ต้องยอมรับว่าปีนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอาการสาหัส ทั้งจากผลกระทบสึนามิ-แผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นช่วงต้นปี ต่อเนื่องถึงมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ ที่ทำให้ห่วงโซ่การผลิต และธุรกิจการขาย ต้องหยุดชะงัก ซึ่งแต่ละค่ายก็โดนพิษน้ำแตกต่างกันไป ไม่เว้น “มิตซูบิชิ มอเตอร์ส”
… “ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” ร่วมสัมภาษณ์ โนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ถึงผลกระทบจากวิกฤตน้ำท่วม และแผนการดำเนินธุรกิจของค่ายตราเพชรนับจากนี้ไป
สถานการณ์ของมิตซูบิชิเป็นอย่างไรบ้าง?
สำนักงานใหญ่ที่รังสิต ปทุมธานี โดนน้ำท่วม เราจึงย้ายพนักงานไปทำงานที่โรงงานแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรีชั่วคราว แต่หลังจากน้ำลด การเดินทางสะดวกมากขึ้น ในวันที่ 21 พฤศจิกายนนี้ ทุกฝ่ายหรือพนักงานกว่า 99% จะพร้อมกลับมาทำงานที่สำนักงานใหญ่อีกครั้ง
ในส่วนโรงงานผลิต?
โรงงานผลิตรถยนต์มิตซูบิชิที่แหลมฉบังไม่ได้รับผลกระทบ แต่ในเมื่อผู้ผลิตชิ้นส่วนกว่า 70 รายของเราไม่สามารถจัดส่งชิ้นส่วนให้ได้ เราจึงต้องหยุดการผลิตไปตั้งแต่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้หลังจากได้รับการฟื้นฟู ตลอดจนแผนการแก้ไขปัญหาของผู้ผลิตชิ้นส่วน ที่สามารถหาชิ้นส่วนจากแหล่งอื่นมาทดแทนได้ ล่าสุดโรงงานผลิตรถยนต์ทั้งสองโรงงาน สามารถกลับมาผลิตได้อีกครั้ง เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยเป็นการผลิตเต็มกำลังทั้งสองกะ
ผลกระทบด้านยอดขาย?
ตั้งแต่ต้นปี รถยนต์มิตซูบิชิขายเฉลี่ยเดือนละ 5,000-6,000 คัน แต่ช่วงหนึ่งเดือนที่น้ำท่วมยอดขายหายไปพอสมควร อย่างเดือนตุลาคมที่ผ่านมาสามารถส่งมอบรถยนต์ได้เพียง 3,700 คัน เท่านั้น
เมื่อดูยอดขายสะสม 10 เดือนที่ผ่านมา มิตซูบิชิทำได้ประมาณ 56,000 คัน เติบโต 88% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในจำนวนนี้แบ่งเป็น ปิกอัพ “ไทรทัน” 34,714 คัน โต 103% และ“ปาเจโร สปอร์ต” ซึ่งทำยอดขายเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มพีพีวี ด้วยจำนวน15,378 คัน โต 77% ขณะที่เก๋งขาย 6,317 คัน ลดลง 5%
อย่างไรก็ตามช่วงสองเดือนที่เหลือ มิตซูบิชิน่าจะขายได้อีก 11,000 คัน (พฤศจิกายน 4,000 คัน ธันวาคม 7,000 คัน) ส่งผลให้ยอดขายรวมถึง 67,000 คัน เติบโต 70% เมื่อเทียบกับปี 2553 ครองส่วนแบ่งการตลาด 8.5%
- ทำไมยอดขายเก๋งตก?
มีหลายปัจจัยที่ทำให้ยอดขายรถยนต์นั่งของมิตซูบิชิลดลง ส่วนหนึ่งเพราะเราไม่มีรถเก๋งที่อยู่ในโครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรก ไม่มีรถเล็ก หรือ อีโคคาร์ ตลอดจนเอ็มพีวี สเปซแวกอน ได้หยุดการผลิตไปแล้ว
ความคืบหน้าของอีโคคาร์รุ่น “มิราจ”?
อย่างที่เราได้ประกาศไปว่า รถเล็กในโครงการโกลบอล สมอล หรือ อีโคคาร์ในไทยจะใช้ชื่อ “มิราจ” ในการทำตลาด แม้การอวดโฉมจะมีขึ้นที่ โตเกียว มอเตอร์โชว์ 2011ประเทศญี่ปุ่น ปลายเดือนนี้ แต่ไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตจะมีรถเปิดตัวพร้อมทำตลาดอย่างเป็นทางการก่อนใครในโลก ช่วงเดือนมีนาคมปีหน้าแน่นอน
“เชื่อว่า มิราจ จะได้การตอบรับจากลูกค้าชาวไทยเป็นอย่างดี ด้วยการออกแบบสวยทันสมัย ความอเนกประสงค์ และขับขี่คล่องตัว พร้อมเครื่องยนต์ 1.2 ลิตร ประกบเกียร์อัตโนมัติ CVT กับราคาที่เป็นเจ้าของได้ง่าย”
- สภาพตลาดรถยนต์โดยรวม?
หลายค่ายโดนผลกระทบจากน้ำท่วม หนักและเบาแตกต่างกันไป จากเดิมคาดว่ายอดขายรวมทุกยี่ห้อปีนี้จะทำได้ 8-9 แสนคัน แต่เมื่อประเมินจากยอดขายเดือนตุลาคม (42,873 คัน) และพฤศจิกายนที่น่าจะลดลงอย่างมาก จึงมีผลให้ยอดขายตลาดรวมปี 2554 จะทำได้เพียง 794,000 คัน เติบโต 2% เมื่อเทียบกับปี 2553
- ความมั่นใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย?
ถือเป็นวิกฤตน้ำครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปีของประเทศไทย ซึ่งมิตซูบิชิดำเนินกิจการในไทยมากว่า 40 ปี ก็เพิ่งเจอครั้งแรก จึงขอร้องให้รัฐบาลออกมาตรการป้องกันที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้คนไทยและภาคอุตสาหกรรมเจอสถานการณ์แบบนี้อีก
บริษัทแม่ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอปอเรชัน ประเทศญี่ปุ่น (MMC) สนับสนุนการดำเนินธุรกิจในไทยเต็มที่ และไม่มีแผนย้ายการผลิตออกจากประเทศไทย เพราะไทยถือเป็นฐานผลิตสำคัญ ดั่งจะเห็นได้จากโครงการผลิตรถยนต์ใหม่ๆ ทยอยลงทุนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นรัฐบาลต้องสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการ และทำเป็นโครงการขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตน้ำท่วมขึ้นอีก
… “ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” ร่วมสัมภาษณ์ โนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ถึงผลกระทบจากวิกฤตน้ำท่วม และแผนการดำเนินธุรกิจของค่ายตราเพชรนับจากนี้ไป
สถานการณ์ของมิตซูบิชิเป็นอย่างไรบ้าง?
สำนักงานใหญ่ที่รังสิต ปทุมธานี โดนน้ำท่วม เราจึงย้ายพนักงานไปทำงานที่โรงงานแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรีชั่วคราว แต่หลังจากน้ำลด การเดินทางสะดวกมากขึ้น ในวันที่ 21 พฤศจิกายนนี้ ทุกฝ่ายหรือพนักงานกว่า 99% จะพร้อมกลับมาทำงานที่สำนักงานใหญ่อีกครั้ง
ในส่วนโรงงานผลิต?
โรงงานผลิตรถยนต์มิตซูบิชิที่แหลมฉบังไม่ได้รับผลกระทบ แต่ในเมื่อผู้ผลิตชิ้นส่วนกว่า 70 รายของเราไม่สามารถจัดส่งชิ้นส่วนให้ได้ เราจึงต้องหยุดการผลิตไปตั้งแต่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้หลังจากได้รับการฟื้นฟู ตลอดจนแผนการแก้ไขปัญหาของผู้ผลิตชิ้นส่วน ที่สามารถหาชิ้นส่วนจากแหล่งอื่นมาทดแทนได้ ล่าสุดโรงงานผลิตรถยนต์ทั้งสองโรงงาน สามารถกลับมาผลิตได้อีกครั้ง เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยเป็นการผลิตเต็มกำลังทั้งสองกะ
ผลกระทบด้านยอดขาย?
ตั้งแต่ต้นปี รถยนต์มิตซูบิชิขายเฉลี่ยเดือนละ 5,000-6,000 คัน แต่ช่วงหนึ่งเดือนที่น้ำท่วมยอดขายหายไปพอสมควร อย่างเดือนตุลาคมที่ผ่านมาสามารถส่งมอบรถยนต์ได้เพียง 3,700 คัน เท่านั้น
เมื่อดูยอดขายสะสม 10 เดือนที่ผ่านมา มิตซูบิชิทำได้ประมาณ 56,000 คัน เติบโต 88% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในจำนวนนี้แบ่งเป็น ปิกอัพ “ไทรทัน” 34,714 คัน โต 103% และ“ปาเจโร สปอร์ต” ซึ่งทำยอดขายเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มพีพีวี ด้วยจำนวน15,378 คัน โต 77% ขณะที่เก๋งขาย 6,317 คัน ลดลง 5%
อย่างไรก็ตามช่วงสองเดือนที่เหลือ มิตซูบิชิน่าจะขายได้อีก 11,000 คัน (พฤศจิกายน 4,000 คัน ธันวาคม 7,000 คัน) ส่งผลให้ยอดขายรวมถึง 67,000 คัน เติบโต 70% เมื่อเทียบกับปี 2553 ครองส่วนแบ่งการตลาด 8.5%
- ทำไมยอดขายเก๋งตก?
มีหลายปัจจัยที่ทำให้ยอดขายรถยนต์นั่งของมิตซูบิชิลดลง ส่วนหนึ่งเพราะเราไม่มีรถเก๋งที่อยู่ในโครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรก ไม่มีรถเล็ก หรือ อีโคคาร์ ตลอดจนเอ็มพีวี สเปซแวกอน ได้หยุดการผลิตไปแล้ว
ความคืบหน้าของอีโคคาร์รุ่น “มิราจ”?
อย่างที่เราได้ประกาศไปว่า รถเล็กในโครงการโกลบอล สมอล หรือ อีโคคาร์ในไทยจะใช้ชื่อ “มิราจ” ในการทำตลาด แม้การอวดโฉมจะมีขึ้นที่ โตเกียว มอเตอร์โชว์ 2011ประเทศญี่ปุ่น ปลายเดือนนี้ แต่ไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตจะมีรถเปิดตัวพร้อมทำตลาดอย่างเป็นทางการก่อนใครในโลก ช่วงเดือนมีนาคมปีหน้าแน่นอน
“เชื่อว่า มิราจ จะได้การตอบรับจากลูกค้าชาวไทยเป็นอย่างดี ด้วยการออกแบบสวยทันสมัย ความอเนกประสงค์ และขับขี่คล่องตัว พร้อมเครื่องยนต์ 1.2 ลิตร ประกบเกียร์อัตโนมัติ CVT กับราคาที่เป็นเจ้าของได้ง่าย”
- สภาพตลาดรถยนต์โดยรวม?
หลายค่ายโดนผลกระทบจากน้ำท่วม หนักและเบาแตกต่างกันไป จากเดิมคาดว่ายอดขายรวมทุกยี่ห้อปีนี้จะทำได้ 8-9 แสนคัน แต่เมื่อประเมินจากยอดขายเดือนตุลาคม (42,873 คัน) และพฤศจิกายนที่น่าจะลดลงอย่างมาก จึงมีผลให้ยอดขายตลาดรวมปี 2554 จะทำได้เพียง 794,000 คัน เติบโต 2% เมื่อเทียบกับปี 2553
- ความมั่นใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย?
ถือเป็นวิกฤตน้ำครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปีของประเทศไทย ซึ่งมิตซูบิชิดำเนินกิจการในไทยมากว่า 40 ปี ก็เพิ่งเจอครั้งแรก จึงขอร้องให้รัฐบาลออกมาตรการป้องกันที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้คนไทยและภาคอุตสาหกรรมเจอสถานการณ์แบบนี้อีก
บริษัทแม่ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอปอเรชัน ประเทศญี่ปุ่น (MMC) สนับสนุนการดำเนินธุรกิจในไทยเต็มที่ และไม่มีแผนย้ายการผลิตออกจากประเทศไทย เพราะไทยถือเป็นฐานผลิตสำคัญ ดั่งจะเห็นได้จากโครงการผลิตรถยนต์ใหม่ๆ ทยอยลงทุนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นรัฐบาลต้องสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการ และทำเป็นโครงการขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตน้ำท่วมขึ้นอีก