ฮอนด้า ซิตี้ ทำตลาดในเมืองไทยแบบตีคู่มากับโตโยต้า วีออส ตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก นับรวมคร่าวๆ ก็อยู่คู่กับคนไทยมาร่วม 2 ทศวรรษแล้ว โดยโมเดลปัจจุบันเป็นเจเนอเรชันที่ 6 ของฮอนด้า ซิตี้ ซึ่งล่าสุดได้มีการ ไมเนอร์เชนจ์ แต่งหน้าทาตาใหม่ เพิ่มออปชั่นเล็กน้อย และตามธรรมเนียมหลังจากการเปิดตัวจะมีการเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมทดลองขับ MGR มอเตอริ่ง ไม่พลาด มาดูกันว่า ฮอนด้า ซิตี้ ไมเนอร์เชนจ์ 2017 เป็นอย่างไรบ้าง

ใหม่ตรงไหน?
จุดใหญ่ที่เห็นชัดที่สุดในการปรับครั้งนี้คือ กระจังหน้า และชุดโคมไฟหน้า มีการยกชุดกระจังหน้าใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สอดรับกับดีไซน์ของโคมไฟหน้าใหม่ ซึ่งเติมระบบไฟ LED สำหรับส่องสว่างเวลากลางวัน ไว้ในดวงโคม โดยจัดเรียงเป็นแนวนอน พร้อมกับเปลี่ยนไฟตัดหมอกเป็นแบบLED เรียกได้ว่าเพิ่มความโฉบเฉี่ยวและปลอดภัยมากขึ้น
ล้ออัลลอย ดีไซน์ใหม่ ซึ่งฮอนด้า บอกว่าให้ความรู้สึกที่เป็นสปอร์ตมากขึ้น แต่ความเห็นส่วนตัวผู้เขียนรู้สึกว่าออกแนวหรูมากกว่า อีกจุดหนึ่งที่เปลี่ยนคือ สปอยเลอร์หลัง เพิ่มแนวรังผึ้งเพื่อความเป็นสปอร์ตที่มากขึ้น ณ จุดนี้ เราเห็นด้วย 100% อย่างไรก็ตามเมื่อมองภาพรวมภายนอกหากไม่นำโฉมก่อนหน้ามาเทียบจะมองหาสิ่งที่แตกต่างได้ยากสักหน่อย เพราะส่วนใหญ่ยังคงแบบเดิม
ส่วนภายใน สิ่งแรกที่เห็นชัดว่าแตกต่างคือ ช่องแอร์ที่ตกแต่งด้วยวงแหวนสีเงิน ให้ทั้งความหรูและดูสปอร์ต พร้อมกับการปรับโทนสีของคอนโซลหน้าที่เน้นพื้นผิวเป็นสีดำผสานกับสีเมทัลลิกเข้ม เพิ่มไฟอ่านแผนที่ด้านหน้าและในห้องโดยสารเป็นแบบ LED (เฉพาะในรุ่น SV+) สำหรับเบาะนั่งเปลี่ยนวัสดุผ้าใหม่ให้ผิวสัมผัสรู้สึกสบายกว่าเดิม

ขับเป็นอย่างไร?
ภาพรวมคือไม่แตกต่างจากเดิม ด้วยเครื่องยนต์ SOHC i-VTEC ขนาด 1.5 ลิตร กำลังสูงสุด 117 แรงม้า ผนวกการเลือกใช้เกียร์แบบ CVT ระบบสายพาน คือความลงตัวของรถในระดับนี้ สามารถตอบสนองการขับขี่ได้อย่างตรงใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ด้วยโหมด การขับขี่ที่มีทั้งแบบธรรมดา(D) แบบสปอร์ต(S) และแบบประหยัด ด้วยการกดปุ่ม Econ สีเขียวบนคอนโซล เรียกได้ว่าครบเครื่องทุกสไตล์การขับขี่ อัตราเร่งตอบสนองได้ดีเยี่ยมเท่าที่รถระดับซับคอมแพกต์คันหนึ่งจะพึงทำได้
จังหวะออกตัวไม่มีอาการกระชากแม้จะคิกดาวน์แล้วก็ตาม เป็นความรู้สึกค่อนข้างนุ่มนวลมากกว่าดุดัน แต่เมื่อรถลอยลำด้วยความเร็วเกินกว่า 60 กม./ชม. แล้วกดคันเร่งเต็มสุดเท้า เครื่องยนต์สามารถเรียกรอบสูงๆ พร้อมกับความเร็วที่พุ่งขึ้น เพื่อแซงในจังหวะกระทันหันได้อย่างอุ่นใจ

อัตราเร่งทันใจแบบนี้ จะสวนทางกับความประหยัดหรือไม่ ฮอนด้า เคลมว่า ซิตี้มีอัตราบริโภคน้ำมันเฉลี่ย 17.9 กม./ลิตร พร้อมเติมเชื้อเพลิง E85 ได้ ส่วนตัวเลขจริงจากการแสดงผลบนหน้าจอนั้น ที่ความเร็วคงที่ราว 100 กม./ชม.(รอบเครื่องราว 2,000 รอบ/นาที) เหลือบไปเห็นผลลัพธ์แบบเรียลไทม์ที่ระดับ 18-20 กม./ลิตร เป็นตัวเลขที่น่าประทับใจไม่น้อย (ไม่มั่นใจว่า สายตาไม่ดีหรือแสดงผลเอาใจคนขับ ก็ไม่ทราบได้)
ด้านช่วงล่าง ผู้เขียนลองขับไปแตะที่ระดับความเร็ว 140 กม./ชม. การทรงตัวและการเกาะของรถค่อนข้างนิ่งดีทีเดียว เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ คือ ขับแล้วอุ่นใจกว่าขับรถระดับคอมแพกคาร์รุ่นเก่ากว่าซีวิคโฉม FD (ราวปี 2008-2012)อย่างแน่นอน การเก็บเสียงผู้โดยสารแถวหน้าเงียบดีทีเดียว แต่เมื่อนั่งทางด้านหลังจะมีเสียงยางบดถนนได้ยินอยู่บ้าง

เหมาะกับใคร?
บทสรุปของ ฮอนด้า ซิตี้ คือการขับง่ายและนั่งสบาย ประหยัดน้ำมัน ใช้งานในเมืองหรือออกต่างจังหวัดวิ่งทางยาวได้แบบอุ่นใจ จะซื้อเป็นรถคันแรกของลูกสาวหรือรถจ่ายกับข้าวของครอบครัว ก็ดูเหมาะสมดี ทั้งศูนย์บริการและอะไหล่ก็หาได้ไม่ยาก กับสนนราคาค่าตัวที่ 550,000-751,000 บาท คือหนึ่งในตัวเลือกที่ต้องนำมาพิจารณาก่อนตัดสินใจ










ใหม่ตรงไหน?
จุดใหญ่ที่เห็นชัดที่สุดในการปรับครั้งนี้คือ กระจังหน้า และชุดโคมไฟหน้า มีการยกชุดกระจังหน้าใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สอดรับกับดีไซน์ของโคมไฟหน้าใหม่ ซึ่งเติมระบบไฟ LED สำหรับส่องสว่างเวลากลางวัน ไว้ในดวงโคม โดยจัดเรียงเป็นแนวนอน พร้อมกับเปลี่ยนไฟตัดหมอกเป็นแบบLED เรียกได้ว่าเพิ่มความโฉบเฉี่ยวและปลอดภัยมากขึ้น
ล้ออัลลอย ดีไซน์ใหม่ ซึ่งฮอนด้า บอกว่าให้ความรู้สึกที่เป็นสปอร์ตมากขึ้น แต่ความเห็นส่วนตัวผู้เขียนรู้สึกว่าออกแนวหรูมากกว่า อีกจุดหนึ่งที่เปลี่ยนคือ สปอยเลอร์หลัง เพิ่มแนวรังผึ้งเพื่อความเป็นสปอร์ตที่มากขึ้น ณ จุดนี้ เราเห็นด้วย 100% อย่างไรก็ตามเมื่อมองภาพรวมภายนอกหากไม่นำโฉมก่อนหน้ามาเทียบจะมองหาสิ่งที่แตกต่างได้ยากสักหน่อย เพราะส่วนใหญ่ยังคงแบบเดิม
ส่วนภายใน สิ่งแรกที่เห็นชัดว่าแตกต่างคือ ช่องแอร์ที่ตกแต่งด้วยวงแหวนสีเงิน ให้ทั้งความหรูและดูสปอร์ต พร้อมกับการปรับโทนสีของคอนโซลหน้าที่เน้นพื้นผิวเป็นสีดำผสานกับสีเมทัลลิกเข้ม เพิ่มไฟอ่านแผนที่ด้านหน้าและในห้องโดยสารเป็นแบบ LED (เฉพาะในรุ่น SV+) สำหรับเบาะนั่งเปลี่ยนวัสดุผ้าใหม่ให้ผิวสัมผัสรู้สึกสบายกว่าเดิม
ขับเป็นอย่างไร?
ภาพรวมคือไม่แตกต่างจากเดิม ด้วยเครื่องยนต์ SOHC i-VTEC ขนาด 1.5 ลิตร กำลังสูงสุด 117 แรงม้า ผนวกการเลือกใช้เกียร์แบบ CVT ระบบสายพาน คือความลงตัวของรถในระดับนี้ สามารถตอบสนองการขับขี่ได้อย่างตรงใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ด้วยโหมด การขับขี่ที่มีทั้งแบบธรรมดา(D) แบบสปอร์ต(S) และแบบประหยัด ด้วยการกดปุ่ม Econ สีเขียวบนคอนโซล เรียกได้ว่าครบเครื่องทุกสไตล์การขับขี่ อัตราเร่งตอบสนองได้ดีเยี่ยมเท่าที่รถระดับซับคอมแพกต์คันหนึ่งจะพึงทำได้
จังหวะออกตัวไม่มีอาการกระชากแม้จะคิกดาวน์แล้วก็ตาม เป็นความรู้สึกค่อนข้างนุ่มนวลมากกว่าดุดัน แต่เมื่อรถลอยลำด้วยความเร็วเกินกว่า 60 กม./ชม. แล้วกดคันเร่งเต็มสุดเท้า เครื่องยนต์สามารถเรียกรอบสูงๆ พร้อมกับความเร็วที่พุ่งขึ้น เพื่อแซงในจังหวะกระทันหันได้อย่างอุ่นใจ
อัตราเร่งทันใจแบบนี้ จะสวนทางกับความประหยัดหรือไม่ ฮอนด้า เคลมว่า ซิตี้มีอัตราบริโภคน้ำมันเฉลี่ย 17.9 กม./ลิตร พร้อมเติมเชื้อเพลิง E85 ได้ ส่วนตัวเลขจริงจากการแสดงผลบนหน้าจอนั้น ที่ความเร็วคงที่ราว 100 กม./ชม.(รอบเครื่องราว 2,000 รอบ/นาที) เหลือบไปเห็นผลลัพธ์แบบเรียลไทม์ที่ระดับ 18-20 กม./ลิตร เป็นตัวเลขที่น่าประทับใจไม่น้อย (ไม่มั่นใจว่า สายตาไม่ดีหรือแสดงผลเอาใจคนขับ ก็ไม่ทราบได้)
ด้านช่วงล่าง ผู้เขียนลองขับไปแตะที่ระดับความเร็ว 140 กม./ชม. การทรงตัวและการเกาะของรถค่อนข้างนิ่งดีทีเดียว เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ คือ ขับแล้วอุ่นใจกว่าขับรถระดับคอมแพกคาร์รุ่นเก่ากว่าซีวิคโฉม FD (ราวปี 2008-2012)อย่างแน่นอน การเก็บเสียงผู้โดยสารแถวหน้าเงียบดีทีเดียว แต่เมื่อนั่งทางด้านหลังจะมีเสียงยางบดถนนได้ยินอยู่บ้าง
เหมาะกับใคร?
บทสรุปของ ฮอนด้า ซิตี้ คือการขับง่ายและนั่งสบาย ประหยัดน้ำมัน ใช้งานในเมืองหรือออกต่างจังหวัดวิ่งทางยาวได้แบบอุ่นใจ จะซื้อเป็นรถคันแรกของลูกสาวหรือรถจ่ายกับข้าวของครอบครัว ก็ดูเหมาะสมดี ทั้งศูนย์บริการและอะไหล่ก็หาได้ไม่ยาก กับสนนราคาค่าตัวที่ 550,000-751,000 บาท คือหนึ่งในตัวเลือกที่ต้องนำมาพิจารณาก่อนตัดสินใจ