ข่าวในประเทศ-สมาคมผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ใหม่ เผยระเบียบตรวจสอบมาตรฐานรถยนต์ของ สมอ.ไม่เป็นธรรม ดันต้นทุนเพิ่ม ลดความเชื่อมั่นผู้บริโภค กระทบตลาดเกรย์มาร์เกตสูญ 1.6 หมื่นล้านบาท
นายอภิชาติ สมรพิทักษ์กุล นายกสมาคมผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ใหม่ เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่มผู้ประกอบการนำเข้ารถยนต์ใหม่ได้รับผลกระทบอย่างมาก จากนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ออกระเบียบให้ผู้นำเข้ารถยนต์อิสระ ต้องนำรถยนต์ที่นำเข้ามาทำการตรวจสอบมาตรฐานก่อนการจำหน่ายทุกคัน ขณะที่บริษัทผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ (Authorizer Dealers) ในประเทศไทยได้รับยกเว้นหรือผ่อนผัน สามารถตรวจสอบเพียง 1 คันต่อ 1 รุ่น และสามารถนำใบอนุญาตไปใช้อ้างอิงได้กับรถในรุ่นเดียวกันจำนวน 5,000 คัน
“รถยนต์ที่ผู้นำเข้าอิสระกับผู้แทนจำหน่ายนั้น สั่งนำเข้ามาจากแหล่งผลิตหรือโรงงานเดียวกันจากต่างประเทศ โดยแนวทางการปฏิบัติงานของ สมอ. เป็นการปฎิบัติที่ไม่เป็นธรรม อีกทั้งมีการปรับค่าใช้จ่ายในการตรวจรถยนต์ที่สูงขึ้น เดิมดีเซลคิดค่าธรรมเนียม 19,000 บาท และ เบนซินคิดค่าธรรมเนียม 49,000 บาท แต่ล่าสุดมีการปรับค่าธรรมเนียมการจัดเก็บเครื่องยนต์ดีเซลอยู่ที่ 46,000 บาท และเครื่องยนต์เบนซินอยู่ที่ 78,000 บาท โดยทางสมอ.ไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บเงินจำนวนเงินดังกล่าว รวมถึงใช้เวลาตรวจสอบอย่างน้อย 90 ถึง 120 วัน จากเดิมที่สมอ.แจ้งว่าใช้เวลาเพียง 30 วัน ซึ่งส่งผลให้การส่งมอบรถให้ลูกค้าเกิดความล่าช้าเสียหาย”
จากปัญหาดังกล่าว ทางสมาคมฯ ได้ติดต่อขอเข้าพบกับผู้มีอำนาจรับผิดชอบในสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลายครั้งเพื่อหาแนวทางแก้ไข แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนออกมา และล่าสุดสมาคมฯ ได้ยื่นคำร้องให้พิจารณาให้ความเป็นธรรมในเรื่องการขอปรับเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อการอนุญาตสำหรับผู้นำเข้ารถยนต์รายย่อย ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน ที่ผ่านมา แต่คำร้องดังกล่าวยังไม่ได้รับการตอบรับจากสมอ. แต่อย่างใด
นายอภิชาติ กล่าวว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้ปัจจุบันผู้ประกอบการฯ ยังมีรถยนต์ที่ค้างรอการตรวจสอบมาตรฐานจำนวน 2,000 คัน ตลอดจนส่งผลต่อความมั่นใจของผู้บริโภคที่มีต่อรถยนต์นำเข้าอิสระ และจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวคาดว่ายอดขายรวมของเกรย์มาร์เก็ตในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 3,000-4,000 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่มียอดขาย 8,000 คัน โดยคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยคันละ 4 ล้านบาท หรือลดลงจากปีก่อนประมาณ 16,000 ล้านบาท รวมถึงคิดเป็นเงินที่รัฐจะต้องได้จากภาษีนำเข้าซึ่งสูญหายไปราว 5,000 ล้านบาท
“ที่ผ่านมาทางสมาคมฯ ให้ความร่วมมือกับสมอ.มาตลอด แต่จากการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดต่างๆ โดยไม่มีคำชี้แจง ซึ่งถือว่าเป็นการกีดกันทางการค้า ไม่เป็นไปอย่างเสรี และนับจากวันนี้สมาคมฯ ได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อพิจารณาและสรุปการดำเนินการในขั้นต่อไป” นายอภิชาติกล่าว
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring
นายอภิชาติ สมรพิทักษ์กุล นายกสมาคมผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ใหม่ เปิดเผยว่า ขณะนี้กลุ่มผู้ประกอบการนำเข้ารถยนต์ใหม่ได้รับผลกระทบอย่างมาก จากนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ออกระเบียบให้ผู้นำเข้ารถยนต์อิสระ ต้องนำรถยนต์ที่นำเข้ามาทำการตรวจสอบมาตรฐานก่อนการจำหน่ายทุกคัน ขณะที่บริษัทผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ (Authorizer Dealers) ในประเทศไทยได้รับยกเว้นหรือผ่อนผัน สามารถตรวจสอบเพียง 1 คันต่อ 1 รุ่น และสามารถนำใบอนุญาตไปใช้อ้างอิงได้กับรถในรุ่นเดียวกันจำนวน 5,000 คัน
“รถยนต์ที่ผู้นำเข้าอิสระกับผู้แทนจำหน่ายนั้น สั่งนำเข้ามาจากแหล่งผลิตหรือโรงงานเดียวกันจากต่างประเทศ โดยแนวทางการปฏิบัติงานของ สมอ. เป็นการปฎิบัติที่ไม่เป็นธรรม อีกทั้งมีการปรับค่าใช้จ่ายในการตรวจรถยนต์ที่สูงขึ้น เดิมดีเซลคิดค่าธรรมเนียม 19,000 บาท และ เบนซินคิดค่าธรรมเนียม 49,000 บาท แต่ล่าสุดมีการปรับค่าธรรมเนียมการจัดเก็บเครื่องยนต์ดีเซลอยู่ที่ 46,000 บาท และเครื่องยนต์เบนซินอยู่ที่ 78,000 บาท โดยทางสมอ.ไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บเงินจำนวนเงินดังกล่าว รวมถึงใช้เวลาตรวจสอบอย่างน้อย 90 ถึง 120 วัน จากเดิมที่สมอ.แจ้งว่าใช้เวลาเพียง 30 วัน ซึ่งส่งผลให้การส่งมอบรถให้ลูกค้าเกิดความล่าช้าเสียหาย”
จากปัญหาดังกล่าว ทางสมาคมฯ ได้ติดต่อขอเข้าพบกับผู้มีอำนาจรับผิดชอบในสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลายครั้งเพื่อหาแนวทางแก้ไข แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนออกมา และล่าสุดสมาคมฯ ได้ยื่นคำร้องให้พิจารณาให้ความเป็นธรรมในเรื่องการขอปรับเกณฑ์การตรวจสอบเพื่อการอนุญาตสำหรับผู้นำเข้ารถยนต์รายย่อย ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน ที่ผ่านมา แต่คำร้องดังกล่าวยังไม่ได้รับการตอบรับจากสมอ. แต่อย่างใด
นายอภิชาติ กล่าวว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้ปัจจุบันผู้ประกอบการฯ ยังมีรถยนต์ที่ค้างรอการตรวจสอบมาตรฐานจำนวน 2,000 คัน ตลอดจนส่งผลต่อความมั่นใจของผู้บริโภคที่มีต่อรถยนต์นำเข้าอิสระ และจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวคาดว่ายอดขายรวมของเกรย์มาร์เก็ตในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 3,000-4,000 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่มียอดขาย 8,000 คัน โดยคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยคันละ 4 ล้านบาท หรือลดลงจากปีก่อนประมาณ 16,000 ล้านบาท รวมถึงคิดเป็นเงินที่รัฐจะต้องได้จากภาษีนำเข้าซึ่งสูญหายไปราว 5,000 ล้านบาท
“ที่ผ่านมาทางสมาคมฯ ให้ความร่วมมือกับสมอ.มาตลอด แต่จากการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดต่างๆ โดยไม่มีคำชี้แจง ซึ่งถือว่าเป็นการกีดกันทางการค้า ไม่เป็นไปอย่างเสรี และนับจากวันนี้สมาคมฯ ได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อพิจารณาและสรุปการดำเนินการในขั้นต่อไป” นายอภิชาติกล่าว
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring