xs
xsm
sm
md
lg

“โตโยต้า” อวดระบบขนส่งใหม่ในโตเกียวมอเตอร์โชว์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

โตโยต้า มอเตอร์ คอร์เปอเรชั่น จัดเต็มนำเทคโนโลยีใหม่มาโชว์ในงานเพียบ ประเดิมตอนแรกกับทางเลือกใหม่ในการเดินทาง ส่วนรถต้นแบบอดใจรอตอนต่อไป
หลังจากได้ชมนวัตกรรมใหม่ๆ ของหลายค่ายรถยนต์ในงานโตเกียว มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43 กันไปหลายตอนแล้ว คราวนี้ได้เวลาชมไฮไลท์จากค่ายยักษ์ใหญ่อย่างโตโยต้ากันบ้าง โดยคอนเซปต์ที่โตโยต้า มอเตอร์ คอร์เปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้ตั้งไว้สำหรับการจัดแสดงในครั้งนี้คือ “เมืองที่สามารถเดินทางได้อย่างชาญฉลาด” เพื่อระบุบทบาทใหม่ของยานพาหนะในชีวิตประจำวันของผู้ใช้และสังคมโดยทั่วไป

สำหรับวิสัยทัศน์ของโตโยต้ามองว่า เมื่อการเดินทางผนวกเข้ากับปัจจัยทางสังคมและการดำเนินชีวิต และการขับรถมีความปลอดภัยมากขึ้น ทั้งยังเป็นเรื่องสนุก โดยภายในบูธจัดแสดงระบบขนส่งรุ่นต่อไปของเมือง ซึ่งโตโยต้าทำการเปิดตัว “ฮาโมะ” หรือระบบขนส่งรุ่นต่อไปของเมืองที่ผ่านขั้นตอนการทดสอบในญี่ปุ่นมาแล้วถึง 3 ปี (การทดสอบเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม 2555 ณ มหาวิทยาลัยชูเคียวในเมืองโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น และในสถานีที่ใกล้ที่สุด โดยได้ขยายออกไปในเดือนตุลาคม 2556)
โตโยต้า-ไอ-โร้ด (Toyota-i-Road)
ฮาโมะได้รับการออกแบบมาเพื่อจัดสรรยานพาหนะที่เหมาะสมกับผู้ใช้ เมือง และสังคม โดยรวมยานพาหนะส่วนบุคคล เช่น รถยนต์ เข้ากับขนส่งมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในระบบประกอบด้วยทางเลือกใหม่ในการเดินทาง 3 รูปแบบ ได้แก่ โตโยต้า-ไอ-โร้ด (Toyota-i-Road), คอมส์ (COMS) และ วิงก์เลต (Winglet)

สำหรับ “โตโยต้า-ไอ-โร้ด” เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลที่มาพร้อมประสบการณ์ล้ำสมัยในยานพาหนะขนาดเล็ก ซึ่งรวมความสะดวกของมอเตอร์ไซค์ กับความสบายและมั่นคงของรถยนต์เอาไว้ด้วยกัน ด้วยความยาว 850 มม. และห้องโดยสารที่ปิด ทำให้รถรุ่นนี้มีระบบการเอียงแบบแอ็คทีฟที่เพิ่งพัฒนาขึ้นมาใหม่ ซึ่งสามารถยกและกดล้อหน้าด้านซ้ายและขวาให้ต่ำลงอัตโนมัติ เพื่อให้ได้มุมที่เหมาะสมที่สุดของยานพาหนะ ให้แน่ใจว่าขับขี่ได้อย่างมั่นคงและมอบความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับยานพาหนะ
ในรอบสื่อมวลชนมีให้ลองขับกันด้วย
“ที·คอม” (T·COM)
ทั้งนี้ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป โตโยต้า-ไอ-โร้ด จะนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการทดสอบของระบบฮาโมะ ซึ่งเป็นระบบจราจรในเมืองของเมืองโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแบ่งปันรถเมืองขนาดเล็ก EV ในเมืองเกรโนเบิล ประเทศฝรั่งเศส

ทางเลือกใหม่ในการเดินทางโมเดลถัดไปอย่าง “คอมส์” นับเป็นการเปิดตัวครั้งแรกของรถยนต์สองที่นั่งชื่อว่า “ที·คอม” (T·COM) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทโตโยต้า ออโต้ บอดี้ จำกัด โดยรถที·คอมนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ฮาโมะ ตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมเป็นต้นไป
วิงก์เลต (Winglet)
สุดท้ายกับ “วิงก์เลต” เป็นหุ่นยนต์ที่ช่วยเหลือในการเดินทางส่วนบุคคลขนาดเล็ก โดยใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเทคโนโลยีการควบคุมหุ่นยนต์และกลไกเชื่อมต่อขนานที่เป็นเอกลักษณ์ ผู้ใช้สามารถขี่วิงก์เลตได้ด้วยท่ายืนและสามารถบังคับเคลื่อนไหวได้อย่างง่ายดายด้วยการขยับเขยื้อนร่างกาย

ต่อเนื่องจากการใช้เทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติและระบบสนับสนุนการขับขี่ โตโยต้าวางเป้าหมายในการสร้างการเดินทางอย่างปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็ปล่อยให้ผู้ขับรู้สึกมีอิสระในการควบคุมอย่างถึงขีดสุด ถายในบูธของโตโยต้าจึงแสดงเทคโนโลยีที่ช่วยเหลือการขับขี่ระดับสูง ซึ่งจะทำให้ยานยนต์สามารถสื่อสารกับโครงสร้างพื้นฐาน คนเดินเท้า และยานพาหนะอื่นๆ ประกอบด้วย
คณะสื่อมวลชนไทยที่ไปร่วมทำข่าวได้ลองขี่วิงก์เลต ทุกคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าควบคุมง่ายมาก

แบบจำลองการขับขี่ระหว่างยานยนต์กับโครงสร้างพื้นฐาน โดยผู้มาเยี่ยมชมสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับระบบช่วยเหลือการขับขี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งใช้การสื่อสารระหว่างท้องถนนกับยานพาหนะ ยานพาหนะกับยานพาหนะ และคนเดินเท้ากับยานพาหนะเพื่อลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนน

ระบบอัจฉริยะในการช่วยเหลือคนขับ โตโยต้าวางแผนที่จะใช้ระบบอัจฉริยะในการช่วยเหลือคนขับเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดในการขจัดการบาดเจ็บและเสียชีวิตที่เกิดจากท้องถนน ก้าวสำคัญในการไปสู่เป้าหมายดังกล่าวเกิดจากระบบช่วยเหลือการขับขี่อัตโนมัติบนทางด่วน (Automated Highway Driving Assist) ของโตโยต้าส่งเสริมการขับขี่อย่างปลอดภัย และมีทักษะด้วยการรวมสองลักษณะใหม่เข้าด้วยกัน ได้แก่ ระบบล็อกความเร็วแบบปรับความเร็วอัตโนมัติ (Cooperative-adaptive Cruise Control -C-ACC) และระบบช่วยควบคุมทิศทางขณะเลี้ยวให้อยู่ในเลน (Lane Trace Control - LTC) C-ACC จะใช้การสื่อสารระหว่างยานยนต์กับยานยนต์เพื่อปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วต่อการเร่งขึ้นหรือช้าลงของยานยนต์คันอื่น ในขณะที่ LTC จะใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจจับเส้นของเลนถนนและโค้งเพื่อให้แน่ใจว่ามีพื้นที่ระหว่างเลนเหลืออยู่สูงสุด

ขณะที่การจัดแสดงระบบโทรสนเทศ(เทเลมาติกส์)รุ่นต่อไป ต้องขอบคุณความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านข้อมูลและการสื่อสารที่ทำให้การเดินทางกลายเป็นเรื่องสะดวกสบาย ดึงดูง และมีประสิทธิภาพอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โตโยต้าเองก็กำลังสร้างระบบในการรวบรวมและประมวลข้อมูลดิบให้กลายเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อทั้งผู้ใช้ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ได้แก่ บริการข้อมูลจราจรขนาดใหญ่ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลการขับขี่ขนาดใหญ่ (รวมถึงตำแหน่งของยานพาหนะ ความเร็ว และข้อมูลด้านสถิติอื่นๆ) ซึ่งเคยใช้โดยรัฐบาลท้องถิ่นและธุรกิจเพื่อพัฒนาการเดินรถ ทำข้อมูลแผนที่ และมาตรการรับมือกับหายนะทางธรรมชาติ ด้วยการบริการเช่นนี้ โตโยต้าหวังว่า “ข้อมูลขนาดใหญ่” นี้จะสร้างคุณูปการต่อการพัฒนาของเมืองให้มีความสะดวก สบาย และทนต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ

อุปกรณ์จดจำเสียง ระบบคลาวด์ที่สั่งการด้วยเสียงนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถหาและตั้งจุดหมายปลายทางจากสัญชาติญาน ระบบรองรับทั้งภาษาพูดหรือคำพูดที่ไม่ชัดเจน และสามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยโตโยต้า สมาร์ท เซ็นเตอร์ โตโยต้าจะพัฒนาบริการที่เกี่ยวข้องเช่น ระบบให้คำแนะนำที่ให้คำแนะนำผ่านเสียงจากการคาดคะเนนิสัยและข้อมูลการขับรถในอดีตของผู้ขับขี่


ปิดท้ายที่สมาร์ท G-Book คือบริการนำทางที่พัฒนาขึ้นใหม่บนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่จะให้ความช่วยเหลือในการเดินทางเต็มรูปแบบไม่ว่าผู้ใช้จะขับรถหรือเดินอยู่ บริการผสานการจดจำเสียงและข้อมูลจราจรที-โพรบ4 (T-probe) สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามการจราจรที่ติดขัด บริการนี้ยังสามารถบรรเทาพิบัติภัยด้วยการแสดงให้เห็นถึงเส้นทางหลบหนีและทิศทางไปสู่ที่หลบภัย

นอกจากนี้บูธโตโยต้ายังจะแสดงแอพพลิเคชั่นใหม่ของโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่สร้างขึ้นมาเพื่อตลาดตะวันออกกลาง โดยอ้างอิงมาจากบริการสมาร์ท G-Book ซึ่งเพิ่งเปิดตัวในประเทศไทยไปเมื่อต้นปีนี้

***ผู้อ่านท่านใดสนใจเข้าชมงาน MOTOR EXPO 2013 ณ อิมแพค ชานเลนเจอร์ 1-3 เมืองทองธานี วันที่ 30 พ.ย.-10 ธ.ค. 56 มารับบัตรได้คนละ 2 ใบ ณ บ้านพระอาทิตย์ ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กทม. โทร 02-629-4488 มารับช่วงเวลาทำการ 8.00-18.00 น. บัตรมีจำนวนจำกัด***


กำลังโหลดความคิดเห็น