ข่าวในประเทศ-สื่อสากล แถลงแนวคิดงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 32” มุ่งส่งเสริมมาตรฐานอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้พัฒนาไปในทิศทางเดียวกับอุตสาหกรรมยานยนต์โลก พร้อมสนับสนุน การผลิต ยานยนต์ที่สะอาด ประหยัด และปลอดภัย เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างภาษีใหม่
ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธาน บริษัท สื่อสากล จำกัด และประธานจัดงาน "มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 32" หรือ The 32nd Thailand International Motor Expo 2015 เปิดเผยว่า ด้วยเหตุที่ยานยนต์เป็นตัวการสำคัญในการปล่อย “แกสเรือนกระจก” ออกสู่บรรยากาศ ซึ่งก่อให้เกิดวิกฤตโลกร้อน บรรดาผู้ผลิตจึงพยายามพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสรรค์ยานยนต์ที่สะอาด และประหยัดพลังงาน รวมถึงแสวงหาพลังงานทดแทนที่ปราศจากมลพิษ เช่น พลังงานไฟฟ้า และไฮโดรเจน เป็นต้น
ด้วยเหตุที่ยานยนต์ เป็นตัวการสำคัญในการปล่อย “แกสเรือนกระจก” ออกสู่บรรยากาศ ซึ่งก่อให้เกิดวิกฤตโลกร้อน การกำหนดมาตรฐานการปล่อยมลพิษในต่างประเทศ จึงมีความเข้มงวดขึ้นเป็นลำดับ เช่น ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2558 รถยนต์ที่จำหน่ายในยุโรปทุกคันจะต้องผ่านมาตรฐานยูโร 6 ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่การลดปริมาณไนตรัสออกไซด์ หนึ่งในแกสเรือนกระจก ที่ส่วนใหญ่จะปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์ดีเซล
สำหรับในประเทศไทย เป็นที่น่ายินดีว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนด “แผนแม่บทอุตสาหกรรมยานยนต์ พศ. 2555-2559” โดยมีเป้าหมายสำคัญ อยู่ที่การพัฒนายานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน มีกระบวนการผลิตที่สะอาด มีมาตรฐานมลพิษ และความปลอดภัยระดับสูงอันนำไปสู่การกำหนด “มาตรฐานใหม่” ของยานยนต์ไทยที่แสดงความเอาใจใส่ต่อสภาพแวดล้อมของโลก อย่างเห็นได้ชัด
โดยในอนาคต กรมควบคุมมลพิษ วางแผนจะบังคับใช้มาตรฐานไอเสียระดับยูโร 6 กับรถยนต์ใหม่ตั้งแต่ปี 2563 ส่วนรถจักรยานยนต์ ต้องผ่านมาตรฐานยูโร 5 ขณะที่มาตรฐานของน้ำมันเชื้อเพลิงก็ต้องสอดคล้องกัน โดยจะลดกำมะถันเหลือเพียง 10 พีพีเอม หรือลดลงถึง 5 เท่าจากปัจจุบัน
โครงการรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะ 2 หรือ “อีโคคาร์ 2” ก็ต้องผ่านมาตรฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้นเช่นกัน ได้แก่ มาตรฐานมลพิษ ยูโร 5 และอัตราการปล่อยแกสคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร และยิ่งกว่านั้น ผู้ผลิตยังต้องยกระดับมาตรฐานการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ในรถยนต์นั่งและรถกระบะ เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์โครงสร้างใหม่ ที่กำหนดบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป
ทั้งนี้เนื่องจาก โครงสร้างภาษีใหม่จะพิจารณาจัดเก็บจากอัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์ แทนการจัดเก็บตามปริมาณความจุกระบอกสูบ โดยรถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อย จะเสียภาษีต่ำกว่ารถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มาก ตัวอย่างเช่น รถยนต์นั่งขนาดต่ำกว่า 3,000 ซีซี หากปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 150 กรัมต่อกิโลเมตร จะเสียภาษีร้อยละ 30 แต่ถ้าปล่อยมากกว่านั้นจะต้องเสียภาษีร้อยละ 35 ถึงร้อยละ 40 ส่วน อีโคคาร์ ถ้าปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 100 กรัมต่อกิโลเมตร เสียภาษีเพียงร้อยละ 14 เกินกว่านั้นเสียร้อยละ 17
ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยพัฒนาไปในทิศทางเดียวกับอุตสาหกรรมยานยนต์โลก พร้อมสร้างสรรค์ยานยนต์ยุคใหม่ที่สะอาด ประหยัด และปลอดภัย เราจึงจัดงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 32” ขึ้นภายใต้แนวคิด “มาตรฐานใหม่ ยานยนต์ไทยใส่ใจโลก” หรือ “NEW STANDARDS … THAI VEHICLES CARE ABOUT THE EARTH”
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring
ขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธาน บริษัท สื่อสากล จำกัด และประธานจัดงาน "มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 32" หรือ The 32nd Thailand International Motor Expo 2015 เปิดเผยว่า ด้วยเหตุที่ยานยนต์เป็นตัวการสำคัญในการปล่อย “แกสเรือนกระจก” ออกสู่บรรยากาศ ซึ่งก่อให้เกิดวิกฤตโลกร้อน บรรดาผู้ผลิตจึงพยายามพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสรรค์ยานยนต์ที่สะอาด และประหยัดพลังงาน รวมถึงแสวงหาพลังงานทดแทนที่ปราศจากมลพิษ เช่น พลังงานไฟฟ้า และไฮโดรเจน เป็นต้น
ด้วยเหตุที่ยานยนต์ เป็นตัวการสำคัญในการปล่อย “แกสเรือนกระจก” ออกสู่บรรยากาศ ซึ่งก่อให้เกิดวิกฤตโลกร้อน การกำหนดมาตรฐานการปล่อยมลพิษในต่างประเทศ จึงมีความเข้มงวดขึ้นเป็นลำดับ เช่น ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2558 รถยนต์ที่จำหน่ายในยุโรปทุกคันจะต้องผ่านมาตรฐานยูโร 6 ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่การลดปริมาณไนตรัสออกไซด์ หนึ่งในแกสเรือนกระจก ที่ส่วนใหญ่จะปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์ดีเซล
สำหรับในประเทศไทย เป็นที่น่ายินดีว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนด “แผนแม่บทอุตสาหกรรมยานยนต์ พศ. 2555-2559” โดยมีเป้าหมายสำคัญ อยู่ที่การพัฒนายานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน มีกระบวนการผลิตที่สะอาด มีมาตรฐานมลพิษ และความปลอดภัยระดับสูงอันนำไปสู่การกำหนด “มาตรฐานใหม่” ของยานยนต์ไทยที่แสดงความเอาใจใส่ต่อสภาพแวดล้อมของโลก อย่างเห็นได้ชัด
โดยในอนาคต กรมควบคุมมลพิษ วางแผนจะบังคับใช้มาตรฐานไอเสียระดับยูโร 6 กับรถยนต์ใหม่ตั้งแต่ปี 2563 ส่วนรถจักรยานยนต์ ต้องผ่านมาตรฐานยูโร 5 ขณะที่มาตรฐานของน้ำมันเชื้อเพลิงก็ต้องสอดคล้องกัน โดยจะลดกำมะถันเหลือเพียง 10 พีพีเอม หรือลดลงถึง 5 เท่าจากปัจจุบัน
โครงการรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะ 2 หรือ “อีโคคาร์ 2” ก็ต้องผ่านมาตรฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้นเช่นกัน ได้แก่ มาตรฐานมลพิษ ยูโร 5 และอัตราการปล่อยแกสคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร และยิ่งกว่านั้น ผู้ผลิตยังต้องยกระดับมาตรฐานการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ในรถยนต์นั่งและรถกระบะ เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์โครงสร้างใหม่ ที่กำหนดบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป
ทั้งนี้เนื่องจาก โครงสร้างภาษีใหม่จะพิจารณาจัดเก็บจากอัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์ แทนการจัดเก็บตามปริมาณความจุกระบอกสูบ โดยรถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อย จะเสียภาษีต่ำกว่ารถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มาก ตัวอย่างเช่น รถยนต์นั่งขนาดต่ำกว่า 3,000 ซีซี หากปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 150 กรัมต่อกิโลเมตร จะเสียภาษีร้อยละ 30 แต่ถ้าปล่อยมากกว่านั้นจะต้องเสียภาษีร้อยละ 35 ถึงร้อยละ 40 ส่วน อีโคคาร์ ถ้าปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า 100 กรัมต่อกิโลเมตร เสียภาษีเพียงร้อยละ 14 เกินกว่านั้นเสียร้อยละ 17
ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยพัฒนาไปในทิศทางเดียวกับอุตสาหกรรมยานยนต์โลก พร้อมสร้างสรรค์ยานยนต์ยุคใหม่ที่สะอาด ประหยัด และปลอดภัย เราจึงจัดงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 32” ขึ้นภายใต้แนวคิด “มาตรฐานใหม่ ยานยนต์ไทยใส่ใจโลก” หรือ “NEW STANDARDS … THAI VEHICLES CARE ABOUT THE EARTH”
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring