มาสด้าตั้งเป้ายอดขายปีนี้ไว้ที่ 50,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 18 % จากปีที่ผ่านมา และในจำนวนดังกล่าวมาสด้าหวังว่าจะมียอดขายมาสด้า 3 รุ่นปรับโฉมประมาณ 5,500 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 33 % และที่สำคัญมาสด้าหวังมาสด้า 3 จะเป็นโมเดลหลักที่จะทำให้มาสด้าสามารถครองอันดับ 3 ในตลาดรถยนต์นั่งอย่างถาวร
อะไรที่ทำให้มาสด้ามั่นใจว่ามาสด้า 3 จะเป็นพระเอกของงานนี้มาดูกัน ...อย่างแรก
ผู้บริหารมาสด้าบอกว่าการปรับโฉมครั้งนี้ไม่ได้เน้นในเรื่องของดีไซน์หน้าตาของมาสด้า 3 แต่เน้นเอาเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของมาสด้า คือ SKYACTIV-VEHICLE DYNAMICS ที่มาพร้อม G-VECTORING CONTROL ระบบควบคุมสมรรถนะการขับขี่อัจฉริยะ หรือ GVC มาใส่แทน ซึ่งเทคโนโลยี GVC นี้จะกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในมาสด้ารุ่นใหม่ต่อจากนี้ไป รวมถึงเพิ่มระบบความปลอดภัยเทียบชั้นรถยุโรปกันเลยทีเดียว ..ภายใต้ระบบ ไอ-แอคทีฟเซ้นส์ ( i-ACTIVSENSE) ซึ่ง 2 เรื่องนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการพัฒนารถมาสด้า 3 รุ่นปรับโฉม
ระบบ G-VECTORING CONTROL ดีอย่างไร...ระบบ GVC จะช่วยควบคุมสมรรถนะในการขับขี่ให้แม่นยำและสมดุล นั่นหมายความว่าระบบจะทำงานโดยประมวลผลจากการบังคับพวงลัยของผู้ขับขี่ ความเร็วของรถ รวมถึงน้ำหนักของเท้าที่กดลงบนแป้นคันเร่ง จากนั้นระบบจะควบคุมแรงบิดของเครื่องยนต์และเกิดการถ่ายน้ำหนักที่เหมาะสมไปสู่แต่ละล้อ ทำให้เกิดการเกาะถนนได้ดีในขณะเข้าโค้ง ควบคุมได้แม่นยำในทุกสถานการณ์ การทรงตัวของรถเป็นไปอย่างนิ่มนวล
อย่างที่สอง ไอ-แอคทีฟเซ้นส์ ( i-ACTIVSENSE) ระบบความปลอดภัยทีมาอย่างครบถ้วน แต่มี 2 ระบบที่ถือว่าใหม่สำหรับมาสด้า 3 คือ MRCC (Mazda Radar Cruise Control) ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ พร้อมปรับระยะห่างที่ปลอดภัยจากรถคันหน้า ...หากพบรถคันหน้าที่มีความเร็วน้อยกว่า ระบบจะทำการปรับลดความเร็วลงตามความเร็วของรถคันหน้าและรักษาระยะห่างกับรถคันหน้าให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติ โดยผู้ขับขี่สามารถปรับระยะห่างจากรถคันหน้าได้จากสวิตช์ที่พวงมาลัย ทั้งนี้ระบบจะกลับไปใช้ความเร็วเดิมที่กำหนดไว้โดยอัตโนมัติ เมื่อรถคันหน้าทิ้งห่างออกไป หรือเมื่อไม่มีรถด้านหน้าขวางอยู่
ส่วนอีกระบบเป็น SBS (Smart Brake Support) ระบบเตือนการชนด้านหน้าและช่วยเบรกอัตโนมัติ ...ระบบจะตรวจจับระยะห่างระหว่างรถของเราและรถคันหน้าหากพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการชนรถคันหน้า ระบบจะส่งสัญญาณเตือนและเสียงเตือนอย่างต่อเนื่อง ถ้าผู้ขับไม่ได้ทำการเบรก ระบบจะช่วยทำการเบรกโดยอัตโนมัติ เพื่อลดโอกาสในการชนรถคันหน้าระบบนี้เบรกให้เลย
นอกจากนี้ยังมีระบบ ALH (Adaptive LED Headlamps) ระบบไฟหน้า LED อัจฉริยะ ปรับการทำงานของไฟสูง-ต่ำ แยกอิสระซ้าย-ขวา ,DAA (Driver Attention Alert) ระบบช่วยเตือนเมื่อผู้ขับเหนื่อยล้าขณะขับขี่,LAS (Lane-Keep Assist System) ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลน ,LDWS (Lane Departure Warning System) ระบบเตือนเมื่อรถเบี่ยงออกนอกเลน,SCBS (Smart City Brake Support) ระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติ ,SCBS-R (Smart City Brake Support-Reverse) ระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติขณะถอยหลัง ,ABSM (Advanced Blind Spot Monitoring) ระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะเปลี่ยนเลน ,RCTA (Rear Cross Traffic Alert) ระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะถอยหลังระบบ, ESS (EMERGENCY SIGNAL SYSTEM) สัญญาณไฟกระพริบเมื่อผู้ขับขี่เหยียบเบรกรถอย่างกระทันในภาวะฉุกเฉิน, HLA (Hill Launch Assist) ช่วยในการออกตัวรถขณะอยู่บนทางลาดชัน และ TCS (Traction Control System) ช่วยป้องกันรถเลื่อนไถล
ระบบดังกล่าวข้างต้นติดตั้งอยู่ในมาสด้า 3 รุ่นปรับโฉม ทั้งหมด ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากสำหรับในเรื่องความปลอดภัย และมาสด้าก็ใส่มาให้เต็มที สบายใจไปได้เยอะในเรื่องการขับขี่เพราะมีตัวช่วยเพียบ
อย่างที่สามระบบการเชื่อมต่อออนไลน์ MZD CONNECT ที่สะดวกครบทุกฟังก์ชั่น ไม่ว่าจะเป็นรับ-ส่ง ข้อความ SMS จากสมาร์ทโฟนผ่านสัญญาณ Bluetooth พร้อม infotainment ที่มีให้เลือกมากมายในแอพพลิเคชั่น ระบบความบันเทิง ระบบนำทาง ทุกอย่างผ่านจอ Touch Screen ขนาด 7 นิ้ว และควบคุมเมนูการสั่งงานของ CENTER DISPLAY จัดวางในตำแหน่งใกล้มือผู้ขับ รวมถึงพอร์ต USB จำนวน 2 จุด
ส่วนจุดเด่นสุดท้ายเป็นเรื่องของการดีไซน์ รถมาสด้าออกแบบภายใต้ โคโดะ ดีไซน์ จึงสวยล้ำ ทันสมัย ทุกรุ่น รวมถึงมาสด้า 3 ก็เช่นกัน แม้จะไม่เน้นแต่ก็มีการปรับเล็กน้อย ภายนอกเปลี่ยนกระจังหน้า กันชนหน้า ไฟตัดหมอกใหม่ ไฟหน้าแบบ LED โปรเจคเตอร์ พร้อม Daytime Running Light ดีไซน์ใหม่ รวมไปถึงไฟตัดหมอกคู่หน้าแบบ LED ดีไซน์ใหม่ ล้ออัลลอยขนาด 18 นิ้ว ดีไซน์ใหม่ แต่ในรุ่น 2.0E และรุ่น 2.0S จะเป็นล้ออัลลอยขนาด 16 นิ้ว และกันชนท้ายดีไซน์ใหม่ในรุ่น 5 ประตู ส่วนรุ่น 4 ประตูเหมือนเดิม
ขณะที่ภายใน เพิ่มความเป็นรถสปอร์ตพรีเมียมโดยเลือกใช้แบบทูโทน เบาะหนังทูโทน น้ำตาล-ดำ แผงประตูเพิ่มวัสดุสีเงิน สีดำวาว Piano Black พวงมาลัยหุ้มหนังแบบ 3 ก้าน ตกแต่งด้วยโครเมียม พร้อมเปลี่ยนจากเบรกมือปกติเป็นแบบไฟฟ้า นอกจากนี้ทุกรุ่นยังติดตั้งปุ่ม Drive Selection สำหรับเปลี่ยนโหมดการขับขี่เป็นแบบสปอร์ตมาให้
ขณะที่เบาะนั่งผู้ขับเป็นแบบปรับมือ 6 ทิศทาง ฝั่งผู้โดยสารปรับได้ 4 ทิศทาง และเบาะนั่งด้านหลังสามารถพับเบาะเป็นพื้นราบ 180 องศา หรือแยกพับซ้าย-ขวาแบบอิสระ 60:40 ตามความต้องการ อย่างไรตรงจุดนี้ผู้เขียนไม่ค่อยปลื้มตรงเบาะนั่งฝั่งคนขับที่เป็นแบบปรับมือ เพราะรถระดับนี้น่าจะเป็นระบบไฟฟ้า (ความคิดเห็นส่วนตัว) และอีกอย่างหนึ่ง ความที่มาสด้า เป็นรถที่มีดีไซน์ทันสมัย ทำให้ห้องโดยสารด้านหลังจะแคบเล็กน้อย รู้สึกนั่งไม่ค่อยสบายหากเทียบกับคู่แข่ง
ขุมพลังมาสด้า 3 รุ่นปรับโฉม มากับเครื่องยนต์เบนซิน SKYACTIV-G ความจุ 2.0 ลิตร พร้อมระบบวาล์วแปรผันอัจฉริยะ Dual S-VT ให้กำลังสูงสุด 165 แรงม้าที่ 6,000 รอบต่อนาทีแรงบิดสูงสุด 210 นิวตัน-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที รองรับน้ำหนักทางเลือกสูงสุด E85 ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ SKYACTIV-DRIVE แบบ 6 สปีค พร้อมโหมดเกียร์ธรรมดา Activematic ซึ่งเกียร์ลูกนี้ถือว่าเป็นจุดเด่นของมาสด้าอีกชิ้น เพราะคู่แข่งหันไปใช้เกียร์แบบซีวีที กันหมดแล้ว
พวกเราเริ่มทางการทดสอบโดยเดินทางออกจากโชว์รูม ไซม์ ดาร์บี้ มาสด้า ถนนศรีนครินทร์ มุ่งหน้าเขาใหญ่ พร้อมเพื่อนร่วมทางอีก 2 คน รวมเป็น 3 คนในรุ่นท็อป 5 ประตู สิ่งแรกที่สัมผัสได้ในช่วงออกตัวคืออัตราเร่งที่ทำได้ดังใจ เรี่ยวแรงเวลากดคันเร่งพุ่งทะยานตามใจสั่งกันเลยทีเดียว น้ำหนักพวงมาลัยกำลังดี ให้ความมั่นคง โดยเฉพาะทางขึ้นเขาใหญ่ ที่มีทางโค้งเยอะ ๆ รู้สึกได้เลยว่าเราไม่ต้องควบคุมพวงมาลัยมากมายนัก การแก้พวงมาลัยในโค้งนั้นเกิดขึ้นน้อยมาก
ที่สำคัญในขณะเข้าโค้งตัวผู้ขับและผู้โดยสารไม่เอียงไปตามทางโค้ง ถ้าจะมีก็นิดหน่อย ทำให้ขับได้แบบสบาย ๆ มั่นใจ แม้จะขับขี่ด้วยความเร็วสูง ขณะที่คนนั่งก็สบาย ทั้งด้านหน้า-ด้านหลัง ตัวไม่เหวี่ยง ช่วงล่างนุ่ม เกาะถนน ฉะนั้นคนที่ชอบเมารถด้วยแรงเหวี่ยงเวลาเข้าโค้งระบบตัวนี้น่าจะช่วยไม่ให้เมารถได้เหมือนกัน แน่นอนสิ่งเหล่านี้เกิดจากระบบ G-VECTORING CONTROL ล้วน ๆ
ขณะเดียวกันทีมงานมาสด้าให้นักข่าวทดลองระบบ MRCC หรือ Mazda Rader Cruise Control ที่ช่วยปรับความเร็วตามคันหน้าอัตโนมัติ บนแทร็กที่จำลองขึ้น โดยเพียงแค่ตั้งความเร็วที่ต้องการไว้จากนั้นรถจะคอยตรวจสอบระยะห่างระหว่างคันหน้า หากคันหน้าขับชะลอ ระบบ MRCC ก็จะสั่งชะลอความเร็วตามคันหน้าเช่นกัน แต่หากรถคันหน้าออกจากเลน หรือเพิ่มความเร็ว ระบบจะตัดการทำงานแบบอัตโนมัติ เราก็สามารถเร่งความเร็วได้ตามความต้องการ
นอกจากนี้ยังมีให้ทดสอบช่วงล่างมาสด้า 3 ใหม่ กับรุ่นเก่า โดยให้เราขับทั้ง 2 รุ่น บนถนนจำลองและให้เปลี่ยนเลนกะทันหันทีความเร็วประมาณ 40 และ 60 กม./ชม. ผลทีได้รุ่นเก่ารู้สึกถึงแรงโยนอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่รุ่นใหม่ รักษาอาการไว้ได้ดีกว่า รวมถึงสามารถหักพวงมาลัยตามโค้งได้อย่างฉับไว คล่องตัว เป็นการลองขับที่สนุกมาก
ถึงบรรทัดนี้คงต้องบอกว่ามาสด้า 3 รุ่นปรับโฉมใหม่ มีดีหลายอย่างแต่เด่นสุดอยู่ที่ระบบ G-VECTORING CONTROL ทำให้การขับสนุกมากขึ้นกว่าเดิมจนน่าประทับใจ แต่อย่างที่บอกระบบนี้ไม่สามารถมองเห็นด้วยตา มันต้องสัมผัสด้วยตัวเอง ...หากคุณมองหารถใหม่ในเซกเม้นท์นี้อยู่...ลองไปขับมาสด้า 3 ก่อน แล้วค่อยตัดสินใจ
อะไรที่ทำให้มาสด้ามั่นใจว่ามาสด้า 3 จะเป็นพระเอกของงานนี้มาดูกัน ...อย่างแรก
ผู้บริหารมาสด้าบอกว่าการปรับโฉมครั้งนี้ไม่ได้เน้นในเรื่องของดีไซน์หน้าตาของมาสด้า 3 แต่เน้นเอาเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของมาสด้า คือ SKYACTIV-VEHICLE DYNAMICS ที่มาพร้อม G-VECTORING CONTROL ระบบควบคุมสมรรถนะการขับขี่อัจฉริยะ หรือ GVC มาใส่แทน ซึ่งเทคโนโลยี GVC นี้จะกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในมาสด้ารุ่นใหม่ต่อจากนี้ไป รวมถึงเพิ่มระบบความปลอดภัยเทียบชั้นรถยุโรปกันเลยทีเดียว ..ภายใต้ระบบ ไอ-แอคทีฟเซ้นส์ ( i-ACTIVSENSE) ซึ่ง 2 เรื่องนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการพัฒนารถมาสด้า 3 รุ่นปรับโฉม
ระบบ G-VECTORING CONTROL ดีอย่างไร...ระบบ GVC จะช่วยควบคุมสมรรถนะในการขับขี่ให้แม่นยำและสมดุล นั่นหมายความว่าระบบจะทำงานโดยประมวลผลจากการบังคับพวงลัยของผู้ขับขี่ ความเร็วของรถ รวมถึงน้ำหนักของเท้าที่กดลงบนแป้นคันเร่ง จากนั้นระบบจะควบคุมแรงบิดของเครื่องยนต์และเกิดการถ่ายน้ำหนักที่เหมาะสมไปสู่แต่ละล้อ ทำให้เกิดการเกาะถนนได้ดีในขณะเข้าโค้ง ควบคุมได้แม่นยำในทุกสถานการณ์ การทรงตัวของรถเป็นไปอย่างนิ่มนวล
อย่างที่สอง ไอ-แอคทีฟเซ้นส์ ( i-ACTIVSENSE) ระบบความปลอดภัยทีมาอย่างครบถ้วน แต่มี 2 ระบบที่ถือว่าใหม่สำหรับมาสด้า 3 คือ MRCC (Mazda Radar Cruise Control) ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ พร้อมปรับระยะห่างที่ปลอดภัยจากรถคันหน้า ...หากพบรถคันหน้าที่มีความเร็วน้อยกว่า ระบบจะทำการปรับลดความเร็วลงตามความเร็วของรถคันหน้าและรักษาระยะห่างกับรถคันหน้าให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติ โดยผู้ขับขี่สามารถปรับระยะห่างจากรถคันหน้าได้จากสวิตช์ที่พวงมาลัย ทั้งนี้ระบบจะกลับไปใช้ความเร็วเดิมที่กำหนดไว้โดยอัตโนมัติ เมื่อรถคันหน้าทิ้งห่างออกไป หรือเมื่อไม่มีรถด้านหน้าขวางอยู่
ส่วนอีกระบบเป็น SBS (Smart Brake Support) ระบบเตือนการชนด้านหน้าและช่วยเบรกอัตโนมัติ ...ระบบจะตรวจจับระยะห่างระหว่างรถของเราและรถคันหน้าหากพบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการชนรถคันหน้า ระบบจะส่งสัญญาณเตือนและเสียงเตือนอย่างต่อเนื่อง ถ้าผู้ขับไม่ได้ทำการเบรก ระบบจะช่วยทำการเบรกโดยอัตโนมัติ เพื่อลดโอกาสในการชนรถคันหน้าระบบนี้เบรกให้เลย
นอกจากนี้ยังมีระบบ ALH (Adaptive LED Headlamps) ระบบไฟหน้า LED อัจฉริยะ ปรับการทำงานของไฟสูง-ต่ำ แยกอิสระซ้าย-ขวา ,DAA (Driver Attention Alert) ระบบช่วยเตือนเมื่อผู้ขับเหนื่อยล้าขณะขับขี่,LAS (Lane-Keep Assist System) ระบบช่วยควบคุมรถให้อยู่ในเลน ,LDWS (Lane Departure Warning System) ระบบเตือนเมื่อรถเบี่ยงออกนอกเลน,SCBS (Smart City Brake Support) ระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติ ,SCBS-R (Smart City Brake Support-Reverse) ระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติขณะถอยหลัง ,ABSM (Advanced Blind Spot Monitoring) ระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะเปลี่ยนเลน ,RCTA (Rear Cross Traffic Alert) ระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะถอยหลังระบบ, ESS (EMERGENCY SIGNAL SYSTEM) สัญญาณไฟกระพริบเมื่อผู้ขับขี่เหยียบเบรกรถอย่างกระทันในภาวะฉุกเฉิน, HLA (Hill Launch Assist) ช่วยในการออกตัวรถขณะอยู่บนทางลาดชัน และ TCS (Traction Control System) ช่วยป้องกันรถเลื่อนไถล
ระบบดังกล่าวข้างต้นติดตั้งอยู่ในมาสด้า 3 รุ่นปรับโฉม ทั้งหมด ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากสำหรับในเรื่องความปลอดภัย และมาสด้าก็ใส่มาให้เต็มที สบายใจไปได้เยอะในเรื่องการขับขี่เพราะมีตัวช่วยเพียบ
อย่างที่สามระบบการเชื่อมต่อออนไลน์ MZD CONNECT ที่สะดวกครบทุกฟังก์ชั่น ไม่ว่าจะเป็นรับ-ส่ง ข้อความ SMS จากสมาร์ทโฟนผ่านสัญญาณ Bluetooth พร้อม infotainment ที่มีให้เลือกมากมายในแอพพลิเคชั่น ระบบความบันเทิง ระบบนำทาง ทุกอย่างผ่านจอ Touch Screen ขนาด 7 นิ้ว และควบคุมเมนูการสั่งงานของ CENTER DISPLAY จัดวางในตำแหน่งใกล้มือผู้ขับ รวมถึงพอร์ต USB จำนวน 2 จุด
ส่วนจุดเด่นสุดท้ายเป็นเรื่องของการดีไซน์ รถมาสด้าออกแบบภายใต้ โคโดะ ดีไซน์ จึงสวยล้ำ ทันสมัย ทุกรุ่น รวมถึงมาสด้า 3 ก็เช่นกัน แม้จะไม่เน้นแต่ก็มีการปรับเล็กน้อย ภายนอกเปลี่ยนกระจังหน้า กันชนหน้า ไฟตัดหมอกใหม่ ไฟหน้าแบบ LED โปรเจคเตอร์ พร้อม Daytime Running Light ดีไซน์ใหม่ รวมไปถึงไฟตัดหมอกคู่หน้าแบบ LED ดีไซน์ใหม่ ล้ออัลลอยขนาด 18 นิ้ว ดีไซน์ใหม่ แต่ในรุ่น 2.0E และรุ่น 2.0S จะเป็นล้ออัลลอยขนาด 16 นิ้ว และกันชนท้ายดีไซน์ใหม่ในรุ่น 5 ประตู ส่วนรุ่น 4 ประตูเหมือนเดิม
ขณะที่ภายใน เพิ่มความเป็นรถสปอร์ตพรีเมียมโดยเลือกใช้แบบทูโทน เบาะหนังทูโทน น้ำตาล-ดำ แผงประตูเพิ่มวัสดุสีเงิน สีดำวาว Piano Black พวงมาลัยหุ้มหนังแบบ 3 ก้าน ตกแต่งด้วยโครเมียม พร้อมเปลี่ยนจากเบรกมือปกติเป็นแบบไฟฟ้า นอกจากนี้ทุกรุ่นยังติดตั้งปุ่ม Drive Selection สำหรับเปลี่ยนโหมดการขับขี่เป็นแบบสปอร์ตมาให้
ขณะที่เบาะนั่งผู้ขับเป็นแบบปรับมือ 6 ทิศทาง ฝั่งผู้โดยสารปรับได้ 4 ทิศทาง และเบาะนั่งด้านหลังสามารถพับเบาะเป็นพื้นราบ 180 องศา หรือแยกพับซ้าย-ขวาแบบอิสระ 60:40 ตามความต้องการ อย่างไรตรงจุดนี้ผู้เขียนไม่ค่อยปลื้มตรงเบาะนั่งฝั่งคนขับที่เป็นแบบปรับมือ เพราะรถระดับนี้น่าจะเป็นระบบไฟฟ้า (ความคิดเห็นส่วนตัว) และอีกอย่างหนึ่ง ความที่มาสด้า เป็นรถที่มีดีไซน์ทันสมัย ทำให้ห้องโดยสารด้านหลังจะแคบเล็กน้อย รู้สึกนั่งไม่ค่อยสบายหากเทียบกับคู่แข่ง
ขุมพลังมาสด้า 3 รุ่นปรับโฉม มากับเครื่องยนต์เบนซิน SKYACTIV-G ความจุ 2.0 ลิตร พร้อมระบบวาล์วแปรผันอัจฉริยะ Dual S-VT ให้กำลังสูงสุด 165 แรงม้าที่ 6,000 รอบต่อนาทีแรงบิดสูงสุด 210 นิวตัน-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที รองรับน้ำหนักทางเลือกสูงสุด E85 ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ SKYACTIV-DRIVE แบบ 6 สปีค พร้อมโหมดเกียร์ธรรมดา Activematic ซึ่งเกียร์ลูกนี้ถือว่าเป็นจุดเด่นของมาสด้าอีกชิ้น เพราะคู่แข่งหันไปใช้เกียร์แบบซีวีที กันหมดแล้ว
พวกเราเริ่มทางการทดสอบโดยเดินทางออกจากโชว์รูม ไซม์ ดาร์บี้ มาสด้า ถนนศรีนครินทร์ มุ่งหน้าเขาใหญ่ พร้อมเพื่อนร่วมทางอีก 2 คน รวมเป็น 3 คนในรุ่นท็อป 5 ประตู สิ่งแรกที่สัมผัสได้ในช่วงออกตัวคืออัตราเร่งที่ทำได้ดังใจ เรี่ยวแรงเวลากดคันเร่งพุ่งทะยานตามใจสั่งกันเลยทีเดียว น้ำหนักพวงมาลัยกำลังดี ให้ความมั่นคง โดยเฉพาะทางขึ้นเขาใหญ่ ที่มีทางโค้งเยอะ ๆ รู้สึกได้เลยว่าเราไม่ต้องควบคุมพวงมาลัยมากมายนัก การแก้พวงมาลัยในโค้งนั้นเกิดขึ้นน้อยมาก
ที่สำคัญในขณะเข้าโค้งตัวผู้ขับและผู้โดยสารไม่เอียงไปตามทางโค้ง ถ้าจะมีก็นิดหน่อย ทำให้ขับได้แบบสบาย ๆ มั่นใจ แม้จะขับขี่ด้วยความเร็วสูง ขณะที่คนนั่งก็สบาย ทั้งด้านหน้า-ด้านหลัง ตัวไม่เหวี่ยง ช่วงล่างนุ่ม เกาะถนน ฉะนั้นคนที่ชอบเมารถด้วยแรงเหวี่ยงเวลาเข้าโค้งระบบตัวนี้น่าจะช่วยไม่ให้เมารถได้เหมือนกัน แน่นอนสิ่งเหล่านี้เกิดจากระบบ G-VECTORING CONTROL ล้วน ๆ
ขณะเดียวกันทีมงานมาสด้าให้นักข่าวทดลองระบบ MRCC หรือ Mazda Rader Cruise Control ที่ช่วยปรับความเร็วตามคันหน้าอัตโนมัติ บนแทร็กที่จำลองขึ้น โดยเพียงแค่ตั้งความเร็วที่ต้องการไว้จากนั้นรถจะคอยตรวจสอบระยะห่างระหว่างคันหน้า หากคันหน้าขับชะลอ ระบบ MRCC ก็จะสั่งชะลอความเร็วตามคันหน้าเช่นกัน แต่หากรถคันหน้าออกจากเลน หรือเพิ่มความเร็ว ระบบจะตัดการทำงานแบบอัตโนมัติ เราก็สามารถเร่งความเร็วได้ตามความต้องการ
นอกจากนี้ยังมีให้ทดสอบช่วงล่างมาสด้า 3 ใหม่ กับรุ่นเก่า โดยให้เราขับทั้ง 2 รุ่น บนถนนจำลองและให้เปลี่ยนเลนกะทันหันทีความเร็วประมาณ 40 และ 60 กม./ชม. ผลทีได้รุ่นเก่ารู้สึกถึงแรงโยนอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่รุ่นใหม่ รักษาอาการไว้ได้ดีกว่า รวมถึงสามารถหักพวงมาลัยตามโค้งได้อย่างฉับไว คล่องตัว เป็นการลองขับที่สนุกมาก
ถึงบรรทัดนี้คงต้องบอกว่ามาสด้า 3 รุ่นปรับโฉมใหม่ มีดีหลายอย่างแต่เด่นสุดอยู่ที่ระบบ G-VECTORING CONTROL ทำให้การขับสนุกมากขึ้นกว่าเดิมจนน่าประทับใจ แต่อย่างที่บอกระบบนี้ไม่สามารถมองเห็นด้วยตา มันต้องสัมผัสด้วยตัวเอง ...หากคุณมองหารถใหม่ในเซกเม้นท์นี้อยู่...ลองไปขับมาสด้า 3 ก่อน แล้วค่อยตัดสินใจ