ความฝันของใครหลายคนที่จะได้ลอยข้ามการจราจรติดหนึบบนท้องถนนใกล้ความจริงเข้าไปทุกที เพราะขณะนี้ บริษัทกว่าสิบแห่งทั่วโลก ซึ่งรวมถึงแอร์บัส เจ้าแห่งวงการผลิตเครื่องบินจากยุโรป กำลังแข่งขันเพื่อเป็นที่หนึ่งในการพัฒนาเครื่องบินแบบใหม่ที่จะนำผู้โดยสารลอยข้ามถนนที่มีรถยนต์แออัดถึงที่หมายสบายผิดกันในเวลาแค่ไม่กี่อึดใจ
เครื่องบินชนิดใหม่ที่บริษัทต่างๆ กำลังซุ่มพัฒนามีรูปลักษณ์เหมือนรถมีปีกที่จะกางออกเมื่อต้องการบิน โดยจะทะยานขึ้นและลงจอดในแนวดิ่งเหมือนเฮลิคอปเตอร์ มีโรเตอร์ขนาดเล็กหลายตัวแทนที่จะมีโรเตอร์หลักขนาดใหญ่เพียงตัวเดียว โรเตอร์แต่ละตัวทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ไม่ใช่เครื่องยนต์ลูกสูบแบบเครื่องบินทั่วไป
อย่างไรก็ตาม เครื่องบินชนิดนี้ที่เรียกขานกันว่า Flying Car นั้นยังมีอุปสรรคมากมายให้สะสาง ซึ่งรวมถึงการโน้มน้าวให้ผู้คุมกฎเชื่อมั่นในความปลอดภัย ขั้นแรกบรรดาผู้พัฒนาจึงต้องคิดหาทางทำให้เครื่องบินที่บินในระดับต่ำเหล่านี้ไม่ชนกัน หากในอนาคตมีผู้นิยมใช้จำนวนมาก นอกจากนั้นยังต้องพัฒนาแบตเตอรี่ที่ทำให้เครื่องบินบินได้ระยะทางไกลพอที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
แม้มีอุปสรรคขวากหนาม แต่เหล่าผู้ประกอบการกว่าสิบแห่งหาได้ย่อท้อ ด้วยเล็งเห็นโอกาสสำคัญในตลาด “แท็กซี่อากาศ” และเครื่องบินเล็กส่วนตัว สำหรับการขนส่งผู้โดยสารจากย่านชานเมืองเข้าสู่ตัวเมือง ขณะที่สภาพการจราจรนับวันจะยิ่งแออัดและคนมากมายติดอยู่บนถนนนานเหมือนชั่วกัปกัลป์
ผู้ประกอบการเหล่านี้มองเห็นภาพแท็กซี่อากาศขนาด 1-2 ที่นั่งนับพันลำนำผู้โดยสารไปส่งบนดาดฟ้าตึกหรือลานจอดกลางเมืองระหว่างช่วงชั่วโมงเร่งด่วน
แซค เลิฟเวอริง จากโบอิ้ง บอกว่า ภายในเวลาเพียง 10 ปีนับจากนี้ จะมีการเปิดตัวเครื่องบินขนาดเล็กแบบใหม่ที่จะปฏิวัติรูปแบบการเดินทางภายในเมืองของผู้คนนับล้านโดยสิ้นเชิง
เลิฟเวอริงเป็นผู้นำโครงการพัฒนาแท็กซี่อากาศขับเคลื่อนอัตโนมัติของโบอิ้งที่ชื่อว่า วาฮานา ซึ่งหมายถึงพาหนะของเทพเจ้าฮินดู

นอกจากนั้น เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว อูเบอร์ยังเปิดเผยรายงานความยาว 98 หน้าว่าด้วยธุรกิจแท็กซี่อากาศ ซึ่งบริษัทมองว่า เป็นรูปแบบการขนส่งตามสั่งในอนาคต อย่างไรก็ตาม อูเบอร์ยังไม่มีแผนพัฒนาแท็กซี่อากาศ และขณะนี้อยากมีบทบาทเพียงแค่ตัวกระตุ้นสำหรับอุตสาหกรรมโดยรวมเท่านั้น
เครื่องบินรุ่นใหม่บางส่วนจะเป็นโดรนที่ตั้งโปรแกรมสำหรับแต่ละเที่ยวบิน โดยมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์บัญชาการภาคพื้นดินตรวจสอบหรือบังคับ
สำหรับราคานั้นยังไม่เป็นที่ชัดเจน แต่มีแนวโน้มหลากหลายมาก และจะมีทั้งเครื่องบินที่ออกแบบสำหรับขายเป็นพาหนะส่วนบุคคล และที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ โดยผู้ออกแบบหวังว่า เมื่อดีมานด์มากขึ้น ราคาก็จะลดลงตามไปด้วย
ความสำเร็จในการพัฒนาศาสตร์แขนงต่างๆ ทำให้เครื่องบินชนิดใหม่นี้มีความเป็นไปได้มากขึ้น อาทิ ความก้าวหน้าในด้านคอมพิวเตอร์ซึ่งทำให้สามารถปรับโรเตอร์บนคอปเตอร์-โดรนหลายครั้งต่อวินาที จึงควบคุมเครื่องได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้โดรนเหล่านี้ยังได้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีแบตเตอรี่และมอเตอร์ไฟฟ้า บริษัทบางแห่ง อาทิ ผู้ผลิตโดรนจีน อี้หัง กำลังพยายามเพิ่มขนาดโดรนให้สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้
เครื่องบินอีกรุ่นที่อยู่ระหว่างการพัฒนาคือ เอส2 ของโจบี เอวิเอชันในแคลิฟอร์เนีย ที่หน้าตาคล้ายเครื่องบินทั่วไป เว้นแต่มีโรเตอร์สร้างแรงยกและแรงขับ 12 ตัวบนปีกและหาง
ส่วนวาฮานาของแอร์บัสนั้นรูปโฉมไม่เหมือนเครื่องบินที่เห็นอยู่ทุกวันนี้เท่าไหร่ เนื่องจากมีการติดตั้งใบพัดที่ด้านหน้าและด้านหลังของห้องนักบิน
นอกจาก 3 บริษัทนี้ ผู้เล่นที่กำลังขะมักเขม้นพัฒนารถเหาะยังรวมถึงลิเลียม เอวิเอชัน บริษัทเทคโนโลยีเมืองเบียร์, เออร์เบิน แอโรนอติกส์ บริษัทไฮเทคจากอิสราเอล, แอโรโมบิลจากสโลวาเกีย, เทอร์ราฟูเกียของอเมริกา, อี-โวโลของเยอรมนี และซีในแคลิฟอร์เนีย เป็นต้น
ชาร์ลส์ อีสต์เลค ศาสตราจารย์กิตติคุณสาขาวิศวกรรมอวกาศ มหาวิทยาลัยเอมบรี-ริดเดิล แอโรนอติคัล บอกว่า ชิปคอมพิวเตอร์ช่วยให้เครื่องบินชนิดใหม่วางใจได้มากขึ้น และนำไปสู่ความเป็นไปได้ของเครื่องจักรกลบินได้แบบใหม่ของโลก เขายังเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่ผู้คนจะเริ่มหันมาใช้แท็กซี่อากาศอัตโนมัติจริงๆ จังๆ ใน 10-15 ปีข้างหน้า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังขึ้นอยู่กับว่า ผู้พัฒนาสามารถฝ่าฟันอุปสรรคมากมายที่รออยู่ได้หรือไม่
ปัจจัยสำคัญในการออกแบบครอบคลุมถึงการพัฒนาแบตเตอรี่ขนาดเบาที่ใช้งานได้นานขึ้น ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า แบตเตอรี่ปัจจุบันทำให้แท็กซี่อากาศบินได้ประมาณ 15-30 นาที ซึ่งอาจไม่นานพอสำหรับการรับส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเร็วในการบินด้วย
อุปสรรคอีกข้อคือ การอนุมัติใบรับรองจากหน่วยงานการบินสำหรับฟลายอิ้ง คาร์ซึ่งถือเป็นเครื่องบินชนิดใหม่ โดยคาดว่า ต้องใช้เวลานานพอสมควร เพราะเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในเทคโนโลยีการบินยังรอกันเป็นปีกว่าจะได้ไฟเขียว
นอกจากนั้นยังมีความท้าทายในเรื่องเสียง เนื่องจากแท็กซี่อากาศต้องบินขึ้นและลงจอดในย่านที่มีผู้คนหนาแน่น จึงต้องหาทางลดเสียงให้เบาลงมากที่สุด ขณะเดียวกัน ยังต้องหาลานจอดให้เพียงพอรองรับความต้องการในอนาคตด้วย
จอห์น ฮันส์แมน จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตส์และประธานคณะกรรมาธิการการวิจัยและวิศวกรรมของสำนักงานการบินสหรัฐฯ สำทับว่า น่าจะต้องมีระบบควบคุมการจราจรทางอากาศแบบใหม่สำหรับเครื่องบินแห่งอนาคตรุ่นนี้ด้วย
ปัจจุบัน องค์การนาซากำลังพัฒนาระบบควบคุมการจราจรทางอากาศสำหรับโดรนขนาดเล็ก ซึ่งอาจต่อยอดครอบคลุมฟลายอิ้งคาร์
ฮันส์แมนย้ำว่า การสร้างพาหนะใหม่ไม่ใช่เรื่องเกินความสามารถ แต่ที่ยากก็คือ การสร้างพาหนะที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานในสถานที่ที่ลูกค้าต้องการใช้
เครื่องบินชนิดใหม่ที่บริษัทต่างๆ กำลังซุ่มพัฒนามีรูปลักษณ์เหมือนรถมีปีกที่จะกางออกเมื่อต้องการบิน โดยจะทะยานขึ้นและลงจอดในแนวดิ่งเหมือนเฮลิคอปเตอร์ มีโรเตอร์ขนาดเล็กหลายตัวแทนที่จะมีโรเตอร์หลักขนาดใหญ่เพียงตัวเดียว โรเตอร์แต่ละตัวทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ไม่ใช่เครื่องยนต์ลูกสูบแบบเครื่องบินทั่วไป
อย่างไรก็ตาม เครื่องบินชนิดนี้ที่เรียกขานกันว่า Flying Car นั้นยังมีอุปสรรคมากมายให้สะสาง ซึ่งรวมถึงการโน้มน้าวให้ผู้คุมกฎเชื่อมั่นในความปลอดภัย ขั้นแรกบรรดาผู้พัฒนาจึงต้องคิดหาทางทำให้เครื่องบินที่บินในระดับต่ำเหล่านี้ไม่ชนกัน หากในอนาคตมีผู้นิยมใช้จำนวนมาก นอกจากนั้นยังต้องพัฒนาแบตเตอรี่ที่ทำให้เครื่องบินบินได้ระยะทางไกลพอที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
แม้มีอุปสรรคขวากหนาม แต่เหล่าผู้ประกอบการกว่าสิบแห่งหาได้ย่อท้อ ด้วยเล็งเห็นโอกาสสำคัญในตลาด “แท็กซี่อากาศ” และเครื่องบินเล็กส่วนตัว สำหรับการขนส่งผู้โดยสารจากย่านชานเมืองเข้าสู่ตัวเมือง ขณะที่สภาพการจราจรนับวันจะยิ่งแออัดและคนมากมายติดอยู่บนถนนนานเหมือนชั่วกัปกัลป์
ผู้ประกอบการเหล่านี้มองเห็นภาพแท็กซี่อากาศขนาด 1-2 ที่นั่งนับพันลำนำผู้โดยสารไปส่งบนดาดฟ้าตึกหรือลานจอดกลางเมืองระหว่างช่วงชั่วโมงเร่งด่วน
แซค เลิฟเวอริง จากโบอิ้ง บอกว่า ภายในเวลาเพียง 10 ปีนับจากนี้ จะมีการเปิดตัวเครื่องบินขนาดเล็กแบบใหม่ที่จะปฏิวัติรูปแบบการเดินทางภายในเมืองของผู้คนนับล้านโดยสิ้นเชิง
เลิฟเวอริงเป็นผู้นำโครงการพัฒนาแท็กซี่อากาศขับเคลื่อนอัตโนมัติของโบอิ้งที่ชื่อว่า วาฮานา ซึ่งหมายถึงพาหนะของเทพเจ้าฮินดู
นอกจากนั้น เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว อูเบอร์ยังเปิดเผยรายงานความยาว 98 หน้าว่าด้วยธุรกิจแท็กซี่อากาศ ซึ่งบริษัทมองว่า เป็นรูปแบบการขนส่งตามสั่งในอนาคต อย่างไรก็ตาม อูเบอร์ยังไม่มีแผนพัฒนาแท็กซี่อากาศ และขณะนี้อยากมีบทบาทเพียงแค่ตัวกระตุ้นสำหรับอุตสาหกรรมโดยรวมเท่านั้น
เครื่องบินรุ่นใหม่บางส่วนจะเป็นโดรนที่ตั้งโปรแกรมสำหรับแต่ละเที่ยวบิน โดยมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์บัญชาการภาคพื้นดินตรวจสอบหรือบังคับ
สำหรับราคานั้นยังไม่เป็นที่ชัดเจน แต่มีแนวโน้มหลากหลายมาก และจะมีทั้งเครื่องบินที่ออกแบบสำหรับขายเป็นพาหนะส่วนบุคคล และที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ โดยผู้ออกแบบหวังว่า เมื่อดีมานด์มากขึ้น ราคาก็จะลดลงตามไปด้วย
ความสำเร็จในการพัฒนาศาสตร์แขนงต่างๆ ทำให้เครื่องบินชนิดใหม่นี้มีความเป็นไปได้มากขึ้น อาทิ ความก้าวหน้าในด้านคอมพิวเตอร์ซึ่งทำให้สามารถปรับโรเตอร์บนคอปเตอร์-โดรนหลายครั้งต่อวินาที จึงควบคุมเครื่องได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้โดรนเหล่านี้ยังได้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีแบตเตอรี่และมอเตอร์ไฟฟ้า บริษัทบางแห่ง อาทิ ผู้ผลิตโดรนจีน อี้หัง กำลังพยายามเพิ่มขนาดโดรนให้สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้
เครื่องบินอีกรุ่นที่อยู่ระหว่างการพัฒนาคือ เอส2 ของโจบี เอวิเอชันในแคลิฟอร์เนีย ที่หน้าตาคล้ายเครื่องบินทั่วไป เว้นแต่มีโรเตอร์สร้างแรงยกและแรงขับ 12 ตัวบนปีกและหาง
ส่วนวาฮานาของแอร์บัสนั้นรูปโฉมไม่เหมือนเครื่องบินที่เห็นอยู่ทุกวันนี้เท่าไหร่ เนื่องจากมีการติดตั้งใบพัดที่ด้านหน้าและด้านหลังของห้องนักบิน
นอกจาก 3 บริษัทนี้ ผู้เล่นที่กำลังขะมักเขม้นพัฒนารถเหาะยังรวมถึงลิเลียม เอวิเอชัน บริษัทเทคโนโลยีเมืองเบียร์, เออร์เบิน แอโรนอติกส์ บริษัทไฮเทคจากอิสราเอล, แอโรโมบิลจากสโลวาเกีย, เทอร์ราฟูเกียของอเมริกา, อี-โวโลของเยอรมนี และซีในแคลิฟอร์เนีย เป็นต้น
ชาร์ลส์ อีสต์เลค ศาสตราจารย์กิตติคุณสาขาวิศวกรรมอวกาศ มหาวิทยาลัยเอมบรี-ริดเดิล แอโรนอติคัล บอกว่า ชิปคอมพิวเตอร์ช่วยให้เครื่องบินชนิดใหม่วางใจได้มากขึ้น และนำไปสู่ความเป็นไปได้ของเครื่องจักรกลบินได้แบบใหม่ของโลก เขายังเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่ผู้คนจะเริ่มหันมาใช้แท็กซี่อากาศอัตโนมัติจริงๆ จังๆ ใน 10-15 ปีข้างหน้า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังขึ้นอยู่กับว่า ผู้พัฒนาสามารถฝ่าฟันอุปสรรคมากมายที่รออยู่ได้หรือไม่
ปัจจัยสำคัญในการออกแบบครอบคลุมถึงการพัฒนาแบตเตอรี่ขนาดเบาที่ใช้งานได้นานขึ้น ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า แบตเตอรี่ปัจจุบันทำให้แท็กซี่อากาศบินได้ประมาณ 15-30 นาที ซึ่งอาจไม่นานพอสำหรับการรับส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเร็วในการบินด้วย
อุปสรรคอีกข้อคือ การอนุมัติใบรับรองจากหน่วยงานการบินสำหรับฟลายอิ้ง คาร์ซึ่งถือเป็นเครื่องบินชนิดใหม่ โดยคาดว่า ต้องใช้เวลานานพอสมควร เพราะเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในเทคโนโลยีการบินยังรอกันเป็นปีกว่าจะได้ไฟเขียว
นอกจากนั้นยังมีความท้าทายในเรื่องเสียง เนื่องจากแท็กซี่อากาศต้องบินขึ้นและลงจอดในย่านที่มีผู้คนหนาแน่น จึงต้องหาทางลดเสียงให้เบาลงมากที่สุด ขณะเดียวกัน ยังต้องหาลานจอดให้เพียงพอรองรับความต้องการในอนาคตด้วย
จอห์น ฮันส์แมน จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตส์และประธานคณะกรรมาธิการการวิจัยและวิศวกรรมของสำนักงานการบินสหรัฐฯ สำทับว่า น่าจะต้องมีระบบควบคุมการจราจรทางอากาศแบบใหม่สำหรับเครื่องบินแห่งอนาคตรุ่นนี้ด้วย
ปัจจุบัน องค์การนาซากำลังพัฒนาระบบควบคุมการจราจรทางอากาศสำหรับโดรนขนาดเล็ก ซึ่งอาจต่อยอดครอบคลุมฟลายอิ้งคาร์
ฮันส์แมนย้ำว่า การสร้างพาหนะใหม่ไม่ใช่เรื่องเกินความสามารถ แต่ที่ยากก็คือ การสร้างพาหนะที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานในสถานที่ที่ลูกค้าต้องการใช้