รถอเมริกันคัน โต พร้อมกระจังหน้าสองชั้น คาดกลางด้วยโลโก้โบว์ไทสีทอง เห็นผ่านตาแวบเดียวก็รู้ว่านี่คือ “เชฟโรเลต” แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป รสนิยมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง เห็นได้จากการพัฒนารูปลักษณ์ที่ทันสมัย และ“ดีเอ็นเอ”การออกแบบรถยนต์รุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวทำตลาดในไทยอย่าง “ครูซ” “แคปติวา” และที่กำลังจะมาเร็วๆนี้คือปิกอัพ “โคโรลาโด” และเก๋งเล็ก“อาวีโอ ใหม่”
..น่าสนใจว่า ภาษาการออกแบบใหม่ๆ กับรากเหง้าแห่งอดีตที่ยังต้องคงไว้ จะไปด้วยกันได้อย่างไร “ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” สัมภาษณ์ “รอน อาสเซลตัน” ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ ศูนย์การผลิตยานยนต์ เอสจีเอ็มดับบลิว (SGMW- คือหนึ่งในสตูดิโอออกแบบรถยนต์ที่สำคัญระดับโลกของจีเอ็ม ตั้งอยู่ในประเทศจีน) ถึงแนวคิดและทิศทางการออกแบบรถยนต์ของจีเอ็มและเชฟโรเลตยุคใหม่
***เอกลักษณ์ของเชฟโรเลตรุ่นใหม่***
ยานยนต์เชฟโรเลตรุ่นใหม่ๆ ล้วนต้องการให้ผู้คนทั่วโลกเห็นและสัมผัสถึงความเป็นเชฟโรเลต ทั้งการสื่อถึงจิตวิญญาณแห่งแบรนด์สหรัฐอเมริกา การใช้งานได้หลากหลาย พร้อมรูปลักษณ์ที่สวยงาม ในราคาน่าพอใจ
ผมเชื่อว่า ความสามารถของแบรนด์ที่จะบ่งบอกและตอกย้ำเอกลักษณ์ของตัวเองได้ถือเป็น เรื่องสำคัญ อย่างการออกแบบกระจังหน้าสองชั้น (ดูอัลพอร์ท) ถือเป็นวิวัฒนาการจากกระจังหน้าแบบเก่าที่ใช้ในทศวรรษที่ผ่านมา ในขณะที่ด้านหน้าก็ค่อยๆพัฒนาให้เกิดความลงตัว และเพิ่มความคุ้มค่าคุ้มราคา เพื่อแสดงออกถึงเอกลักษณ์เฉพาะของเชฟโรเลต
***แนวทางการออกแบบของจีเอ็ม***
ยานยนต์รุ่นใหม่ๆจะมีสุนทรียภาพยิ่งขึ้นในแง่ของการออกแบบและการสร้าง เอกลักษณ์ หรือมีความตื่นเต้น เร้าใจ ต่างจากการออกแบบยานยนต์ในทศวรรษที่ผ่านมาที่เน้นความเรียบง่าย สะอาดตา ไม่ต้องมีองค์ประกอบมากมาย
ลำดับต่อมาคือการยกระดับยานยนต์ของทุกแบรนด์ อย่างเชฟโรเลตเองก็ต้องก้าวสู่ระดับที่สูงขึ้น อันหมายถึงการที่เราต้องใส่รายละเอียด เทคโนโลยี รวมถึงองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งกลายเป็นว่า องค์ประกอบที่มากกว่าหมายถึงสิ่งดีกว่า
ประการถัดมาคือการชี้ชัดถึงประเภทยานยนต์รุ่นใหม่ๆ ยกตัวอย่าง จีเอ็มซี แกรไนท์ ที่จีเอ็มตั้งใจให้เป็นแบรนด์ระดับหรูที่เตรียมลงเล่นในตลาดกลุ่มใหม่อย่าง ชัดเจน
ดังนั้นโดยสรุปแล้ว ‘ความตื่นเต้นเร้าใจ’ ‘การยกระดับ’ และ’การลงเล่นในตลาดใหม่’ คือแนวทางการออกแบบยานยนต์ในอนาคตของจีเอ็ม
***การออกแบบยานยนต์สามารถสะท้อนความเป็นแบรนด์ได้อย่างไร***
อย่างแบรนด์คาดิลแลค ที่เราให้คำจำกัดว่าเป็น ‘ศาสตร์และศิลป์’ ซึ่งผสมผสานระหว่างความงาม กับเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกัน และเมื่อทั้งสองสิ่งสามารถผสานพร้อมสร้างเอกลักษณ์ของตัวเองขึ้นมา ผลที่ได้คือดีไซน์ภายนอกและภายในที่โดดเด่น หรือเห็นได้ชัดจากบรรดารถในตระกูลนี้ ทั้ง CTS, Sedan, Coupe, Wagon และ V-series ซึ่ง CTS
***หลักการออกแบบรถให้มีความเป็นสากล หรือ ‘global car’ ทำให้การออกแบบรถยากขึ้นหรือไม่ เมื่อนักออกแบบต้องคำนึงถึงความชอบ และความต้องการของตลาดโดยรวม แทนที่จะเป็นการออกแบบรถเพื่อตลาดนั้นๆโดยเฉพาะ***
โดยส่วนตัว ผมคิดว่าการออกแบบรถเพื่อตลาดในหลายๆภูมิภาค ถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะเราต้องทำให้แน่ใจว่า เราสามารถนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าแต่ละคนในแต่ละตลาดกำลังมองหาอยู่ได้ ดังนั้นจึงต้องยอมรับเอาความแตกต่างในแง่วัฒนธรรมของลูกค้า เป็นหนึ่งปัจจัยที่จะต้องคำนึงถึง และแม้จะเป็นสิ่งที่ยากแต่ก็เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถมองข้ามได้
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในกระบวนการออกแบบคือ ความต้องการของลูกค้าในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งย่อมไม่สามารถตอบสนองความต้อง การของลูกค้าในภูมิภาคอื่นๆได้ทั้งหมด และนี่ก็คือศิลป์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นสากล ซึ่งก็คือ การหาจุดดุลยภาพ นั่นเอง
ผมอยากยกตัวอย่าง แบรนด์รถหรูบางแบรนด์ที่เราเห็นกันอยู่ในตลาด ซึ่งสามารถสร้างลักษณะเฉพาะของแบรนด์ได้อย่างชัดเจนทั่วโลก และทำให้ลูกค้าที่เห็นสามารถจดจำความเป็นแบรนด์นั้นๆ พร้อมสร้างความต้องการซื้อได้ทุกแห่งในทั่วทุกภูมิภาค นั่นจึงหมายความว่า ผลิตภัณฑ์และแบรนด์ที่ดี จะสามารถเข้าถึงลูกค้าของมันเองได้ในที่สุด
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ จีเอ็ม จะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ และแบรนด์ของตัวเองให้เหนือกว่าคู่แข่งอย่างต่อเนื่อง....