017 คัน ซึ่ง โตโยต้าสามารถคว้าตำแหน่งแชมป์ยอดจดทะเบียนไปครองได้ด้วยตัวเลข 244,066 คัน ตามด้วยอีซูซุ 132,756 คัน และด้วยสถิติตัวเลขทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงสัญญาณบวกของยานยนต์ไทยมีทิศทางดีขึ้นชัดเจน
เหนืออื่นใด ตลาดรถยนต์ปี 2560 นี้ แค่เพียงเดือนแรกของปี ก็มีรถยนต์รุ่นใหม่ทะยอยเปิดตัวมาแล้วหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า วีออส, นิสสัน โน้ต, ฮอนด้า ซิตี้ และ มาสด้า3 ซึ่งทุกรุ่นถือว่าเป็นตัวขายลำดับต้นๆ ของแต่ละแบรนด์ก็ว่าได้ ดังนั้นอีก 11 เดือนนับจากนี้ยังมีรถรุ่นใหม่จ่อคิวเปิดตัวอีกมาก ดังนั้น ตลาดรถยนต์ไทยน่าจะคึกคักตลอดทั้งปีและกลับมามียอดขายเติบโตอีกครั้ง
*หมายเหตุ
ก. รวมรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
รย.1 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
รย.2 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
รย.3 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
รย.4 รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
รย.5 รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด
รย.6 รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน
รย.7 รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง
รย.8 รถยนต์รับจ้างสามล้อ
รย.9 รถยนต์บริการธุรกิจ
รย.10 รถยนต์บริการทัศนาจร
รย.11 รถยนต์บริการให้เช่า
รย.12 รถจักรยานยนต์
รย.13 รถแทรกเตอร์
รย.14 รถบดถนน
รย.15 รถใช้งานเกษตรกรรม
รย.16 รถพ่วง
รย.17 รถจักรยานยนต์สาธารณะ
ข. รวมรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
1.รถโดยสาร แยกเป็น - ประจำทาง - ไม่ประจำทาง - ส่วนบุคคล
2. รถบรรทุก แยกเป็น - ไม่ประจำทาง - ส่วนบุคคล