เหมือนนัดแนะ แต่ไม่ได้นัดหมาย เหมือนบังเอิญแต่คงไม่ใช่ความตั้งใจที่พีพีวี 3 รุ่นใหม่พร้อมใจเปิดตัวในระยะเวลาใกล้เคียงกัน
จริงอยู่ที่ “ฟอร์ด เอเวอเรสต์” เปิดตัวพร้อมรับจองไปก่อนตั้งแต่ต้นปี แต่กว่าจะมีรถพร้อมส่งมอบ ก็ลากยาวเวลามาใกล้เคียงกับการทำตลาดของ “โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์” และ “มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต” ในช่วงไตรมาส3
เหนืออื่นใดทั้ง 3 โมเดลต้องเตรียมตัวรับมือกับการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 มกราคมปี 2559 จึงมีเงื่อนเวลาของการผลิตพอๆกัน ซึ่งพีพีวีที่ผลิตหลังจากวันที่ดังกล่าวจะต้องเสียภาษีเพิ่ม ส่งผลให้ราคาขายแพงขึ้น (คำนวนกันคร่าวๆว่า บางรุ่นต้องปรับราคาขึ้นเป็นหลักแสนบาท)
…งานนี้ได้วัดฝีมือของทีมบริหาร และความยืดหยุ่นของโรงงานผลิตว่าใครมีมากกว่ากัน
ด้วยยอดจอง 9 วันในงานบิ๊ก มอเตอร์เซล 2,200 คัน (1-9 ส.ค.) รวมกับยอดจองทั่วประเทศจนถึงวันนี้น่าจะเกิน 4,000 คัน ซึ่งตัวเลขนี้มิตซูบิชิสามารถบริหารจัดการได้แน่นอน หรือถ้ามีความต้องการเข้ามาอย่างต่อเนื่อง มิตซูบิชิและดีลเลอร์ทั่วประเทศยังเต็มที่ในการรับจองไม่ต้องกังวล (ซึ่งปัญหานี้ เหมือนดีลเลอร์ค่ายอเมริกันกำลังปวดหัวอยู่)
เรียกว่าจากนี้ไปจนถึงช่วงโปรโมชันสิ้นเดือนกันยายนที่ราคาตัวท็อป GT- Premium ลดเหลือ 1.399 ล้านบาท จากราคาเต็ม 1.45 ล้านบาท ใครที่จองรถในช่วงนี้ก็ได้รับรถปีนี้ในราคานี้ครับ (ล่าสุดสั่งเพิ่มกำลังการผลิตและปรับสัดส่วนการผลิตให้เป็นตัวท็อปมากขึ้นแล้ว)
กระแสดีแม้ยังไม่มีรถลงโชว์รูม ซึ่งมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย เดินตามแผนต่อเนื่องด้วยการจัดให้ตัวแทนดีลเลอร์ทั่วประเทศ และผู้สื่อข่าวได้ลองขับ “ปาเจโร สปอร์ต โฉมใหม่” กันพอหอมปากหอมคอที่ สนามทดสอบรถยนต์ (Proving Ground) แห่งใหม่ของตัวเองที่อำเภอ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี
การทดสอบส่วนผู้สื่อข่าวสายรถยนต์มีขึ้นเมื่อวานนี้ (17 ส.ค.) โดยแบ่งเป็น 3 สถานี คือ 1. การทดสอบระบบความปลอดภัย 2. การทดสอบความสะดวกสบาย และ 3. การทดสอบสมรรถนะ เบ็ดเสร็จใช้เวลารวมประมาณ 2 ชั่วโมง
เริ่มจากสถานีแรก ถูกจับนั่งเป็นผู้โดยสารชมการสาธิตระบบความปลอดภัยขั้นเทพที่ติดตั้งมาให้ในรุ่นท็อป GT- Premium อย่างระบบสัญญาณเตือนจุดอับสายตา (BSW - Blind Spot Warning) โดยทีมงานจะแกล้งส่งมิตซูบิชิ แอททราจ มาตีคู่ เพื่อให้เราได้เห็นว่าการเตือนเกิดขึ้นอย่างไร
โดยระบบนี้จะใช้คลื่นอัลตร้าโซนิค ที่ฝังอยู่ที่มุมกันชนทั้ง 4 ด้าน แล้วระบบจะส่งสัญญาณไฟเตือนบนกระจกมองข้างให้คนขับรู้ว่ามีรถอยู่ในจุดอับสายตา ซึ่งบางทีเราก็มองไม่เห็นจากกระจกมองข้าง (ไม่งั้นเขาจะเรียกมุมอับรึ)
ขณะเดียวกันถ้าอาการหนักถึงขั้นที่เราเปิดไฟเลี้ยวเตรียมเปลี่ยนเลน แล้วมีรถเข้ามาประชิดในมุมดังกล่าว ระบบจะส่งเสียงเตือนพร้อมสัญญาณไฟกระพริบบนกระจกมองข้าง ให้รู้แจ้งชัดเจนว่าอย่าทะลึ่งเปลี่ยนเลนในตอนนี้
ทั้งนี้ระบบจะทำงานที่ความเร็ว 20 - 140 กม./ชม. ในระยะไม่เกิน 3 เมตรครับ (เลือกปิดระบบได้)
อีกหนึ่งระบบเด่นต้องยกให้ ระบบเตือนการชนด้านหน้าตรงพร้อมระบบช่วยชะลอความเร็ว (FCM-Forward Collision Mitigation System) ที่ติดตั้งมาให้ทั้งรุ่น GT และ GT - Premium
โดยจะมีกล่องเรด้าฝังไว้หลังโลโก้ตราเพชรตรงกระจังหน้ารถ เพื่อคอยตรวจจับระยะห่างจากรถคันหน้า หากประเมินว่าจะเกิดการชนแน่ๆ จะมีเสียงเตือนพร้อมช่วยเบรกอัตโนมัติเป็นเวลา 2 วินาที ช่วยลดอุบัติเหตุเมื่อขับขี่ในเมือง หรือขับแบบเรื่อยๆซึ่งบางครั้งคนขับมักขาดสมาธิ ระบบนี้จะทำงานเมื่อขับความเร็วต่ำว่า 30 กม./ชม. (คล้ายๆ City Safty ของวอลโว่)
ในสถานีนี้ทีมงานมิตซูบิชิ ยังแสดงระบบตัดกำลังเครื่องยนต์ชั่วขณะเมื่อเหยียบคันเร่งอย่างรุนแรงและรวดเร็ว (UMS-Ultrasonic misacceleration Mitigation System) ที่ใช้หลักการของคลื่นอัลตร้าโซนิคตรวจจับวัตถุด้านหน้าหรือด้านหลังในระยะไม่เกิน 4 เมตร ในขณะที่เกียร์อยู่ตำแหน่ง "D" หรือ "R" หากมีการเหยียบคันเร่งอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ระบบจะทำการตัดกำลังเครื่องยนต์ไว้ประมาณ 5 วินาที กันอาการเข้าเกียร์พลาดแล้วตกใจนะครับ
ถัดมาเป็นสถานีโชว์ความสะดวกสบาย ผ่านการลองขับและนั่งเป็นผู้โดยสารด้านหลัง หวังให้สัมผัสช่วงล่างหน้าแบบปีกนก 2 ชั้น พร้อมคอยส์ปริงและเหล็กกันโคลง ด้านหลังแบบทรีลิงค์ ทอล์คอาร์ม พร้อมคอยล์สปริงและเหล็กกันโคลง และเหล็กกันสะบัดเพลาหลัง
โดยมิตซูบิชิบอกว่า แม้ช่วงล่างด้านหลังจะใช้รูปแบบเดียวกับรุ่นเก่าแต่มีการพัฒนาใหม่ในหลายๆจุด ทั้งแขนยึดที่ยาวขึ้น เปลี่ยนค่าสปริงและโช้คอัพใหม่ ขณะที่เหล็กกันสะบัดเพลาหลังก็ใหญ่ขึ้น
การทดสอบต้องขับและนั่งผ่าน เส้นทางวิ่งที่มิตซูบิชิสร้างจำลองไว้หลากหลายรูปแบบ ทั้ง ถนนดี ถนนคอนกรีตแย่ๆ ถนนลาดยางที่ผ่านการซ่อมแซม ผ่านฝาท่อ และอุปสรรคน่าเกลียดๆที่มีจริงบนถนนเมืองไทย
การนั่งเป็นโดยสารด้านหลังรับรู้อาการสะเทือนจากพื้นถนนได้พอสมควร(เพราะมิตซูบิชิออกแบบสนามได้เหมือนจริงและโหดมาก) แต่การรองรับรวมๆก็น่าจะกระด้างน้อยกว่ารุ่นเก่า
จากนั้นผู้เขียนได้สลับเป็นผู้ขับ ที่นอกจากจะได้ลองรัศมีวงเลี้ยวแคบสุด 5.6 เมตรแล้ว การถือพวงมาลัยพาวเวอร์ของปาเจโร สปอร์ต ช่วงขับผ่านอุปสรรคก็รับรู้อาการสะเทือนที่ส่งผ่านพวงมาลัยได้นิดหน่อย ส่วนน้ำหนักค่อนข้างหน่วงมือ หรือหนักกว่าพวงมาลัยผ่อนแรงด้วยระบบไฟฟ้าของ “ฟอร์ด เอเวอเรสต์” แบบรู้สึกได้
ดังนั้นถ้าขับขี่ในเมือง ช่วงสโลว์ไลฟ์ในซอย หรือขึ้นตึกวนหาที่จอดรถ พวงมาลัยของเอเวอเรสต์ ควบคุมได้คล่องและสบายมือกว่าแน่ๆ
ทว่าบุคลิกของพวงมาลัยแบบแรคแอนด์พิเนียน ผ่อนแรงด้วยพาวเวอร์(ไฮดรอริก) กลับให้ความประทับใจผู้เขียนเมื่อใช้ความเร็วสูงในสถานีสุดท้ายครับ
ด่านนี้เป็นการลองสมรรถนะรวมๆ โดยใช้รุ่นขับเคลื่อนสองล้อ วนรอบใหญ่ของสนามระยะทางต่อรอบประมาณ 1.5 กิโลเมตร หนึ่งคนได้ขับสองรอบ
การตอบสนองของพวงมาลัยบนการขับที่ความเร็วประมาณ 100 กม./ชม.ให้ความมั่นใจ (เป็นความเร็วสูงสุดของการทดสอบในสนาม) ช่วงโค้งยาวๆ ถือพวงมาลัยได้นิ่งๆ ควบคุมทิศทางได้ดี ส่วนช่วงล่างก็หนึบแน่น อาการโยนหรือโคลงตัวของตัวถังค่อนข้างน้อย
ด้านสมรรถนะจากเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ ขนาด 2.4 ลิตร วาล์วแปรผันไมเวค เทอร์โบแปรผัน ให้กำลังสูงสุด 181 แรงม้าที่ 3,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 430 นิวตัน-เมตรที่ 2,500 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด
เครื่องยนต์เดินเรียบและเงียบที่สุดอยู่แล้ว บล็อกเล็กแต่รีดม้าได้ระดับ 181 ตัว แรงบิด 430 นิวตันเมตร พร้อมเทอร์โบใหม่ ช่วยเค้นประสิทธิภาพออกมาได้สูงสุด ช่วงรอบต่ำเรี่ยวแรงก็มาเต็ม หรือค่อยๆไล่ความเร็วขึ้นไป เกียร์ 8 สปีดของไอซิน (Aisin) ลูกนี้ ช่วยส่งกำลังลงสู่ล้อได้แบบนุ่มนวล
การเปลี่ยนเกียร์รวดเร็ว รอบไม่สวิงวูบวาบ พร้อมจัดพลังให้เนียนๆตามแรงกดของเท้าขวา ขณะที่การขับความเร็ว 100 กม./ชม.บนเกียร์สูงสุด รอบเครื่องยนต์อยู่แถวๆ 1,600 รอบซึ่งถือว่าต่ำมาก หากคำนึงถึงการที่เครื่องยนต์ไม่ต้องทำงานหนักและความประหยัดน้ำมัน
รวบรัดตัดความ...เป็นการจัดทดสอบเพื่อให้เรียนรู้เทคโนโลยี รับรู้สมรรถนะกันแบบพอหอมปากหอมคอ พร้อมช่วยส่งต่อข่าวสารไปถึงกลุ่มลูกค้าที่จองไปแล้วให้มั่นใจ และกระตุ้นการตัดสินใจของคนที่ยังลังเล ยิ่งใครอยากได้รถประเภทนี้อยู่แล้วต้องรีบซื้อครับ ก่อนโดนภาษีใหม่ดันราคาขึ้นในปีหน้า
สรุปจากการลองขับสั้นๆว่า สมรรถนะในภาพรวมไม่ได้เด่นไปกว่า “ฟอร์ด เอเวอเรสต์” เช่นเดียวกับอารมณ์ของความหรูหรา แต่ถ้าเน้นความคุ้มค่า และได้ความพอใจเรื่องระบบขับเคลื่อน (ขุมพลัง เกียร์ และระบบขับเคลื่อนสี่ล้อขั้นเทพ) เลือกสาย “ มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต” ไม่ผิดหวัง (เอเวอเรสต์ เป็นระบบขับเคลื่อนสี่ล้อตลอดเวลา ก็ยืนยันเรื่องการซดน้ำมันได้ระดับหนึ่ง) ส่วนเรื่องช่วงล่างและการควบคุมคงต้องใช้เวลาทดสอบมากกว่านี้ เพื่อให้คะแนนว่าอยู่ในระดับไหนเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
จริงอยู่ที่ “ฟอร์ด เอเวอเรสต์” เปิดตัวพร้อมรับจองไปก่อนตั้งแต่ต้นปี แต่กว่าจะมีรถพร้อมส่งมอบ ก็ลากยาวเวลามาใกล้เคียงกับการทำตลาดของ “โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์” และ “มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต” ในช่วงไตรมาส3
เหนืออื่นใดทั้ง 3 โมเดลต้องเตรียมตัวรับมือกับการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 มกราคมปี 2559 จึงมีเงื่อนเวลาของการผลิตพอๆกัน ซึ่งพีพีวีที่ผลิตหลังจากวันที่ดังกล่าวจะต้องเสียภาษีเพิ่ม ส่งผลให้ราคาขายแพงขึ้น (คำนวนกันคร่าวๆว่า บางรุ่นต้องปรับราคาขึ้นเป็นหลักแสนบาท)
…งานนี้ได้วัดฝีมือของทีมบริหาร และความยืดหยุ่นของโรงงานผลิตว่าใครมีมากกว่ากัน
ด้วยยอดจอง 9 วันในงานบิ๊ก มอเตอร์เซล 2,200 คัน (1-9 ส.ค.) รวมกับยอดจองทั่วประเทศจนถึงวันนี้น่าจะเกิน 4,000 คัน ซึ่งตัวเลขนี้มิตซูบิชิสามารถบริหารจัดการได้แน่นอน หรือถ้ามีความต้องการเข้ามาอย่างต่อเนื่อง มิตซูบิชิและดีลเลอร์ทั่วประเทศยังเต็มที่ในการรับจองไม่ต้องกังวล (ซึ่งปัญหานี้ เหมือนดีลเลอร์ค่ายอเมริกันกำลังปวดหัวอยู่)
เรียกว่าจากนี้ไปจนถึงช่วงโปรโมชันสิ้นเดือนกันยายนที่ราคาตัวท็อป GT- Premium ลดเหลือ 1.399 ล้านบาท จากราคาเต็ม 1.45 ล้านบาท ใครที่จองรถในช่วงนี้ก็ได้รับรถปีนี้ในราคานี้ครับ (ล่าสุดสั่งเพิ่มกำลังการผลิตและปรับสัดส่วนการผลิตให้เป็นตัวท็อปมากขึ้นแล้ว)
กระแสดีแม้ยังไม่มีรถลงโชว์รูม ซึ่งมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย เดินตามแผนต่อเนื่องด้วยการจัดให้ตัวแทนดีลเลอร์ทั่วประเทศ และผู้สื่อข่าวได้ลองขับ “ปาเจโร สปอร์ต โฉมใหม่” กันพอหอมปากหอมคอที่ สนามทดสอบรถยนต์ (Proving Ground) แห่งใหม่ของตัวเองที่อำเภอ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี
การทดสอบส่วนผู้สื่อข่าวสายรถยนต์มีขึ้นเมื่อวานนี้ (17 ส.ค.) โดยแบ่งเป็น 3 สถานี คือ 1. การทดสอบระบบความปลอดภัย 2. การทดสอบความสะดวกสบาย และ 3. การทดสอบสมรรถนะ เบ็ดเสร็จใช้เวลารวมประมาณ 2 ชั่วโมง
เริ่มจากสถานีแรก ถูกจับนั่งเป็นผู้โดยสารชมการสาธิตระบบความปลอดภัยขั้นเทพที่ติดตั้งมาให้ในรุ่นท็อป GT- Premium อย่างระบบสัญญาณเตือนจุดอับสายตา (BSW - Blind Spot Warning) โดยทีมงานจะแกล้งส่งมิตซูบิชิ แอททราจ มาตีคู่ เพื่อให้เราได้เห็นว่าการเตือนเกิดขึ้นอย่างไร
โดยระบบนี้จะใช้คลื่นอัลตร้าโซนิค ที่ฝังอยู่ที่มุมกันชนทั้ง 4 ด้าน แล้วระบบจะส่งสัญญาณไฟเตือนบนกระจกมองข้างให้คนขับรู้ว่ามีรถอยู่ในจุดอับสายตา ซึ่งบางทีเราก็มองไม่เห็นจากกระจกมองข้าง (ไม่งั้นเขาจะเรียกมุมอับรึ)
ขณะเดียวกันถ้าอาการหนักถึงขั้นที่เราเปิดไฟเลี้ยวเตรียมเปลี่ยนเลน แล้วมีรถเข้ามาประชิดในมุมดังกล่าว ระบบจะส่งเสียงเตือนพร้อมสัญญาณไฟกระพริบบนกระจกมองข้าง ให้รู้แจ้งชัดเจนว่าอย่าทะลึ่งเปลี่ยนเลนในตอนนี้
ทั้งนี้ระบบจะทำงานที่ความเร็ว 20 - 140 กม./ชม. ในระยะไม่เกิน 3 เมตรครับ (เลือกปิดระบบได้)
อีกหนึ่งระบบเด่นต้องยกให้ ระบบเตือนการชนด้านหน้าตรงพร้อมระบบช่วยชะลอความเร็ว (FCM-Forward Collision Mitigation System) ที่ติดตั้งมาให้ทั้งรุ่น GT และ GT - Premium
โดยจะมีกล่องเรด้าฝังไว้หลังโลโก้ตราเพชรตรงกระจังหน้ารถ เพื่อคอยตรวจจับระยะห่างจากรถคันหน้า หากประเมินว่าจะเกิดการชนแน่ๆ จะมีเสียงเตือนพร้อมช่วยเบรกอัตโนมัติเป็นเวลา 2 วินาที ช่วยลดอุบัติเหตุเมื่อขับขี่ในเมือง หรือขับแบบเรื่อยๆซึ่งบางครั้งคนขับมักขาดสมาธิ ระบบนี้จะทำงานเมื่อขับความเร็วต่ำว่า 30 กม./ชม. (คล้ายๆ City Safty ของวอลโว่)
ในสถานีนี้ทีมงานมิตซูบิชิ ยังแสดงระบบตัดกำลังเครื่องยนต์ชั่วขณะเมื่อเหยียบคันเร่งอย่างรุนแรงและรวดเร็ว (UMS-Ultrasonic misacceleration Mitigation System) ที่ใช้หลักการของคลื่นอัลตร้าโซนิคตรวจจับวัตถุด้านหน้าหรือด้านหลังในระยะไม่เกิน 4 เมตร ในขณะที่เกียร์อยู่ตำแหน่ง "D" หรือ "R" หากมีการเหยียบคันเร่งอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ระบบจะทำการตัดกำลังเครื่องยนต์ไว้ประมาณ 5 วินาที กันอาการเข้าเกียร์พลาดแล้วตกใจนะครับ
ถัดมาเป็นสถานีโชว์ความสะดวกสบาย ผ่านการลองขับและนั่งเป็นผู้โดยสารด้านหลัง หวังให้สัมผัสช่วงล่างหน้าแบบปีกนก 2 ชั้น พร้อมคอยส์ปริงและเหล็กกันโคลง ด้านหลังแบบทรีลิงค์ ทอล์คอาร์ม พร้อมคอยล์สปริงและเหล็กกันโคลง และเหล็กกันสะบัดเพลาหลัง
โดยมิตซูบิชิบอกว่า แม้ช่วงล่างด้านหลังจะใช้รูปแบบเดียวกับรุ่นเก่าแต่มีการพัฒนาใหม่ในหลายๆจุด ทั้งแขนยึดที่ยาวขึ้น เปลี่ยนค่าสปริงและโช้คอัพใหม่ ขณะที่เหล็กกันสะบัดเพลาหลังก็ใหญ่ขึ้น
การทดสอบต้องขับและนั่งผ่าน เส้นทางวิ่งที่มิตซูบิชิสร้างจำลองไว้หลากหลายรูปแบบ ทั้ง ถนนดี ถนนคอนกรีตแย่ๆ ถนนลาดยางที่ผ่านการซ่อมแซม ผ่านฝาท่อ และอุปสรรคน่าเกลียดๆที่มีจริงบนถนนเมืองไทย
การนั่งเป็นโดยสารด้านหลังรับรู้อาการสะเทือนจากพื้นถนนได้พอสมควร(เพราะมิตซูบิชิออกแบบสนามได้เหมือนจริงและโหดมาก) แต่การรองรับรวมๆก็น่าจะกระด้างน้อยกว่ารุ่นเก่า
จากนั้นผู้เขียนได้สลับเป็นผู้ขับ ที่นอกจากจะได้ลองรัศมีวงเลี้ยวแคบสุด 5.6 เมตรแล้ว การถือพวงมาลัยพาวเวอร์ของปาเจโร สปอร์ต ช่วงขับผ่านอุปสรรคก็รับรู้อาการสะเทือนที่ส่งผ่านพวงมาลัยได้นิดหน่อย ส่วนน้ำหนักค่อนข้างหน่วงมือ หรือหนักกว่าพวงมาลัยผ่อนแรงด้วยระบบไฟฟ้าของ “ฟอร์ด เอเวอเรสต์” แบบรู้สึกได้
ดังนั้นถ้าขับขี่ในเมือง ช่วงสโลว์ไลฟ์ในซอย หรือขึ้นตึกวนหาที่จอดรถ พวงมาลัยของเอเวอเรสต์ ควบคุมได้คล่องและสบายมือกว่าแน่ๆ
ทว่าบุคลิกของพวงมาลัยแบบแรคแอนด์พิเนียน ผ่อนแรงด้วยพาวเวอร์(ไฮดรอริก) กลับให้ความประทับใจผู้เขียนเมื่อใช้ความเร็วสูงในสถานีสุดท้ายครับ
ด่านนี้เป็นการลองสมรรถนะรวมๆ โดยใช้รุ่นขับเคลื่อนสองล้อ วนรอบใหญ่ของสนามระยะทางต่อรอบประมาณ 1.5 กิโลเมตร หนึ่งคนได้ขับสองรอบ
การตอบสนองของพวงมาลัยบนการขับที่ความเร็วประมาณ 100 กม./ชม.ให้ความมั่นใจ (เป็นความเร็วสูงสุดของการทดสอบในสนาม) ช่วงโค้งยาวๆ ถือพวงมาลัยได้นิ่งๆ ควบคุมทิศทางได้ดี ส่วนช่วงล่างก็หนึบแน่น อาการโยนหรือโคลงตัวของตัวถังค่อนข้างน้อย
ด้านสมรรถนะจากเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ ขนาด 2.4 ลิตร วาล์วแปรผันไมเวค เทอร์โบแปรผัน ให้กำลังสูงสุด 181 แรงม้าที่ 3,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 430 นิวตัน-เมตรที่ 2,500 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด
เครื่องยนต์เดินเรียบและเงียบที่สุดอยู่แล้ว บล็อกเล็กแต่รีดม้าได้ระดับ 181 ตัว แรงบิด 430 นิวตันเมตร พร้อมเทอร์โบใหม่ ช่วยเค้นประสิทธิภาพออกมาได้สูงสุด ช่วงรอบต่ำเรี่ยวแรงก็มาเต็ม หรือค่อยๆไล่ความเร็วขึ้นไป เกียร์ 8 สปีดของไอซิน (Aisin) ลูกนี้ ช่วยส่งกำลังลงสู่ล้อได้แบบนุ่มนวล
การเปลี่ยนเกียร์รวดเร็ว รอบไม่สวิงวูบวาบ พร้อมจัดพลังให้เนียนๆตามแรงกดของเท้าขวา ขณะที่การขับความเร็ว 100 กม./ชม.บนเกียร์สูงสุด รอบเครื่องยนต์อยู่แถวๆ 1,600 รอบซึ่งถือว่าต่ำมาก หากคำนึงถึงการที่เครื่องยนต์ไม่ต้องทำงานหนักและความประหยัดน้ำมัน
รวบรัดตัดความ...เป็นการจัดทดสอบเพื่อให้เรียนรู้เทคโนโลยี รับรู้สมรรถนะกันแบบพอหอมปากหอมคอ พร้อมช่วยส่งต่อข่าวสารไปถึงกลุ่มลูกค้าที่จองไปแล้วให้มั่นใจ และกระตุ้นการตัดสินใจของคนที่ยังลังเล ยิ่งใครอยากได้รถประเภทนี้อยู่แล้วต้องรีบซื้อครับ ก่อนโดนภาษีใหม่ดันราคาขึ้นในปีหน้า
สรุปจากการลองขับสั้นๆว่า สมรรถนะในภาพรวมไม่ได้เด่นไปกว่า “ฟอร์ด เอเวอเรสต์” เช่นเดียวกับอารมณ์ของความหรูหรา แต่ถ้าเน้นความคุ้มค่า และได้ความพอใจเรื่องระบบขับเคลื่อน (ขุมพลัง เกียร์ และระบบขับเคลื่อนสี่ล้อขั้นเทพ) เลือกสาย “ มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต” ไม่ผิดหวัง (เอเวอเรสต์ เป็นระบบขับเคลื่อนสี่ล้อตลอดเวลา ก็ยืนยันเรื่องการซดน้ำมันได้ระดับหนึ่ง) ส่วนเรื่องช่วงล่างและการควบคุมคงต้องใช้เวลาทดสอบมากกว่านี้ เพื่อให้คะแนนว่าอยู่ในระดับไหนเมื่อเทียบกับคู่แข่ง