ข่าวในประเทศ - ค่ายรถยนต์ผนึกกำลัง ส่งเสียงถึงรัฐบาลต้องลงมาช่วยอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างจริงจัง หลังกำลังซื้อหดหาย ผู้คนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ตอกย้ำไอเดียให้นำอีโคคาร์มาทำแท็กซี่ พร้อมปลดล็อกเงื่อนไขถือครองรถยนต์คันแรกให้เหลือ 3 ปี หวังกระตุ้นตลาดรถยนต์
วานนี้( 5 ส.ค.) สมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย จัดงานสัมนาในหัวข้อ “ทางเลือกทางรอด ปลดล็อคอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย” ที่งาน“บิ๊ก มอเตอร์ เซล 2015” ไบเทค บางนา
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตัวเลขการขายรถยนต์ในประเทศไทยลดลงต่อเนื่อง 26 เดือนติดต่อกัน เป็นผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจ และคงต้องประเมินยอดขายตลาดรวมใหม่อีกครั้ง หรือลดลงจาก 8.5 แสนคัน หากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลยังไม่เห็นผล
ทั้งนี้ทางกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ยังพยายามผลักดันให้เกิดการผลิตรถยนต์ประเภทใหม่ๆ ทั้งรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และการเป็นศูนย์กลางในการผลิตรถบรรทุกขนาดใหญ่ รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อบ้าน หลังการเปิดAECเต็มตัว นอกจากนี้ยังอยากเสนอให้รัฐบาลเร่งเจรจาการเปิดเขตการค้าเสรี FTA ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป เพื่อทดแทนหลังจากประเทศไทยถูกถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อประเทศผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้า (GSP) ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงกับการส่งออก
นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจซบเซาส่งผลถึงหลายธุรกิจ และจากการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ติดลบ 7 เดือนติดต่อกัน และถ้าติดลบต่อเนื่องอีก 2 เดือน ประเทศไทยคงหลีกเลี่ยงภาวะเงินฝืดไม่ได้ ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นธุรกิจใหญ่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำหลายอย่าง ดังนั้นบริษัทอยากให้รัฐบาลออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้
ในส่วนของตลาดรถยนต์ ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาผู้คนไม่มีอารมณ์จับจ่ายใช้สอย ทั้งยังมีผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่ซื้อรถในโครงการรถยนต์คันแรก และไม่สามารถเปลี่ยนการถือครองได้ภายในระยะเวลา 5 ปี จึงถือเป็นความคิดที่ดีที่มีการเสนอการปลดล็อกเงื่อนไขการถือครองให้เหลือเพียง 3 ปี คาดว่าจะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อใหม่ๆได้ โดยที่รัฐบาลไม่ต้องเสียเงินสนับสนุน เพียงแต่เป็นการคืนสิทธิ์ให้ผู้บริโภคเท่านั้น
ขณะเดียวกันบริษัทยังมองว่า อีโคคาร์เฟสหนึ่งและเฟสสอง ที่กำหนดกำลังผลิตให้ถึง 1 แสนคันภายใน 5 ปี(เฟสแรก) และ 4 ปี (เฟสสอง) ถ้าในสถานการณ์ปกติค่ายรถยนต์น่าจะทำได้เพราะมีตลาดในประเทศและตลาดส่งออกรองรับ แต่ในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีในช่วงนี้ บวกกับการมีผู้เล่นมากราย รัฐบาลน่าจะช่วยหาทางออกให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์บ้าง อย่างแท็กซี่สาธารณะที่กำหนดให้ใช้เครื่องยนต์ไม่ต่ำกว่า 1600 ซีซี แต่ถ้ารัฐบาลอยากสนับสนุนโครงการอีโคคาร์จริงๆ น่าจะพิจารณาให้นำรถมาทำแท็กซี่ได้เช่นกัน เพราะหลายรุ่นมีขนาดตัวถังใหญ่ รองรับผู้โดยสารได้สบาย ส่วนเครื่องยนต์ขนาดเล็กแต่ให้สมรรถนะการขับขี่ที่ดี เหมาะกับการใช้งานในเมือง
นายประพัฒน์ เชยชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสการตลาดและการขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า เห็นด้วยกับการนำอีโคคาร์มาทำรถแท็กซี่ เพราะจะได้ประโยชน์หลายฝ่าย ทั้งช่วยกระตุ้นยอดขายรถยนต์ และเป็นรถที่ประหยัดน้ำมัน ปล่อยมลพิษน้อย ดีต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันยังช่วยลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการแท็กซี่ได้ครึ่งต่อครึ่ง เพราะปัจจุบันออกแท็กซี่คันใหม่ราคาก็ร่วมหนึ่งล้านบาทแล้ว แต่สำหรับอีโคคาร์ตัวถังซีดานนั้นราคาถูกกว่ามาก
อย่างไรก็ตามในระยะยาว เพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต้องพัฒนาโปรดักต์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ด้วยการใส่เทคโนโลยียานยนต์ทันสมัยเพื่อสมรรถนะการขับขี่ที่ดี ประหยัดน้ำมัน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกและปลอดภัยครบครันในราคาที่คุ้มค่า และในแผนระยะยาวต้องผลักดันรถพลังงานไฟฟ้าให้เป็นโปรดักต์แชมเปี้ยนตัวต่อไป
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring
วานนี้( 5 ส.ค.) สมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย จัดงานสัมนาในหัวข้อ “ทางเลือกทางรอด ปลดล็อคอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย” ที่งาน“บิ๊ก มอเตอร์ เซล 2015” ไบเทค บางนา
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตัวเลขการขายรถยนต์ในประเทศไทยลดลงต่อเนื่อง 26 เดือนติดต่อกัน เป็นผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจ และคงต้องประเมินยอดขายตลาดรวมใหม่อีกครั้ง หรือลดลงจาก 8.5 แสนคัน หากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลยังไม่เห็นผล
ทั้งนี้ทางกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ยังพยายามผลักดันให้เกิดการผลิตรถยนต์ประเภทใหม่ๆ ทั้งรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และการเป็นศูนย์กลางในการผลิตรถบรรทุกขนาดใหญ่ รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อบ้าน หลังการเปิดAECเต็มตัว นอกจากนี้ยังอยากเสนอให้รัฐบาลเร่งเจรจาการเปิดเขตการค้าเสรี FTA ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป เพื่อทดแทนหลังจากประเทศไทยถูกถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อประเทศผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้า (GSP) ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงกับการส่งออก
นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจซบเซาส่งผลถึงหลายธุรกิจ และจากการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ติดลบ 7 เดือนติดต่อกัน และถ้าติดลบต่อเนื่องอีก 2 เดือน ประเทศไทยคงหลีกเลี่ยงภาวะเงินฝืดไม่ได้ ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นธุรกิจใหญ่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำหลายอย่าง ดังนั้นบริษัทอยากให้รัฐบาลออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้
ในส่วนของตลาดรถยนต์ ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาผู้คนไม่มีอารมณ์จับจ่ายใช้สอย ทั้งยังมีผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่ซื้อรถในโครงการรถยนต์คันแรก และไม่สามารถเปลี่ยนการถือครองได้ภายในระยะเวลา 5 ปี จึงถือเป็นความคิดที่ดีที่มีการเสนอการปลดล็อกเงื่อนไขการถือครองให้เหลือเพียง 3 ปี คาดว่าจะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อใหม่ๆได้ โดยที่รัฐบาลไม่ต้องเสียเงินสนับสนุน เพียงแต่เป็นการคืนสิทธิ์ให้ผู้บริโภคเท่านั้น
ขณะเดียวกันบริษัทยังมองว่า อีโคคาร์เฟสหนึ่งและเฟสสอง ที่กำหนดกำลังผลิตให้ถึง 1 แสนคันภายใน 5 ปี(เฟสแรก) และ 4 ปี (เฟสสอง) ถ้าในสถานการณ์ปกติค่ายรถยนต์น่าจะทำได้เพราะมีตลาดในประเทศและตลาดส่งออกรองรับ แต่ในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีในช่วงนี้ บวกกับการมีผู้เล่นมากราย รัฐบาลน่าจะช่วยหาทางออกให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์บ้าง อย่างแท็กซี่สาธารณะที่กำหนดให้ใช้เครื่องยนต์ไม่ต่ำกว่า 1600 ซีซี แต่ถ้ารัฐบาลอยากสนับสนุนโครงการอีโคคาร์จริงๆ น่าจะพิจารณาให้นำรถมาทำแท็กซี่ได้เช่นกัน เพราะหลายรุ่นมีขนาดตัวถังใหญ่ รองรับผู้โดยสารได้สบาย ส่วนเครื่องยนต์ขนาดเล็กแต่ให้สมรรถนะการขับขี่ที่ดี เหมาะกับการใช้งานในเมือง
นายประพัฒน์ เชยชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสการตลาดและการขาย บริษัท นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า เห็นด้วยกับการนำอีโคคาร์มาทำรถแท็กซี่ เพราะจะได้ประโยชน์หลายฝ่าย ทั้งช่วยกระตุ้นยอดขายรถยนต์ และเป็นรถที่ประหยัดน้ำมัน ปล่อยมลพิษน้อย ดีต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันยังช่วยลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการแท็กซี่ได้ครึ่งต่อครึ่ง เพราะปัจจุบันออกแท็กซี่คันใหม่ราคาก็ร่วมหนึ่งล้านบาทแล้ว แต่สำหรับอีโคคาร์ตัวถังซีดานนั้นราคาถูกกว่ามาก
อย่างไรก็ตามในระยะยาว เพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต้องพัฒนาโปรดักต์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ด้วยการใส่เทคโนโลยียานยนต์ทันสมัยเพื่อสมรรถนะการขับขี่ที่ดี ประหยัดน้ำมัน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกและปลอดภัยครบครันในราคาที่คุ้มค่า และในแผนระยะยาวต้องผลักดันรถพลังงานไฟฟ้าให้เป็นโปรดักต์แชมเปี้ยนตัวต่อไป
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring